ข้ามไปเนื้อหา

ชิงช้าสวรรค์ (รายการโทรทัศน์)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ชิงช้าสวรรค์ 2022)
ชิงช้าสวรรค์
ประเภทประกวดวงดนตรีลูกทุ่งระดับมัธยมศึกษา
สร้างโดยเวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์
พิธีกร
กรรมการสลา คุณวุฒิ (2547–2559, 2565–ปัจจุบัน)
ชุติเดช ทองอยู่ (2547–2559, 2565)
จักรวาร เสาธงยุติธรรม (2565–ปัจจุบัน)[1]
สุรินทร์ เมทะนี (2555-2557, 2566–ปัจจุบัน)[6]
ดนตรีแก่นเรื่องเปิดลาวดำเนินทราย[7]
ประเทศแหล่งกำเนิดประเทศไทย
ภาษาต้นฉบับภาษาไทย
จำนวนฤดูกาล13
ออกอากาศ
เครือข่ายโมเดิร์นไนน์ทีวี ช่องเวิร์คพอยท์
ออกอากาศ6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2559[2][3][ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้]
16 กรกฎาคม พ.ศ. 2565[1] – ปัจจุบัน
การแสดงที่เกี่ยวข้อง
ไมค์ทองคำ

ชิงช้าสวรรค์ เป็นรายการโทรทัศน์ที่ผลิตโดย เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ ออกอากาศครั้งแรกในปี พ.ศ. 2547 ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี เริ่มแรกเป็นรายการปกิณกะ ก่อนจะเปลี่ยนเป็นการประกวดวงดนตรีลูกทุ่งเต็มรูปแบบ รายการได้ย้ายไปออกอากาศทางช่องเวิร์คพอยท์ ในปี พ.ศ. 2558 ก่อนจะสิ้นสุดยุคแรกในปีต่อมา และได้กลับมาออกอากาศใหม่ในปี พ.ศ. 2565

ประวัติ

[แก้]

ชิงช้าสวรรค์ เป็นรายการโทรทัศน์ที่ผลิตโดย เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี โดยช่วงแรกมีพิธีกร คือ โน้ต เชิญยิ้ม, แอน - สิเรียม ภักดีดำรงฤทธิ์ และส้มเช้ง สามช่า[2] ต่อมาในปี พ.ศ. 2553 สิเรียมได้ลาออกจากการเป็นพิธีกร โดยมี จุ๋ย - วรัทยา นิลคูหา ทำหน้าที่แทน[4][5] และในปี พ.ศ. 2558 ได้ย้ายไปออกอากาศทางช่องเวิร์คพอยท์[8] โดยออกอากาศจนถึง พ.ศ. 2559 เป็นอันสิ้นสุดยุคแรก[3]

ในปี พ.ศ. 2565 รายการได้กลับมาออกอากาศอีกครั้งในชื่อ ชิงช้าสวรรค์ 2022 โดยมี แพนเค้ก - เขมนิจ จามิกรณ์ เป็นพิธีกรคู่กับโน้ต นอกจากนี้ จักรวาร เสาธงยุติธรรม ยังเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสินวงดนตรีลูกทุ่งระดับมัธยมศึกษา ร่วมกับ สลา คุณวุฒิ และชุติเดช ทองอยู่ ซึ่งเป็นกรรมการมาตั้งแต่รายการยุคแรกอีกด้วย[1] ก่อนที่ในปี พ.ศ. 2566 จะมีการเปลี่ยนกรรมการจากชุติเดชเป็น สุรินทร์ เมทะนี[6] และในปี พ.ศ. 2567 มีการเปลี่ยนพิธีกรจากโน้ตเป็น ป๋อ - ณัฐวุฒิ สกิดใจ[9]

พิธีกร

[แก้]

รูปแบบรายการ

[แก้]

ชิงช้าสวรรค์ มีรูปแบบรายการที่ได้แรงบันดาลใจมาจากงานวัด[7] โดยในระยะแรกเป็นรายการปกิณกะ ประกอบด้วยช่วงสัมภาษณ์ การให้คะแนนร้านอาหาร ละครสั้น และการประกวดวงดนตรีลูกทุ่งระดับมัธยมศึกษา โดยคู่แรกที่ทำการแข่งขันคือ โรงเรียนราชินีบูรณะ พบกับ โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ฯ[2] ต่อมาจึงปรับรูปแบบเป็นการประกวดวงดนตรีลูกทุ่งเป็นหลัก[10]

ชิงช้าสวรรค์คอนเทสต์

[แก้]

