ข้ามไปเนื้อหา

ฉบับร่าง:ไอบีลีฟ (อัลบั้มทาทา ยัง)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไอบีลีฟ
สตูดิโออัลบั้มโดย
วางตลาด25 กุมภาพันธ์ 2547 (2547-02-25)
บันทึกเสียงพ.ศ. 2546
สตูดิโอฮิตวิชัน (สต็อกโฮล์ม)
แนวเพลง
ความยาว42:01
ค่ายเพลง
โปรดิวเซอร์ฮิตวิชัน
ลำดับอัลบั้มของทาทา ยัง
เรียลทีที
(2546)
ไอบีลีฟ
(2547)
แดนเจอรัสทาทา
(2548)
ซิงเกิลจากไอบีลีฟ
  1. "เซ็กซีนอตีบิตชี"
  2. "ไอบีลีฟ"
  3. "ซินเดอเรลลา"
  4. "ไอทิงก์ออฟยู"
  5. "ดูมดูม"

ไอบีลีฟ (อังกฤษ: I Believe) เป็นสตูดิโออัลบั้มชุดที่ห้า และสตูดิโออัลบั้มภาษาอังกฤษชุดแรกของนักร้องชาวไทย ทาทา ยัง ประกาศเปิดตัวอย่างเป็นทางการที่สิงคโปร์ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547[1] และวางจำหน่ายในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ในปีเดียวกัน ผ่านค่ายโคลัมเบียเรเคิดส์ และโซนี่มิวสิกเอ็นเตอร์เทนเมนต์ ไอบีลีฟ ประกอบด้วยเพลงแนวแดนซ์ป็อปที่มีจังหวะเร็วเป็นส่วนใหญ่ เพื่อแสดงถึงความมั่นใจในตัวเอง[2] ทาทาทำอัลบั้มร่วมกับโปรดิวเซอร์ชาวสวีเดน มาร์ติน อังเก็ลลิอุส และแฮ็นริก อันเดร์ช็อน จากมูร์ลินมิวสิกกรุ๊ป โดยบันทึกเสียงที่สตูดิโอของพวกเขาในสต็อกโฮล์ม[3]

ไอบีลีฟ ได้รับความนิยมอย่างมากเมื่อวางจำหน่ายและทำให้ทาทาเป็นที่รู้จักทั่วเอเชีย โดยอัลบั้มได้การรับรองระดับแผ่นเสียงทองคำในอินเดีย[4] และขึ้นสิบอันดับแรกบนชาร์ตอัลบั้มรายสัปดาห์ของออริคอน หลังจากวางจำหน่ายในญี่ปุ่นเก้าเดือนให้หลัง

รายชื่อเพลง[แก้]

เพลงทั้งหมดผลิตโดยมาร์ติน อังเก็ลลิอุส และแฮ็นริก อันเดร์ช็อน ภายใต้ชื่อฮิตวิชัน ยกเว้นเพลง "ดูมดูม" ในอัลบั้มรุ่นแทนคำขอบคุณที่ผลิตโดยอาทิตยะ โจปรา

