ข้ามไปเนื้อหา

ซีเมนส์ เดซิโร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รถไฟเดซิโรในเมืองกราซ ประเทศออสเตรีย

ซีเมนส์ เดซิโร (อังกฤษ: Siemens Desiro) เป็นรถตระกูลหนึ่งของรถดีเซลรางและรถไฟฟ้า ซึ่งใช้ขนส่งผู้โดยสาร[1] ซีเมนส์ เดซิโร มีรถหลายรุ่นที่ดัดแปลงออกมา เช่น เดซิโร คลาสสิก, เดซิโร เอ็มแอล, เดซิโร ยูเค และรถรุ่นในอนาคต เดซิโร ซิตี และ เดซิโร อาร์ยูเอส มักใช้ในรถไฟชานเมืองและสายระหว่างภูมิภาค[1] การออกแบบตัวรถค่อนข้างง่ายไม่ซับซ้อนแต่อย่างใด

เดซิโร คลาสสิก

[แก้]

ออสเตรีย

[แก้]

การรถไฟออสเตรีย (ÖBB) ใช้รถดีเซลรางเดซิโรจำนวน 60 ขบวน ถูกกำหนดให้เป็นรุ่น ÖBB 5022 โดยใช้ขบวนรถพื้นฐานจากคลาส 642 ของเยอรมัน แต่มีการเพิ่มเติมอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยเข้ามาด้วย

บัลแกเรีย

[แก้]
รถไฟของการรถไฟบัลแกเรีย สายโซเฟีย-ลากัตนิก ที่สถานีรถไฟเมืองทอมพ์สอน

ในปี ค.ศ. 2005ค.ศ. 2006 การรถไฟบัลแกเรีย ได้เปิดเดินรถไฟระหว่างเมืองโซเฟียและลากัตนิก โดยใช้ขบวนรถดีเซลรางเดซิโร 25 ขบวน มูลค่า 67 ล้านยูโร[2] เมื่อ 22 มีนาคม ค.ศ. 2006 รถไฟอีก 16 ขบวน ได้เริ่มเปิดให้บริการ ในเส้นทางสายโซเฟียKyustendilโซเฟีย


สาธารณรัฐเช็ก

[แก้]

บริษัทรถไฟในเช็ก ได้นำขบวนรถไฟเดซิโรเข้ามาใช้ชั่วคราวเพียง 2 ขบวนเท่านั้น โดยเช่ามาจากประเทศเยอรมนี

เดนมาร์ก

[แก้]

การรถไฟเดนมาร์ก (DSB) ได้ทำการเช่ารถไฟเดซิโรมาตั้งแต่ ค.ศ. 2002 ให้บริการเริ่มแรกระหว่างเมือง โอเดนเซซเวนเบิร์ก กับ โอเดนเซFredericia เมื่อ 2 กรกฎาคม ค.ศ. 2009 DSB ได้ลงสัญญาสั่งซื้อซีเมนส์เพื่อนำมาใช้ในเส้นทางรถไฟสายเกรนาบาเนน ซึ่งได้นำเข้ามาเมื่อ 12 ธันวาคม ค.ศ. 2012[3] รถไฟขยายไปถึงเมือง Odder ตั้งแต่เดือนธันวาคม ค.ศ. 2012 ซึ่งเป็นต้นทางของเครือข่ายรถไฟฟ้ารางเบาในเมืองออร์ฮูส[4]

เยอรมนี

[แก้]
รถไฟเยอรมันทั้ง 2 ขบวนนี้ ใช้รถรุ่นคลาส 642

สายรถไฟเยอรมัน (Deutsche Bahn) ได้ใช้รถไฟฟ้า 2 คันต่อขบวนมาตั้งแต่ ค.ศ. 2000 ด้วยความเร็วสูงสุด 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (75 ไมล์ต่อชั่วโมง) รถรุ่นคลาส 642 ได้นำมาใช้เส้นทางหลักและทางแยกย่อยต่าง

กรีซ

[แก้]
OSE Desiro EMU

การรถไฟเฮลเลนิก (OSE) ได้นำรถไฟ 2 คันต่อขบวน (OSE class 660) จำนวน 8 ขบวน มาใช้งานชั่วคราวระหว่าง ค.ศ. 2004ค.ศ. 2006 และใช้งานอีกครั้งใน ค.ศ. 2007 บนทางสายเอเธนส์Chalkida และระบบรถไฟชานเมืองกรุงเอเธนส์

ฮังการี

[แก้]

MÁV ได้นำรถเดซิโรจำนวน 39 คันมาใช้งานหลักในรถไฟชานเมืองระหว่างกรุงบูดาเปสต์Esztergom และบูดาเปสต์–Lajosmizse และสายรถไฟระหว่างเมือง บูดาเปสต์–บาจา ส่วนในวันหยุดสุดสัปดาห์ มีการเปิดเดินรถไฟจากบูดาเปสต์ ไปยังเมืองบาจา และเมือง Sátoraljaújhely และจากบูดาเปสต์ไปยังทาพอลคา และในวันหยุดฤดูร้อน รถไฟเดซิโรก็ได้ใช้งานในรถไฟท้องถิ่นสายเลียบทะเลสาบบาลาตอนฝั่งเหนือ

