จังหวัดอัลไบ
จังหวัดอัลไบ | |
---|---|
จังหวัด | |
ศาลากลางจังหวัดอัลไบ | |
ที่ตั้งในประเทศฟิลิปปินส์ | |
ประเทศ | ฟิลิปปินส์ |
เขต | บีโคล |
ก่อตั้ง | 3 เมษายน ค.ศ. 1574 |
เมืองหลัก | เลกัซปี |
การปกครอง | |
• ประเภท | ซังกูเนียงปันลาลาวีกัน |
• ผู้ว่าราชการจังหวัด | Francis Bichara (Nacionalista) |
• รองผู้ว่าราชการจังหวัด | Harold Imperial (Liberal) |
พื้นที่[1] | |
• ทั้งหมด | 2,575.77 ตร.กม. (994.51 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | 53 จาก 81 |
ความสูงจุดสูงสุด (ภูเขามาโยน) | 2,463 เมตร (8,081 ฟุต) |
ประชากร (ค.ศ. 2015)[2] | |
• ทั้งหมด | 1,314,826 คน |
• อันดับ | 20 จาก 81 |
• ความหนาแน่น | 510 คน/ตร.กม. (1,300 คน/ตร.ไมล์) |
• อันดับความหนาแน่น | 12 จาก 81 |
เขตการปกครอง | |
• นครอิสระ | 0 |
• นคร | |
• เทศบาล | |
• บารังไกย์ | 720 |
• Districts | 1st to 3rd districts of Albay |
เขตเวลา | UTC+8 (PHT) |
รหัสไปรษณีย์ | 4500–4517 |
ไอดีดี : รหัสโทรศัพท์ | +63 (0)52 |
รหัส ISO 3166 | PH |
ภาษา | |
เว็บไซต์ | www |
จังหวัดอัลไบ (ฟิลิปปินส์: Lalawigan ng Albay; สเปน: Provincia de Albay) เป็นจังหวัดในเขตบีโคล ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะลูซอน ประเทศฟิลิปปินส์ เมืองหลักคือเลกัซปี ซึ่งยังเป็นศูนย์กลางการบริหารของเขตอีกด้วย เมืองนี้ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของภูเขาไฟมาโยน ซึ่งกรวยภูเขาไฟสลับชั้นแห่งนี้ นับได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัด และเมื่อขึ้นไปข้างบน สามารถมองเห็นทัศนียภาพรอบ ๆ ที่สวยงามได้[3]
จังหวัดอัลไบ ถูกเพิ่มใน World Network of Biosphere Reserves ของยูเนสโก ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2016[4]
ภูมิศาสตร์
[แก้]จังหวัดอัลไบมีพื้นที่ 2,575.77 ตารางกิโลเมตร เป็นจังหวัดที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 53 ของประเทศ อยู่ติดกับจังหวัดคามารีเนสซูร์ทางทิศเหนือ และติดกับจังหวัดซอร์โซโกนทางทิศใต้ จรดกับอ่าวลาโกนอยทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นช่องแคบบูรีอัส ซึ่งมีเกาะบูรีอัสของจังหวัดมัสบาเต
ในปี ค.ศ. 2016 มีพื้นที่ 250000 เฮกตาร์ ถูกประกาศให้เป็น UNESCO Biosphere Reserve เขตสงวนแห่งนี้ประกอบด้วยชนิดพืชบก 182 ชนิด แต่มีเพียง 46 ชนิดที่พบได้เฉพาะในฟิลิปปินส์ นอกจากนี้ยังมีเต่าทะเลอีก 5 สายพันธุ์[5]
การขนส่ง
[แก้]ทางถนน
[แก้]อัลไบมีทางหลวงแห่งชาติระยะทางรวม 383.22 กิโลเมตร (238.12 ไมล์)* ส่วนใหญ่ลาดยางมะตอยแล้ว เหลือที่ยังไม่ได้ลาดอีกเพียง 5.25 กิโลเมตร (3.26 ไมล์)*[6] ถนนสายสำคัญคือ ทางหลวงมาฮาร์ลีกา (N1/AH26) ซึ่งเชื่อมต่อกับจังหวัดอื่น ๆ ทางหลวงส่วนใหญ่ภายในจังหวัดนี้ถือเป็นทางหลวงระดับที่สอง อยู่ในชุดตัวเลข 630 และ 640 ตัวเมืองและเทศบาลหลายแห่งมีทางหลวงเชื่อมต่อถึงกัน ยกเว้นเทศบาลโฮเบลลาร์และราปู-ราปู
ทางน้ำ
[แก้]มีท่าเรือขนส่งสินค้าที่สำคัญ ได้แก่ ท่าเรือนานาชาติตาบาโค, ท่าเรือแห่งชาติเลกัซปี, ท่าเรือปีโอดูรัน และท่าเรือปันเตา
ทางอากาศ
[แก้]ท่าอากาศยานเลกัซปี ให้บริการเที่ยวบินจากมะนิลาและเซบูซิตี ส่วนท่าอากาศยานนานาชาติบีโคล อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง
ทางราง
[แก้]อัลไบอยู่บนทางรถไฟสายหลักของการรถไฟแห่งชาติฟิลิปปินส์ (PNR) และมีรถไฟชานเมืองไปยังนครนากาในจังหวัดคามารีเนสซูร์ ในอดีตเคยมีรถไฟจากมะนิลา ชื่อว่า มาโยนลิมิเต็ด แต่ถูกยกเลิกในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2012
-
ทางวิ่งของท่าอากาศยานเลกัซปี
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "The province of Albay". Overview of the Region. Makati City, Philippines: National Statistical Coordination Board. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 13, 2012. สืบค้นเมื่อ January 11, 2013.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-09. สืบค้นเมื่อ 2018-04-09.
- ↑ Facts about Mayon Volcano" เก็บถาวร 2012-04-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Albay Tourism. Retrieved on 2012-05-27.
- ↑ "20 sites added to UNESCO's World Network of Biosphere Reserve". United Nations Educational Scientific and Cultural Organization. March 19, 2016. สืบค้นเมื่อ March 20, 2016.
- ↑ UNESCO Press (19 March 2016). "20 sites added to UNESCO's World Network of Biosphere Reserves". United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization. สืบค้นเมื่อ 21 March 2016.
- ↑ Figures tabulated from data by the Department of Public Works and Highways district engineering offices in Albay. See 2015 DPWH Atlas for Region V[ลิงก์เสีย]
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ จังหวัดอัลไบ
- ดูข้อมูลทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับ จังหวัดอัลไบ ที่โอเพินสตรีตแมป
- New Albay Tourism Promotion Website
- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ เก็บถาวร 2016-11-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน