ฉบับร่าง:พระราชปริยัตยาลังการ (วิชัย ฐิตาจาโร)
นี่คือบทความฉบับร่างซึ่งเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถแก้ไขได้ โปรดตรวจสอบว่าเนื้อหามีลักษณะเป็นสารานุกรมและมีความโดดเด่นควรแก่การรู้จักก่อนที่จะเผยแพร่เป็นบทความลงในวิกิพีเดีย กรุณาอดทนรอผู้เขียนคนอื่นมาช่วยตรวจให้ อย่าย้ายหน้าไปเป็นบทความเองโดยพลการ ค้นหาข้อมูล: Google (books · news · newspapers · scholar · free images · WP refs) · FENS · JSTOR · NYT · TWL สำคัญ: ถ้าลบป้ายนี้ออกจะทำให้บันทึกหน้าไม่ได้ ผู้แก้ไขหน้านี้คนล่าสุด คือ PanImage (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) เมื่อ 2 เดือนก่อน (ล้างแคช) |
พระราชปริยัตยาลังการ (วิชัย ฐิตาจจาโร) | |
---|---|
คำนำหน้าชื่อ | เจ้าคุณ |
ชื่ออื่น | หลวงปู่เจ้าคุณวิชัย |
ส่วนบุคคล | |
เกิด | 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2469 (94 ปี) |
นิกาย | มหานิกาย |
การศึกษา | นักธรรมชั้นเอก เปรียญธรรม 4 ประโยค พธ.ด.กิตติมศักดิ์ (สาขาวิชาธรรมนิเทศ) |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | วัดไทยการ์เดอร์โมน ประเทศนอร์เวย์ |
อุปสมบท | 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 |
พรรษา | 74 |
ตำแหน่ง | อดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านบัว บ้านบัว ตำบลบ้านบัว อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ อดีตเจ้าอาวาสวัดไทยการ์เดอร์โมน ประเทศนอร์เวย์ อดีตพระธรรมทูตสายต่างประเทศ ผู้สถาปนาวิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
พระราชปริยัตยาลังการ (วิชัย ฐิตาจาโร)[1] นธ. เอก,ป.ธ.4 อดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์[2],อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านบัว บ้านบัว ตำบลบ้านบัว อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์,อดีตเจ้าอาวาสวัดไทยการ์เดอร์โมน ประเทศนอร์เวย์[3],อดีตพระธรรมทูตสายต่างประเทศ,ผู้สถาปนาวิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์[4] มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ชาติภูมิ
[แก้]พระราชปริยัตยาลังการ สถานะเดิมชื่อ วิชัย นามสกุล รัตนรักษ์ เกิดเมื่อ วัน อังคาร ที่ 3 เดือน กรกฎาคม พ. ศ. 2469 ตรงกับวันขึ้น 8 ค่ำเดือน 8 ปีขาล ภูมิลำเนาเดิม บ้านเลขที่ 6 หมู่ที่ 1 บ้านบัว ตำบลบ้านบัว อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ บิดาชื่อ นายฤทธิ์ มารดาชื่อ นางน้อย รัตนรักษ์ ท่านเป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวนพี่น้อง 8 คน
วุฒิศึกษาสายสามัญศึกษา
[แก้]- พ. ศ. 2486 สำเร็จการศึกษาชั้นประถมปีที่ 4 จากโรงเรียนบ้านบัว ตำบลบ้านบัว อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
บรรพชาอุปสมบท
[แก้]ถัดจากนั้นมา ๔ ปี ก็ได้บรรพชา–อุปสมบท เมื่ออายุได้ 21 ปี วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 ตรงกับวันแรม 11 ค่ำเดือน 6 ปีกุน ณ พัทธสีมาวัดบ้านบัว ตำบลบ้านบัว อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมี พระครูธีรคุณาธาร(ธางค์) วัดอิสาณ เป็นพระอุปัชฌาย์,พระครูธรรมปัญญา(เสน) วัดสว่างอารมณ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และเจ้าอธิการหรุ่น วัดจำปาทอง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ โดยพระอุปัชฌาย์ตั้งนามฉายาให้ว่า "ฐิตาจาโร"
การศึกษาพระปริยัติธรรม
[แก้]- แผนกธรรม
เมื่อได้บรรพชา-อุปสมบทแล้วท่านจะได้ไปจำพรรษา ณ วัดกลาง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม และสามารถสอบได้นักธรรมชั้นต่างๆ ดังนี้
- พ.ศ. 2491 สอบได้นักธรรมชั้นตรี
- พ.ศ. 2492 สอบได้นักธรรมชั้นโท
- พ.ศ. 2493 สอบได้นักธรรมชั้นเอก
ในสนามสำนักศาสนศึกษาวัดกลาง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ สำนักเรียนคณะจังหวัดบุรีรัมย์
- แผนกบาลี
เมื่อสอบได้นักธรรมชั้นเอกแล้วก็มีความประสงค์ที่จะศึกษาวิชาการชั้นสูงๆ ต่อไป โดยเฉพาะภาษาบาลี ท่านจึงได้ย้ายไปศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ณ สำนักศาสนศึกษา วัดทินกรนิมิตร อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี และสอบได้ ป.ธ.3 ในปี พ.ศ. 2496 และเมื่อสอบได้ ป.ธ.3 แล้วก็ได้กลับมายังจังหวัดบุรีรัมย์ด้วยความมุ่งมั่นที่จะช่วยงานพระพุทธศาสนาในด้านการศึกษาทั้งแผนกธรรมและบาลีของจังหวัด
- ได้รับหน้าที่เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม-บาลี จังหวัดบุรีรัมย์
- พระธรรมทูตจังหวัดบุรีรัมย์
- พระนักเผยแผ่จังหวัดบุรีรัมย์
ได้สนองงานคณะสงฆ์จังหวัดบุรีรัมย์ทั้ง 3 ส่วนนี้อย่างเต็มกำลังและความสามารถ โดยดำเนินการจัดการทางการศึกษา แผนกธรรม-บาลี ณ วัดบ้านบัว ช่วงนั้นงานการจัดการศึกษาและการพัฒนาวัดควบคู่กันไป แม้จะเป็นงานที่หนักอย่างไร ท่านก็ยังให้ความสนใจต่อการศึกษาภาษาบาลีอยู่เป็นอันมาก จนกระทั่งสามารถสอบได้ ป.ธ.4 ในปี พ.ศ. 2498 ณ สำนักศาสนศึกษาวัดบ้านบัว สำนักเรียนคณะจังหวัดบุรีรัมย์
รางวัลเกียรติคุณที่ได้รับ
[แก้]- พ. ศ. 2547 ได้รับการถวายปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพระพุทธศาสนา โดยได้รับการอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
- พ. ศ. 2549 ได้รับการถวายปริญญาเอก พุทธศาสตรดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาธรรมนิเทศ โดยได้รับการอนุมัติ จากสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- พ. ศ. 2542 ได้รับรางวัลเสาเสมาธรรมจักร ผู้บำเพ็ญประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา สาขาการส่งเสริมกิจการคณะสงฆ์ เนื่องในงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา วันวิสาขบูชา ประจำปี ๒๕๔๒ ในการนี้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานรางวัลเสาเสมาธรรมจักร
- พ. ศ. 2548 ได้รับโล่เกียรติคุณสำนักเรียนดีเด่น ประเภทนักธรรม ธรรมศึกษา ในฐานะเจ้าสำนักเรียนคณะจังหวัดบุรีรัมย์ โดยสอบได้อันดับที่ ๘ ของประเทศ
การปกครองคณะสงฆ์
[แก้]นับตั้งแต่ท่านได้กลับมาช่วยงานพระพุทธศาสนาของคณะสงฆ์ จังหวัดบุรีรัมย์ ทั้งด้านการจัดการศึกษา การเผยแผ่ และการพัฒนาต่างๆ โดยได้รับความไว้วางใจจากคณะสงฆ์ ให้ดำรงตำแหน่งเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม-บาลี พระธรรมทูตฝ่ายปฏิบัติการ พระนักเผยแผ่ และพระนักพัฒนาประจำจังหวัด หลังจากสนองงานด้านนี้จนเป็นที่เจริญก้าวหน้าขึ้นตามลำดับแล้ว คณะสงฆ์จึงเสนอแต่งตั้งท่านให้ดำรง ตำแหน่งดังต่อไปนี้
- พ. ศ. 2505 ได้รับแต่งตั้งจากเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ ให้ดำรงตำแหน่งทางพระสังฆาธิการ เป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านบัว
- พ. ศ. 2513 ได้รับแต่งตั้งจากเจ้าคณะภาค 11 ให้ดำรงตำแหน่งทางพระสังฆาธิการ เป็นรองเจ้าคณะอำเภอเมืองบุรีรัมย์
- พ. ศ. 2514 สอบวัดความรู้ได้เป็นพระอุปัชฌาย์
