ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เดอะซีรีส์ ภาคศึกล้างแผ่นดิน
บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย
|
ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เดอะซีรีส์ ภาคศึกล้างแผ่นดิน | |
---|---|
โปสเตอร์ละครซีรีส์ | |
ประเภท | ประวัติศาสตร์ |
สร้างโดย | บริษัท โมโน บรอดคาซท์ จำกัด บริษัท ฟุ๊คดุ๊ค โปรดักชั่น จำกัด |
เขียนโดย | บทประพันธ์ : พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล บทโทรทัศน์ : หม่อมราชวงศ์เฉลิมชาตรี ยุคล วรยุทธ พิชัยศรทัต |
กำกับโดย | หม่อมราชวงศ์เฉลิมชาตรี ยุคล |
แสดงนำ | ทวีฤทธิ์ จุลละทรัพย์ พชรวรรณ วาดรักชิต ภัทรวดี เหลาสา ราชัน ชาม่า ณัฐริกา เฝ้าด่าน พชรณมน นนทภา อังค์กูณฑ์ ธนาทรัพย์เจริญ ไรวินทร์ รัศมีนิยมกุล อธิวัฒน์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ศิรประภา สุขดำรงค์ กษาปณ์ จำปาดิบ |
จำนวนตอน | 5 ตอน 10 ตอน |
การผลิต | |
ผู้อำนวยการผลิต | พิชญ์ โพธารามิก ดร. โสรัชย์ อัศวะประภา นวมินทร์ ประสพเนตร ซัง โด ลี |
ผู้อำนวยการสร้าง | หม่อมราชวงศ์เฉลิมชาตรี ยุคล คุณากร เศรษฐี บังอร อิ่มเอม กฤษ อินสมพันธ์ |
ความยาวตอน | 93 นาที 60 นาที |
ออกอากาศ | |
เครือข่าย | โมโนแม๊กซ์ |
ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เดอะซีรีส์ ภาคศึกล้างแผ่นดิน หรือชื่อเดิม ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช The Series ภาคศึกบ้านสระเกศ เป็นละครโทรทัศน์อิงประวัติศาสตร์ ภาคที่สาม และเป็นภาคสุดท้ายของละครเรื่อง ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เดอะซีรีส์ กำกับการแสดงโดย หม่อมราชวงศ์เฉลิมชาตรี ยุคล เป็นการสร้างละครที่อิงเอาเนื้อเรื่องบางส่วนจากภาพยนตร์เรื่อง ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๓ ยุทธนาวี และ ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๔ ศึกนันทบุเรง ที่หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคลได้สร้างไว้มาสร้างใหม่อีกครั้ง โดยใช้กระบวนการถ่ายทำและเทคนิคแบบภาพยนตร์ ด้วยความมุ่งหมายจะให้เนื้อเรื่องสมบูรณ์กว่าในแบบฉบับภาพยนตร์ ละครเรื่องนี้เป็นภาคต่อของ ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เดอะซีรีส์ ภาคประกาศอิสรภาพ
ออกอากาศซ้ำทางช่อง 9 ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 18.00-19.00 น. เริ่มตอนแรกในวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2564 และออกอากาศตอนจบในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ต่อจากละคร ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เดอะซีรีส์ ภาคประกาศอิสรภาพ (วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน;งดออกอากาศ)
