สนุกเกอร์
มาร์ก เซลบี กำลังเล่นเกมฝึกซ้อม | |
สมาพันธ์สูงสุด | สมาคมสนุกเกอร์โลก (World Snooker Association) |
---|---|
เล่นครั้งแรก | ค.ศ.1875 ในอินเดีย |
ลักษณะเฉพาะ | |
หมวดหมู่ | บิลเลียด (คิวสปอร์ต) |
อุปกรณ์ | โต๊ะสนุกเกอร์ ลูกสนุกเกอร์ ไม้คิว สามเหลี่ยม ชอล์ก |
จัดแข่งขัน | |
โอลิมปิก | ได้รับการยอมรับในคณะกรรมการโอลิมปิกสากล |
เวิลด์เกมส์ | 2001–ปัจจุบัน |
สนุกเกอร์ (อังกฤษ: snooker; ออกเสียง: /ˈsnuːkər/ ในสำเนียงบริติช[1] หรือ /snʊkər/ ในสำเนียงอเมริกัน[2]) เป็นกีฬาที่ใช้ไม้คิวในการเล่น โดยเล่นบนโต๊ะผ้าสักหลาดหนาที่มีหลุมอยู่ 4 มุมโต๊ะ และตรงกลางของด้านยาวอีกด้านละหลุม โต๊ะมีขนาด 12 ฟุต × 6 ฟุต (3.6 ม. x 1.8 ม.) การเล่นใช้ไม้คิวและลูกสนุกเกอร์ มีลูกสีขาว 1 ลูก ลูกสีแดง 15 ลูก มีคะแนนลูกละ 1 คะแนน และมีลูกสีต่าง ๆ คือ สีเหลือง (2 คะแนน), สีเขียว (3), สีน้ำตาล (4), สีน้ำเงิน (5), สีชมพู (6) และสีดำ (7)[3] ผู้เล่น (หรือทีม) ชนะ 1 เฟรม (แต่ละเกม) โดยแต้มที่เหนือกว่าฝั่งตรงข้าม โดยใช้แทงลูกสีแดงและแทงลูกสี ผู้ที่ชนะจำนวนเฟรมมากกว่าจะเป็นผู้ชนะ
สนุกเกอร์ได้เกิดขึ้นในเมืองจาบาลปุร์ ประเทศอินเดียโดยทหารอังกฤษ ได้รับความนิยมในหมู่ผู้เล่นที่ใช้ภาษาอังกฤษและประเทศในเครือจักรภพแห่งชาติ[4] โดยผู้เล่นมืออาชีพมักจะได้รับเงินรางวัลจำนวนมากจากการแข่งขัน[5] ขณะนี้เป็นที่นิยมมากขึ้นในจีน[6][7] การเดินทางของผู้เล่นอาชีพเพื่อเข้าการแข่งขันที่จัดขึ้นทั่วทุกมุมโลก รายการทัวร์นาเมนต์ใหญ่คือเวิลด์สนุกเกอร์แชมเปียนชิป จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในเมื่องเชฟฟีลด์ ประเทศอังกฤษ
ประวัติ
[แก้]สนุกเกอร์เริ่มเกิดขึ้นในปลายศตวรรษที่ 19[8] ในยุค 1870 กีฬาบิลเลียดเป็นกิจกรรมที่ได้รับความนิยมในหมู่ทหารอังกฤษที่ประจำการทั่วอินเดีย โดยต้นกำเนิดสนุกเกอร์เริ่มต้นในกรมทหารเดวอนเชอร์ในเมืองจาบาลปุร์ ในช่วงปี 1875[9] มีรากฐานมาจากพ็อกเก็ตบิลเลียด แล้วรวมเกมปิรามิด (ลูกแดง 15 ลูก) และไลฟ์พูล (ลูกสีต่าง ๆ) เข้าด้วยกัน รูปแบบของเกมในช่วงแรกมี ลูกสีแดง 15 ลูกตั้งเป็นรูปสามเหลี่ยม คู่กับ ลูกดำ 1 ลูก ที่จุดด้านหลังลูกแดงสามเหลี่ยม พร้อมทั้งมีการนำลูกสีต่างๆ ได้แก่ เหลือง เขียว น้ำตาล น้ำเงิน และชมพูเพิ่มเข้ามาอีกในเวลาต่อมา[10] จึงได้พัฒนามาเรี่อยๆ จนกระทั่งปี 1884 กติกาสนุกเกอร์เริ่มใช้ครั้งแรกโดย เซอร์ เนวิลล์ ฟรานซิส ฟิตซ์เจอรัลด์ แชมเบอร์เลน ที่เล่นกันในสโตนเฮาส์ในเมืองอูตี ใช้โต๊ะที่ทำขึ้นโดย เบอร์โรส์แอนด์วัตต์ (Burroughes & Watts) นำมาจากเรือ[11] ที่มาของชื่อ สนุกเกอร์ (snooker) ในภาษาอังกฤษ เป็นสแลงของนักเรียนนายทหารปีแรกหรือบุคลากรที่ไม่มีประสบการณ์[8] แชมเบอร์เลนได้เอ่ยคำว่าสนุกเกอร์ขึ้นมา เมื่อผู้เล่นแทงไม่ถูกลูกเป้าหลายครั้งจนกลายเป็นที่มาของชื่อสนุกเกอร์[8][10][12] ในปี 1887 สนุกเกอร์ได้รับการตีพิมพ์เป็นครั้งแรกในหนังสือพิมพ์ สปอร์ติงไลฟ์ (Sporting Life) จนทำให้เป็นที่รู้จัก[9] แชมเบอร์เลนก็เลยกลายเป็นผู้คิดค้นเกมสนุกเกอร์โดยปริยายจากคำบอกเล่าของนิตยสาร เดอะฟิลด์ (The Field) ที่ตีพิมพ์เมื่อวันที่ 19 มีนาคม ค.ศ. 1938[9]
ผลดังกล่าวของสนุกเกอร์ในประเทศอังกฤษได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น แต่โดยทั่วไปก็ยังคงเกมชนิดนี้ไว้สำหรับสุภาพบุรุษและหลายชมรมที่จัดตั้งขึ้นโดยผู้ชายซึ่งมีโต๊ะบิลเลียดที่จะไม่อนุญาตให้ผู้ที่ไม่ใช่สมาชิกได้เล่น เพื่อรองรับความนิยมของเกมขนาดเล็กที่ได้เปิดกว้างมากขึ้นสำหรับชมรมเฉพาะสนุกเกอร์ที่เริ่มจะก่อตัวมากขึ้น
สนุกเกอร์เติบโตในปลายศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20 และในปี 1927 ได้มีเวิลด์สนุกเกอร์แชมเปียนชิปครั้งแรก[8] ได้จัดตั้งโดยโจ เดวิส ผู้ซึ่งเป็นนักกีฬาอิงลิชบิลเลียดและนักสนุกเกอร์อาชีพ ได้กระตุ้นเกมจากงานอดิเรกให้เป็นกีฬาอาชีพมากขึ้น[13] โจ เดวิส ได้คว้าเวิลด์แชมเปียนชิปทุกครั้งจนถึงปี 1946 ที่เขาได้แขวนคิว สนุกเกอร์ได้เสื่อมถอยจนถึงทศวรรษ 1950 และ 1960 ได้สร้างความสนใจเล็กน้อยจากผู้เล่นวงนอกนั้นที่กำลังเล่น ในปี 1959 เดวิส แนะนำความแตกต่างของสนุกเกอร์อีกแบบที่รู้จักกันคือ สนุกเกอร์พลัส (Snooker-plus) โดยพยายามที่จะปรับปรุงความนิยมของสนุกเกอร์โดยการเพิ่มสองสีพิเศษ
