ข้ามไปเนื้อหา

จุนอิจิโร โคอิซูมิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก จุนอิชิโร โคะอิซุมิ)
จุนอิจิโร โคอิซูมิ
小泉 純一郎
ภาพถ่ายทางการ ค.ศ. 2001
นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น
ดำรงตำแหน่ง
26 เมษายน ค.ศ. 2001 – 26 กันยายน ค.ศ. 2006
กษัตริย์จักรพรรดิอากิฮิโตะ
ก่อนหน้าโยชิโร โมริ
ถัดไปชินโซ อาเบะ
หัวหน้าพรรคเสรีประชาธิปไตย
ดำรงตำแหน่ง
20 เมษายน ค.ศ. 2001 – 20 กันยายน ค.ศ. 2006
รองประธานาธิบดีทากุ ยามาซากิ
เลขาธิการ
ก่อนหน้าโยชิโร โมริ
ถัดไปชินโซ อาเบะ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการ
ดำรงตำแหน่ง
7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1996 – 29 กรกฎาคม ค.ศ. 1998
นายกรัฐมนตรีรีวตาโร ฮาชิโมโตะ
ก่อนหน้านาโอโตะ คัง
ถัดไปโซเฮ มิยาชิตะ
ดำรงตำแหน่ง
27 ธันวาคม ค.ศ. 1988 – 10 สิงหาคม ค.ศ. 1989
นายกรัฐมนตรี
ก่อนหน้าทากาโอะ ฟูจิโมโตะ
ถัดไปซาบูโร โทอิดะ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไปรษณีย์และโทรคมนาคม
ดำรงตำแหน่ง
12 ธันวาคม ค.ศ. 1992 – 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1993
นายกรัฐมนตรีคิอิจิ มิยาซาวะ
ก่อนหน้าฮิเดโอะ วาตานาเบะ
ถัดไปคิอิจิ มิยาซาวะ
ดำรงตำแหน่ง
10 ธันวาคม ค.ศ. 1972 – 21 กรกฎาคม ค.ศ. 2009
ก่อนหน้าเขตที่มีสมาชิกหลายคน
ถัดไปชินจิโร โคอิซูมิ
เขตเลือกตั้ง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด (1942-01-08) 8 มกราคม ค.ศ. 1942 (82 ปี)
โยโกซูกะ จังหวัดคานางาวะ จักรวรรดิญี่ปุ่น
พรรคการเมืองเสรีประชาธิปไตย
คู่สมรสคาโยโกะ มิยาโมโตะ (สมรส 1978; หย่า 1982)
บุตร
บุพการีจุนยะ โคอิซูมิ (พ่อ)
โยชิเอะ โคอิซูมิ (แม่)
ความสัมพันธ์โคอิซูมิ มาตาจิโร (ปู่)
ศิษย์เก่า

จุนอิจิโร โคอิซูมิ (ญี่ปุ่น: 小泉 純一郎โรมาจิKo'izumi Jun'ichirō; เกิดวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1942) เป็นอดีตนักการเมืองชาวญี่ปุ่นที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นและหัวหน้าพรรคเสรีประชาธิปไตย (LDP) ใน ค.ศ. 2001 ถึง 2006 เขาเลิกเล่นการเมืองใน ค.ศ. 2009 โดยเป็นนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งนานเป็นอันดับ 6 ในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น[1]

โคอิซูมิได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นผู้นำพรรค LDP ที่มีแนวคิดอิสระเมื่อได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งใน ค.ศ. 2001 โดยเป็นที่รู้จักในฐานะนักปฏิรูปเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมใหม่ โดยมุ่งเน้นที่การลดหนี้สาธารณะของญี่ปุ่นและให้ไปรษณีย์กลายเป็นของเอกชน ในการเลือกตั้ง ค.ศ. 2005 โคอิซูมิทำให้พรรค LDP คว้าชัยชนะในการเลือกตั้งเสียงข้างมากในรัฐสภาครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นสมัยใหม่ โคอิซูมิยังได้รับความสนใจจากนานาชาติผ่านการส่งกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นไปประจำการที่อิรัก และการเยือนศาลเจ้ายาซูกูนิ ซึ่งก่อให้เกิดความตึงเครียดทางการทูตกับจีนและเกาหลีใต้ โคอิซูมิลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรีใน ค.ศ. 2006

