ข้ามไปเนื้อหา

กัณฑรีย์ นาคประภา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กัณฑรีย์ นาคประภา
เกิด11 สิงหาคม พ.ศ. 2467
กัณฑรีย์ เลื่อนฉวี
ประเทศสยาม
เสียชีวิต4 กันยายน พ.ศ. 2544 (77 ปี)
คู่สมรสฉลอง สิมะเสถียร
บุตร1 คน
อาชีพนักร้อง นักแสดง ผู้กำกับ
ปีที่แสดงพ.ศ. 2485 - 2544 (59 ปี)

กัณฑรีย์ นาคประภา หรือ กัณฑรีย์ สิมะเสถียร (11 สิงหาคม 2467 - 4 กันยายน 2544) นักร้อง นักแสดงอาวุโสเจ้าบทบาทในอดีต ได้รับยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นบูรพศิลปิน สาขาศิลปะการแสดง ปีพ.ศ.2558[1]

ประวัติ

[แก้]

วัยเยาว์

[แก้]

กัณฑรีย์เกิดเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ ศ. 2467 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นธิดาของรองอำมาตย์โทเผิญ เลื่อนฉวี และนางแฉล้ม หุตะโกวิท บิดามารดาแยกทางกันตั้งแต่เธอยังเล็ก มารดาจึงพาไปอยู่กับคุณยาย เรียนหนังสือระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนประสารอักษร บางรัก กรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. 2472 - 2476 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 ที่โรงเรียนสุริวงศ์ กรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. 2477 - 2479 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 - 6 ที่โรงเรียนสตรีมหาพฤฒาราม

กัณฑรีย์มีแววเป็นนักร้อง นักแสดงมาตั้งแต่เยาว์วัยเนื่องจากคุณยายมักพาไปชมละครคณะต่าง ๆ ที่มีชื่อในขณะนั้นเป็นประจำ แม้จะไม่พาไปกัณฑรีย์ก็มักขอให้คนรู้จักพาไปเสมอจนสามารถจดจำเพลงและเนื้อร้องในละครได้ขณะเรียนชั้นประถมศึกษาก็ได้รับการคัดเลือกให้ร้องเพลงและแสดงงานของโรงเรียนเสมอ ๆ แม้เมื่อมาเรียนในโรงเรียนสตรีมหาพฤฒารามแล้วก็ยังได้รับคัดเลือกให้เป็นนักร้องประจำโรงเรียน

เข้าสู่วงการ

[แก้]

เมื่อจบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาแล้ว เข้าทำงานที่การไฟฟ้านครหลวงสามเสน ณ ที่แห่งนี้ได้มีโอกาสฝึกร้องเพลงและเป็นศิษย์ของครูบุญช่วย กมลวาทิน นักแต่งเพลงชื่อดังในยุคนั้น จนกระทั่งครูแต่งเพลงให้ร้องเพลงแรกชื่อ "จันทร์เอ๋ย" เธอได้นำไปร้องในงานรื่นเริงของกระทรวงมหาดไทยที่การไฟฟ้านครหลวงเมื่อ พ.ศ. 2485 ได้รับการปรบมือเกรียวกราวเมื่อเพลงจบ จากนั้นเป็นต้นมานางกัณฑรีย์จึงได้เป็นตัวแทนของกระทรวงมหาดไทยในการแสดงหรือร้องเพลงทุกครั้งที่กระทรวงอื่นเชิญไปร่วมงาน นับว่าเป็นก้าวแรกของชีวิตนักร้องอย่างจริงจัง

ต่อมาครูบุญช่วยกมลวาทิน พาไปฝากทำงานที่แผนกดนตรี สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และเริ่มมีชื่อเสียงขึ้น จนต้องเปลี่ยนนามสกุลจาก “เลื่อนฉวี” มาเป็น “นาคประภา” เพราะบิดาไม่ชอบให้เป็นศิลปิน จึงไปใช้นามสกุลของคุณยายทวดและลาออกจากการไฟฟ้านครหลวง เพื่อมาร้องเพลง จนกระทั่งวงดนตรีทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ยุบเลิกไปแต่โอกาสการเป็นนักแสดงของเธอมาเยือนอีกครั้งเมื่อกัณฑรีย์ไปดูซ้อมละครของคณะศิวารมณ์จากการชวนของนาวาโทศรีโรจน์ หงส์ประสิทธิ์ ซึ่งมีหน้าที่บอกบทให้คณะละคร พอดีกับที่คณะละครกำลังมองหาคน รับบท นางพระยาแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ กัณฑรีย์ได้รับเลือกให้แสดงละครเรื่องนี้เป็นเรื่องแรก ได้รับการฝึกสอนจากครูเนรมิตและครูมารุต ผู้กำกับการแสดงมีชื่อเสียงในสมัยนั้น

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

กัณฑรีย์พบรักกับฉลอง สิมะเสถียรพระเอกละครเวทีร่วมสมัยกับเธอ มีบุตรสาวหนึ่งคน ชื่อ กัญชลิกา สิมะเสถียร โดยเธอได้นำชื่อลูกสาวมาตั้งชื่อคณะละครที่เธอเป็นผู้ดูแล ซึ่งกัณฑรีย์มีศักดิ์เป็นคุณยายของณัฐภัสสร สิมะเสถียร หรือ ดาว โอเกะ นักแสดงและดีเจชื่อดัง

ผลงาน

[แก้]

ละครเวที

[แก้]

ภาพยนตร์

[แก้]

ละครโทรทัศน์

[แก้]
ปี เรื่อง รับบท ออกอากาศ
ไม่ทราบปี นาฏลิกา ช่อง 4 บางขุนพรหม
ชลธีพิศวาส
เสือเก่า
2501 บ้านทรายทอง หญิงเล็ก
2507 ศึกถลาง
2510 จำพราก
เขาหาว่าฉันเป็นบ้า
2511 บ้านทรายทอง หญิงเล็ก
2514 เพ็ญเดือนสี่ที่ตะโก
อีสา
2519 ทัดดาวบุษยา เดือน ช่อง 9
2521 ฝ้ายแกมแพร ทอแสง
สกาวเดือน เทวินา
2522 แม่ยอดสร้อย ช่อง 3
ฝ้ายแกมแพร ทอแสง ช่อง 5
2523 เรือมนุษย์ เฟื่องทอง
2524 ชลาลัย คุณจอมเข็ม ช่อง 9
หลง
ในม่านเมฆ คุณหญิงอัมพร ช่อง 5
2525 หนึ่งในร้อย
ปราสาทมืด นางแช่ม
2526 เสื้อสีฝุ่น
เขยบ้านนอก
เขยใหม่ ช่อง 9
2527 เปลวไฟในดวงดาว ช่อง 3
เลือดขัตติยา
เมื่อรักร้าว ช่อง 9
วงเวียนหัวใจ บุษบา พิมุขโยธกานต์
2528 กิ่งมัลลิกา[3] ช่อง 7
2530 ไฟเสน่หา ช่อง 3
2531 คมพยาบาท คุณหญิงอนุรักษ์ อนุรักษ์ธานินทร์ ช่อง 5
สามอนงค์ ช่อง 3
ระบำไฟ ชิงฉัตร
2532 ผู้พิชิตมัจจุราช
ดอกฟ้าและโดมผู้จองหอง
2534 วนิดา คุณนายน้อม มหศักดิ์
2535 ไฟโชนแสง
2536 ฉุยฉาย หม่อมวาด
2539 ทรายสีเพลิง คุณหญิงศิริ พรหมมาศนารายณ์
2542 เมียหลวง

กำกับการแสดง/ผู้จัด

[แก้]

พิธีกร

[แก้]
  • เพลงกล่อมจิต (เป็นการนำเพลงในวงทรัพย์ส่วนพระมหากษัตริย์มาร้องใหม่) ช่อง 4
  • เพลงมิตรกล่อมใจ ช่อง 4
  • เพลงแห่งความหลัง (นำเพลงขงพรานบูรพ์มาร้องใหม่) ช่อง 4

เสียชีวิต

[แก้]

ในช่วงหลังกัณฑรีย์มีปัญหาด้านสุขภาพจึงวางมือทางด้านการแสดงลง มีรับเชิญแสดงบ้างเป็นครั้งคราว

กัณฑรีย์ เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง เมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ.2544 สิริรวมอายุได้ 77[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. http://book.culture.go.th/newbook/artbura/files/mobile/index.html#274
  2. https://pantip.com/topic/40568921
  3. https://m.pantip.com/topic/32524403?
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-10. สืบค้นเมื่อ 2024-05-06.