เนื้อเรื่อง
[แก้]ในปีพุทธศักราช 2127 การประกาศเอกราชที่เมืองแครง ทำให้พระเจ้านันทบุเรงแห่งพม่าเกิดความประหวั่นพรั่นพรึงว่า อยุธยาในฐานะประเทศราชในขณะนั้นทำการเยี่ยงนี้อาจเป็นชนวนให้ประเทศราชอื่นๆ ตั้งตัวกระด้างกระเดื่องตาม แต่ด้วยติดศึกอังวะ จึงส่งเพียงพระยาพะสิมและพระเจ้าเชียงใหม่เข้าประชิดกรุงศรีอยุธยา
ครั้งนั้นพม่ายกเข้ามาเป็นศึกกระหนาบถึง 2 ทาง ทัพพระยาพะสิมยกเข้ามาทาง ด่านพระเจดีย์สามองค์ เลยล่วงเข้ามาถึงแดนสุพรรณบุรี ส่วนพระเจ้าเชียงใหม่-นรธาเมงสอ มาจากทางเหนือ นำทัพบุกลงมาตั้งค่ายถึงบ้านสระเกศ แขวงเมืองอ่างทอง พระนเรศวรและกองทัพของพระองค์ได้วางแผนในการแยกสายเข้าตีทัพของพม่านั้นโดย แข่งกับเวลา หากช้าไปอยุธยาอาจแตกพ่ายก็เป็นได้ นอกจากนี้ยังมีศึกรักระหว่างรบของคนสี่คน คือ พระราชมนู เลอขิ่น เสือหาญฟ้า และรัตนาวดี รวมถึงสถานะของพระสุพรรณกัลยาที่อาจต้องเป็นบาทบริจาริกาของพระเจ้านันทบุเรง ผู้ราชบุตรแห่งพระเจ้าบุเรงนอง อดีตสวามีอีกด้วย
กองทัพพระยาพสิมยกเข้ามาถึงเมืองกาญจนบุรี (ถึงก่อนทัพเจ้าเมืองเชียงใหม่) สมเด็จพระนเรศวรทรงให้พระยาจักรียกทัพเรือไปยิงปืนใหญ่ดักข้าศึกแถว ๆ เมืองสุพรรณบุรี ทัพพม่าถูกปืนใหญ่แตกพ่ายหนีไป ต่อมาสมเด็จพระนเรศวรกับพระเอกาทศรถยกทัพไปถึงตำบลป่าโมก ก็พบกับกองทัพพม่าซึ่งลงมาเที่ยวรังแกราษฎรทางเมืองวิเศษชัยชาญ จึงได้เข้าโจมตีจนทัพพม่าล่าถอยไป พระเจ้าเชียงใหม่จึงจัดกองทัพยกลงมาอีก สมเด็จพระนเรศวรจึงดำรัสสั่งให้พระราชมนูคุมกองทัพขึ้นไปลาดตระเวนดูก่อน กองทัพพระราชมนูไปปะทะกับพม่าที่บ้านบางแก้ว สมเด็จพระนเรศวรเสด็จขึ้นไปถึงบ้านแห จึงมีดำรัสให้ข้าหลวงขึ้นไปสั่งพระราชมนูให้ทำเป็นล่าทัพกลับถอยลงมา แล้วพระองค์กับพระอนุชาก็รุกไล่ตีทัพพม่าแตกพ่ายทั้งทัพหน้าและทัพหลวงจนถึงค่ายที่ตั้งทัพของพระเจ้าเชียงใหม่ที่บ้านสระเกษ ทัพของพระเจ้าเชียงใหม่จึงแตกกระจัดกระจายไป
เมื่อได้ค่ายที่บ้านสระเกศแล้วสมเด็จพระนเรศวรทรงติดตามพระเจ้าเชียงใหม่ขึ้นไปถึงนครสวรรค์ ทรงทราบข่าวว่าพระเจ้าเชียงใหม่นี้หนีไปอาศัยอยู่กับพระมหาอุปราชาที่เมืองกำแพงเพชรแล้ว หากติดตามไปอาจเสียทีพระมหาอุปราชาได้ จึงได้วางกำลังส่วนหนึ่งเป็นหน่วยลาดตระเวนเอาไว้ที่เมืองนครสวรรค์ แล้วยกทัพเสด็จกลับพระนคร
นักแสดงนำ
[แก้]นักแสดงหลัก
[แก้]- ทวีฤทธิ์ จุลละทรัพย์ รับบท สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พระองค์ดำ)