แม้ว่าโคอิซูมิรักษาสถานะความไม่โดดเด่นเป็นเวลาหลายปีหลังออกจากตำแหน่ง แต่เขากลับได้รับความสนใจจากทั่วประเทศอีกครั้งใน ค.ศ. 2013 ในฐานะผู้สนับสนุนการเลิกใช้พลังงานนิวเคลียร์ในประเทศญี่ปุ่น หลังเกิดภัยพิบัติโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะใน ค.ศ. 2011 ซึ่งต่างจากมุมมองที่สนับสนุนพลังงานนิวเคลียร์โดยรัฐบาล LDP ที่ให้การสนับสนุนทั้งในระหว่างและหลังจากโคอิซูมิดำรงตำแหน่ง[2]

ชีวิตช่วงต้น

[แก้]

โคอิซูมิเป็นนักการเมืองรุ่นที่สามในตระกูลโคอิซูมิ จุนยะ โคอิซูมิ พ่อของเขา เป็นอธิบดีในสำนักงานป้องกันของญี่ปุ่น (ปัจจุบันคือกระทรวงกลาโหม) และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ส่วนโคอิซูมิ มาตาจิโร ปู่ของเขา ได้รับฉายา "รัฐมนตรีรอยสัก" เนื่องจากบนร่างกายมีรอยสักขนาดใหญ่ เขาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงไปรษณีย์และโทรคมนาคมในสมัยนายกรัฐมนตรีฮามางูจิและวากกัตสึกิ และเป็นผู้สนับสนุนการโอนกิจการไปรษณีย์ให้เป็นของเอกชนในระยะเริ่มแรก

โคอิซูมิเกิดที่โยโกซูกะ จังหวัดคานางาวะในวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1942 โดยศึกษาที่โรงเรียนมัธยมโยโกซูกะ เขาจบการศึกษาด้านเศรษฐศาสตรบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยเคโอ แล้วศึกษาต่อที่ยูนิเวอร์ซิตีคอลลิจลันเดินก่อนเดินทางกลับญี่ปุ่นในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1969 หลังจากบิดาเสียชีวิต

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

[แก้]
โคอิซูมิขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข ค.ศ. 1997

จุนอิจิโร โคอิซูมิ เริ่มลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งซ่อมแทนพ่อของเขาเองที่เสียชีวิต แต่ก็ไม่ได้รับเลือก จนกระทั่งปี 8.ศ. 1972 ได้รับเลือกในการเลือกตั้งทั่วไป และต่อมาได้เป็นรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการในปี 1988

นายกรัฐมนตรี

[แก้]

เกษียณ

[แก้]

โคอิซูมิประกาศว่าจะลงจากตำแหน่งตามกฎของพรรคฯ ใน ค.ศ. 2006 และจะไม่เลือกผู้สืบทอดอย่างที่นายกรัฐมนตรีจากพรรคนี้เคยทำ จากนั้นในวันที่ 20 กันยายน ค.ศ. 2006 ชินโซ อาเบะได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าพรรคฯ ต่อจากโคอิซูมิ อาเบะขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อจากโคอิซุมิในวันที่ 26 กันยายน ค.ศ. 2006

โคอิซูมิยังคงอยู่ในสภานิติบัญญัติแห่งชาติผ่านสมัยบริหารของอาเบะและยาซูโอะ ฟูกูดะ แต่ประกาศเกษียณตนเองจากการเมืองในวันที่ 25 กันยายน ค.ศ. 2008 หลังการเลือกตั้งให้ทาโร อาโซเป็นนายกรัฐมนตรีเพียงไม่นาน เขายังคงถือครองที่นั่งในสภานิติบัญญัติแห่งชาติจนกระทั่งการเลือกตั้งครั้งถัดไปที่ชินจิโร ผู้เป็นบุตร ได้รับเลือกให้อยู่ในที่นั่งเดียวกันที่เป็นตัวแทนจังหวัดคานางาวะ เขต 11 ใน ค.ศ. 2009[1] ก่อนหน้านี้ โคอิซูมิสนับสนุนยูริโกะ โคอิเกะในการเลือกตั้งหัวหน้าพรรคฯ ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2008 แต่โคอิเกะกลับชนะในอันดับสามที่มีคะแนนห่างไกลจากอันดับก่อนหน้า[3]

นับตั้งแต่ลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรี โคอิซูมิไม่เคยอนุมัติคำขอสัมภาษณ์หรือปรากฏตัวทางโทรทัศน์แม้แต่ครั้งเดียว แม้ว่าเขาจะเคยกล่าวสัมภาษณ์และมีปฏิสัมพันธ์ส่วนตัวกับนักข่าวก็ตาม[4]

