ข้ามไปเนื้อหา

ตำบลนาป่า (อำเภอเมืองชลบุรี)

พิกัด: 13°23′44″N 101°1′23″E / 13.39556°N 101.02306°E / 13.39556; 101.02306
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตำบลนาป่า
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Na Pa
พิกัด: 13°23′44″N 101°1′23″E / 13.39556°N 101.02306°E / 13.39556; 101.02306
ประเทศไทย
จังหวัดชลบุรี
อำเภอเมืองชลบุรี
พื้นที่[ต้องการอ้างอิง]
 • ทั้งหมด18.30 ตร.กม. (7.07 ตร.ไมล์)
ประชากร
 • ทั้งหมด38,548 คน
 • ความหนาแน่น2,106.44 คน/ตร.กม. (5,455.7 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 20000
รหัสภูมิศาสตร์200107
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
เทศบาลตำบลนาป่า
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันThetsaban Tambon Na Pa
คำขวัญ: 
นาป่าเมืองน่าอยู่ บริหารงานโปร่งใส ใส่ใจสิ่งแวดล้อม เพียบพร้อมสาธารณูปการ ก้าวนำด้านเศรษฐกิจ ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี
ทต.นาป่าตั้งอยู่ในจังหวัดชลบุรี
ทต.นาป่า
ทต.นาป่า
พิกัด: 13°23′44″N 101°1′23″E / 13.39556°N 101.02306°E / 13.39556; 101.02306
ประเทศ ไทย
จังหวัดชลบุรี
อำเภอเมืองชลบุรี
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีสามารถ สุขสว่าง
พื้นที่
 • ทั้งหมด18.30 ตร.กม. (7.07 ตร.ไมล์)
ประชากร
 • ทั้งหมด38,548 คน
 • ความหนาแน่น2,106.44 คน/ตร.กม. (5,455.7 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.05200113
ที่อยู่
สำนักงาน
สำนักงานเทศบาลตำบลนาป่า เลขที่ 99 หมู่ 11 ตำบลนาป่า อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี 20000
โทรศัพท์0 3805 5645
โทรสาร0 3805 5575
เว็บไซต์www.napachon.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

นาป่า เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ห่างจากตัวเมืองชลบุรีประมาณ 6 กิโลเมตร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ คือ เทศบาลตำบลนาป่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาป่าทั้งตำบล

ประวัติ

[แก้]

พื้นที่ตำบลนาป่าเดิมเป็นป่าทึบ มีสัตว์ป่าชุกชุม จนนายพรานคนหนึ่งชื่อ "พรานช่วง" ได้เข้ามาถางป่าแห่งนี้เพื่อทำนา ต่อมาได้มีผู้อพยพเข้ามาในพื้นที่เพิ่มขึ้น จนพื้นที่ป่าเป็นพื้นที่นาโล่งแจ้ง จึงเป็นที่มาของชื่อ "นาป่า"[1]

เทศบาลตำบลนาป่า เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถูกจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2538 ในนาม องค์การบริหารส่วนตำบลนาป่า จากนั้นได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลนาป่า เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 [2]

ปัจจุบันสำนักงานเทศบาลตำบลนาป่า ตั้งอยู่เลขที่ 99 หมู่ที่ 11 ถนนศุขประยูร ตำบลนาป่า อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี 20000

ตราสัญลักษณ์เทศบาล

[แก้]
  • ทุ่งนา แสดงถึงพื้นที่อุดมสมบูรณ์ และสื่อถึงอาชีพหลักของประชากรส่วนใหญ่ นั่นคือ เกษตรกรรม
  • ต้นไม้ แสดงถึง ต้นตาล อันมีขึ้นมากในพื้นที่ และมีการนำมาแปรรูปเป็นสินค้าท้องถิ่น คือ น้ำตาล
  • ภูเขา แสดงถึงป่าในพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์

ภูมิประเทศ

[แก้]