- พ. ศ. 2515 ได้รับพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราชแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางพระสังฆาธิการเป็น รองเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์
- พ. ศ. 2532 ได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าคณะภาค 11 ให้ดำรงตำแหน่งเป็น ผู้รักษาการแทนเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์
- พ. ศ. 2533 ได้รับพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราชแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางพระสังฆาธิการ เป็น เจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์
- พ.ศ. 2549 ได้รับพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราชแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็น ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์[5]
- พ.ศ. 2559 เป็นเจ้าอาวาสวัดไทยการ์เดอร์โมน ประเทศนอร์เวย์[6]
มรณภาพ
[แก้]พระราชปริยัตยาลังการ (วิชัย ฐิตาจาโร) ถึงแก่มรณภาพลงอย่างสงบ เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 เวลา 18.39 น.ณ โรงพยาบาลเยสแซม ประเทศนอร์เวย์ สิริอายุ 94 ปี,พรรษา 74[7]
สมณศักดิ์
[แก้]- พ.ศ. 2516 เป็นพระครูสัญญาบัตร ในราชทินนามที่ พระครูปริยัตยานุศาสน์
- พ.ศ. 2531 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ ในราชทินนามที่ พระสุนทรปริยัติเมธี [8]
- พ.ศ. 2537 เป็นพระราชาคณะชั้นราช ในราชทินนามที่ พระราชปริยัตยาลังการ[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Likit (2019-12-20). "มจร บำเพ็ญกุศลแด่ พระราชปริยัตยาลังการ อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ อดีต จจ.บุรีรัมย์มจร บำเพ็ญกุศลแด่ พระราชปริยัตยาลังการ อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ อดีต จจ.บุรีรัมย์มจร บำเพ็ญกุศลแด่ พระราชปริยัตยาลังการ อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ อดีต จจ.บุรีรัมย์ - วิทยาลัยพระธรรมทูต : Dhammaduta College" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ https://www.mahathera.org/index.php?url=mati&id=3032
- ↑ "พิธีบำเพ็ญกุศลศพ "พระราชปริยัตยาลังการ"". mcubr.ac.th.
- ↑ "ประวัติความเป็นมา". www.mcubr.ac.th.
- ↑ https://www.mahathera.org/files/mati_doc/CCF01292551_00145.pdf
- ↑ "เอกอัครราชทูต ณ กรุงออสโล ได้ไปกราบนมัสการพระมหาสุริยา วรเมธี ผศ. ดร. รักษาการเจ้าอาวาสวัดไทยการ์เดอร์โมน และพระนิรุต อุตฺตโม ที่วัดไทยการ์เดอร์โมน". กระทรวงการต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Likit (2019-12-21). "มจร อาลัย พระราชปริยัตยาลังการ อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ อดีต จจ.บุรีรัมย์มจร อาลัย พระราชปริยัตยาลังการ อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ อดีต จจ.บุรีรัมย์มจร อาลัย พระราชปริยัตยาลังการ อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ อดีต จจ.บุรีรัมย์ - วิทยาลัยพระธรรมทูต : Dhammaduta College" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๐๕, ตอนที่ ๒๐๗ ง, ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๑, หน้า ๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๑๑, ตอนพิเศษ ๕๗ ง, ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๗, หน้า ๘