การประกวดวงดนตรีลูกทุ่งระดับมัธยมศึกษาในรายการชิงช้าสวรรค์ยุคแรก แบ่งการแข่งขันเป็นฤดู มีทั้งหมด 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูหนาว, ฤดูฝน และฤดูร้อน[11] ตัดสินโดยคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญด้านเพลงและวงดนตรีลูกทุ่งจำนวน 3 คนในรอบการแข่งขันประจำฤดู[12] และเพิ่มเป็น 7 คนในรอบแชมป์ออฟเดอะแชมป์[13] โดยนอกจากสลา คุณวุฒิ และชุติเดช ทองอยู่ ที่เป็นคณะกรรมการมาตั้งแต่ปีแรก[12] ยังมีศิลปินลูกทุ่งและครูเพลงสลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ เช่น แดน บุรีรัมย์[12][13], ลพ บุรีรัตน์[13], ชลธี ธารทอง[13], ประยงค์ ชื่นเย็น[13], ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี[10], วสุ ห้าวหาญ[10], และหนู มิเตอร์[10] เป็นต้น

เมื่อแข่งขันครบสามฤดู แชมป์และรองแชมป์ประจำฤดูจะเข้ามาแข่งขันรอบแชมป์ออฟเดอะแชมป์ (รองแชมป์ประจำฤดูสามารถเข้าร่วมรอบแชมป์ออฟเดอะแชมป์ได้ ตั้งแต่ปีที่ 3 เป็นต้นไป)[11] โดยในปี พ.ศ. 2548–2558 แข่งกันใน 3 ประเภทเพลง คือ เพลงช้า เพลงเร็ว และเพลงถนัด[11] ทีมที่มีคะแนนรวมทุกประเภทเพลงสูงสุด จะได้ครองถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งออกแบบโดยเฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์[14]

ในช่วงปีแรกผู้ชนะรอบแชมป์ออฟเดอะแชมป์ จะได้รับถ้วยพระราชทานพร้อมทุนการศึกษา 100,000 บาท และตั๋วเครื่องบินไปกลับ กรุงเทพ-ดิสนี่ย์แลนด์ ฮ่องกง 40 ที่นั่ง[11] ปีต่อ ๆ มา ผู้ชนะจะได้รับถ้วยพระราชทานพร้อมทุนการศึกษามูลค่า 1,000,000 บาท[10]

โรงเรียนจ่านกร้อง จังหวัดพิษณุโลก เป็นสถาบันที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในการประกวดยุคแรก โดยครองถ้วยแชมป์ออฟเดอะแชมป์ของรายการมากที่สุด คือ 3 สมัย[15] รองลงมาคือ โรงเรียนเทพมิตรศึกษา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ได้แชมป์ออฟเดอะแชมป์ 2 สมัย[16] อันดับสามคือ โรงเรียนบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ที่ได้รองแชมป์ออฟเดอะแชมป์ 3 สมัย[17] นอกจากนี้ พิชิตชัย ศรีเครือ นักร้องนำของวงดนตรีลูกทุ่งโรงเรียนจ่านกร้องในการครองแชมป์สองสมัยแรก ยังเป็นศิลปินที่มีชื่อเสียงอีกด้วย[18]

พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน

[แก้]

การประกวดวงดนตรีลูกทุ่งระดับมัธยมศึกษาในชิงช้าสวรรค์ 2022 ได้ปรับรูปแบบการประกวดในรอบคัดเลือก เป็นการตระเวนไปตามภูมิภาคต่าง ๆ โดยรับสมัครพร้อมคัดเลือกผู้เข้าแข่งขันใน 5 จังหวัดของแต่ละภาค ได้แก่ เชียงใหม่, ขอนแก่น, ชลบุรี, ปทุมธานี และนครศรีธรรมราช[19] เพื่อคัดเลือกวงดนตรีลูกทุ่งระดับมัธยมศึกษา 20 ทีม เข้าแข่งขันในรอบการออกอากาศของรายการ[1] ทีมที่ชนะการประกวดจะครองถ้วยพระราชทานพร้อมทุนการศึกษา 1,000,000 บาท[1] โดยทีมที่ชนะเลิศได้แก่ โรงเรียนประโคนชัยพิทยาคม รองชนะเลิศอันดับ 1 โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย และรองชนะเลิศอันดับ 2 โรงเรียนเชียงกลมวิทยา[20]

