นครินทร์ กิ่งศักดิ์
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
บทความนี้ต้องการข้อความอธิบายความสำคัญที่กระชับ และสรุปเนื้อหาไว้ย่อหน้าแรกของบทความ |
ป้าง นครินทร์ | |
---|---|
ข้อมูลพื้นฐาน | |
ชื่อเกิด | นครินทร์ กิ่งศักดิ์ |
รู้จักในชื่อ | ป้าง |
เกิด | 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510 |
ที่เกิด | จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
ศิษย์เก่า | คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
แนวเพลง | อัลเทอร์เนทีฟร็อก อินดี้ร็อก อินดี้ป็อป ป็อปร็อก โพสต์-กรันจ์ |
อาชีพ | นักร้อง นักแต่งเพลง นักดนตรี |
เครื่องดนตรี | กีตาร์ |
ช่วงปี | พ.ศ. 2535 – ปัจจุบัน |
ค่ายเพลง | นิธิทัศน์ (ไฮดร้า; 2535–2537) โซนี่ มิวสิค เอ็นเตอร์เทนเมนท์ (2537–2545) จีราฟเรคอร์ดส (2545–2550) จีนี่เรคอร์ดส (2550–2565) อิสระ (2565–ปัจจุบัน) |
สมาชิก | ไฮดร้า |
นครินทร์ กิ่งศักดิ์ (เกิด 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510) ชื่อเล่น ป้าง เป็นนักดนตรีแนวร็อกชาวไทย และมีเอกลักษณ์คือมีเสียงคล้ายคนร้องไห้ และเป็นอดีตนักร้องนำวง ไฮดร้า คู่กับ ปอนด์ ธนา ลวสุต เพื่อนในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมาเป็นศิลปินเดี่ยวในสังกัดค่าย โซนี่ มิวสิก, จีราฟเรคอร์ดส และ จีนี่เรคอร์ดส ตามลำดับ ปัจจุบันเป็นศิลปินอิสระ
ประวัติ
[แก้]นครินทร์จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนเทพศิรินทร์ (รุ่น99) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา (รุ่น45) ระดับปริญญาตรีจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาการตลาด
การทำงาน
[แก้]วงไฮดร้า (2535–2537)
[แก้]นครินทร์ กิ่งศักดิ์ เคยเป็นสมาชิกวง ไฮดร้า ในปี พ.ศ. 2535 ร่วมกับ ปอนด์ ธนา ลวสุต ทั้งคู่ได้รู้จักกันขณะที่เรียนอยู่ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีโอกาสร่วมเล่นในงานรับน้อง โดยเขาเคยเป็นแฟนเพลงของวง ฟีดแบค ของปอนด์และเพื่อนในโรงเรียนเซนต์คาเบรียล และทั้งคู่ก็ได้ก่อตั้งวงไฮดร้าขึ้นมาและปล่อยอัลบั้มชุดแรกและชุดเดียวของวงอย่าง "อัศเจรีย์" มีเพลงดังอย่าง "ไกลเท่าเดิม" และ "ตัวปลอม"
ค่ายโซนี่ มิวสิค (2537–2545)
[แก้]ในปี พ.ศ. 2537 นครินทร์ได้เซ็นสัญญากับค่ายโซนี่ มิวสิค เอ็นเตอร์เทนเมนท์ และออกสตูดิโออัลบั้มเดี่ยวชุดแรก "ไข้ป้าง" มีเพลงดังอย่าง "สบายดี" "เอื้อมไม่ถึง" "ประตู" และ "คำตอบ"
อีกทั้งในยังได้รับตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์เพลงไทย บริษัท โซนี่มิวสิค (ประเทศไทย) อีกด้วย และใน พ.ศ. 2538 ได้นำผลงานอัลบั้ม "ไข้ป้าง" ร่วมแสดงในเทศกาลดนตรีโตเกียวที่ประเทศญี่ปุ่น
