ซเวซดา (โมดูลของสถานีอวกาศนานาชาติ)
ข้อมูลของสถานี | |
---|---|
เลขทะเบียน COSPAR | 2000-037A |
หมายเลข SATCAT | 26400 |
สัญญาณเรียกขาน | สถานีอวกาศนานาชาติ |
ส่งขึ้นเมื่อ | July 12, 2000 เทียบกับสถานี ISS เมื่อ 26 กรกฎาคม |
ฐานส่ง | LC-81/23, Baikonur Cosmodrome, Kazakhstan |
มวล | 19,051 กิโลกรัม (42,000 ปอนด์) |
ความยาว | 13.1 เมตร (43 ฟุต) |
ความกว้าง | 29.7 เมตร (97 ฟุต) |
เส้นผ่านศูนย์กลาง | 4.15 m |
ความดันบรรยากาศ | 101.3 kPa (29.91 inHg) |
จุดใกล้โลกที่สุด | 319.6 กิโลเมตร (172.6 ไมล์ทะเล) |
จุดไกลโลกที่สุด | 346.9 กิโลเมตร (187.3 ไมล์ทะเล) |
ความเอียงวงโคจร | 51.63 degrees |
ความสูงวงโคจรปกติ | 333.3 กิโลเมตร (180.0 ไมล์ทะเล) |
ความเร็วเฉลี่ย | 27,743.8 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (17,239.2 ไมล์ต่อชั่วโมง) |
คาบการโคจร | 91.20 minutes |
จำนวนรอบโคจรต่อวัน | 15.79 |
จำนวนวันที่โคจร | 2534 วัน |
จำนวนวันที่มนุษย์อยู่ | 2316 วัน |
จำนวนรอบโคจรรวม | 40,010 |
สถิติ ณ 20 มิถุนายน 2007 อ้างอิง: [1][2][3] | |
องค์ประกอบ | |
On-orbit configuration of the Zvezda service module |
ซเวซดา (อังกฤษ: Zvezda; รัสเซีย: Звезда หมายถึง "ดวงดาว") หรือที่รู้จักในชื่อ โมดูลบริการซเวซดา เป็นส่วนประกอบหนึ่งของสถานีอวกาศนานาชาติ เป็นโมดูลที่ 3 ที่นำส่งขึ้นไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ เป็นส่วนจัดการเรื่องระบบสนับสนุนการดำรงชีพส่วนใหญ่ของสถานี รวมไปถึงเป็นส่วนที่อยู่อาศัยของลูกเรือ 2 คน โมดูบซเวซดาเป็นศูนย์กลางโครงสร้างหลักและฟังก์ชันการทำงานของส่วนประกอบของรัสเซียบนสถานีอวกาศนานาชาติ คือ เซ็กเมนต์วงโคจรของรัสเซีย (Russian Orbital Segment)
โมดูลนี้ก่อสร้างโดย S.P. Korolev Rocket and Space Corporation Energia และนำส่งขึ้นเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม ค.ศ. 2000 ด้วยจรวดโปรตอน ไปเทียบท่ากับโมดูลซาร์ยา เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม จรวดที่นำส่งโมดูลนี้ขึ้นเป็นหนึ่งในกลุ่มแรกๆ ที่มีป้ายโฆษณาติดไปด้วย โดยมีตราโลโก้เครือข่ายฟาสต์ฟู้ดส์ของ พิซซ่าฮัท[4] มีรายงานจากทางบริษัทว่าจ่ายค่าโฆษณาไปทั้งสิ้นมากกว่า 1 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ[5]
ระเบียงภาพ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "The ISS to Date". NASA.gov. 2007-02-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-14. สืบค้นเมื่อ 2007-06-24.
- ↑ "International Space Station Status Report #06-7". NASA.gov. 2006-02-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-08. สืบค้นเมื่อ 2007-06-24.
- ↑ "NASA - Zvezda Service Module". NASA.gov. 2006-10-14. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-23. สืบค้นเมื่อ 2007-07-10.
- ↑ Space.com, September 30, 1999. Pizza Hut Puts Pie in the Sky with Rocket Logo เก็บถาวร 2006-01-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Accessed June 27, 2006.
- ↑ "THE MEDIA BUSINESS; Rocket to Carry Pizza Hut Logo". New York Times. October 1, 1999. สืบค้นเมื่อ January 21, 2009.