ภูมิประเทศในเขตตำบลนาป่ามีลักษณะเป็นที่ราบ ดินเป็นดินทราย ระดับใต้ผิวดินมีความลึกเฉลี่ยประมาณ 2 เมตรเป็นดินดานและหินดาน มีภูเขาเตี้ย ๆ อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของพื้นที่

เนื้อที่และอาณาเขต

[แก้]

ตำบลนาป่ามีพื้นที่ทั้งหมด 18.30 ตารางกิโลเมตร (11,437 ไร่) มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ข้างเคียงดังนี้

เขตการปกครอง

[แก้]

หมู่บ้าน

[แก้]

ตำบลนาป่าแบ่งออกเป็น 12 หมู่บ้าน ดังนี้

  • หมู่ที่ 1 บ้านนาล่าง
  • หมู่ที่ 2 บ้านท้องคุ้ง
  • หมู่ที่ 3 บ้านนาขัดแตะ
  • หมู่ที่ 4 บ้านนานอก
  • หมู่ที่ 5 บ้านบางกระแบง
  • หมู่ที่ 6 บ้านนาเขื่อน
  • หมู่ที่ 7 บ้านหนองพะเนียง
  • หมู่ที่ 8 บ้านหนองทราย
  • หมู่ที่ 9 บ้านบ่อมอญ
  • หมู่ที่ 10 บ้านไร่บน
  • หมู่ที่ 11 บ้านหนองบอน
  • หมู่ที่ 12 บ้านหนองยายรัก

ชุมชน

[แก้]

เทศบาลตำบลนาป่า แบ่งเขตการปกครองออกเป็นชุมชนจำนวน 16 ชุมชน ดังนี้

  • ชุมชนที่ 1 บ้านนาล่าง (หมู่ที่ 1)
  • ชุมชนที่ 2 บ้านท้องคุ้ง (หมู่ที่ 2)
  • ชุมชนที่ 3 บ้านนาขัดแตะ (หมู่ที่ 3)
  • ชุมชนที่ 4 บ้านนานอก (หมู่ที่ 4)
  • ชุมชนที่ 5 บ้านทุ่งบางกระแบง (หมู่ที่ 5)
  • ชุมชนที่ 6 บ้านนาเขื่อน (หมู่ที่ 6)
  • ชุมชนที่ 7 บ้านหนองพะเนียง (หมู่ที่ 7)
  • ชุมชนที่ 8 บ้านหนองทราย (หมู่ที่ 8)
  • ชุมชนที่ 9 บ้านบ่อมอญ (หมู่ที่ 9)
  • ชุมชนที่ 10 บ้านไร่บน (หมู่ที่ 10)
  • ชุมชนที่ 11 บ้านไร่บน (หมู่ที่ 11)
  • ชุมชนที่ 12 บ้านหนองยายรัก (หมู่ที่ 12)
  • ชุมชนที่ 13 ปืนใหญ่สามัคคี (หมู่ที่ 10)
  • ชุมชนที่ 14 ปริณดาสังกะสี (หมู่ที่ 12)
  • ชุมชนที่ 15 อีสเทิร์นแลนด์ (หมู่ที่ 12)
  • ชุมชนที่ 16 แฟมิลี่แลนด์ (หมู่ที่ 12)

ประชากร

[แก้]

จากข้อมูลของกรมการปกครอง ประชากรในปลายปี พ.ศ. 2560 มีจำนวนทั้งสิ้น 38,548 คน แบ่งเป็นชาย 19,027 คน และเป็นหญิง 19,521 คน[3] มีจำนวนบ้านทั้งหมด 23,840 หลัง มีความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ย 2,106 คนต่อตารางกิโลเมตร สามารถแยกออกเป็นพื้นที่ได้ดังนี้

