ตำบลปากทรง
ตำบลปากทรง | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Tambon Pak Song |
น้ำตกเหวโหลม ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าควนแม่ยายหม่อน จากหน่วยพิทักษ์เหวโหลม | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ชุมพร |
อำเภอ | พะโต๊ะ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 269.99 ตร.กม. (104.24 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2565) | |
• ทั้งหมด | 5,370 คน |
• ความหนาแน่น | 19.88 คน/ตร.กม. (51.5 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 86180 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 860602 |
องค์การบริหารส่วนตำบลปากทรง | |
---|---|
พิกัด: 9°46′27.1″N 98°41′36.5″E / 9.774194°N 98.693472°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ชุมพร |
อำเภอ | พะโต๊ะ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 269.99 ตร.กม. (104.24 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2565) | |
• ทั้งหมด | 5,370 คน |
• ความหนาแน่น | 19.88 คน/ตร.กม. (51.5 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 06860604 |
ที่อยู่ที่ทำการ | เลขที่ 74 หมู่ที่ 5 ถนนสายราชกรูด–วังตะกอ ตำบลปากทรง อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร 86180 |
เว็บไซต์ | www |
ปากทรง เป็น 1 ใน 4 ตำบลของอำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร เป็นที่ตั้งของน้ำตกเหวโหลม เป็นน้ำตกที่มีน้ำไหล จากหน้าผาสูง 80 เมตร ด้วยสภาพที่เป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ด้วยป่าดงดิบชื้น จึงทำให้มีต้นไม้ใหญ่แปลกตาหลายชนิด จึงเหมาะแก่การเดินศึกษาธรรมชาติและดูนกนานาชนิด ท่องเที่ยวตลอดทั้งปี
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]ตำบลปากทรง มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลหงาว ตำบลหาดส้มแป้น (อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลพะโต๊ะ และตำบลคลองพา ตำบลประสงค์ (อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี)
- ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลบ้านนา ตำบลกะเปอร์ (อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลราชกรูด (อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง)
ประวัติ
[แก้]"ปากทรง" เหตุที่ชาวบ้านเรียกชื่อนี้ สันนิษฐานว่าเจ้าเมืองระนองและเจ้าเมืองหลังสวนเป็นญาติกัน การเดินทางไปเยี่ยมเยียนกันในสมัยก่อนนั้น ไม่มีถนนจึงต้องทรงช้างไปเมืองหลังสวน เมื่อมาถึงปากแม่น้ำก็ต้องลงเรือต่อไปอีก ชาวบ้านเห็นเจ้าเมืองทรงช้างมาลงเรือที่ปากแม่น้ำ จึงเรียกบริเวณนี้ว่า "ปากทรง" และได้ยกเป็นตำบลมาจนถึงทุกวันนี้[1]
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]ตำบลปากทรงแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 9 หมู่บ้าน ได้แก่
หมู่ 1 | บ้านต่อตั้ง | (Ban To Tang) | ||||
หมู่ 2 | บ้านห้างแก | (Ban Hang Kae) | ||||
หมู่ 3 | บ้านบกไฟ | (Ban Bok Fai) | ||||
หมู่ 4 | บ้านปากทรง | (Ban Pak Song) | ||||
หมู่ 5 | บ้านทับขอน | (Ban Thap Khon) | ||||
หมู่ 6 | บ้านสะพานสอง | (Ban Saphan Song) | ||||
หมู่ 7 | บ้านตะแบกงาม | (Ban Tabaek Ngam) | ||||
หมู่ 8 | บ้านในแจะ | (Ban Nai Chae) | ||||
หมู่ 9 | บ้านคลองเรือ | (Ban Khlong Ruea) |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่ตำบลปากทรง มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพียงแห่งเดียว คือ องค์การบริหารส่วนตำบลปากทรง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปากทรงทั้งหมด ซึ่งเป็นสภาตำบลปากทรงที่จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2516[2] และยกฐานะขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลปากทรงในวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2539[3] จนถึงปัจจุบัน
ประชากร
[แก้]พื้นที่ตำบลปากทรงประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 9 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 5,370 คน แบ่งเป็นชาย 2,733 คน หญิง 2,637 คน (เดือนธันวาคม 2565)[4] เป็นตำบลที่มีจำนวนประชากรเป็นลำดับ 3 ในอำเภอพะโต๊ะ
- หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
- หมายถึงจำนวนประชากรได้คงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อน
- หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน
* ปี พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
หมู่บ้าน | พ.ศ. 2565 | พ.ศ. 2564[4] | พ.ศ. 2563 [5] | พ.ศ. 2562[6] | พ.ศ. 2561[7] | พ.ศ. 2560[8] | พ.ศ. 2559[9] |
---|---|---|---|---|---|---|---|
ปากทรง | 886 | 877 | 874 | 867 | 857 | 854 | 849 |
ทับขอน | 781 | 787 | 780 | 788 | 791 | 785 | 787 |
สะพานสอง | 779 | 778 | 775 | 770 | 778 | 769 | 786 |
ห้างแก | 667 | 652 | 648 | 635 | 633 | 637 | 620 |
ตะแบกงาม | 656 | 646 | 642 | 627 | 611 | 597 | 588 |
บกไฟ | 492 | 498 | 514 | 519 | 523 | 524 | 521 |
ต่อตั้ง | 488 | 481 | 482 | 475 | 482 | 473 | 472 |
ในแจะ | 338 | 331 | 332 | 330 | 328 | 322 | 320 |
คลองเรือ | 283 | 274 | 279 | 273 | 269 | 264 | 257 |
รวม | 5,370 | 5,324 | 5,326 | 5,284 | 5,272 | 5,225 | 5,200 |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ข้อมูล ตำบลปากทรง อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร". ฐานข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยว สำหรับนักท่องเที่ยวสูงอายุ ในเขตพื้นที่ท่องเที่ยวภาคใต้ตอนบน จังหวัดภูเก็ต กระบี่ พังงา ระนอง ชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-06-18. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2566
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (108 ง): (ฉบับพิเศษ) 1–72. วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2516
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (ตอนพิเศษ 52 ง): 1–365. วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2539
- ↑ 4.0 4.1 กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] 2564. สืบค้น 18 มีนาคม 2564.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [3] 2563. สืบค้น 10 มกราคม 2563.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/036/T_0032.PDF 2562. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2562.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/041/22.PDF 2561. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2561.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm 2560. สืบค้น 3 มีนาคม 2560.