ความก้าวหน้าที่สำคัญกำลังปรากฏขึ้น ในปี 1969 เมื่อ เดวิด แอทเทนเบอเรอห์ ได้รับหน้าที่จัดการแข่งขันสนุกเกอร์ พอตแบล็ก (Pot Black) เพื่อแสดงศักยภาพของโทรทัศน์สีกับโต๊ะสีเขียวและลูกหลายสีที่ให้ประโยชน์อย่างดีสำหรับการแพร่ภาพสี[14][7] ขึ้นเรตติงจากความสำเร็จด้วยความยอดนิยมจากการชมมากที่สุดบนช่องบีบีซีทู[15] จนทำให้สนุกเกอร์เป็นที่สนใจมากขึ้น และปี 1978 เวิลด์แชมเปียนชิป ได้ถ่ายทอดสดการแข่งขันอย่างเต็มที่[4][16] สนุกเกอร์ได้อยู่ในกระแสหลักอย่างเร็วในกีฬาหลัก[17] ในสหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์ และประเทศในเครือจักรภพจำนวนมากได้ประสบความสำเร็จมากในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา มีการแข่งขันผ่านการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์มากที่สุด ในปี 1985 ได้รวมผู้ชมทั้งหมด 18.5 ล้านจากการแข่งขันเฟรมสุดท้ายระหว่าง เดนนิส เทย์เลอร์ และ สตีฟ เดวิส[18] ในปีที่ผ่านมาได้สูญเสียจากการโฆษณายาสูบ ที่ได้นำไปสู่การลดลงจำนวนการแข่งขันระดับอาชีพ แม้จะได้รับแหล่งที่มาจากบางสปอนเซอร์ใหม่[19] และมีความนิยมในตะวันออกไกลและจีน ที่มีความสามารถใหม่ๆ เช่น เหลียง เหวินปั๋ว ผู้เล่นเป็นที่ยอมรับมากขึ้นเช่น ติง จวิ้นฮุย และ มาร์โก ฟู ที่ได้เป็นลางบอกเหตุที่ดีสำหรับอนาคตของการเล่นกีฬาในส่วนหนึ่งของโลก[20]
ในปี 2010 โปรโมเตอร์ แบร์รี เฮิร์น ได้เข้ามาควบคุมสมาคมสนุกเกอร์โลกและเข้ามาฟื้นฟูจากภาวะย่ำแย่ให้ดีขึ้นและการปรับปรุงรายการใหม่ จำนวนทัวร์นาเมนต์อาชีพได้เพิ่มขึ้นมาใหม่และรูปแบบการแข่งขันบางรายการได้ทำการเปลี่ยนแปลงใหม่โดยสร้างความสนใจให้พวกเขา ในปี 2013 ได้ตั้งเงินรางวัลมากกว่าเดิมสองเท่าจาก 3 ล้านปอนด์เป็น 7 ล้านปอนด์[21][22]
กติกาการเล่น
[แก้]ผู้เล่นจะใช้ไม้คิวแทงลูกสีขาวเท่านั้น ให้กลิ้งไปกระทบลูกสีให้ลงหลุมจึงจะได้คะแนน และได้เล่นต่อไปจนกว่าผู้เล่นจะไม่สามารถทำให้ลูกสีลงหลุมได้ จึงจะเปลี่ยนให้ผู้เล่นอีกคนได้เล่นบ้าง โดยมีข้อบังคับในลำดับการเล่นลูกสีต่างๆ ดังนี้ เริ่มเล่นจากลูกสีแดงก่อน หากทำลูกสีแดงลงหลุม จึงจะมีสิทธิ์เล่นลูกสีอื่นๆ สีใดก็ได้ตามแต่ผู้เล่นจะเลือก หากเล่นลูกสีอื่นลงหลุมอีก ก็กลับมาเล่นลูกสีแดงอีกครั้ง หากสำเร็จอีก ก็เล่นลูกสีอื่นอีกครั้ง (เมื่อลูกสีลงหลุม กรรมการจะนำกลับมาตั้งใหม่ที่จุดของลูกนั้น