ตำบลหาดส้มแป้น
ตำบลหาดส้มแป้น | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Tambon Hat Som Paen |
แหล่งแร่หาดส้มแป้น ปัจจุบันเป็นแหล่งแร่ที่ผลิตแร่ดีบุกและแร่ดินขาวที่สำคัญของประเทศ | |
คำขวัญ: หาดไร้เงา ขุนเขานมสาว ดินขาวมากมาย พ่อท่านคล้ายศักดิ์สิทธิ์ แดนเนรมิตระนองแคนย่อน | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ระนอง |
อำเภอ | เมืองระนอง |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 75.55 ตร.กม. (29.17 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 3,191 คน |
• ความหนาแน่น | 42.23 คน/ตร.กม. (109.4 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 85000 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 850107 |
องค์การบริหารส่วนตำบลหาดส้มแป้น | |
---|---|
พิกัด: 9°57′10.1″N 98°41′26.0″E / 9.952806°N 98.690556°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ระนอง |
อำเภอ | เมืองระนอง |
จัดตั้ง | • 5 กรกฎาคม 2516 (สภาตำบลหาดส้มแป้น) • 27 มีนาคม 2540 (อบต.หาดส้มแป้น) |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 75.55 ตร.กม. (29.17 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566)[1] | |
• ทั้งหมด | 3,191 คน |
• ความหนาแน่น | 42.23 คน/ตร.กม. (109.4 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 06850111 |
ที่อยู่ที่ทำการ | เลขที่ 999 หมู่ที่ 3 ตำบลหาดส้มแป้น อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง 85000 |
เว็บไซต์ | www |
หาดส้มแป้น เป็นตำบลในอำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง เป็นที่ตั้งของแหล่งแร่หาดส้มแป้น เป็นแหล่งแร่ที่ผลิตแร่ดีบุก[2] แร่วุลแฟรม[3][4] แร่ดินขาวที่สำคัญของประเทศ พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาว[5][6] อุทยานแห่งชาติลำน้ำกระบุรี[7]
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]ตำบลหาดส้มแป้นมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัดข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลบางนอน (อำเภอเมืองระนอง) และตำบลบางพระเหนือ (อำเภอละอุ่น)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลพะโต๊ะ (อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร)
- ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลปากทรง (อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลหงาวและตำบลบางริ้น (อำเภอเมืองระนอง)
ประวัติ
[แก้]ตำบลหาดส้มแป้นเดิมเป็นแหล่งแร่ดีบุกที่สำคัญของจังหวัดระนอง และได้มีชาวจีนกลุ่มหนึ่งเดินทางเข้ามาทำเหมืองแร่ แล้วกลับออกไป และได้บอกกับเจ้าเมืองระนองในขณะนั้นว่าที่ "ห้วยซัมเปี้ยน" มีแร่อุดมมาก คำว่า "ห้วยซัมเปี้ยน" เป็นภาษาจีน แปลว่าลึกเข้าไปในหุบเขาชาวบ้านเรียกว่า "ห้วยซัมเปี้ยน" ต่อมาเพี้ยนเป็น "หาดส้มแป้น" และชื่อนี้เป็นที่แปลกใจของผู้มาท่องเที่ยวจังหวัดระนองเป็นอย่างมาก นักท่องเที่ยวส่วนมากคิดว่าเป็นชื่อหาดทราย ทำให้ต้องเข้ามาเยี่ยมชมในตำบลหาดส้มแป้น เป็นเหตุให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของจังหวัดระนอง
ปัจจุบันเป็นแหล่งแร่ที่ผลิตแร่ดีบุก[3][4] และแร่ดินขาวที่สำคัญของประเทศ การทำเหมืองในแหล่งแร่หาดส้มแป้น มีทั้งในส่วนที่ทำเฉพาะเหมืองดีบุก หรือทำทั้งเหมืองดีบุกและเหมืองดินขาว ปัจจุบันมีอุตสาหกรรมในระดับชุมชน เช่น การร่อนแร่ของชาวบ้านและนำแร่ไปขายยังบ้านที่รับชื้อ นอกจากชื่อเสียงในเรื่องของการทำเหมืองแร่มากว่า 100 ปีแล้ว[2] ชุมชนหาดส้มแป้นยังมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ทั้งป่าไม้ น้ำตก ลำห้วย ธารน้ำแร่ บ่อน้ำร้อน และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนขนาดเล็กที่อาศัยอยู่บนเนินเขา มีแหล่งท่องเที่ยวชุมชนที่น่าสนใจมากมาย เช่น จุดชมทิวทัศน์ทะเลหมอกหาดส้มแป้น 360 องศา[8]
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]ตำบลหาดส้มแป้นแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 3 หมู่บ้าน ได้แก่
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่ตำบลหาดส้มแป้นมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพียงแห่งเดียว คือ องค์การบริหารส่วนตำบลหาดส้มแป้น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหาดส้มแป้นทั้งหมด เดิมเป็นสภาตำบลหาดส้มแป้นที่จัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2516[9] และมีประกาศจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลหาดส้มแป้นในวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2539[10] โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2540
ประชากร
[แก้]พื้นที่ตำบลหาดส้มแป้นประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 3 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 3,191 คน แบ่งเป็นชาย 1,576 คน หญิง 1,615 คน (เดือนธันวาคม 2566)[11] เป็นตำบลที่มีประชากรเป็นอันดับ 8 ในอำเภอเมืองระนอง
- หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
- หมายถึงจำนวนประชากรได้คงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อน
- หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน
* ใน พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
หมู่บ้าน | พ.ศ. 2566[12] | พ.ศ. 2565[13] | พ.ศ. 2564[14] | พ.ศ. 2563[15] | พ.ศ. 2562[16] | พ.ศ. 2561[17] | พ.ศ. 2560[18] |
---|---|---|---|---|---|---|---|
หาดส้มแป้น | 1,511 | 1,536 | 1,553 | 1,547 | 1,566 | 1,588 | 1,584 |
บางสังตี | 1,072 | 1,060 | 1,049 | 1,045 | 1,051 | 1,058 | 1,054 |
ทุ่งคา | 608 | 602 | 592 | 591 | 583 | 565 | 563 |
รวม | 3,191 | 3,198 | 3,194 | 3,183 | 3,200 | 3,211 | 3,201 |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประชากรในเขตอำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
- ↑ 2.0 2.1 "ประกาศกระทรวงเกษตราธิการ แผนกกรมราชโลหกิจ เรื่อง จีนเล่าเอียวตี เวนคืนประทานบัตรทำเหมืองแร่ดีบุก ตำบลหาดส้มแป้น แขวงเมืองระนอง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 27 (0 ง): 2451–2452. วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2453
- ↑ 3.0 3.1 "ประกาศกรมทรัพยากรธรณี เรื่อง ขอใบแทนประทานบัตรที่ ๘๐๕๗/๖๑๐๒ เหมืองแร่ดีบุกและวุลแฟรม ตำบลหาดส้มแป้น อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (107 ง): 2480. วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506
- ↑ 4.0 4.1 "ประกาศกรมทรัพยากรธรณี เรื่อง ขอใบแทนประทานบัตรหมายเลขที่ ๔๒๕๙/๗๓๗๗ เหมืองแร่ดีบุกและวุลแฟรม ตำบลหาดส้มแป้น อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 83 (40 ง): 1764. วันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2509
- ↑ "กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑,๒๐๐ (พ.ศ. ๒๕๓๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๗ [กำหนดให้ป่าละอุ่น และป่าราชกรูด ในท้องที่ตำบลบางแก้ว ตำบลละอุ่นใต้ ตำบลบางพระใต้ ตำบลละอุ่นเหนือ ตำบลบางพระเหนือ อำเภอละอุ่น ตำบลทรายแดง ตำบลบางนอน ตำบลหาดส้มแป้น ตำบลบางริ้น ตำบลหงาว ตำบลราชกรูด อำเภอเมืองระนอง และตำบลกะเปอร์ ตำบลม่วงกลวง อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง เป็นป่าสงวนแห่งชาติ]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 104 (58 ก): (ฉบับพิเศษ) 11-12. วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2530
- ↑ "พระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าละอุ่น ป่าราชกรูด และป่าเขาน้ำตกหงาว ในท้องที่ตำบลบางแก้ว ตำบลละอุ่นใต้ ตำบลละอุ่นเหนือ ตำบลบางพระเหนือ ตำบลในวงเหนือ ตำบลในวงใต้ อำเภอละอุ่น ตำบลหาดส้มแป้น ตำบลบางริ้น ตำบลหงาว ตำบลราชกรูด อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง และ ป่าทุ่งระยะ ป่านาสัก ป่าเขาตังอา ป่าคลองโชน ป่าพะโต๊ะ ป่าปังหวาน และป่าปากทรง ในท้องที่ตำบลช่องไม้แก้ว ตำบลตะโก อำเภอทุ่งตะโก ตำบลเขาค่าย อำเภอสวี ตำบลนาขา ตำบลวังตะกอ ตำบลหาดยาย อำเภอหลังสวน และตำบลปังหวาน ตำบลพระรักษ์ ตำบลพะโต๊ะ ตำบลปากทรง อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (44 ก): 13–15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-05-27. สืบค้นเมื่อ 2022-07-06. วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2542
- ↑ "พระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินลำน้ำกระบุรี ป่าคลองลำเลียง - ละอุ่น ป่าคลองเส็ตกวด ป่าเขาหินช้าง ป่าเขาสามแหลม ป่าละอุ่น และป่าราชกรูด ในท้องที่ตำบลน้ำจืด ตำบลลำเลียง ตำบลบางใหญ่ อำเภอกระบุรี ตำบลบางแก้ว ตำบลบางพระเหนือ อำเภอละอุ่น และตำบลทรายแดง ตำบลปากน้ำ ตำบลบางนอน ตำบลหาดส้มแป้น อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (29 ก): 66–68. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-05-28. สืบค้นเมื่อ 2022-07-06. วันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2542
- ↑ กลุ่มการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านหาดส้มแป้น : ประวัติชุมชนหาดส้มแป้น ตำบลหาดส้มแป้น อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง สืบค้นเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (108 ง): (ฉบับพิเศษ) 1-72. วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2516
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (ตอนพิเศษ 52 ง): 1–365. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2022-07-06. วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2539
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [3] 2564. สืบค้น 18 มีนาคม 2564.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [4] 2563. สืบค้น 10 มกราคม 2563.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/036/T_0032.PDF 2562. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2562.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/041/22.PDF 2561. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2561.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm 2560. สืบค้น 3 มีนาคม 2560.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.