ข้ามไปเนื้อหา

ซีเมนส์ โมดูลาร์ เมโทร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซีเมนส์ โมดูลาร์ เมโทร
ซีเมนส์ โมดูลาร์ เมโทร EMU-BLE ขบวนล่าสุดที่สร้างขึ้น สําหรับรถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำเงิน
ภายในรถไฟฟ้าเมืองเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย
ประจำการค.ศ. 1997–ปัจจุบัน
ผู้ผลิตซีเมนส์
ตระกูลโมดูลาร์ เมโทร
สายการผลิตค.ศ. 1996–2020
รูปแบบการจัดขบวน2–8 คัน ขบวน
คุณลักษณะ
ระบบจ่ายไฟฟ้า750 V DC หรือ 1,500 V DC เหนือหัว
ตัวรับกระแสไฟ
มาตรฐานทางกว้าง
  • 1,435 mm (4 ft 8 12 in) (ส่วนใหญ่)
  • 1,600 mm (5 ft 3 in) (รถไฟฟ้าเมืองเมลเบิร์น)

ซีเมนส์ โมดูลาร์ เมโทร (อังกฤษ: Siemens Modular Metro) เป็นตระกูลรถรางไฟฟ้าเพื่อระบบขนส่งด่วนพิเศษ ซึ่งผลิตโดย ซีเมนส์ทรานสพอร์เทชันซิสเทมส์ และผู้ประกอบการรถไฟใช้ทั่วโลก แนวคิดของยานพาหนะดังกล่าวเปิดตัวในกรุงเวียนนา เมื่อ ค.ศ. 2000 และเป็นแนวคิดการใช้ส่วนจำเพาะ และทำให้มีรุ่นดัดแปลงของพาหนะรถไฟใต้ดินจำนวนมาก[1] ซีเมนส์ โมดูลาร์ เมโทรเดิมชื่อว่า โมดูลาร์โมบิลิตี (Modular Mobility) และซีเมนส์ยังใช้ชื่อย่อ โม.โม. (อังกฤษ: Mo.Mo.)

การออกแบบ

[แก้]

รถไฟดังกล่าวออกแบบมาเพื่อใช้กับระบบในพิสัยผู้โดยสาร 20,000 ถึง 60,000 คน/ชั่วโมง ปอร์เช่ดีไซน์เป็นผู้ออกแบบตัวรถไฟ มอดูลในระบบมีประตู ทางเดินระหว่างที่นั่ง การปรับอากาศติดตั้งหลังคา และลักษณะภายใน[1] การรวมรถยนต์กับรถพ่วงจำนวนมากเป็นไปได้ โดยพาหนะหนึ่ง ๆ มีความยาวตั้งแต่ 17 ถึง 25 เมตร และความยาว 2.6 ถึง 3.2 เมตร มีโครงสร้างเหล็กกล้าไร้สนิมหรืออะลูมิเนียมในสามภาคตัดขวาง ได้แก่ แก้มยางรถตรง แก้มยางรถที่ลาดเอียง 3 องศาและคอนทัวร์ (contoured)[1]

การใช้งาน

[แก้]
  • รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล มีรถไฟฟ้า 19 ขบวน ในแต่ละขบวนพ่วงรถ 3 คัน (รวมทั้งหมด 57 คัน) ประกอบด้วยรถมีห้องคนขับ 2 คัน (A-Car) อยู่หัวกับท้ายขบวน และรถไม่มีห้องคนขับ (C-Car) อยู่กลางขบวน[2]
  • รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิทและสายสีลม มีรถไฟฟ้า 35 ขบวน ในแต่ละขบวนพ่วงรถ 4 คัน รวมทั้งหมด 140 คัน ประกอบด้วยรถมีห้องคนขับ 2 คัน (A-Car) อยู่หัวกับท้ายขบวน และรถไม่มีห้องคนขับ 2 คัน (C-Car) อยู่กลางขบวน
  • รถไฟฟ้าเมืองเนือร์นแบร์ก เส้นทาง U2 และ U3: มีรถไฟฟ้า 30 ขบวน ในแต่ละขบวนพ่วงรถ 2 คัน (รวมทั้งหมด 60 คัน) ยาว 36 เมตร กว้าง 2.9 เมตร มีที่นั่ง 80 ที่และที่ยืน 240 ที่ต่อขบวน[3]
  • รถไฟฟ้าเมืองเมลเบิร์น สายเหนือ มีรถไฟฟ้า 72 ขบวน ในแต่ละขบวนพ่วงรถ 3 คัน (รวมทั้งหมด 216 คัน) นำเข้าเมื่อ ค.ศ. 2003[4]
  • รถไฟฟ้าเมืองเซี่ยงไฮ้ แบ่งเป็น สาย 4 มีรถไฟฟ้า 28 ขบวน ในแต่ละขบวนพ่วงรถ 6 คัน (รวมทั้งหมด 168 คัน) และส่วนต่อขยายสาย 1 มีรถไฟฟ้า 10 ขบวน ในแต่ละขบวนพ่วงรถ 6 คัน (รวมทั้งหมด 160 คัน)[5]
  • รถไฟฟ้าเมืองออสโล มีรถไฟฟ้า 78 ขบวน ในแต่ละขบวนพ่วงรถ 3 คัน (รวมทั้งหมด 234 คัน)
  • รถไฟฟ้าเมืองเวียนนา จำนวน 6 คันต่อขบวน

ประวัติการออกแบบ

[แก้]

ตัวรถไฟฟ้ามีวิวัฒนาการการออกแบบมาจากรถไฟฟ้าเมืองเนือร์นแบร์ก ซึ่งใช้รุ่น DT2

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 "New Vehicle Concept Launched In Vienna". International Railway Journal. September 2000. สืบค้นเมื่อ 2008-08-30.
  2. "Bangkok's first underground metro open". International Railway Journal. July 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-06. สืบค้นเมื่อ 2008-08-30.
  3. Mike Knutton (August 2002). "First U-Bahn to convert to fully automatic operation". International Railway Journal. สืบค้นเมื่อ 2008-08-30.
  4. "VICSIG: Siemens trains". www.vicsig.net. สืบค้นเมื่อ 2008-08-30.
  5. "Siemens, Alstom win Chinese transit contracts". Railway Age. findarticles.com. May 2002. สืบค้นเมื่อ 2008-08-30.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]