ต่อมา ชิงช้าสวรรค์ 2023 ได้กลับมาอีกครั้ง พร้อมกับการเปิดตัว 16 โรงเรียนที่ผ่านเข้ารอบสู่รอบเปิดวง โดยได้มีการถ่ายทำการจับฉลากจับคู่การแข่งขันในรอบเปิดวงของทั้ง 16 ทีม ใน Episode ที่ 1 โดยโรงเรียนที่ผ่านเข้ารอบสู่รอบชิงชนะเลิศได้แก่ โรงเรียนนาหลวง กรุงเทพมหานคร และ โรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ) จ.นครราชสีมา ซึ่งผลสรุปออกมาว่า โรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ) สามารถคว้าแชมป์ไปครองได้สำเร็จ รับถ้วยพระราชทานพร้อมทุนการศึกษา 1,000,000 บาท

ช่วงของรายการในอดีต

[แก้]

นอกจากการประกวดวงดนตรีลูกทุ่งระดับมัธยมศึกษาแล้ว ครั้งเมื่อรายการยังมีรูปแบบเป็นปกิณกะ ยังประกอบด้วยช่วงต่าง ๆ เพิ่มเติม เช่น

  • เต๊นท์ของแปลก – รวมเรื่องราวพิศวงทั่วไทย[2]
  • แวะหลังวิก – สัมภาษณ์แขกรับเชิญ[2]
  • แผงเทป – นำเสนอศิลปินที่ได้รับความนิยม โดยมีสินเจริญ บราเธอร์สร่วมเป็นพิธีกรเฉพาะช่วงนี้[2]
  • ร้านอร่อยร้อยเหรียญ – การแข่งขันทำอาหารจานเดียวให้คณะกรรมการและผู้ชมในห้องส่งตัดสิน[2]
  • เรื่องสั้นตลาดสดซิทคอมสั้น ซึ่งในระยะแรกนำแสดงโดยส้มเช้ง สามช่า, แอนนี่ บรู๊ค และ นก - วนิดา แสงสุข[2] ต่อมา หมู - พิมพ์ผกา เสียงสมบุญ ได้เข้ามาแสดงแทนในบทของนก และ ปุยฝ้าย - ณัฎฐพัชร์ วิภัทรเดชตระกูล แสดงแทนในบทที่ใกล้เคียงกับแอนนี่[21]
  • เสียงดีมีค่าเทอม – การประกวดร้องเพลงของนักเรียนระดับประถมศึกษา[22]
  • ชิงช้าสวรรค์ประถมคอนเทสต์ – การประกวดร้องเพลงลูกทุ่งพร้อมหางเครื่องระดับประถมศึกษา[23][24]
  • ชิงช้าสวรรค์ ลูกทุ่งโอทอป – การประกวดร้องเพลงของตัวแทนประจำตำบล ซึ่งต่อมาได้แยกออกเป็นอีกหนึ่งรายการ[10][25]
  • ชิงช้าสวรรค์เทิดไท้องค์ราชันย์ – การประกวดวงดนตรีเพลงพระราชนิพนธ์ ระดับมัธยมศึกษาและประกาศนียบัตรวิชาชีพพร้อมหางเครื่อง[26] ชิงถ้วยพระราชทานพร้อมทุนการศึกษา 500,000 บาท[10]
  • โอ้โฮบางกอก – เป็นช่วงที่ติดตามเบื้องหลังของโรงเรียนก่อนทำการแข่งขันในรายการของสัปดาห์นั้น ๆ หรือ ในบางครั้งอาจจะบุกไปถึงโรงเรียน เพื่อติดตามเส้นทางการแข่งขันที่ผ่านมา และเบื้องหลังการซ้อมในโรงเรียน ก่อนทำการแข่งขันในรอบสำคัญ เช่น รอบชิงแชมป์ฤดู และ รอบ Champ of the Champ รวมถึงการจับฉลากการแข่งขัน นอกจากนี้ ยังมีการเก็บภาพบรรยากาศติดตามการเดินทางท่องเที่ยวฮ่องกงดิสนีย์แลนด์ ซึ่งเป็น 1 ในของรางวัลของรายการสำหรับโรงเรียนที่ชนะ Champ of The Champ ตั้งแต่ปี 2-6 โดยใช้ชื่อช่วงพิเศษว่า โอ้โฮฮ่องกง
    • ตะลุยหลังเต็นท์ – เป็นช่วงที่เพิ่มขึ้นมาในชิงช้าสวรรค์ 2024 เฉพาะที่ออกอากาศในวันเสาร์ มีรูปแบบเหมือนกับช่วง โอ้โฮบางกอก ทุกประการ

รายชื่อโรงเรียนที่เป็นแชมป์ประจำฤดู รองแชมป์ประจำฤดู แชมป์ออฟเดอะแชมป์ และรองแชมป์ออฟเดอะแชมป์ ชิงช้าสวรรค์คอนเทสต์

