ข้ามไปเนื้อหา

ซาร์ยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพพของซาร์ยาในอวกาศ

ซาร์ยา (อังกฤษ: Zarya ในภาษารัสเซียแปลว่า รุ่งอรุณ) เป็นส่วนประกอบแรกของสถานีอวกาศนานาชาติ (อังกฤษ: International Space Station; ISS)

ข้อมูลทั่วไป

[แก้]

ทำหน้าที่ผลิตกระแสไฟฟ้าขับเคลื่อนและนำทางการประกอบในช่วงต้น ตอนนี้ทำหน้าที่เป็นโมดูลสำหรับเก็บของทั้งด้านในโมดูลและถังน้ำมันด้านนอก มีน้ำหนัก 19,300 กิโลกรัม (42,600 ปอนด์) ยาว 12.55 เมตร (41.2 ฟุต) ส่วนกว้างที่สุด 4.1 เมตร (13.5 ฟุต) ถูกพัฒนามาจากยานอวกาศซัลยุต สร้างขึ้นที่สถานีวิจัยและอุตสหกรรมทางอวกาศครุนนิเชฟ (ภาษาอังกฤษ Khrunichev State Research and Production Space Center; KhSC) ที่กรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย แต่บางส่วนผลิตขึ้นโดยบริษัทลอคฮีดของสหรัฐอเมริกา ส่วนผู้ออกเงินและเป็นเจ้าของจริงๆ ก็คือสหรัฐอเมริกา ใช้เวลาในการสร้างตั้งแต่ ธันวาคม ค.ศ. 1994 - มกราคม ค.ศ. 1998 มีท่าเทียบจอด 3 จุด คือด้านหน้าใช้สำหรับเชื่อมต่อกับยาน Unity Module ด้านหลังใช้สำหรับเชื่อมต่อกับยาน Zvezda ด้านข้างใช้สำหรับเชื่อมต่อกับยานโซยูซ หรือ ยานโปรเกรซ ของรัสเซีย หรือ Docking Cargo Module

ซาร์ยามีแผงรับพลังงานแสงอาทิตย์ 2 อัน เพื่อใช้ในการผลิตพลังงานทางด้านข้าง ขนาด 10.67 เมตร คูณ 3.35 เมตร และแบตเตอรรี่ชนิด nickel-cadmium 6 ตัว ที่ให้พลังงานราว 3 กิโลวัตต์ ซาร์ยาถูกส่งจากพื้นโลกขึ้นไปยังอวกาศโดยจรวดโปรตอน ของประเทศรัสเซีย ที่ฐานยิงจรวด Baikonur Cosmodrome ประเทศคาซัคสถาน เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1998 ไปที่ความสูง 400 กิโลเมตร (250 ไมล์) และออกแบบมาให้ใช้งานได้นานอย่างน้อย 15 ปี และในวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 1998 กระสวยอวกาศ Endeavour ได้นำส่ง Unity module ที่ทำขึ้นโดยสหรัฐอเมริกาไปเชื่อมต่อ แล้วต้องรอนานเกือบ 6 ปี (ล่าช้าจากที่วางแผน 1 ปีครึ่ง) ส่วน Zvezda Module ที่ทำขึ้นโดยรัสเซีย ได้ไปเชื่อมต่อเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม ค.ศ. 2000