ในปี พ.ศ. 2540 นครินทร์ได้ทำอัลบั้มชุดที่ 2 "ฉลองครบรอบ 30 ปี" เพื่อฉลองครบรอบ 30 ปีกับเส้นทางดนตรีของตนเอง มีเพลงดังอย่าง "คนฉลาด" และ "หัวล้านใจน้อย"
ต่อมาในปี พ.ศ. 2542 ได้วางจำหน่ายอัลบั้มชุดที่ 3 "ขายหน้า" มีเพลงดังอย่าง "ผู้ชายร้องไห้" และถูกยกย่องว่าเป็นอัลบั้มที่ได้รับคุณภาพจากนักวิจารณ์จำนวนมาก
ในปี พ.ศ. 2543 นครินทร์ได้ทำอัลบั้มพิเศษ "รวบรวม" โดยรวบรวมผลงานเพลงในหลาย ๆ อัลบั้มของนครินทร์ มาไว้ในอัลบั้มชุดนี้จำนวน 18 เพลง
สู่จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ (2545–2550)
[แก้]ในปี พ.ศ. 2545 นครินทร์ได้ออกจากค่ายโซนี่ มิวสิค และเซ็นสัญญากับค่ายจีราฟเรคอร์ดส สังกัดจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2545 ได้ออกอัลบั้ม " หัวโบราณ " โดยหน้าปกของอัลบั้มชุดนี้ได้เลือกนำเต่ามาเป็นสัญลักษณ์ โดยมีที่มาจากไดโนเสาร์เต่าล้านปี เพลงที่ได้รับความนิยมจากอัลบั้มนี้ ได้แก่ เพลง "อากาศ" "เธอมีจริง"
ในปี 28 กันยายน พ.ศ. 2547 นครินทร์ออกอัลบั้ม "เลี่ยมทอง" โดยเนื้อหาและดนตรีในอัลบั้มนี้ค่อนข้างจัดจ้าน เป็นดนตรีภาคเร็ว ฉูดฉาด เพลงที่ได้รับความนิยมจากอัลบั้มนี้ ได้แก่ เพลง "ทำอะไรสักอย่าง" "คบไม่ได้" "แมน"
ค่ายจีนี่เรคอร์ดส (2550–2565)
[แก้]ในปี พ.ศ. 2550 นครินทร์ได้ย้ายมาเซ็นสัญญากับค่ายจีนี่เรคอร์ดส สังกัดจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 นครินทร์ได้ออกอัลบั้ม "ดอกเดียว" โดยอัลบั้มนี้เน้นดนตรีออกแนวฟังสบายแต่เข้มข้นด้วยเนื้อหา และรายละเอียดของเครื่องดนตรีแต่ละชนิดที่ใช้ในเพลง
วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2552 นครินทร์ได้ออกซิงเกิล "เล็กน้อยที่ยิ่งใหญ่" ที่แสดงความเป็นนครินทร์ได้อย่างชัดเจน ต่อมาใน พ.ศ. 2556 เขาได้ปล่อยมินิอัลบั้ม "กลางคน" โดยมีเพลงที่ได้รับความนิยมจากอัลบั้มนี้ คือ "ภูมิแพ้กรุงเทพ"[1] สามปีถัดมา เขาได้ปล่อยเพลง “คนมีเสน่ห์” ซึ่งได้กลายเป็นหนึ่งในเพลงที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปีนั้น[2]
อิสระ (2565–)
[แก้]ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2565 นครินทร์ได้ออกจากสังกัดจีนี่เรคอร์ดสเพื่อทำหน้าที่เป็นศิลปินอิสระอย่างเต็มตัว[3]
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]สมรสแล้วกับครูสอนเปียโน แอน มีบุตร-ธิดา 1 คน ชื่อ ขมิ้น [4]
ผลงานเพลง
[แก้]สตูดิโออัลบั้ม
[แก้]ชื่ออัลบั้ม | ปีที่วางแผง, สังกัด | รายการเพลง |
---|---|---|
ในนามวงไฮดร้า | ||
อัศเจรีย์ | พ.ศ. 2535, นิธิทัศน์ |
|
ศิลปินเดี่ยว | ||
ไข้ป้าง | 18 สิงหาคม พ.ศ. 2537, โซนี่ มิวสิก |