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

โคอิซูมิอาศัยอยู่ที่โยโกซูกะ จังหวัดคานางาวะ[5]

ครอบครัว

[แก้]

โคอิซูมิแต่งงานกับคาโยโกะ มิยาโมโตะ นักศึกษามหาวิทยาลัยอายุ 21 ปีใน ค.ศ. 1978 พิธีแต่งงานที่ Tokyo Prince Hotel มีผู้เข้าร่วมประมาณ 2,500 คน รวมถึงทาเกโอะ ฟูกูดะ (นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น) และมีเค้กแต่งงานที่มีรูปร่างคล้ายกับอาคารสภานิติบัญญัติแห่งชาติ การแต่งงานนี้สิ้นสุดลงด้วยการหย่าร้างใน ค.ศ. 1982 เนื่องจากมีรายงานว่าคาโยโกะไม่มีความสุขกับชีวิตแต่งงานของเธอด้วยเหตุผลหลายประการ[6] หลังจากนี้ โคอิซูมิไม่ได้แต่งงานอีกเลย โดยกล่าวว่าการหย่าร้ายกินพลังงานมากกว่าการแต่งงานถึงสิบเท่า[7]

ความสนใจ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Koizumi to exit political stage", The Japan Times, 26 September 2008.
  2. Nishiyama, George (2 October 2013). "Fukushima Watch: Popular Ex-PM Koizumi Comes Out Against Nukes". Wall Street Journal Japan Real Time. สืบค้นเมื่อ 9 January 2014.
  3. Sachiko Sakamaki and Takahiko Hyuga, "Koizumi, Former Japan Premier, to Quit Parliament After Aso Win", Bloomberg, 26 September 2008.
  4. Okubo, Maki (12 January 2014). "'We've been lied to,' said ex-Prime Minister Koizumi". The Asahi Shimbun. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 January 2014. สืบค้นเมื่อ 13 January 2014.
  5. "小泉元首相宅に侵入容疑で女を逮捕". NHK. 11 January 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 January 2014. สืบค้นเมื่อ 12 January 2014.
  6. "Japan's Destroyer", Time, 10 September 2001.
  7. "[Koizumi's ex-wife ready to lend a hand, has 'nothing to lose']", Kyodo News, 9 May 2001.

อ่านเพิ่ม

[แก้]
  • Envall, Hans David Persson. "Exceptions that make the rule? Koizumi Jun'ichirō and political leadership in Japan." Japanese Studies 28.2 (2008): 227–242 online.
  • Hoover, William D. Historical dictionary of postwar Japan (2011).
  • Kaihara, Hiroshi. "Japan’s political economy and Koizumi’s structural reform: A rise and fall of neoclassical economic reform in Japan." East Asia 25.4 (2008): 389–405.
  • Köllner, Patrick. "The liberal democratic party at 50: sources of dominance and changes in the Koizumi era." Social Science Japan Journal (2006) 9#2 pp 243–257 online
  • Lee, Jeong Yeon. "Getting Japan Back on the Sustainable Growth Path: Lessons from the Koizumi Era." Asian Perspective (2015): 513–540. online
  • Mishima, Ko. "Grading Japanese Prime Minister Koizumi’s revolution: how far has the LDP’s Policymaking changed?." Critical Readings on the Liberal Democratic Party in Japan (Brill, 2018) pp. 1557–1578.
  • Mulgan, Aurelia George. Japan's Failed Revolution: Koizumi and the Politics of Economic Reform (2013) excerpt
  • Otake, Hideo, Kosuke Mizuno, and Pasuk Phongpaichit, "Neoliberal populism in Japanese politics: A study of Prime Minister Koizumi in comparison with President Reagan." Populism in Asia (2009): 202–216.
  • Pohlkamp, Elli-Katharina. "Public Opinion and Japanese Foreign Policy Decision-Making Processes During the Koizumi Administration" (PhD Diss. Universitätsbibliothek Tübingen, 2014) online in English.
  • Stockwin, J. A. A. "From Koizumi to Abe: Same Bed, Different Dreams?." Japanese Studies 27.3 (2007): 223–230.
  • Uchiyama, Yu. Koizumi and Japanese politics: Reform strategies and leadership style (Routledge, 2010).
  • "Reform in the Rising Sun: Koizumi’s Bid to Revise Japan’s Pacifist Constitution" (Archive). North Carolina Journal of International Law and Commercial Regulation Vol. 32, p. 335–390.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]