ข้ามไปเนื้อหา

ฉบับร่าง:กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (อังกฤษ: Department of Business Development) เป็นส่วนราชการระดับกรม สังกัดกระทรวงพาณิชย์ มีภารกิจเกี่ยวกับการพัฒนาธุรกิจการค้าและบริการ โดยส่งเสริมและพัฒนาการประกอบธุรกิจของประเทศให้มีศักยภาพ มีการบริหารจัดการที่เป็นระบบและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล รวมทั้งส่งเสริมบทบาทสถาบันการค้าเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจตั้งแต่ระดับชุมชนถึงระดับประเทศ

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
Department of Business Development
ภาพรวมกรม
ก่อตั้ง16 มกราคม พ.ศ. 2466; 102 ปีก่อน (2466-01-16)
กรมก่อนหน้า
  • กรมทะเบียนการค้า
ประเภทส่วนราชการ
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
งบประมาณต่อปี506,575,600 บาท
(พ.ศ. 2568)[1]
ฝ่ายบริหารกรม
  • อรมน ทรัพย์ทวีธรรม, อธิบดี
  • จิตรกร ว่องเขตกร, รองอธิบดี
  • สถาพร ร่วมนาพะยา, รองอธิบดี
  • หม่อมหลวงภู่ทอง ทองใหญ่, รองอธิบดี
ต้นสังกัดกรมกระทรวงพาณิชย์
เว็บไซต์เว็บไซต์ของกรม

ประวัติ

[แก้]

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จัดตั้งตามพระบรมราชโองการประกาศ ให้จัดตั้งกรมทะเบียนการค้า เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2466 โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ในชื่อ กรมทะเบียนการค้า โดยเริ่มตั้งกรมมีหน้าที่ตั้งแต่รักษามาตราชั่งตวงวัด รับจดทะเบียนการค้า การประกันภัย งานจดทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท เครื่องหมายการค้า จนถึงสิทธิบัตร

นับตั้งแต่ก่อตั้งกรมมานั้นได้มีการขยายและปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการของกรมอยู่หลายครั้งเพื่อให้เหมาะสมกับภาระหน้าที่และลักษณะงานที่เพิ่มขึ้น

ต่อมามีการปฏิรูประบบราชการครั้งใหญ่ ทำให้มีเปลี่ยนชื่อกรมเป็น กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 แล้วได้ปรับปรุงบทบาทภารกิจและโครงสร้างครั้งใหญ่ ดังต่อไปนี้

ในขณะเดียวกันก็รับโอนงานภารกิจด้านการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจ รวมทั้งงานจดทะเบียน และงานส่งเสริมสมาคมการค้าและหอการค้ามาจากกรมการค้าภายใน กับงานตามภารกิจใหม่ คือ งานด้านส่งเสริมธุรกิจบริการและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาปฏิบัติพร้อมกับภารกิจเดิมคือ ด้านงานด้านจดทะเบียนธุรกิจ การกำกับดูแลธุรกิจ และการให้บริการธุรกิจอีกด้วย[2]

อำนาจหน้าที่

[แก้]

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า มีหน้าที่พัฒนาผู้ประกอบการและสถาบันการค้า ส่งเสริมธุรกิจค้าส่ง ค้าปลีก ธุรกิจบริการ และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ดำเนินการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยหุ้นส่วนและบริษัท กฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด กฎหมายว่าด้วยทะเบียนพาณิชย์ กฎหมายว่าด้วยการกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ กฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว กฎหมายว่าด้วยการบัญชี กฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชี กฎหมายว่าด้วยสมาคมการค้า กฎหมายว่าด้วยหอการค้า และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ให้บริการข้อมูล เอกสารทะเบียนธุรกิจ และข้อมูลธุรกิจอื่น และรับรองรายการทางทะเบียนธุรกิจ[3]

หน่วยงานภายใน

[แก้]

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า มีการแบ่งส่วนราชการออกเป็น 15 หน่วยงาน และ 2 กลุ่ม ดังต่อไปนี้[4]

หน่วยงานส่วนกลาง

[แก้]
  • สำนักงานเลขานุการกรม
  • กองกำกับบัญชีธุรกิจ
  • กองข้อมูลธุรกิจ
  • กองคลัง
  • กองทะเบียนธุรกิจ
  • กองบริหารการประกอบธุรกิจของชาวต่างชาติ
  • กองพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
  • กองส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจ
  • ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  • สำนักกฎหมาย
  • กองทะเบียนบริษัทมหาชนและธุรกิจพิเศษ
  • กองธุรกิจภูมิภาคและชุมชน
  • กองทะเบียนหลักประกันทางธุรกิจ
  • กองธรรมาภิบาลธุรกิจ
  • กองธุรกิจบริการ
  • กลุ่มตรวจสอบภายใน
  • กลุ่มพัฒนาระบบราชการ

หน่วยงานส่วนภูมิภาค

[แก้]

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า มีการแบ่งส่วนราชการออกเป็น สำนักงานในเขตจำนวน 6 แห่ง และสำนักงานในส่วนภูมิภาคจำนวน 80 แห่ง ดังต่อไปนี้[5]

  • สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้า เขต 1 (ปิ่นเกล้า)
  • สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้า เขต 2 (พหลโยธิน)
  • สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้า เขต 3 (รัชดาภิเษก)
  • สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้า เขต 4 (สี่พระยา)
  • สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้า เขต 5 (ศรีนครินทร์)
  • สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้า เขต 6 (ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา)
  • สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด 76 จังหวัด
  • สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด (สาขา) 4 แห่ง

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๖๑, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
  2. กรมพัฒนาธุรกิจการค้า, ประวัติกรม, สืบค้นเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2567
  3. กรมพัฒนาธุรกิจการค้า, อำนาจหน้าที่, สืบค้นเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2567
  4. กรมพัฒนาธุรกิจการค้า, โครงสร้างกรม, สืบค้นเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2567
  5. กรมพัฒนาธุรกิจการค้า, สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขต, สืบค้นเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2567

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]