ไอบีลีฟ – รุ่นมาตรฐาน
ลำดับชื่อเพลงประพันธ์ยาว
1."เอฟรีบอดีดัสเซินต์"
3:02
2."เซ็กซีนอตีบิตชี"
  • ดาวิด เคลียเว็ต
  • อีวาร์ ลิซินสกี
  • ซาวาน โคเทชา
3:28
3."ไอบีลีฟ"
  • มาร์ติน อังเก็ลลิอุส
  • แฮ็นริก อันเดร์ช็อน
  • อะลีนา กิบสัน
  • คาโรลา เฮ็กควิสต์
3:17
4."คอลฮิมไมน์"
  • ยูอาคิม บิเยิร์กลูนด์
  • โคเทชา
3:57
5."ซินเดอเรลลา"
  • ลินดี ร็อบบินส์
  • เควิน ซาวิการ์
3:34
6."โลนลีอินสเปซ"
  • อังเก็ลลิอุส
  • อันเดร์ช็อน
  • วิกตอเรีย ฮอร์น
3:00
7."ไอทิงก์ออฟยู"
  • โรบิน สกอฟฟิลด์
  • รีด เวอร์เทลนีย์
3:43
8."แบดบอยส์แซดเกิลส์"
  • กิบสัน
  • อังเก็ลลิอุส
  • อันเดร์ช็อน
3:03
9."ซอร์รีเอนีเวย์"
  • ดาวิด เอริกเซิน
  • กิบสัน
3:32
10."ครัชออนยู"
  • อังเก็ลลิอุส
  • อันเดร์ช็อน
3:23
11."มายเวิลส์สปินนิง"
  • อังเก็ลลิอุส
  • อันเดร์ช็อน
4:04
12."ไอวอนต์วอตไอวอนต์"
  • ลอเรน คริสตี
  • ชาร์ลี มิดไนต์
3:58
ความยาวทั้งหมด:42:01
ไอบีลีฟ – รุ่นพิเศษจำกัดจำนวน (แทร็กโบนัส)
ลำดับชื่อเพลงประพันธ์ยาว
13."เซ็กซีนอตีบิตชี" (ดีเจราชีพบอลลีวูดรีมิกซ์)
  • เคลียเว็ต
  • ลิซินสกี
  • โคเทชา
3:10
14."ไอบีลีฟ" (ดีดีพีรีมิกซ์)
  • อังเก็ลลิอุส
  • อันเดร์ช็อน
  • กิบสัน
  • เฮ็กควิสต์
4:48
15."เซ็กซีนอตีบิตชี" (ฟุตงรีมิกซ์)
  • เคลียเว็ต
  • ลิซินสกี
  • โคเทชา
5:08
ความยาวทั้งหมด:55:07
ไอบีลีฟ – รุ่นแทนคำขอบคุณ (แทร็กโบนัส)[5]
ลำดับชื่อเพลงประพันธ์ยาว
13."ดูมดูม"
  • ปรีตัม จักรโบรตี
  • อาสิฟ อลี เบค[a]
4:21
14."เซ็กซีนอตีบิตชี" (ฉบับภาษาญี่ปุ่น)
  • เคลียเว็ต
  • ลิซินสกี
  • โคเทชา
  • มิยาโกะ ฮาชิโมโตะ[b]
3:27
15."ไอบีลีฟ" (ฉบับภาษาญี่ปุ่น)
  • อังเก็ลลิอุส
  • อันเดร์ช็อน
  • กิบสัน
  • เฮ็กควิสต์
  • ฮาชิโมโตะ[b]
3:18
16."ไอทิงก์ออฟยู" (ฉบับภาษาญี่ปุ่น)
  • สกอฟฟิลด์
  • เวอร์เทลนีย์
  • ฮาชิโมโตะ[b]
3:45
ความยาวทั้งหมด:56:52

หมายเหตุ

  • ^[a] หมายถึงผู้แต่งเนื้อร้องภาษาอังกฤษ
  • ^[b] หมายถึงผู้แต่งเนื้อร้องภาษาญี่ปุ่น
  • "เอฟรีบอดีดัสเซินต์" เป็นเพลงขับร้องใหม่จากเพลง พ.ศ. 2544 ในชื่อเดียวกันของอาม็องดา ลาแมช (หรือชื่อในวงการคือ อะแมนดา)
  • "ไอบีลีฟ" เป็นเพลงขับร้องใหม่จากเพลง พ.ศ. 2544 "ไอบีลีฟอินเลิฟ" ของคาโรลา เฮ็กควิสต์
  • "ซินเดอเรลลา" เป็นเพลงขับร้องใหม่จากเพลง พ.ศ. 2543 ในชื่อเดียวกันของไอไฟฟ์
  • "ไอวอนต์วอตไอวอนต์" เป็นเพลงขับร้องใหม่จากเพลง พ.ศ. 2540 ในชื่อเดียวกันของลอเรน คริสตี

วีซีดีและดีวีดีโบนัส[แก้]

แต่ละรุ่นของ ไอบีลีฟ บรรจุด้วยวีซีดีหรือดีวีดีโบนัสแตกต่างกัน อัลบั้มรุ่นมาตรฐานบรรจุวีซีดีมิวสิกวิดีโอของเพลง "เซ็กซีนอตีบิตชี" ซึ่งกำกับโดยผู้กำกับชาวไต้หวัน เคน ฟู และบทสัมภาษณ์กับทาทา ยัง โดยคณีอาจ แดนดํารงสุข[2] และอัลบั้มรุ่นพิเศษจำกัดจำนวนบรรจุวีซีดีคาราโอเกะและบันทึกการแสดงสดของสี่ซิงเกิลแรก และเพลง "คอลฮิมไมน์" ส่วนอัลบั้มรุ่นจำกัดจำนวนที่เผยแพร่ในญี่ปุ่นบรรจุดีวีดีมิวสิกวิดีโอของเพลง "เซ็กซีนอตีบิตชี" "ไอบีลีฟ" และ "ซินเดอเรลลา" ซึ่งกำกับโดยผู้กำกับชาวไทย อลงกต เอื้อไพบูลย์[6][7] เช่นเดียวกับอัลบั้มรุ่นแทนคำขอบคุณที่บรรจุดีวีดีมิวสิกวิดีโอดังกล่าว พร้อมกับมิวสิกวิดีโอของเพลง "ดูมดูม" กำกับโดยผู้กำกับชาวอินเดีย อรชุน สัพโลก และมิวสิกวิดีโอฉบับเผยแพร่ในญี่ปุ่นของเพลง "เซ็กซีนอตีบิตชี" และ "ไอบีลีฟ" ซึ่งอำนวยการสร้างโดยพีระมิดฟิล์ม[5][8]