ยกเว้นลูกสีแดงที่จะไม่นำกลับมาตั้งใหม่) เป็นอย่างนี้สลับกันไปเรื่อยๆ จนลูกสีแดงลงหลุมหมดทั้ง 15 ลูก จึงเล่นลูกสีอื่นตามลำดับดังนี้ เหลือง เขียว น้ำตาล น้ำเงิน ชมพู และ ดำ เป็นลูกสุดท้าย (ในช่วงนี้ลูกสีจะไม่นำกลับมาตั้งใหม่ที่จุดอีกแล้ว) เมื่อลูกสีลงหลุมหมดทุกลูก ก็จะนับคะแนนรวมของแต่ละฝ่าย ฝ่ายที่ได้คะแนนมากกว่าจะเป็นฝ่ายชนะในเกมนั้น[3]
ผู้เล่นยังยอมรับการเสียเฟรมได้ในขณะที่จะยกเลิกในเทิร์นของผู้เล่นนั้น ถ้าได้พิจารณาแต้มบนโต๊ะนั้นว่า แต้มจะไม่เพียงพอที่จะเอาชนะฝ่ายตรงข้ามได้ ซึ่งเป็นธรรมดาในสนุกเกอร์อาชีพ แต้มอาจหมายถึงคะแนน เมื่อผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามได้ทำฟาวล์ก็สามารถเกิดขึ้นได้ด้วยเหตุผลหลายอย่างเช่น แทงลูกขาวแล้วไปโดนลูกสีก่อน เมื่อผู้เล่นพยายามที่จะแทงลูกขาวให้โดนลูกสีแดงและทำให้ลูกขาวลงหลุมด้วย หรือลูกไม่สามารถลอดผ่านไปได้ก็จะเรียกว่า "สนุกเกอร์" (เมื่อลูกขาวของผู้เล่นเจอลูกอุปสรรคแล้วก็ต้องกระทบลูกสีตามที่กติกากำหนดให้โดน โดยการกระทบลูกขาวหลบจากลูกอุปสรรค) คะแนนที่ได้รับจากการฟาวล์ อย่างขั้นต่ำ 4 คะแนน ถึง 7 คะแนน ถ้าโดนลูกสีดำ[3]
อุปกรณ์
[แก้]- โต๊ะ (Table)
- มีขนาด 12 ฟุต × 6 ฟุต สำหรับโต๊ะมาตรฐานพร้อมกับหกหลุมที่มีหลุมอยู่ 4 มุมโต๊ะและตรงกลางของด้านยาวอีกด้านละหลุม
- ผ้าสักหลาด (Cloth หรือ Baize)
- ผ้าที่มักจะเป็นสีเขียวที่ครอบคลุมไปทั่วโต๊ะสำหรับไหลของลูกไปตั้งแต่ต้นโต๊ะจนถึงปลายโต๊ะที่จุดตั้งลูกดำ ซึ่งมีผลในการบังคับทิศทางในการแทงลูกคิว เลือกแทงไซด์สปินได้ทั้งซ้ายหรือขวา แบ็กสปิน (สกรูถอยหลัง) และลูกคิวเดินหน้า (ฟอลโล) ผ้ายี่ห้อสตรัคคัน (Strachan) ได้ใช้ในการแข่งขันสนุกเกอร์อย่างเป็นทางการ ทำมาจากขนสัตว์ 100% ผ้าบางส่วนประกอบด้วยไนลอน[23][24]
- ลูกคิว (Balls)
- มี 22 ลูก (ลูกสีแดง 15 ลูก ลูกสีอีก 6 ลูก สีเหลือง สีเขียว สีน้ำตาล สีน้ำเงิน สีชมพู สีดำ และลูกสีขาว 1 ลูก) ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่ 52.5 มิลลิเมตร
- ชอล์ก (Chalk)
- ใช้สำหรับฝนหัวไม้คิวเพื่อให้เกาะลูกขาวได้ดีและไม่ให้แป๊กเวลาแทงลูกคิว
- ไม้คิว (Cue stick)
