ข้ามไปเนื้อหา

จังหวัดอาปาเยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จังหวัดอาปาเยา
จังหวัด
แม่น้ำดีบากัต
แม่น้ำดีบากัต
ที่ตั้งในประเทศฟิลิปปินส์
ที่ตั้งในประเทศฟิลิปปินส์
ประเทศ ฟิลิปปินส์
เขตเขตบริหารคอร์ดิลเยรา
ก่อตั้ง14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1995
เมืองหลักคาบูเกา*
การปกครอง
 • ประเภทสภาจังหวัด
 • ผู้ว่าราชการจังหวัดElias C. Bulut, Jr. (Liberal Party)
 • CongresswomanEleanor C. Bulut-Begtang (Nationalist People's Coalition)
 • รองผู้ว่าราชการจังหวัดHector Pascua (Liberal Party)
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด4,413.35 ตร.กม. (1,704.00 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 27 จาก 81
ความสูงจุดสูงสุด (ภูเขาลัมบาโย)1,386 เมตร (4,547 ฟุต)
ประชากร
 (ค.ศ. 2015)[2]
 • ทั้งหมด119,184 คน
 • อันดับอันดับที่ 78 จาก 81
 • ความหนาแน่น27 คน/ตร.กม. (70 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 81 จาก 81
เขตการปกครอง
 • นครอิสระ0
 • นคร0
 • เทศบาล7
 • บารังไกย์133
 • DistrictsLone district of Apayao
เขตเวลาUTC+8 (PHT)
รหัสไปรษณีย์3807–3814
ไอดีดี:รหัสโทรศัพท์+63 (0)74
รหัส ISO 3166PH
ภาษา
เว็บไซต์www.apayao.gov.ph
* คาบูเกายังคงเป็นศูนย์กลางประจำจังหวัดอย่างเป็นทางการ แม้ว่าจะมีการสร้างศูนย์ราชการแห่งใหม่ที่ลูนาก็ตาม

จังหวัดอาปาเยา (อีโลกาโน: Probinsia ti Apayao) เป็นจังหวัดที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในเขตบริหารคอร์ดิลเยรา ประเทศฟิลิปปินส์ เมืองหลักคือคาบูเกา อาณาเขตติดต่อกับจังหวัดคากายันทางทิศเหนือและตะวันออก, จังหวัดอาบราและอีโลโคสนอร์เตทางทิศตะวันตก และจังหวัดคาลิงกาทางทิศใต้ ก่อนปี ค.ศ. 1995 จังหวัดคาลิงกาและอาปาเยาเคยเป็นจังหวัดเดียวกันมาก่อน แล้วมีการแบ่งแยกจังหวัดในภายหลัง

ในปี ค.ศ. 2015 มีประชากร 119,184 คน พื้นที่ 4,413.35 ตารางกิโลเมตร เป็นจังหวัดที่มีความหนาแน่นของประชากรน้อยที่สุดในประเทศ

ภูมิศาสตร์

[แก้]

จังหวัดอาปาเยาตั้งอยู่ในแนวเทือกเขาคอร์ดิลเยราเซนทรัลและมีแม่น้ำหลายสาย จังหวัดมีพื้นที่ 4,413.35 ตารางกิโลเมตร

ประชากร

[แก้]

ในปี ค.ศ. 2015 มีประชากรทั้งหมด 119,184 คน ความหนาแน่น 27 คนต่อตารางกิโลเมตร หรือ 70 คนต่อตารางไมล์

จากการสำมะโนในปี ค.ศ. 2000 ส่วนใหญ่เป็นชาวอีโลกาโน ซึ่งมี 49,328 จาก 97,058 คน (50.82%) ขณะที่หนึ่งในสามของประชากรเป็นชาวอิสนัก (29,071 คน; 29.95%) ประชากรกลุ่มอื่น ๆ ได้แก่ ชาวมาลาเอง 3,580 คน (3.69%), ชาวอิสเน็ก 3,380 คน (3.48%), ชาวคาลิงกา 2,992 คน (3.08%), ชาวคันคานาย 1,208 คน (1.24%), ชาวบอนต็อค 1,014 คน (1.04%) และชาวอีบาโลอิ 979 คน (1.01%)[3]

เศรษฐกิจ

[แก้]

ส่วนใหญ่เป็นภาคเกษตรกรรม ผลผลิตที่สำคัญได้แก่ ข้าว,[4] ข้าวโพด,[5] กาแฟ, รากพืช และพืช ผลไม้ที่สำคัญได้แก่ ลองกอง, ส้ม, กล้วย, สับปะรด, ทุเรียน, กระท้อน, เงาะ, มะพร้าว และมังคุด[6] สำหรับข้าวนั้น สามารถผลิตได้ถึง 98,489 เมตริกตันในปี ค.ศ. 2011[4]

นอกจากนี้ยังการทำปศุสัตว์ สัตว์ที่สำคัญได้แก่ สุกร, กระบือ, แพะ และแกะ กิจกรรมทางเศรษฐกิจอื่น ๆ ได้แก่ การผลิต, การแปรรูปอาหาร, เฟอร์นิเจอร์, เครื่องนุ่งห่ม และเครื่องมือเครื่องใช้[7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "List of Provinces". PSGC Interactive. Makati, Philippines: National Statistical Coordination Board. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 เมษายน 2016. สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2020.
  2. "2015 population counts Summary" (Press release). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 ตุลาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2018.
  3. "Apayao: Three Out of Five Academic Degree Holders Were Females; Table 4. Household Population by Ethnicity and Sex: Apayao, 2000". Philippine Statistics Authority. 12 กรกฎาคม 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 มิถุนายน 2006. สืบค้นเมื่อ 17 ธันวาคม 2015.
  4. 4.0 4.1 "DA allots P278M for irrigation, agri projects in Apayao". Official Gazette of the Republic of the Philippines. Department of Agriculture. 15 June 2012. สืบค้นเมื่อ 23 April 2016. Last year, Apayao produced a total of 98,489 metric tons of palay (paddy rice), according to the DA’s Bureau of Agricultural Statistics. The volume is equivalent to 64,017 MT of rice at 65 percent milling recovery.
  5. Vanzi, Sol Jose (28 เมษายน 1998). "Apayao Secret: Drought-Resistant Corn". Newsflash.Org. สืบค้นเมื่อ 23 เมษายน 2016.
  6. Galvez, James Konstantin (14 มกราคม 2014). "Government agri program to promote Apayao's wild fruits". The Manila Times. สืบค้นเมื่อ 23 เมษายน 2016. The province of Apayao is host to some of the country’s indigenous crops including: lubeg, bignay, bignay kalabaw, calumpit, saging matsing, other than the fruit-bearing trees like durian, marang, lanzones, rambutan, pineapple, mangosteen, coconut, santol, among others.
  7. "Apayao producers open new markets in cities". Philippine Information Agency (Press release). 5 ธันวาคม 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 เมษายน 2022. สืบค้นเมื่อ 23 เมษายน 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
แผนที่พิกัดทั้งหมดใน "Apayao" กำลังใช้ OpenStreetMap 
ดาวน์โหลดพิกัดเป็น KML