ตำบล หมูที่ ชื่อหมู่บ้าน จำนวนบ้าน (หลัง) ประชากรชาย (คน) ประชากรหญิง (คน) รวมประชากร (คน)
นาป่า 1 นาล่าง 3,872 3,431 3,778 7,209
2 ท้องคุ้ง 1,762 1,245 1,251 2,496
3 นาขัดแตะ 438 396 391 787
4 นานอก 1,608 1,170 1,169 2,339
5 บางกระแบง 691 576 586 1,162
6 นาเขื่อน 406 309 301 610
7 หนองพะเนียง 627 473 571 1,044
8 หนองทราย 2,261 1,356 1,424 2,780
9 บ่อมอญ 2,852 2,136 2,341 4,477
10 ไร่บน 990 1,223 845 2,068
11 หนองบอน 1,862 1,392 1,272 2,664
12 หนองยายรัก 6,471 5,320 5,592 10,912

พื้นที่ตำบลนาป่า เป็นพื้นที่ที่มีเขตติดต่อกับนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร ส่งผลให้มีประชากรแฝงจากต่างท้องที่มาเช่าอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก โดยมีบ้านจำนวนมากที่เป็นบ้านว่าง (ไม่มีรายชื่อผู้อาศัยในบ้าน) ซึ่งเป็นบ้านที่สร้างขึ้นเพื่อให้ประชากรแฝงเหล่านี้เช่าพักอาศัย ทั้งในรูปแบบของห้องแถว คอนโดมิเนียม หมู่บ้านจัดสรร และอาคารพาณิชย์ อีกทั้งยังมีบ้านที่ไม่มีเลขที่ที่ได้สร้างหรือต่อเติมอาคารจากเดิมและแบ่งให้เช่าอีกด้วย ส่งผลให้ประชากรในตำบลนาป่านั้นมีประชากรแฝงไม่ต่ำกว่า 5,000 คน

เศรษฐกิจ

[แก้]

เดิมพื้นที่ในตำบลนาป่ามีลักษณะเป็นไร่นา แต่ปัจจุบันพื้นที่มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นพื้นที่อุตสาหกรรม พาณิชยการและที่อยู่อาศัย ส่งผลให้การประกอบอาชีพของประชากรเปลี่ยนแปลงไป โดยอาชีพหลักของประชากรมีดังนี้

  • ร้อยละ 60 แรงงานในโรงงานอุตสาหกรรม ในจำนวนนี้รวมไปถึงประชากรแฝงจากต่างพื้นที่ และแรงงานต่างด้าว
  • ร้อยละ 25 ค้าขาย/พาณิชยกรรม เนื่องด้วยการขยายตัวอย่างรวดเร็วของชุมชน ประชากรในพื้ันที่ได้มีการเปิดร้านค้าขายสินค้าและบริการต่าง ๆ ทั้งในละแวกชุมชน
  • ร้อยละ 5 การบริการ เช่น รถรับจ้าง ซ่อมเครื่องมือเครื่องใช้ บริการทำความสะอาด
  • ร้อยละ 10 อื่น ๆ เช่น ประกอบกิจการ โรงแรม ปั๊มน้ำมัน โรงงานอุตสาหกรรม จัดสรรที่ดินและอสังหาริมทรัพย์

การศึกษา

[แก้]

มีสถานศึกษาจำนวน 4 แห่ง ดังนี้

  • สังกัดเทศบาลตำบลนาป่า
    • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านท้องคุ้ง ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 เปิดสอนระดับเตรียมอนุบาล
  • สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษา ชลบุรี เขต 1
    • โรงเรียนวัดท้องคุ้ง ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 เปิดสอนระดับอนุบาลถึงมัธยมศึกษาตอนต้น
    • โรงเรียนนาป่ามโนรถ ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 เปิดสอนระดับอนุบาลถึงประถมศึกษา
    • โรงเรียนวัดนาเขื่อน ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 เปิดสอนระดับอนุบาลถึงประถมศึกษา
    • โรงเรียนวัดราษฎร์สโมสร ตั้งอยู่หมู่ที่ 11 เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