- เป็นไม้สำหรับเล่นที่ทำจากไม้หรือวัสดุอื่นๆ เช่นคาร์บอนหรือไฟเบอร์กลาส ใช้ในการแทงลูกคิว
- หัวคิว (Cue Tip)
- ส่วนที่กระทบกับลูกขาว ผู้เล่นส่วนใหญ่นิยมใช้หัวคิวที่ทำจากหนังหมูซ้อนกันหลายๆ ชั้น มีความหนาแน่นแตกต่างกันแล้วแต่สไตล์การเล่น
- ไม้ต่อ (Extension)
- กระบองไม้สั้นที่ไว้สำหรับต่อไม้คิวเพื่อให้ไม้ยาวขึ้น ใช้สำหรับผู้เล่นที่ไม่สามารถแทงได้ในระยะทางยาว
- ไม้เรสต์ (Raise Cue)
- ไม้ที่มีหัวเป็นรูป X ใช้ในการสนับสนุนไม้คิวแทนการใช้สะพานมือ เมื่อลูกคิวอยู่ในระยะเกินปกติที่จะแทง
- ฮุกเรสต์ (Hook rest)
- เหมือนไม้เรสต์ตามปกติเพียงแต่ปลายหัวไม้จะมีตะขอเป็นโลหะ อาจจะใช้แทนไม้เรสต์เป็นบางครั้ง เป็นสิ่งประดิษฐ์ล่าสุดในสนุกเกอร์
- สไปเดอร์ หรือ เรสต์โก่ง (Spider)
- ไม้ที่คล้ายกับเรสต์ แต่มีหัวเป็นรูปซุ้มประตู ถูกนำมาใช้เพื่อสนับสนุนไม้คิวในการแทงด้านบนลูกคิว
- สวอน (Swan)
- อุปกรณ์ที่ประกอบด้วยเรสต์ที่มีคอยาวเหมือนปลายส้อม ถูกนำมาใช้เป็นพิเศษสำหรับการแทงลูกกลุ่มในระยะไกลเกิน หากไม่สามารถใช้เรสต์รูป X ได้ตามปกติ สามารถเปลี่ยนเป็นสไปเดอร์ได้ ในทางกลับกันหากเป็นที่ต้องการสำหรับระยะห่างเกินในการแทง
- สามเหลี่ยม/แร็ค (Triangle/Rack)
- อุปกรณ์ชิ้นนี้ใช้สำหรับการรวบรวมลูกคิวสีแดงเป็นรูปแบบที่จำเป็นสำหรับการตั้งลูกเพื่อที่จะเริ่มต้นเฟรม
- ไม้เรสต์ยาว (Extended rest)
- เหมือนกับไม้เรสต์ธรรมดาแต่มีการต่อให้ยาวขึ้นสามฟุต
- ไม้สไปเดอร์ยาว (Extended spider)
- ไม้ผสมระหว่างสวอนและสไปเดอร์ มีจุดประสงค์คือใช้แทนสะพานมือในการแทงสำหรับการแทงลูกลีแดงกลุ่มใหญ่ เป็นส่วนน้อยในสนุกเกอร์อาชีพแต่สามารถใช้ในสถานการณ์ที่ลูกคิวอยู่ตำแหน่งหลายลูกเพื่อหลบลูกขัดขวาง
- ฮาล์ฟบัตต์ (Half butt)
- เป็นไม้ยาวที่มักจะตั้งอยู่ด้านข้างของใต้โต๊ะสนุกเกอร์ มักจะใช้คู่กับไม้เรสต์ยาวในการแทงลูก อาจจะใช้แทนไม้คิวธรรมดาที่ผู้เล่นไม่สามารถแทงได้ในระยะไกลในบนโต๊ะ
- เครื่องหมายลูก (Ball marker)
- เป็นอุปกรณ์อเนกประสงค์ด้วยบากรูปตัว D ซึ่งผู้ตัดสินสามารถวางเครื่องหมายเพื่อไปทำความสะอาดลูก
นักสนุกเกอร์ที่มีชื่อเสียง