|
ฉลองครบรอบ 30 ปี | พ.ศ. 2540, โซนี่ มิวสิก |
|
ขายหน้า | 9 สิงหาคม พ.ศ. 2542, โซนี่ มิวสิก |
|
หัวโบราณ | 3 กันยายน พ.ศ. 2545, จีราฟเรคอร์ดส |
|
เลี่ยมทอง | 28 กันยายน พ.ศ. 2547, จีราฟเรคอร์ดส |
|
ดอกเดียว | 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2550, จีนี่เรคอร์ดส |
|
ไม่มีชื่อ | พ.ศ. 2553, จีนี่เรคอร์ดส |
|
ไม่มีชื่อ | พ.ศ. 2559–2562, จีนี่เรคอร์ดส |
|
ศิลปินอิสระ | ||
ไม่มีชื่อ | พ.ศ 2565-ปัจจุบัน, ศิลปินอิสระ |
|
อีพี
[แก้]ชื่ออัลบั้ม | ปีที่วางแผง, สังกัด | รายการเพลง |
---|---|---|
มินิอัลบั้ม กลางคน EP | 26 กันยายน พ.ศ. 2556, จีนี่เรคอร์ดส |
|
อัลบั้มบันทึกการแสดงสด
[แก้]ชื่ออัลบั้ม | ปีที่วางแผง, สังกัด | รายการเพลง |
---|---|---|
ไฮไลท์ ไอซียู | พ.ศ. 2538, โซนี่ มิวสิก |
|
ขุนช้างขอบคุณ | พ.ศ. 2541, โซนี่ มิวสิก |
|
A : Live Project 1 | 14 ตุลาคม พ.ศ. 2546, จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ |
|
อัลบั้มรวมฮิต
[แก้]ชื่ออัลบั้ม | ปีที่วางแผง, สังกัด | รายการเพลง |
---|---|---|
รวบรวม 2535-2543 | กรกฏาคม พ.ศ. 2543, โซนี่ มิวสิก |
|
The Best Hits of ป้าง | 4 เมษายน พ.ศ. 2549, จีราฟเรคอร์ดส |
|
Best of ป้าง นครินทร์ กิ่งศักดิ์ | 21 กรกฏาคม พ.ศ. 2554, จีนี่เรคอร์ดส | แผ่นที่ 1
แผ่นที่ 2
|
50 Best Hits ป้าง | 31 มีนาคม พ.ศ. 2559, จีราฟเรคอร์ดส |
|
The Original Hits ป้าง | 23 กันยายน พ.ศ. 2566, จีราฟเรคอร์ดส |
|
อัลบั้มพิเศษ
[แก้]ชื่ออัลบั้ม | ปีที่วางแผง, สังกัด | รายการเพลง |
---|---|---|
เพลงประกอบภาพยนตร์ Beautiful Boxer | 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546, จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ |
|
The Living Room Project 1 | 28 เมษายน พ.ศ. 2547, จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ |
|
ด้วยแสงแห่งรัก The Light Of Love | กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548, จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ |
|
เพลงพิเศษ
[แก้]- สิงหาคม ปี 2546 เพลง เชื่อในความฝัน
- ธันวาคม ปี 2547 เพลง ขวานไทยใจหนี่งเดียว - จัดทำขึ้นเพื่อปลุกจิตสำนึกให้คนไทยมีความรักสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
- ธันวาคม ปี 2554 เพลง ครองแผ่นดินโดยธรรม - จัดทำขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ละคร
[แก้]- ระเบิดเถิดเทิง ยุควาไรตี้โชว์ ปี 2539
รางวัลที่ได้รับ
[แก้]ปี | รางวัล | ส่วนเกี่ยวข้อง |
---|---|---|
พ.ศ. 2535 | วงดนตรี หน้าใหม่ยอดเยี่ยม รางวัลสีสันอะวอร์ดส์ |