[แก้]
ปี ฤดู แชมป์ประจำฤดู รองแชมป์ประจำฤดู รองแชมป์ออฟเดอะแชมป์ แชมป์ออฟเดอะแชมป์
ปีที่ 1

(2547/2548)

หนาว โรงเรียนจ่านกร้อง จ.พิษณุโลก โรงเรียนทุ่งเสลี่ยมชนูปถัมภ์ จ.สุโขทัย
โรงเรียนกันตังรัษฎาศึกษา จ.ตรัง
โรงเรียนบัวใหญ่ จ.นครราชสีมา
โรงเรียนพิไกรวิทยา จ.กำแพงเพชร
โรงเรียนจ่านกร้อง จ.พิษณุโลก
ร้อน โรงเรียนบัวใหญ่ จ.นครราชสีมา โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) กรุงเทพฯ
โรงเรียนหลวงพ่อปานคลองด่านอนุสรณ์ จ.สมุทรปราการ
ฝน โรงเรียนพิไกรวิทยา จ.กำแพงเพชร โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม จ.กำแพงเพชร
โรงเรียนวาปีปทุม จ.มหาสารคาม
ปีที่ 2

(2549/2550)

หนาว โรงเรียนศึกษานารี กรุงเทพฯ โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย จ.สมุทรปราการ โรงเรียนศึกษานารี กรุงเทพฯ
โรงเรียนบัวใหญ่ จ.นครราชสีมา
โรงเรียนจ่านกร้อง จ.พิษณุโลก
ร้อน โรงเรียนบัวใหญ่ จ.นครราชสีมา โรงเรียนสายน้ำผึ้งในพระอุปถัมภ์ กรุงเทพฯ
ฝน โรงเรียนจ่านกร้อง จ.พิษณุโลก โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย จ.นครปฐม
ปีที่ 3

(2550/2551)

หนาว โรงเรียนมัธยมด่านขุนทด จ.นครราชสีมา โรงเรียนทุ่งเสลี่ยมชนูปถัมภ์ จ.สุโขทัย โรงเรียนอัมพวันวิทยาลัย จ.สมุทรสงคราม
โรงเรียนมัธยมด่านขุนทด จ.นครราชสีมา
โรงเรียนทุ่งเสลี่ยมชนูปถัมภ์ จ.สุโขทัย
ร้อน โรงเรียนอัมพวันวิทยาลัย จ.สมุทรสงคราม โรงเรียนวชิรปราการวิทยาคม จ.กำแพงเพชร
ฝน โรงเรียนมัธยมประชานิเวศน์ กรุงเทพฯ โรงเรียนศึกษานารี กรุงเทพฯ
ปีที่ 4

(2551/2552)

ร้อน โรงเรียนจ่านกร้อง จ.พิษณุโลก โรงเรียนวัดป่าประดู่ จ.ระยอง โรงเรียนทุ่งเสลี่ยมชนูปถัมภ์ จ.สุโขทัย
โรงเรียนมัธยมด่านขุนทด จ.นครราชสีมา
โรงเรียนอัมพวันวิทยาลัย จ.สมุทรสงคราม
ฝน โรงเรียนอัมพวันวิทยาลัย จ.สมุทรสงคราม โรงเรียนหารเทารังสีประชาสรรค์ จ.พัทลุง
หนาว โรงเรียนมัธยมด่านขุนทด จ.นครราชสีมา โรงเรียนทุ่งเสลี่ยมชนูปถัมภ์ จ.สุโขทัย
ปีที่ 5

(2552/2553)

ฝน โรงเรียนวินิตศึกษาในพระราชูปถัมภ์ฯ จ.ลพบุรี โรงเรียนประโคนชัยพิทยาคม จ.บุรีรัมย์ โรงเรียนมัธยมด่านขุนทด จ.นครราชสีมา
โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า กรุงเทพฯ
โรงเรียนอุตรดิตถ์ จ.อุตรดิตถ์
หนาว โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า กรุงเทพฯ โรงเรียนมัธยมด่านขุนทด จ.นครราชสีมา
ร้อน โรงเรียนทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช โรงเรียนอุตรดิตถ์ จ.อุตรดิตถ์
ปีที่ 6

(2553/2554)