[แก้]ในยุคนักสนุกเกอร์อาชีพเริ่มต้นด้วย โจ เดวิส ในช่วงทศวรรษที่ 1930 และยังคงเพิ่มขึ้นจนถึงปัจจุบัน มีจำนวนที่ค่อนข้างน้อยของผู้เล่นที่จะได้ประสบความสำเร็จในระดับสูง[25] ถึงการบำรุงรักษาในหมู่ชนชั้นสนุกเกอร์เป็นงานที่ยากสำหรับมาตรฐานของเกมที่ต้องใช้เวลาหลายปีในการอุทิศตนพร้อมกับความพยายามที่เหมาะสมและความสามารถที่เป็นธรรมชาติ[26] ผู้เล่นที่โดดเด่นในแต่ละยุคได้แก่ จอห์น พูลแมน ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้เล่นที่สำคัญจนกระทั่งมาถึงยุคของ เรย์ เรียร์ดอน ในทศวรรษ 1960 สตีฟ เดวิส ในทศวรรษที่ 1970 และ 1980 สตีเฟน เฮนดรี ในทศวรรษที่ 1990 เรียร์ดอน ได้แชมป์ 6 ครั้ง (1970, 1973–1976 และ 1978) เดวิส 6 ครั้ง (1981, 1983, 1984 และ 1987-1989) และเฮนดรี ได้ 7 ครั้ง (1990, 1992-1996 และ 1999) นักสนุกเกอร์ในยุคปัจจุบันที่โดดเด่นได้แก่ รอนนี โอซุลลิแวน ได้แชมป์ห้าครั้ง (2001, 2004, 2008, 2012 และ 2013) จอห์น ฮิกกินส์ ได้แชมป์สี่ครั้ง (1998, 2007, 2009 และ 2011) และมาร์ก วิลเลียมส์ ได้แชมป์สามครั้ง (2000, 2003 และ 2018)
สนุกเกอร์ในประเทศไทย
[แก้]ในปี 1982 (พ.ศ. 2525) ได้ก่อตั้ง สมาคมสนุกเกอร์แห่งประเทศไทย โดยมอริส เคอร์ ชาวอังกฤษที่เป็นผู้บุกเบิกกีฬาสนุกเกอร์เข้ามาในประเทศไทย โดยเริ่มมีการแข่งขันชิงแชมป์อาเซียน ปี 1983 (พ.ศ. 2526) ในปรเทศสิงคโปร์[27] การกีฬาแห่งประเทศไทยได้บรรจุสนุกเกอร์ให้อยู่ในพระราชบัญญัติกีฬาตั้งแต่ปี 1984 (พ.ศ. 2527)[28] ในปี 1985 (พ.ศ. 2528) ได้มีการแข่งขันสนุกเกอร์มืออาชีพในประเทศไทยในชื่อว่า ไทยแลนด์ มาสเตอร์ (ชื่ออื่น เอเชียนโอเพน และ ไทยแลนด์โอเพน) โดยมีการเริ่มจัดอันดับโลกตั้งแต่ในฤดูกาล 1989/90 (2532/33) จนถึง 2001/02 (2544/45)[29]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Pronunciation of snooker". Macmillan Dictionary. London, UK: Macmillan Publishers. 2009–2012 [copyright date]. สืบค้นเมื่อ 19 March 2012.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "American pronunciation of snooker". Macmillan Dictionary. op. cit. 2009–2012 [copyright date]. สืบค้นเมื่อ 19 March 2012.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ 3.0 3.1 3.2 "The Rules". World Snooker. สืบค้นเมื่อ 2008-01-05.