มาเลเซีย

[แก้]
KLIA Ekspres ใช้รถไฟฟ้ารุ่น อีที 425 เอ็ม

รถไฟฟ้าระยะทาง 57 กิโลเมตร (35 ไมล์) อันได้แก่ สายเคแอลไอเอ เอ็กซ์เพรส ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าด่วนจอดเฉพาะสถานีรถไฟเซ็นทรัลกัวลาลัมเปอร์ (เคแอลเซ็นทรัล) กับท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ (เคแอลไอเอ) และ สายเคแอลไอเอ แทรนซิต ซึ่งเป็นสายรถไฟฟ้าชานเมืองในเขตกัวลาลัมเปอร์โดยจะจอดทุกสถานี (รวมทั้งสิ้น 6 สถานี) ที่อยู่ระหว่าง สถานีรถไฟเซ็นทรัลกัวลาลัมเปอร์ (เคแอลเซ็นทรัล) กับท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ (เคแอลไอเอ) ทั้งสองสายนี้จะใช้ทางวิ่งร่วมกันและใช้รถไฟฟ้ารุ่น อีที 425 เอ็ม จำนวน 4 คันต่อขบวน[5] มีในบริการทั้งหมด 12 ขบวน

ความเร็วสูงสุด 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (99 ไมล์ต่อชั่วโมง)

โรมาเนีย

[แก้]
รถไฟในโรมาเนีย (Săgeata Albastră)

CFR เป็นกิจการรถไฟประจำชาติโรมาเนีย เป็นประเทศหนึ่งที่ใช้รถไฟฟ้าเดซิโรมากที่สุดในโลก CFR มีรถไฟฟ้าทั้งหมด 120 คัน โดยนำไปวิ่งตั้งแต่ทางระยะสั้นจนถึงทางไกล

สโลวีเนีย

[แก้]
SŽ Series 312

การรถไฟสโลวีเนีย ใช้รถไฟฟ้าเดซิโรรุ่น EMG 312 SR 31E เพื่อนำไปใช้ในขบวนรถชานเมือง

สหรัฐอเมริกา

[แก้]
สปรินเทอร์แห่งเมืองแซนดีเอโก

รถสปรินเทอร์แซนดีเอโก ใช้รถเดซิโรรุ่น VT642 ให้บริการทางตอนเหนือของจังหวัดแซนดีเอโก จากเมืองโอเชียนไซด์ไปยังเมืองเอสคอนดิโด ระยะทาง 35 กิโลเมตร (22 ไมล์)

เดซิโร เมนไลน์

[แก้]

ออสเตรีย

[แก้]

ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2010 ÖBB ได้ลงนามซื้อสัญญาเพื่อที่จะเพิ่มจำนวนรถเป็น 200 คัน[6]

เบลเยียม

[แก้]

ใน ค.ศ. 2008 NMBS และ SNCB ได้สั่งซื้อรถจำนวน 95 คัน เพื่อนำไปรวมกับรถที่มีอยู่เดิมให้เป็น 300 คัน[7] แต่ใน ค.ศ. 2013 การสั่งซื้อได้ถูกระงับ เนื่องจากเครื่องยนต์ขัดข้องระหว่างทำงาน เป็นเหตุให้การขนส่งล่าช้า และต้องจ่ายเงินเพิ่มอีก 25 ล้านยูโร[8]

เยอรมนี

[แก้]
คลาส 460

รถรุ่น ML ใช้งานเป็นรถไฟเอกชน วิ่งระหว่างเมืองโคโลญ-แม้นซ์[9] ต่อมา EMUs ได้ทำการเช่ารถจากแองเจิ้ล เทรน และได้รับรถรุ่น 460 เพื่อนำมาใช้งาน รถกระแสไฟฟ้าตรงเหนือหัวของ EMUs ทำความเร็วสูงสุด 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (99 ไมล์ต่อชั่วโมง) อย่างไรก็ตาม ก็ถกจำกัดความเร็วให้เหลือเพียงแค่ 150 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (93 ไมล์ต่อชั่วโมง)

เดซิโร ยูเค

[แก้]

ประเทศไทย

[แก้]
รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์

ใช้ใน รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ โดยลักษณะตัวรถเป็นรถรุ่น บริติช เรล คลาส 360/2 ตัวรถจะมีสองแบบคือ

  1. แบบคาดแดง เป็นขบวนด่วน ไม่จอดรับส่งผู้โดยสารระหว่างทาง
  2. แบบคาดน้ำเงิน เป็นขบวนธรรมดา จอดรับส่งผู้โดยสารระหว่างทาง

รถไฟฟ้าทั้ง 2 แบบ ให้บริการระหว่าง สถานีพญาไท และ สถานีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ[10]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Desiro". Siemens. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 มิถุนายน 2015. สืบค้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2013.
  2. "Bulgarian modernisation programme aims to win back lost traffic". Railway Gazette International. 1 มีนาคม 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 กันยายน 2012.
  3. "DSB agrees Desiro DMU framework contract". Railway Gazette International. 3 กรกฎาคม 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 เมษายน 2011. สืบค้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2013.
  4. Østergaard, Nicolai (7 ธันวาคม 2012). "Trods spritnye tog: Århus-pendlere får længere rejsetid". Ingeniøren. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 มกราคม 2013. สืบค้นเมื่อ 7 ธันวาคม 2012.
  5. "Siemens - Express Rail Link Kuala Lumpur" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 20 กรกฎาคม 2006. สืบค้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2013.
  6. "Desiro ML framework to meet ÖBB's expansion plans". Railway Gazette International. 20 เมษายน 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 เมษายน 2010.
  7. "Siemens scoops Brussels RER order". Railway Gazette International. 12 มีนาคม 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 มกราคม 2013.
  8. "Belgian rail refuses to accept German trains". VRT De Redactie. 12 กุมภาพันธ์ 2013.
  9. "Desiro ML aussen". trans regio (ภาษาเยอรมัน). 2 กุมภาพันธ์ 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2013.
  10. "Bangkok Airport Express to change city travel". Railway Gazette International. 1 ธันวาคม 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 ธันวาคม 2009.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]