การสาธารณสุข

[แก้]

ประชากรในพื้นที่ตำบลนาป่า มีการใช้บริการจากหน่วยงานสาธารณสุขจากภาครัฐ ดังนี้

  • หน่วยบริการปฐมภูมิ
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาป่า (บ้านท้องคุ้ง) ตั้งอยู่หมู่ที่ 2
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาป่า ตั้งอยู่หมู่ที่ 4
    • ศูนย์อนามัยที่ 3 ชลบุรี ตั้งอยู่หมู่ที่ 7[4]
  • หน่วยบริการทุติยภูมิ

ศาสนสถาน

[แก้]

ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีศาสนสถานในตำบลดังนี้

  • วัดในพระพุทธศาสนา จำนวน 3 วัด
    • วัดท้องคุ้ง ตั้งอยู่หมู่ที่ 2
    • วัดราษฎร์สโมสร ตั้งอยู่หมู่ที่ 11
    • วัดนาเขื่อน ตั้งอยู่หมู่ที่ 6
  • สำนักชี จำนวน 1 แห่ง
    • สำนักชีรุ่งรัศมี ตั้งอยู่หมู่ที่ 4
  • ศาลเจ้า จำนวน 2 แห่ง
    • ศาลเจ้าทุ่งบางกระแบง ตั้งอยู่หมู่ที่ 5
    • ศาลเจ้าซำเต๋า ตั้งอยู่หมู่ที่ 11

การคมนาคม

[แก้]
  • ถนนสายหลัก
    • ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 315 (ถนนศุขประยูร) เป็นเส้นทางหลักในการเข้าสู่ตัวเมืองชลบุรี
    • ถนนศิริรักษ์ เป็นเส้นทางเข้าสู่ตำบลหนองไม้แดง
    • ถนนท้องคุ้ง-หนองรี เป็นเส้นทางสู่ตำบลหนองรี
    • ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 (ถนนมอเตอร์เวย์) เป็นเส้นทางหลักในการเข้าสู่กรุงเทพมหานคร โดยมีด่านเก็บค่าผ่านทางพนัสนิคม (เขตเทศบาลตำบลดอนหัวฬ่อ) ในการเข้าออกทางหลวงพิเศษนี้
    • ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 361 (ถนนเลี่ยงเมืองชลบุรี)
  • รถโดยสารประจำทาง
    • สาย 1633ก ชลบุรี-หัวไผ่
    • สาย 1633ข ชลบุรี-ปรกฟ้า
    • สาย 1633ข ขลบุรี-หนองตำลึง
    • สาย 1633ข ขลบุรี-สัตพงษ์
    • สาย - ขลบุรี-หนองไม้แดง-ดอนหัวฬ่อ
    • สาย 265 ชลบุรี-นครราชสีมา
    • สาย 52 กรุงเทพ-พนัสนิคม

ตลาดสด

[แก้]
  • ตลาดสดโรงสี ตั้งอยู่หมู่ที่ 1

สาธารณูปโภค

[แก้]
  • ไฟฟ้า ประชาชนในพื้นที่ตำบลนาป่า ใช้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดชลบุรี โดยมีไฟฟ้าใช้ร้อยละ 100
  • ประปา ประชาชนในพื้นที่ตำบลนาป่า ใช้น้ำประปาจากการประปาส่วนภูมิภาค สาขาชลบุรี (ชั้นพิเศษ) แต่ยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ ในบางหมู่บ้านยังใช้ระบบประปาหมู่บ้านและแหล่งน้ำธรรมชาติอยู่

อ้างอิง

[แก้]
  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-28. สืบค้นเมื่อ 2018-04-10.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-29. สืบค้นเมื่อ 2018-04-10.
  3. http://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statTDD/views/showVillageData.php?rcode=20680107&statType=1&year=60
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-02-01. สืบค้นเมื่อ 2018-04-10.