ฝน โรงเรียนเทพมิตรศึกษา จ.สุราษฏร์ธานี โรงเรียนท่าศาลาประสิทธิ์ศึกษา จ.นครศรีธรรมราช โรงเรียนบัวใหญ่ จ.นครราชสีมา
โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดหัวป้อมนอก) จ.สงขลา
โรงเรียนเทพมิตรศึกษา จ.สุราษฎร์ธานี
ร้อน โรงเรียนบัวใหญ่ จ.นครราชสีมา โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดหัวป้อมนอก) จ.สงขลา
หนาว โรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคม จ.ขอนแก่น โรงเรียนบึงกาฬ จ.บึงกาฬ
ปีที่ 7

(2555/2556)

ร้อน โรงเรียนพนมทวนชนูปถัมภ์ จ.กาญจนบุรี โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย จ.นครปฐม โรงเรียนสีคิ้ว”สวัสดิ์ผดุงวิทยา” จ.นครราชสีมา
โรงเรียนวิสุทธิกษัตรี จ.สมุทรปราการ
โรงเรียนจ่านกร้อง จ.พิษณุโลก
ฝน โรงเรียนสีคิ้ว”สวัสดิ์ผดุงวิทยา” จ.นครราชสีมา โรงเรียนห้วยต้อนพิทยาคม จ.ชัยภูมิ
หนาว โรงเรียนจ่านกร้อง จ.พิษณุโลก โรงเรียนวิสุทธิกษัตรี จ.สมุทรปราการ
ปีที่ 8

(2556/2557)

ฝน โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี จ.นนทบุรี โรงเรียนสันทรายวิทยาคม จ.เชียงใหม่ โรงเรียนทุ่งทรายวิทยาจ.กำแพงเพชร
โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี จ.นนทบุรี
โรงเรียนเมืองคง จ.นครราชสีมา
หนาว โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย จ.นครปฐม โรงเรียนห้วยต้อนพิทยาคม จ.ชัยภูมิ
ร้อน โรงเรียนเมืองคง จ.นครราชสีมา โรงเรียนสีคิ้ว”สวัสดิ์ผดุงวิทยา” จ.นครราชสีมา
ปีที่ 9

(2557/2558)

ฝน โรงเรียนวินิตศึกษาในพระราชูปถัมภ์ฯ จ.ลพบุรี โรงเรียนเซิมพิทยาคม จ.หนองคาย โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า กรุงเทพฯ
โรงเรียนอ่างทองปัทมโรจน์วิทยาคม จ.อ่างทอง
โรงเรียนวินิตศึกษาในพระราชูปถัมภ์ฯ จ.ลพบุรี
หนาว โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการนนทบุรี จ.นนทบุรี โรงเรียนมัธยมวัดด่านสำโรง จ.สมุทรปราการ
ร้อน โรงเรียนอ่างทองปัทมโรจน์วิทยาคม จ.อ่างทอง โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า กรุงเทพฯ
ปี รอบรองชนะเลิศ รองแชมป์ออฟเดอะแชมป์ แชมป์ออฟเดอะแชมป์
ปีที่ 10

(2559)

โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (มัธยมวัดหัตถสารเกษตร) ในพระราชูปถัมภ์ฯ จ.ปทุมธานี (แชมป์สายัณห์ สัญญา)
โรงเรียนสันกำแพง จ.เชียงใหม่ (แชมป์ตั๊กแตน ชลดา)
โรงเรียนกันตังพิทยากร จ.ตรัง (แชมป์สุนารี ราชสีมา)
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการนนทบุรี จ.นนทบุรี (แชมป์คัฑลียา มารศรี) โรงเรียนเทพมิตรศึกษา จ.สุราษฎร์ธานี (แชมป์ยอดรัก สลักใจ)
โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4 จ.ตาก (แชมป์พุ่มพวง ดวงจันทร์)
วิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทอง จ.อ่างทอง (แชมป์ชาย เมืองสิงห์)
โรงเรียนผดุงนารี จ.มหาสารคาม (แชมป์ศิรินทรา นิยากร)
2022

(2565)

โรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ) จ.นครราชสีมา
โรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัย จ.นครปฐม
โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ จ.กาญจนบุรี
โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จ.เชียงใหม่
โรงเรียนเชียงกลมวิทยา จ.เลย
โรงเรียนประโคนชัยพิทยาคม จ.บุรีรัมย์
2023

(2566)

โรงเรียนอุบลรัตนราชกัญญาราชวิทยาลัยพัทลุง จ.พัทลุง
โรงเรียนเสาไห้ "วิมลวิทยานุกูล" จ.สระบุรี
โรงเรียนนาหลวง กรุงเทพฯ โรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ) จ.นครราชสีมา
2024

(2567)