- ↑ 4.0 4.1 Everton, C. "Take snooker to the world", BBC Sport, 5 May 2002, (Retrieved 24 February 2007)
- ↑ Reardon, R. "Where does Ronnie rank?", BBC Sport, 21 February 2005, (Retrieved 25 February 2007)
- ↑ Harris, N. "Snooker: China's big break" เก็บถาวร 2007-12-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, The Independent, 21 March 2006, (Retrieved 24 February 2007)
- ↑ 7.0 7.1 Porter, H. "Cue China เก็บถาวร 2009-08-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Time Magazine, 20 June 2008, (Retrieved 23 June 2008)
- ↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 Maume, Chris (25 April 1999). "Sporting Vernacular 11. Snooker". The Independent. สืบค้นเมื่อ 25 February 2007.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 Clare, Peter (2008). "Origins of Snooker". Snooker Heritage. สืบค้นเมื่อ 8 February 2017.
- ↑ 10.0 10.1 Shamos, Mike (1993), The Complete Book of Billiards. ISBN 0-517-20869-5
- ↑ Hughes-Games, Martin (16 June 2014). "Ooty, India: back in time to the birthplace of snooker". The Telegraph. สืบค้นเมื่อ 8 February 2017.
- ↑ unknown author "Origins of the Game of Snooker", Titan Sports, unknown date, (Retrieved 25 February 2007), (Archive Version)[ลิงก์เสีย]
- ↑ unknown author "Snooker Timeline" "Joe Davis will reinvent this after-dinner pastime and become world champion", cuesnviews.co.uk, unknown date, (Retrieved 24 February 2007), (Archive Version)
- ↑ "Pot Black returns", BBC Sport, 27 October 2005. Retrieved 24 February 2007
- ↑ unknown author, "Pot Black Ratings" "Surprisingly, the programme raced to second place in the BBC2 ratings", unknown date, (Retrieved 24 February 2007) (Archive Version)
- ↑ unknown author "1978 — The World Snooker Championships", "By 1977, though, a new lighting system had been devised, allowing the players to be seen clearly without problems and, the following year, Aubrey Singer agreed to cover the World Championships all the way through, with an hour of highlights every day for 16 days", unknown date, (Retrieved 24 February 2007), (Archive Version)
- ↑ MacInnes, P."Thatch of the day", The Guardian, 10 February 2004, (Retrieved 24 February 2007)
- ↑ "1985: the black ball final" BBC sport
- ↑ Anstead, M."Snooker finds sponsor with deep pockets", The Guardian, 19 January 2006, (Retrieved 24 February 2007), (Archive Version)
- ↑ "Could Ding be snooker's saviour?", BBC Sport, 4 April 2005, (Retrieved 25 February 2007)
- ↑ "Barry Hearn wins vote to take control of World Snooker", BBC Sport, 2 June 2010
- ↑ "Barry Hearn: World Snooker chief on how he saved the sport", BBC Sport, 27 November 2013
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-02-09. สืบค้นเมื่อ 2015-01-21.
- ↑ [Snooker], Cues Cues, 10 July 2013, (Retrieved 20 July 2013), ([1] เก็บถาวร 2013-07-20 ที่ archive.today)
- ↑ "O'Sullivan in exalted company", BBC Sport, 10 May 2002, (Retrieved 25 February 2007), (Archive Version)
- ↑ Hunter, P. "Putting in the practice", BBC Sport, 5 November 2004, (Retrieved 25 February 2007)
- ↑ ประวัติของสมาคมกีฬาบิลเลียดแห่งประเทศไทย
- ↑ [2]
- ↑ "Thailand Open, Thailand Classic, Thailand Masters". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-16. สืบค้นเมื่อ 2013-05-08.