- ราชัน ชาม่า รับบท พระราชมนู หรือ บุญทิ้ง
- อังค์กูณฑ์ ธนาทรัพย์เจริญ รับบท พระมหาอุปราชามังสามเกียด
- พชรวรรณ วาดรักชิต รับบท มณีจันทร์
- ณัฐริกา เฝ้าด่าน รับบท เลอขิ่น
- พชรณมน นนทภา รับบท พระสุพรรณกัลยา (พระองค์ทอง)
- ภัทรวดี เหลาสา รับบท องค์หญิงวิไลกัลยา
นักแสดงสมทบ
[แก้]- วรชัย หิรัญลาภ รับบท พระศรีถมอรัตน์
- อธิวัฒน์ ธีรนิธิศนันท์ รับบท พระชัยบุรี
- พิจิกรณ์ พลอยมีค่า รับบท เสือหาญฟ้า (เจ้าฟ้าเมืองเวียงก่อง)
- กษาปณ์ จำปาดิบ รับบท พระเจ้านันทบุเรง
- ปวริศร์ มงคลพิสิฐ รับบท พระเจ้าเชียงใหม่นรธาเมงสอ
- อรุชา โตสวัสดิ์ รับบท สมเด็จพระศรีสุริโยพรรณ (น้องชายนักพระสัตถา)
- ร.ต.ท.พิชวุฒิ เปี่ยมธรรมโรจน์ รับบท สมเด็จพระเอกาทศรถ (พระองค์ขาว)
- อธิวัฒน์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา รับบท สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช
- ศิรประภา สุขดำรงค์ รับบท พระวิสุทธิกษัตริย์
- ยุทธพิชัย ชาญเลขา รับบท พระยาเกียรติ (ขุนนางอโยธยา)
- ภาสวร บวรกีรติ รับบท พระยาราม (ขุนนางอโยธยา)
- พัฒนศักดิ์ พงษ์พันธุ์ รับบท สุรสิงหะ (แม่กองอโยธยา)
- จักริน กฤตย์สิริ รับบท มังจาปะโร (เจ้าเมืองชามะโร/ขุนนางหงสาวดี)
- ไรวินทร์ รัศมีนิยมวุฒิ รับบท องค์หญิงนัดเชงเมดอ[1]
- สิพลดนัย สะราคำ รับบท หลวงโกษา (ขุนนางอโยธยา)
- ส.ต.หญิง รุ่งทิวา คงสนุ่น รับบท แก่นจันทน์ (ข้ารับใช้พระเทพกษัตรีย์)
- ภัทรารวีย์ เบ้าสุวรรณ รับบท พระนางทาตุกัลยา (น้องสาวนรธาเมงสอ)
- ยุทธการ นาคทองดี รับบท ขุนนางอโยธยา
- กฤษณะ สุวรรณโณ รับบท (ขุนนางอโยธยา)
- กิตติพงศ์ สัญจร รับบท พระยาพระสิม (น้องชายต่างแม่นันทบุเรงนอง/ขุนนางหงสาวดี)
- สุริยา เยาวสังข์ รับบท พระเจ้าตองอู (เมงเยสีหตู) (อุปราชแห่งตองอู)
- ไอรินทร์ สุรังค์สุริยกุล รับบท ท้าวโสภาวิเวก (คุณหญิงพระยาซากังราว/หัวหน้านางสนองพระโอถ)
- นงค์ เชิญยิ้ม รับบท เศรษฐีท้วม (นายบ้านโยเดีย)
- ปฐมรัตน์ ศิริทรัพย์ รับบท หมื่นชัยสงคราม (ขุนนางละแวก)
- ราชวัติ ขลิบเงิน รับบท บุญเรือง (พี่ชายแตงแก้ว)
- ปุณยนุช เลิศสุวรรณรัชต์ รับบท แตงแก้ว (น้องสาวบุญเรือง)
- ชนินทร จิตปรีดา รับบท สิงห์คำ (ขุนนางหงสาวดี)
- ชมพูนุช ยุวดาราตระกูล รับบท แม่ช้อย (ข้ารับใช้พระเทพกษัตรีย์)
- รัชต พันธุ์พยัคฆ์ รับบท สเรนันทสู (เจ้าเมืองเกิน/ขุนนางหงสาวดี)
- ชัชฤทธิ์ วณิชย์พูลผล รับบท พระยาพิชัย (ขุนนางเมืองสวรรคโลก)
- นุกูล ภาชนะกาญจน์ รับบท พระยาสวรรคโลก (ขุนนางเมืองสวรรคโลก)
- ธงชัย มาเม่น รับบท พระยาพะเยา (พระอนุชาพระเจ้าเชียงใหม่นรธาเมงสอ/ขุนนางหงสาวดี)