โรงเรียนปากน้ำปราณวิทยา จ.ประจวบคีรีขันธ์
โรงเรียนปทุมวิไล จ.ปทุมธานี
โรงเรียนศึกษานารี กรุงเทพฯ
โรงเรียนโยธินบูรณะ กรุงเทพฯ
โรงเรียนสังขะ จ.สุรินทร์

รายชื่อโรงเรียนที่เป็นแชมป์ และรองแชมป์ ชิงช้าสวรรค์ประถมคอนเทสต์

[แก้]
ปี รองชนะเลิศ รองชนะเลิศ แชมป์

รายชื่อโรงเรียนที่เป็นแชมป์ และรองชิงช้าสวรรค์เทิดไท้องค์ราชันย์

[แก้]
ปี รองชนะเลิศ รองชนะเลิศ แชมป์

สิ่งสืบเนื่อง

[แก้]

รายการย่อย

[แก้]

เวิร์คพอยท์ได้สร้างรายการโทรทัศน์ที่มีองค์ประกอบมาจากรายการชิงช้าสวรรค์ เช่น ไมค์ทองคำ, ไมค์ทองคำเด็ก, ไมค์ทองคำ หมอลำฝังเพชร, ไมค์หมดหนี้ และเพชรตัดเพชร เป็นต้น[3]

นอกจากนี้ ในช่วงปี พ.ศ. 2559 ตัวรายการชิงช้าสวรรค์เองก็มีการสร้างรายการย่อย "ชิงช้าสวรรค์ ลูกทุ่งโอทอป" (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น "ชิงช้าสวรรค์ โอทอป") ซึ่งเดิมเป็นช่วงหนึ่งของรายการหลัก[25] แต่ต่อมาได้แยกจัดเป็นอีกหนึ่งรายการ โดยเป็นการประกวดร้องเพลงของตัวแทนประจำตำบล พร้อมนำเสนอผลิตภัณฑ์เด่นประจำตำบลนั้น ๆ โดยมีศิลปินลูกทุ่งสลับสับเปลี่ยนเป็นกรรมการในทุกสัปดาห์[27]

ในปี พ.ศ. 2566 ชิงช้าสวรรค์มีสร้างรายการย่อยอีก 1 รายการ คือ "ชิงช้าสวรรค์ ร้องคู่สิบ" โดยนำนักร้องนำจากวงดนตรีลูกทุ่งที่เข้าประกวดในรายการชิงช้าสวรรค์ มาเป็นผู้เข้าแข่งขัน ร้องเพลงร่วมกับศิลปินมืออาชีพจำนวน 10 คน โดยมีกติกาคล้ายกับรายการนักร้องสองไมค์ นั่นคือคะแนนจะมาจากสลา คุณวุฒิ ซึ่งเป็นกรรมการหลัก และศิลปินอีก 9 คนที่ไม่ได้ร่วมร้องเพลงกับผู้เข้าแข่งขันในแต่ละรอบ ถ้าหากผู้เข้าแข่งขันได้คะแนนตั้งแต่ 7 คะแนนขึ้นไป จะได้รับทุนการศึกษาสะสมรอบละ 3,000 บาท (หรือได้รับโบนัสเป็น 5,000 บาท หากได้คะแนนเต็ม 10 คะแนนในรอบนั้น ๆ) และได้แข่งขันต่อไปในแต่ละรอบ จนกระทั่งครบ 10 คน นั่นคือมีโอกาสได้รับทุนการศึกษาสูงสุดที่ 50,000 บาท และหลังจากผ่านทั้ง 10 รอบ ผู้เข้าแข่งขันจะได้รับประกาศนียบัตรจากสลา พร้อมลายมือชื่อจากสลาและศิลปินทั้ง 10 คน[28]

ชิงช้าสวรรค์ ไอดอล

[แก้]

ในปี พ.ศ. 2566 รายการชิงช้าสวรรค์ได้เปิดตัววงเกิร์ลกรุปแนวลูกทุ่ง ในชื่อว่า "ชิงช้าสวรรค์ ไอดอล" โดยมีสมาชิกจำนวน 5 คน (ต่อมาลดเหลือ 4 คน) จากวงดนตรีลูกทุ่งที่เข้าประกวดในรายการชิงช้าสวรรค์จำนวน 4 โรงเรียน[29]

รางวัลที่ได้รับ

[แก้]

ข้อวิจารณ์

[แก้]

