ค่อม ชวนชื่น
อาคม ปรีดากุล | |
---|---|
ค่อม ชวนชื่น | |
สารนิเทศภูมิหลัง | |
ชื่อเกิด | อาคม ปรีดากุล |
ชื่ออื่น | ค่อม (ชื่อเล่น) |
เกิด | 5 มกราคม พ.ศ. 2501[1] อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ประเทศไทย |
เสียชีวิต | 30 เมษายน พ.ศ. 2564 (63 ปี) สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ จังหวัดสมุทรปราการ ประเทศไทย |
คู่สมรส | ประภาศรี ปรีดากุล (2528 – 2564) |
บุตร | 3 คน |
อาชีพ | นักแสดง, พิธีกร, ยูทูบเบอร์ |
ปีที่แสดง | พ.ศ. 2525 – 2564 |
ฐานข้อมูล | |
IMDb | |
ThaiFilmDb |
ค่อม ชวนชื่น เป็นชื่อในวงการแสดงของ อาคม ปรีดากุล (5 มกราคม พ.ศ. 2501 – 30 เมษายน พ.ศ. 2564) เป็นนักแสดงตลกชาวไทย เริ่มเป็นที่รู้จักจากการเล่นตลกคาเฟ่ในคณะชวนชื่น และต่อมาได้แสดงภาพยนตร์ เช่น 7 ประจัญบานและแสบสนิท ศิษย์ส่ายหน้า เป็นต้น มักมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวคือการสบถคำด่า[2]
ประวัติและครอบครัว
[แก้]อาคม ปรีดากุล เกิดเมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2501[1] ที่ตำบลสวนกล้วย อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เป็นบุตรนายวิทย์ ปรีดากุล บิดาเป็นลิเกและเป็นพี่ชายของนายชนะ ปรีดากุล (พ่อของ ยุ้ย ญาติเยอะ) อาคมเป็นนักแสดงตลกชาวไทย อดีตเคยเล่นลิเกในคณะพงศ์ศักดิ์ สวนศรี และเป็นอดีตสมาชิกตลกคณะชวนชื่น วงการบันเทิงมักจะเรียกติดปากว่า "น้าเหยิน" ทั้งนี้ อาคมจบการศึกษาเพียงชั้นประถมศึกษาปีที่ 1[3] โดยไม่รู้หนังสือเลย[4] แต่เขากลับเป็นคนที่มีความสามารถพิเศษเรื่องการจำบทได้อย่างแม่นยำ จากนั้นเขาประกอบอาชีพนักแสดงตลก
อาคม สมรสกับประภาศรี ปรีดากุล (ชื่อเล่น : เอ๋) เมื่อปลายปี พ.ศ. 2528[5] มีบุตร-ธิดา 3 คน คือ
- ณพัชรินทร์ ไพบูลย์รัตนกิจ (เดิมชื่อ จีรนันท์ ปรีดากุล)
- กฤต ปรีดากุล
- วิธาน ปรีดากุล
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สุขภาพและการเสียชีวิต
[แก้]เขาได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและโรคหลอดเลือดสมอง เมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2564 เขาตรวจพบว่าติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หลังจากที่เมื่อวันที่ 7 เมษายน ถ่ายทำรายการ ฮอลลีวูดเกมไนท์ไทยแลนด์ ซูเปอร์แชมป์ ที่มี บอล เชิญยิ้ม และ แจ๊ส ชวนชื่น ร่วมถ่ายทำรายการด้วย และทั้งคู่เปิดเผยเมื่อวันที่ 10 เมษายนว่า จากนั้นเขาจึงพาสมาชิกครอบครัวไปตรวจหาเชื้อ ปรากฏว่าพบเขาติดเชื้อคนเดียว เขาจึงเข้ารักษาทันทีที่โรงพยาบาลวิภาราม ก่อนย้ายไปสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ภายหลังจากที่อาการเริ่มทรุดลงหนักตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน ซึ่งจากการย้ายโรงพยาบาลครั้งนี้ก่อให้เกิดกระแสในโลกออนไลน์ หลังมีคนใกล้ตัวออกมาโพสต์แสดงความเห็นใจและต้องการเปลี่ยนแพทย์ ทำให้เกิดข้อครหาเรื่องการเลือกปฏิบัติและอภิสิทธิ์ของผู้มีชื่อเสียง