วงไฮดร้า |
พ.ศ. 2545 | ศิลปินชายยอดเยี่ยม และอัลบั้มเพลงร็อคยอดเยี่ยม รางวัลแฮมเบอร์เกอร์อวอร์ดส์ ครั้งที่ 1[5] |
อัลบั้ม "หัวโบราณ" |
พ.ศ. 2545 | ศิลปินชายเดี่ยวยอดเยี่ยม รางวัลสีสันอะวอร์ดส์ |
อัลบั้ม "หัวโบราณ" |
พ.ศ. 2545 | อัลบั้มยอดเยี่ยม รางวัลสีสันอะวอร์ดส์ |
อัลบั้ม "หัวโบราณ" |
พ.ศ. 2547 | นักร้องเพลงไทยสากลชายที่ประชาชนชอบมากที่สุด (อันดับที่ 2) "สวนดุสิตโพล" มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต |
— |
17 มีนาคม พ.ศ. 2548 | ศิลปินชายร็อกยอดเยี่ยม รางวัลสีสันอะวอร์ดส์ครั้งที่ 17 |
อัลบั้ม "เลี่ยมทอง" |
พ.ศ. 2550 | ศิลปินชายเดี่ยวยอดเยี่ยม รางวัลสีสันอะวอร์ดส์ครั้งที่ 20 |
อัลบั้ม "ดอกเดียว" |
พ.ศ. 2556 | ศิลปินเดี่ยวแห่งปี รางวัลไนน์เอ็นเตอร์เทน อวอร์ดส์ ครั้งที่ 7 |
มินิอัลบั้ม "กลางคน" |
พ.ศ. 2556 | เพลงแห่งปี รางวัลไนน์เอ็นเตอร์เทน อวอร์ดส์ ครั้งที่ 7 |
เพลง "ภูมิแพ้กรุงเทพ" |
พ.ศ. 2556 | นักร้องไทยสากลชายยอดนิยม รางวัลสยามดารา สตาร์ส อวอร์ดส์ 2014 |
|
พ.ศ. 2557 | เพลงยอดนิยมสุดซี้ดประจำปี Seed Awards ครั้งที่ 9[1] |
เพลง "ภูมิแพ้กรุงเทพ" |
พ.ศ. 2559 | ศิลปินเดี่ยวแห่งปี รางวัลไนน์เอ็นเตอร์เทน อวอร์ดส์ ครั้งที่ 10 |
|
พ.ศ. 2560 | นักร้องชายที่สุดแห่งปี รางวัล Daradaily The GREAT Awards |
เพลง "คนมีเสน่ห์" |
พ.ศ. 2560 | Single Hits Of The Year รางวัล The Guitar Mag Award 2017 |
เพลง "คนมีเสน่ห์" |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "ป้าง"ส่ง "ภูมิแพ้กรุงเทพ" คว้าเพลงสุดซี๊ด สีสัน Seed Awards
- ↑ รวมพล 'คนมีเสน่ห์ ภาค2' พี่ป้าง ชวน เจเจ แก้ม มาตัง พลพล เสริมทัพ ไอซ์สึ-เบลล์
- ↑ ป้าง นครินทร์ ทำแฟนๆ ใจหาย โพสต์อำลา GMM Grammy หลังร่วมงานนาน 20 ปี
- ↑ “ภูมิแพ้น้องขมิ้น” ทายาทนักดนตรีเพลงร็อก “ป้าง - นครินทร์ กิ่งศักดิ์”[ลิงก์เสีย]
- ↑ HAMBURGER AWARDS#1, นิตยสารHAMBURGER ปีที่1 ฉบับที่ 9, ปักษ์หลัง ธันวาคม 2545, หน้า 30-41
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- นครินทร์ กิ่งศักดิ์ ที่เฟซบุ๊ก
- ชีวประวัติ จาก www.eotoday.com
- จีนี่ เรคคอร์ดส
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักดนตรีออลเทอร์นาทิฟร็อกชาวไทย
- นักร้องนักแต่งเพลงชาวไทย
- นักกีตาร์ชาวไทย
- บุคคลจากโรงเรียนเทพศิรินทร์
- บุคคลจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
- นิสิตเก่าคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ศิลปินสังกัดโซนี่ มิวสิค
- ศิลปินสังกัดจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2510
- ชาวไทยเชื้อสายจีน