แม้ชิงช้าสวรรค์ในยุคแรกจะสร้างกระแสวงดนตรีลูกทุ่งระดับมัธยมศึกษา แต่บรรณวัชรจากคมชัดลึกวิจารณ์ว่าการประกวดวงดังกล่าวทำให้แต่ละโรงเรียนทุ่มงบประมาณจำนวนมากกับการสร้างวงดนตรี ทำให้วงดนตรีลูกทุ่งที่เข้ามาประกวดดูเป็นวงในอุดมคติมากเกินไป และผู้บริหารสถานศึกษาบางแห่งก็อาจใช้โอกาสนี้ในการสร้างชื่อเสียงให้ตนเอง มากกว่าส่งเสริมให้เยาวชนมีใจรักเพลงลูกทุ่งอย่างแท้จริง[32]

ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2555 ผู้บริหารโรงเรียนแห่งหนึ่งร้องเรียนกับทางเวิร์คพอยท์ในประเด็นการตัดสินที่ไม่เป็นธรรมต่อสถาบันของตน[13][33] และในเดือนกันยายนปีเดียวกัน ผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์บางส่วนวิจารณ์ว่า รายการจงใจใช้ความเศร้าของผู้สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก เพื่อสร้างความนิยมของตัวรายการเอง ขณะเดียวกัน ผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ ก็ได้มีการวิจารณ์ถึงการทำหน้าที่พิธีกรของโน้ต เชิญยิ้ม ด้วย[34]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 "ที่สุดของการรอคอย กับรายการแห่งตำนาน 'ชิงช้าสวรรค์ 2022' ประเดิมตอนแรก 16 ก.ค.นี้". workpointTODAY.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7 2.8 "รายการ ชิงช้าสวรรค์ เทปแรก เสาร์ที่ 6 พฤศจิกายน 2547 เวลา 16.00-18.00 น. โมเดิร์น ไนน์". ryt9.com.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 "Key Success เวิร์คพอยท์ ยังไงๆ Contents ก็ต้อง is King แต่ต้อง Create หน่อย". Marketeer Online (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2017-01-19.
  4. 4.0 4.1 4.2 "เมื่อพิธีกร'ลาออกจากรายการฟ้าผ่า'". คมชัดลึกออนไลน์. 2012-10-10.
  5. 5.0 5.1 ""สิเรียม"โผล่แจง"พายัพ"แค่ผู้ใหญ่ที่นับถือ". คมชัดลึกออนไลน์. 2010-03-27.
  6. 6.0 6.1 "เปิดชื่อกรรมการตัดสิน "ชิงช้าสวรรค์ 2023" ใครส้มหล่นนั่งแท่นแทน "ครูเทียม"". ดาราเดลี่. 2023-01-25. สืบค้นเมื่อ 2023-01-26.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. 7.0 7.1 "กว่าชิงช้าสวรรค์จะกลับมาหมุนอีกครั้งบนหน้าจอ". THE MODERNIST.[ลิงก์เสีย]
  8. "ช่องดิจิตอลเรียกรายการกลับสังกัด!! ใครเจ๊ง ใครรุ่ง??". www.thairath.co.th. 2015-03-21.
  9. "โน้ต เชิญยิ้ม เปิดแชต ป๋อ ขออนุญาตรับไม้ต่อพิธีกร ชิงช้าสวรรค์ ส่งกำลังใจ บอกเหมาะสม !". กระปุก.คอม. 30 ธันวาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 10.5 10.6 ประสิทธิผลของรายการชิงช้าสวรรค์ลูกทุ่งโอทอป – วิทยานิพนธ์หลักสูตรวารสารศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  11. 11.0 11.1 11.2 11.3 "เซอร์ไพรส์ ถ้วยรางวัลพระราชทานฯ ชิงช้าสวรรค์คอนเทสต์ปี 3 อ. เฉลิมชัย อุบเงียบ เผยที่มาครั้งแรก". ryt9.com.
  12. 12.0 12.1 12.2 "รายการ ชิงช้าสวรรค์ ออกอากาศวันเสาร์ที่ 7 พฤษภาคม 2548 16.00 — 18.00 น. โมเดิร์น ไนน์". ryt9.com.