ภายหลังจากย้ายมาที่สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ อาการของเขาก็ยังไม่ดีขึ้น ต้องให้ออกซิเจนตลอดเวลา ฟอกไตเอาของเสียออกตลอด 24 ชั่วโมง และยังตรวจพบค่าเหลืองในตับพุ่งสูงมากกว่าคนปกติ และในวันที่ 20 เมษายน เชื้อไวรัสลงปอด จนกระทั่งวันที่ 29 เมษายน ณพัชรินทร์เผยว่า อาการของเขาทรุดหนักมากแม้แพทย์ทำการรักษาอย่างเต็มที่ และพบว่าอวัยวะร่างกายหลายอย่างล้มเหลว อาคมได้เสียชีวิตเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2564 เวลาประมาณ 07.28 น. ที่สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ ด้วยภาวะหัวใจล้มเหลวซึ่งมาจากภาวะแทรกซ้อนของโรคโควิด-19 โดยญาติได้นำร่างกลับมาประกอบพิธีกรรมทางศาสนาและฌาปนกิจศพทันทีในเวลา 15.00 น. ณ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร
ผลงานการแสดง
[แก้]ภาพยนตร์
[แก้]พ.ศ. 2542
พ.ศ. 2544
พ.ศ. 2545
- อิเหนา (ช่อง 3)
- มรดกหกคะเมน (ช่อง 5)
- บัวกลางบึง (ช่อง 7)
- เสื้อสีฝุ่น (ช่อง 3)
- สะใภ้ไฮโซ (ช่อง 5)
- เทพีจ้าวสังเวียน (ช่อง 7)
พ.ศ. 2546
- โจรปล้นใจ (ช่อง 7)
- ระเบิดเถิดเทิง ตอน ฝนดาวตก (ช่อง 5)
- ระเบิดเถิดเทิง ตอน เถิดเทิงอวอร์ด 2546 (ช่อง 5)
- ผ้าขี้ริ้วห่อดิน (ช่อง 3)
พ.ศ. 2547
พ.ศ. 2548
พ.ศ. 2549
พ.ศ. 2550
- มดใสหัวใจซ่าส์ (ช่อง 7)
- น้องเหมียวเขี้ยวเพชร (ช่อง 7)
- ระเบิดเถิดเทิง ตอน ผู้ต้องสงสัย (ช่อง 5)
พ.ศ. 2551
พ.ศ. 2552
พ.ศ. 2553
- พระจันทร์ลายพยัคฆ์ (ช่อง 7)
- ปอบอพาร์ตเมนต์ (ช่อง 7)
- หลวงตามหาชน (ช่อง 3)
- สลัดโสดคอมปานี (ช่อง 3)
- เธอกับเขาและรักของเรา (ช่อง 7)
พ.ศ. 2554
- โก๊ะ 7 (ช่อง 7)
- รักไม่มีวันตาย (ช่อง 3)
พ.ศ. 2555
- รักออกอากาศ (ช่อง 3)
- ท่านชายในสายหมอก (ช่อง 3)
- ศีล 5 คนกล้าท้าอธรรม (ช่อง 5)
- กู้ภัยหัวใจแหวว (ช่อง 7)
พ.ศ. 2556
- ยัยบุญกับหมอทึ่ม (ช่อง 3)
- ซินเดอเรลล่ารองเท้าแตะ (ช่อง 7)
- คุณแม่เฉพาะหน้า คุณย่าเฉพาะกิจ (ช่อง 7)
- วิวาห์ป่าช้าแตก (ช่อง 8)
- ลิเกเงินร้อย (ช่อง 7)
- มิสเตอร์บ้านนา (ช่อง 3)
พ.ศ. 2557
พ.ศ. 2558
- LOL ชีวิตคิดบวก (ช่อง True4U)
- บุษบาท่าเรือ (ช่อง 7)
- สภ.รอรัก (ช่อง 7)
- บริษัทฮาไม่จำกัด (ช่อง 9)
- ปาฏิหาริย์รักข้ามขอบฟ้า (ช่อง 3)
- เพลิงตะวัน (ช่อง 7)
พ.ศ. 2559
- ส้มตำแฮมเบอร์เกอร์ (ช่อง True4U)
- นางบาป (ช่อง one31)
- ข่าวร้อนก่อนไก่โห่ (ช่อง 3)
- ลูกเขยมะไฟ แม่ยายมะดัน (ช่อง 7)
- นางฟ้าเปื้อนฝุ่น (ช่อง 7)
พ.ศ. 2560
พ.ศ. 2561
พ.ศ. 2562
พ.ศ. 2563
คอนเสิร์ต
[แก้]- คอนเสิร์ต เปิดพรหมลิขิต บิ๊กแอส (17 มีนาคม 2550)
- คอนเสิร์ตแบบเบิร์ดเบิร์ดโชว์ 2008 (15 - 30 สิงหาคม 2551)
- โชว์ป๋า พูดจาภาษาเทพ แสดงสด งดเชื่อ เบื่อทวง ของเทพ โพธิ์งาม (18 ตุลาคม 2552)
- โก๊ะตี๋ 6 แพร่ง (17-18 กรกฎาคม 2553)
- บันทึกการแสดง "ร้องรำ จำอวดไทย" ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย (2555)
