จินดา วงศ์สวัสดิ์
จินดา วงศ์สวัสดิ์ | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปาง เขต 2 | |
ดำรงตำแหน่ง 6 มกราคม พ.ศ. 2544 – 5 มกราคม พ.ศ. 2548 | |
ก่อนหน้า | พินิจ จันทรสุรินทร์ ธารทอง ทองสวัสดิ์ |
ถัดไป | กิตติกร โล่ห์สุนทร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2499 อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ไทยรักไทย (2543–2547) ชาติไทย (2547–2551) พลังประชารัฐ (2565–ปัจจุบัน) |
จินดา วงศ์สวัสดิ์ (เกิด 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2499) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปาง 1 สมัย สังกัดพรรคไทยรักไทย ปัจจุบันสังกัดพรรคพลังประชารัฐ
ประวัติ
[แก้]จินดา วงศ์สวัสดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2499 ที่อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง เป็นบุตรของนายทงซี วงศ์สวัสดิ์ กับนางพลอย วงศ์สวัสดิ์ และเป็นน้องชายของนายทรงชัย วงศ์สวัสดิ์ เขาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และระดับปริญญาโท ด้านนโยบายสาธารณะ จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์[1]
การทำงาน
[แก้]จินดา วงศ์สวัสดิ์ เข้าสู่งานการเมืองโดยลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 สังกัดพรรคไทยรักไทย เขตเลือกตั้งที่ 2 จังหวัดลำปาง และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยแรก ซึ่งในการเลือกตั้งครั้งนั้นเขาได้รับเลือกตั้งพร้อมกับพี่ชาย คือ นายทรงชัย วงศ์สวัสดิ์ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ เขตเลือกตั้งที่ 3 จังหวัดลำพูน[2] ต่อมาเขาได้ลาออกจากการเป็น ส.ส. ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2547[3]
ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่เดิม แต่เนื่องจากปัญหาพื้นที่ทับซ้อนกัน จึงย้ายมาสังกัดพรรคชาติไทย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยแพ้ให้กับผู้สมัครจากพรรคไทยรักไทย
ต่อมาในปี พ.ศ. 2558 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ[4] และในปี 2565 ได้เข้าร่วมงานกับพรรคพลังประชารัฐ[5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2545 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[7]
- พ.ศ. 2560 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ผลการเลือกตั้งจังหวัดลำพูน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-02-14. สืบค้นเมื่อ 2013-08-23.
- ↑ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขอลาออกจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (นายจินดา วงศ์สวัสดิ์)[ลิงก์เสีย]
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ เล่ม 132 ตอน 239 ง พิเศษ หน้า 3 5 ตุลาคม 2558
- ↑ สกุล 'วงศ์สวัสดิ์' โผล่ 2 ทีมงานธรรมนัสขนของกลับพปชร.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๓๙, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๖๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๐ เก็บถาวร 2022-12-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๘ ข หน้า ๔, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2499
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอห้างฉัตร
- นักการเมืองจากจังหวัดลำปาง
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปาง
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- นักการเมืองพรรคชาติไทย
- นักการเมืองพรรคพลังประชารัฐ
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- บุคคลจากคณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- สกุลวงศ์สวัสดิ์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จ.ภ.