ตำบลสลุย
ตำบลสลุย | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Tambon Salui |
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 หลักกิโลเมตรที่ 453–454 บริเวณที่ตั้งของศาลพ่อตาหินช้าง | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ชุมพร |
อำเภอ | ท่าแซะ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 126.0 ตร.กม. (48.6 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2565) | |
• ทั้งหมด | 8,207 คน |
• ความหนาแน่น | 65.13 คน/ตร.กม. (168.7 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 86140 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 860203 |
องค์การบริหารส่วนตำบลสลุย | |
---|---|
พิกัด: 10°49′39.9″N 99°12′49.3″E / 10.827750°N 99.213694°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ชุมพร |
อำเภอ | ท่าแซะ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 126.0 ตร.กม. (48.6 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2565) | |
• ทั้งหมด | 8,207 คน |
• ความหนาแน่น | 65.13 คน/ตร.กม. (168.7 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 06860208 |
ที่อยู่ที่ทำการ | เลขที่ 5/1 หมู่ที่ 6 ถนนเพชรเกษม ตำบลสลุย อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร 86140 |
เว็บไซต์ | www |
สลุย เป็น 1 ใน 10 ตำบลของอำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร เป็นที่ตั้งของศาลพ่อตาหินช้าง หรือเรียกอีกชื่อว่าศาลพ่อศรีหริมงคล เป็นศาลที่ประดิษฐานรูปเคารพอันศักดิ์สิทธิ์ เป็นหินที่มีรูปร่างลักษณะเหมือนช้างมี 11 เศียร และเป็น 1 ใน 4 ตำบลของจังหวัดชุมพรที่มีอาณาเขตติดต่อกับสหภาพพม่า
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]ตำบลสลุย มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลสองพี่น้อง
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลดอนยาง และตำบลชุมโค (อำเภอปะทิว)
- ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลหงษ์เจริญ และตำบลรับร่อ
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับสหภาพพม่า
ประวัติ
[แก้]"สลุย" มีประวัติเล่าขานต่อกันมาว่า ในราว พ.ศ. 2329 เจ้าประดุงกษัตริย์พม่าได้ยกทัพมาทางปักษ์ใต้ 1 ทัพ ซึ่งมีแกงหวุ่นแมงญี อัครมหาเสนาบดีพม่า ยกทัพมาจากเมืองมะริด มาตีเมืองชุมพร เมืองไชยา ไปล้อมเมืองนครศรีธรรมราชไว้ การทำสงครามครั้งนี้ทำให้เกิดการเล่าลือกันต่อ ๆมาว่า ชาวบ้านที่ตั้งรกรากอยู่ในสลุยจัดเตรียมเสบียงไว้ยามเกิดศึกสงครามและในช่วงฤดูแล้งและได้นำครกตำข้าวทิ้งคลองไม่ให้ข้าศึกทำเสบียงได้ คงเหลือไว้แต่สากตำข้าวมากมาย ชาวบ้านจึงเรียกว่า “สากกะลุย” คำว่า “กะลุย” (ภาษาใต้) แปลว่า มาก ต่อมาเพี้ยนเป็น “สลุย” ในปัจจุบัน[1]
ในอดีตตำบลสลุยเป็นตำบลที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่มาก ใน พ.ศ. 2522 ทางราชการจึงแยกพื้นที่ในขณะนั้น ได้แก่ หมู่ 1 บ้านสามไกร, หมู่ 2 บ้านนายาว, หมู่ 3 บ้านสลุย, หมู่ 4 บ้านตาหงษ์, หมู่ 11 บ้านปากด่าน, หมู่ 12 บ้านบึงลัด แยกตั้งเป็นตำบลหงษ์เจริญ[2]
และใน พ.ศ. 2536 ได้แบ่งแยกพื้นที่ตำบลอีกครั้งเนื่องจากมีพื้นที่กว้างขวาง จึงแยกพื้นที่หมู่ 3 บ้านงาช้าง, หมู่ 4 บ้านร้านตัดผม, หมู่ 5 บ้านตาเงาะ, หมู่ 8 บ้านห้วยทรายขาว, หมู่ 10 บ้านห้วยใหญ่, หมู่ 12 บ้านสามล้าน, หมู่ 14 บ้านดวงดี แยกตั้งเป็นตำบลสองพี่น้อง[3]
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองท้องที่
[แก้]ตำบลสลุยแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 8 หมู่บ้าน ได้แก่
หมู่ 1 | บ้านปะระ | (Ban Para) | ||||
หมู่ 2 | บ้านใหม่สมบูรณ์ | (Ban Mai Sombun) | ||||
หมู่ 3 | บ้านหินกูบ | (Ban Hin Kup) | ||||
หมู่ 4 | บ้านพรุตะเคียน | (Ban Phru Takhian) | ||||
หมู่ 5 | บ้านเหมืองทอง | (Ban Mueang Thong) | ||||
หมู่ 6 | บ้านเนินทอง | (Ban Noen Thong) | ||||