บุคลากร[แก้]

รายชื่อบุคลากรปรับมาจากกิตติประกาศในบันทึกย่อของ ไอบีลีฟ[5]

  • ทาทา ยัง – เสียงขับร้อง
  • ทิม ยัง – ผู้อำนวยการผลิต
  • ริชาร์ด เดเนกัมป์ – ผู้อำนวยการผลิต
  • ฮิตวิชัน – โปรดิวเซอร์, เรียบเรียงเสียงประสาน, บันทึกเสียง, โปรแกรมมิง, วิศวกรรมเสียง, คีย์บอร์ด
  • นิกลัส ฟลิกต์ – ผสมเสียง (ในเพลงที่ 1–5, 7, 10)
  • ออลาร์ ซูร์นา – ผสมเสียง (ในเพลงที่ 6, 8, 9, 11, 12)
  • บิเยิร์น เอ็งเกียล์มัน – มาสเตอร์ริง
  • ฌาเน็ต อูลส์ซ็อน – เสียงขับร้องพื้นหลัง (ในเพลงที่ 1, 3, 4, 7, 9, 10)
  • อันนา นูร์เด็ล – เสียงขับร้องพื้นหลัง (ในเพลงที่ 2, 5, 6, 11)
  • ซานดรา นูร์สเตริม – เสียงขับร้องพื้นหลัง (ในเพลงที่ 8)
  • ยูอาคิม เบรย์สเตริม – เสียงขับร้องพื้นหลัง (ในเพลงที่ 12)
  • เอียสบิเยิร์น เออร์วัล – กีตาร์
  • ทูมัส ลินด์เบรย์ – กีตาร์เบส (ในเพลงที่ 2, 3, 6, 7, 10–12)

ชาร์ต[แก้]

รายสัปดาห์[แก้]

ตารางแสดงอันดับชาร์ตของ ไอบีลีฟ
ชาร์ต (พ.ศ. 2547) ตำแหน่ง
สูงสุด
Japanese Albums (Oricon)[9] 9

ประวัติการจำหน่าย[แก้]

วันที่วางจำหน่ายและรูปแบบของ ไอบีลีฟ
ภูมิภาค วันวางจำหน่าย รูปแบบ รุ่น ค่ายเพลง อ้างอิง
เอเชีย 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 มาตรฐาน
ญี่ปุ่น 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 จำกัดจำนวน พลาเทีย [6][10]
พ.ศ. 2547 พิเศษจำกัดจำนวน
2 มีนาคม พ.ศ. 2548 แทนคำขอบคุณ

อ้างอิง[แก้]

  1. "การแถลงข่าวเปิดตัวอัลบั้ม I Believe ณ ประเทศสิงคโปร์". สังคมบันเทิง. 16 กุมภาพันธ์ 2547. สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3. สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2024 – โดยทาง ยูทูบ.
  2. 2.0 2.1 Young, Tata (2004). "Interview with Tata Young". I Believe (Bonus VCD) (Interview). สัมภาษณ์โดย Kaneearch Dandumrongsuk. Columbia Records.
  3. "Oxygen Special: Real TT in Sweden". Oxygen. 2 กุมภาพันธ์ 2546. สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3. สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2024 – โดยทาง ยูทูบ.
  4. Bhushan, Nyay (17 March 2007). "Robbie Goes to Bollywood: International Acts Target Indian Market". Billboard. Vol. 119 no. 11. United States: Nielsen. p. 12. ISSN 0006-2510. สืบค้นเมื่อ 5 June 2024.
  5. 5.0 5.1 5.2 I Believe (Thank You edition liner notes). Tata Young. Columbia Records. 2005. UM48-0890.{{cite AV media notes}}: CS1 maint: others (ลิงก์)
  6. 6.0 6.1 "タタ・ヤン / アイ・ビリーヴ [CD+DVD] [限定]" [Tata Young - I Believe (CD+DVD) (Limited Edition)]. CD Jounal (ภาษาญี่ปุ่น). 17 November 2004. สืบค้นเมื่อ 4 June 2024.
  7. "พิสูจน์มิวสิกฯ ซินเดอเรล่า ทาทา ยัง ฝีมือผู้กำกับคนไทย". สยามโซน.คอม. 18 กรกฎาคม 2547. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 กรกฎาคม 2565. สืบค้นเมื่อ 4 มิถุนายน 2024.
  8. Making the Video: Tata Young - Dhoom Dhoom. India: MTV Asia. 2004.
  9. "Tata Young's Ranking Information". Oricon. สืบค้นเมื่อ 22 June 2024.
  10. "タタ・ヤン / アイ・ビリーヴ [限定]" [Tata Young - I Believe (Limited Edition)]. CD Jounal (ภาษาญี่ปุ่น). 17 November 2004. สืบค้นเมื่อ 4 June 2024.