- คอนเสิร์ต James Ji Monkey King Fan Meeting วันซนซนกับคนสำคัญ ของเจมส์ - จิรายุ ตั้งศรีสุข (26 กุมภาพันธ์ 2557)
- รวมใจเป็นหนึ่ง คิดถึงคนพิเศษ (18 กุมภาพันธ์ 2560)
- คอนเสิร์ต 50 ปี พรีแซยิด ป้าง - นครินทร์ กิ่งศักดิ์ (30 กันยายน 2560)
- คอนเสิร์ต จับมือกันไว้ตลกไทยไม่ทอดทิ้งกัน (2560)
- คอนเสิร์ต Leo Presents ฮัก คอนเสิร์ต หมายเลข 2 มหกรรมเพลงไทยที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในรอบปี (3 ธันวาคม 2560)
- An unforgettable moment concert by 39 ปี เชิญยิ้ม....จากคำเชิญเล็กๆ สู่รอยยิ้มที่ยิ่งใหญ่ (1-3 มีนาคม 2562)
โฆษณา
[แก้]- การีนาฟรีไฟร์
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ชุด Krungsri Auto ของ Suneta House
ผลงานอื่น
[แก้]- มิวสิควีดีโอเพลง "ฟ้าฮ้องบึ้ม" ของ จินตหรา พูนลาภ (2558)
- เข้าเล่นเกมส์ในรายการ หัวท้ายตายก่อน (2564)
ภายหลังการเสียชีวิตก็ได้คว้ารางวัล Cannes Lions Bronze Award ในหมวด Entertainment จากคานส์ ประเทศฝรั่งเศส[7][8][9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 น้าค่อม ชวนชื่น เป่าเค้กฉลองวันเกิดครบ 60 ปีสุดอบอุ่น
- ↑ matichon (2021-04-30). "เปิดตำนาน 'น้าค่อม' สู่วลีสบถ "ไอ้สัส" ที่แฟนคลับใฝ่ฝันอยากถูกด่า คนเดียวในไทย". มติชนออนไลน์.
- ↑ ""น้าค่อม" อ่านหนังสือไม่ออก แต่ชีวิตก็ประสบความสำเร็จได้". คมชัดลึกออนไลน์. 30 April 2021. สืบค้นเมื่อ 25 June 2021.
- ↑ "เสียงสะท้อนตัวตน'ค่อม ชวนชื่น' ตลกเงินล้านที่อ่านหนังสือไม่ออก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-30. สืบค้นเมื่อ 2014-11-26.
- ↑ แม่เอ๋ ภรรยาน้าค่อม เผยจับได้สามีซ่อนเงินครั้งแรกตอนไหน (คลิป) ไทยรัฐ สืบค้นเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2564
- ↑ "รวมผลงานจากอดีตถึงปัจจุบัน ของ 'น้าค่อม' ชายผู้มอบรอยยิ้มและเสียงหัวเราะให้คนไทย #beartai". #beartai (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-04-30.
- ↑ matichon (2021-06-24). "ผลงาน 'น้าค่อม ชวนชื่น' ยังสร้างชื่อ คว้ารางวัล Bronze จากคานส์ ในบทบาทจิ้งจก". มติชนออนไลน์.
- ↑ "ผลงานการแสดงจิ้งจกของ น้าค่อม ชวนชื่น คว้ารางวัลที่ "คานส์"". www.thairath.co.th. 2021-06-24.
- ↑ "น้าค่อม ชวนชื่น กับผลงานการแสดงจิ้งจก คว้ารางวัล Bronze ที่คานส์". springnews. 2021-06-24.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2501
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2564
- บุคคลจากอำเภอบ้านโป่ง
- นักแสดงชายชาวไทย
- นักแสดงลิเก
- นักแสดงตลกชายไทย
- นักแสดงภาพยนตร์ชายชาวไทย
- นักแสดงละครโทรทัศน์ชายชาวไทย
- พิธีกรชาวไทย
- ยูทูบเบอร์ชาวไทย
- บุคคลที่เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ในประเทศไทย
- นักแสดงจากจังหวัดราชบุรี
- บทความเกี่ยวกับ ดารา ที่ยังไม่สมบูรณ์
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์