หมู่ 7 | บ้านสวนทรัพย์ | (Ban Suan Sap) | ||||
หมู่ 8 | บ้านสะพานหิน | (Ban Saphan Hin) |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่ตำบลสลุย มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพียงแห่งเดียว คือ องค์การบริหารส่วนตำบลสลุย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสลุยทั้งหมด ซึ่งเป็นสภาตำบลสลุยที่จัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2516[4] และยกฐานะขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลสลุยในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2539[5] จนถึงปัจจุบัน
ประชากร
[แก้]พื้นที่ตำบลสลุยประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 8 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 8,207 คน แบ่งเป็นชาย 4,102 คน หญิง 4,105 คน (เดือนธันวาคม 2565)[6] เป็นตำบลที่มีจำนวนประชากรเป็นลำดับ 5 ในอำเภอท่าแซะ
- หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
- หมายถึงจำนวนประชากรได้คงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อน
- หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน
* พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
หมู่บ้าน | พ.ศ. 2565 | พ.ศ. 2564[6] | พ.ศ. 2563 [7] | พ.ศ. 2562[8] | พ.ศ. 2561[9] | พ.ศ. 2560[10] | พ.ศ. 2559[11] |
---|---|---|---|---|---|---|---|
เนินทอง | 1,389 | 1,394 | 1,387 | 1,387 | 1,397 | 1,381 | 1,370 |
ใหม่สมบูรณ์ | 1,341 | 1,349 | 1,362 | 1,361 | 1,368 | 1,374 | 1,364 |
ปะระ | 1,283 | 1,276 | 1,263 | 1,255 | 1,248 | 1,227 | 1,219 |
เหมืองทอง | 1,115 | 1,112 | 1,098 | 1,084 | 1,075 | 1,072 | 1,071 |
สวนทรัพย์ | 959 | 967 | 965 | 980 | 1,007 | 1,007 | 1,010 |
พรุตะเคียน | 782 | 789 | 780 | 789 | 800 | 809 | 814 |
หินกูบ | 720 | 730 | 724 | 720 | 717 | 718 | 720 |
สะพานหิน | 618 | 611 | 618 | 608 | 599 | 605 | 619 |
8,207 | 8,228 | 8,197 | 8,184 | 8,211 | 8,193 | 8,187 |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ข้อมูลตำบลสลุย อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร". ฐานข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยว สำหรับนักท่องเที่ยวสูงอายุ ในเขตพื้นที่ท่องเที่ยวภาคใต้ตอนบน จังหวัดภูเก็ต กระบี่ พังงา ระนอง ชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช.[ลิงก์เสีย] สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2566
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 96 (189 ง): 4154–4158. วันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2522
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (217 ง): (ฉบับพิเศษ) 54–57. วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2536
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (108 ง): (ฉบับพิเศษ) 1–72. วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2516
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (ตอนพิเศษ 9 ง): 5–219. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-05-03. สืบค้นเมื่อ 2023-06-23. วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2539
- ↑ 6.0 6.1 กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] 2564. สืบค้น 18 มีนาคม 2564.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [3] 2563. สืบค้น 10 มกราคม 2563.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/036/T_0032.PDF 2562. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2562.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/041/22.PDF 2561. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2561.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm 2560. สืบค้น 3 มีนาคม 2560.