  13. 13.0 13.1 13.2 13.3 13.4 13.5 "นักเรียน ร.ร.บัวใหญ่ ไหว้ขอความเป็นธรรม วอน "เวิร์คพ้อยท์" ตรวจสอบ "ชิงช้าสวรรค์" ตัดสินไม่โปร่งใส". mgronline.com. 2012-03-07.
  14. "ตระการตา ที่มาถ้วยพระราชทานฯ - อ.เฉลิมชัย เผยโฉมใน "ชิงช้าสวรรค์"". ryt9.com.
  15. พิษณุโลกฮอตนิวส์ (2016-06-17). "วงโยธวาทิตจ่านกร้อง แสดงรอบสื่อมวลชน ก่อนเดินทางไปโชว์ที่สิงคโปร์". Phitsanulok Hotnews.
  16. ""พี่ตูน"ร่วมแจมแสงสุดท้ายวงดนตรีแชมป์ชิงช้าสวรรค์(คลิป)". www.newtv.co.th. 2017-11-16.
  17. "รอบรั้ว "โรงเรียนบัวใหญ่" สุดยอดรร.แห่งวงดนตรีลูกทุ่งเมืองโคราช คว้าหลายแชมป์ชิงช้าสวรรค์". Korat Start Up. 2016-06-24.
  18. 'ตุ้ม จ่านกร้อง' ตื่นเต้นถ่ายมิวสิควิดีโอ[ลิงก์เสีย]
  19. "'เวิร์คพอยท์' เปิดเวทีการประกวดวงดนตรีลูกทุ่ง ระดับมัธยมศึกษาอย่างยิ่งใหญ่ทั่วประเทศ 'ชิงช้าสวรรค์". workpointTODAY.
  20. matichon (2022-11-26). "#ชิงช้าสวรรค์2022 ขึ้นที่ 1 เทรนด์ทวิต แห่ให้กำลังใจ 'ยุพราชฯ' ไม่ได้แชมป์แต่ครองใจมหาชน". มติชนออนไลน์.
  21. "3 ดาราหญิงชิงช้าสวรรค์ ดาวที่ค่อยๆ หายไป". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-13. สืบค้นเมื่อ 2022-07-17.
  22. "ช่วง “เสียงดี มีค่าเทอม” ทำ แอน,โน้ต,ส้ม อึ้ง 3 เด็กเก่งงัดลูกคอ 9". ryt9.com.
  23. "ทีวีไกด์: รายการ "ชิงช้าสวรรค์" ฝน ปลื้มแก้มปริ!! เด็กน้อยเอาเพลง". ryt9.com.
  24. "เชิญชวนร่วมเป็นกำลังใจเยาวชนชาวหัวหิน ในการแข่งขันชิงแชมป์ออฟเดอะแชมป์ รายการชิงช้าสวรรค์". www.huahin.go.th.
  25. 25.0 25.1 "ทีวีไกด์: รายการ "ชิงช้าสวรรค์ ลูกทุ่งโอทอป" อวดของดี &เสียงเด่น ต.แหลมใหญ่ ท้าดวล". ryt9.com.
  26. "แถลงข่าวประกวดชิงช้าสวรรค์เทิดไท้องค์ราชัน". www.sanook.com/news.
  27. "ทีวีไกด์: รายการ "ชิงช้าสวรรค์ ลูกทุ่งโอทอป" มันส์แน่นอน!! ต.ศรีกะอาง ปะทะ ต.บางพุทรา". ryt9.com.
  28. "'ร้องคู่สิบ' เปิดเส้นทางสู่การเป็น 'ศิลปินมืออาชีพ' ให้เยาวชน จากเวที 'ชิงช้าสวรรค์' ได้ร้องเพลงประกบคู่กับ 'ศิลปินชื่อดัง'". สำนักข่าวทูเดย์. 2023-05-26. สืบค้นเมื่อ 2023-05-26.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  29. PJNinetySeven (2023-05-19), "ชิงช้าสวรรค์ Idol และเรื่องชวนคาดเดา | LodiCap Quick Talk w/ Nited Idols", LodiCap Podcast, สปอติฟาย, สืบค้นเมื่อ 2023-05-26
  30. "เคน-จอย คว้าดารานำดีเด่น โทรทัศน์ทองคำ". www.sanook.com/movie.
  31. "ภาพข่าว: ช่อง1 เวิร์คพอยท์ และจุ๋ย วรัทยา รับรางวัลราชบัณฑิตยสถานสรรเสริญ ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นประจำปี". ryt9.com.
  32. "คมเคียวคมปากกา - ชิงช้าสวรรค์...เพื่อใคร?". คมชัดลึกออนไลน์. 2009-11-18.
  33. ""เวิร์คพ้อยท์" เฉย "ชิงช้าสวรรค์" ถูกร้องตัดสินไม่เป็นธรรม". mgronline.com. 2012-03-30.
  34. "ประเด็นฮอตในโซเชียลมีเดียรอบสัปดาห์ - มหาเศรษฐีฮ่องกงประกาศหาคู่ให้ลูกสาว และ เบเกิ้ล เฮด สุดฮิตในวัยรุ่นญี่ปุ่น - ThaiPublica". thaipublica.org. 2012-09-30.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]