- รณสิทธิ์ นิสสุ รับบท พระยาเชียงแสน (ขุนนางหงสาวดี)
- กวินธร แสงสาคร รับบท นันทสู (แม่กองหงสาวดี)
- ปณต สุขจิตร์ รับบท ราชสังครำ (แม่กองหงสาวดีที่ซากังราว)
- ครรชิต ชมภูศรี รับบท สมิงโยคราช (นายทัพรามัญ/ฝ่ายอโยธยา)
- กมลนภัช ถานวงศ์ รับบท มูเตอ (ทหารไทใหญ่)
- นาย กฤษ ศรีทาบุตร รับบท เจ้าพระยากลาโหม (พระยาซากังราว)
- ณรัฐ พัฒนาพงศ์ชัย รับบท ขุนรามเดชะ (ขุนนางอโยธยา)
- วรชัย นวลศรี รับบท ขุนนางอโยธยา
- พยุงศักดิ์ นฤภัย รับบท พ่อบ้าน (หัวหน้าหมู่บ้านซะไว)
นักแสดงรับเชิญ
[แก้]- ปัทมวรรณ เค้ามูลคดี รับบท พระเทพกษัตรีย์
- ไกรลาศ เกรียงไกร รับบท พระยาธรรมา (พระสุนทรสงคราม ในฤดูกาลที่ 1,2)
- ธนายง ว่องตระกูล รับบท ลักไวทำมู (ขุนนางหงสาวดี)
- คุณากร เกิดพันธุ์ รับบท สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 (นักพระสัตถา) (พระยาละแวก)
- ดรัณภพ สุริยาวงษ์ รับบท ยางทวี (ขุนนางหงสาวดี)
- รับบท นังนก (นางกำนัลในวังหลวง)
- ประเวศ น่วมอยู่ (โทน ชวนชื่น) รับบท ทหารอโยธยา
- ฉัตรวัต รัตนวงศ์ รับบท ขุนนางหงสาวดี
- รับบท เถ้าแก่ (นายสำเภา)
- สรพงษ์ ชาตรี รับบท พระมหาเถรคันฉ่อง
- นุศรา ประวันณา รับบท พระนางเมงพยู
เบื้องหลังการถ่ายทำ
[แก้]ในการถ่ายทำฉากสำคัญ คือฉากการรบระหว่างสมเด็จพระนเรศวร กับกองทัพของพระยาพสิม และนรธาเมงสอ ในฉากนี้มีนักแสดงทั้งฝ่ายรบ และนักแสดงประกอบเข้าฉากมากมาย ในการถ่ายทำในฤดูกาลนี้มีนักแสดงท่านหนึ่งที่ไม่สามารถมาแสดงได้ คือ พิชวุฒิ เปี่ยมธรรมโรจน์ ผู้รับบทเป็น สมเด็จพระเอกาทศรถ (พระองค์ขาว) เพราะเขาสอบอัยการสำเร็จ หม่อมราชวงศ์เฉลิมชาตรี ยุคล ผู้กำกับได้กล่าวว่าจะหานักแสดงใหม่มารับบทแทน แต่ยังไม่เปิดเผยว่าเป็นใคร[2][3][4]
ความแม่นยำทางประวัติศาสตร์
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "คุณชายอดัม เปิดกองลุยถ่ายฉากสงครามยิ่งใหญ่ ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เดอะซีรีส์ ซีซั่น 3". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-03. สืบค้นเมื่อ 2018-08-03.
- ↑ "คุณชายอดัม เปิดกองลุยถ่ายฉากสงครามยิ่งใหญ่ ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เดอะซีรีส์ ซีซั่น 3". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-03. สืบค้นเมื่อ 2018-08-03.
- ↑ คุณชายอดัม เปิดกอง “นเรศวรฯ เดอะซีรีส์ ภาค 3” (คลิปบทสัมภาษณ์ของหม่อมเจ้าเฉลิมชาตรี ยุคล)
- ↑ “คุณชายอดัม” เปิดกองลุยถ่ายฉากสงครามสุดยิ่งใหญ่ “ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เดอะซีรีส์ ซีซั่น 3”