ข้ามไปเนื้อหา

คุยเรื่องแม่แบบ:รู้ไหมว่า/คิว 17

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
เพิ่มหัวข้อ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผนที่โลกแสดงศูนย์กำเนิดและการแพร่กระจายเกษตรกรรมในยุคก่อนประวัติศาสตร์
แผนที่โลกแสดงศูนย์กำเนิดและการแพร่กระจายเกษตรกรรมในยุคหินใหม่ก่อนประวัติศาสตร์
[เสนอสำหรับคิว 17 โดย Tikmok (คุย) 05:01, 14 กันยายน 2567 (+07)]ตอบกลับ
โปรดปรับปรุง caption นี้ให้มีลิงก์ไปยังบทความ การปฏิวัติยุคหินใหม่ ด้วยครับ (หรือจะเลือกรูปอื่นจากบทความก็ได้) --Taweethaも (คุย) 06:32, 14 กันยายน 2567 (+07)ตอบกลับ
 สำเร็จ --Tikmok (คุย) 07:22, 14 กันยายน 2567 (+07)ตอบกลับ
  1. ...การปฏิวัติยุคหินใหม่ไปเป็นสังคมเกษตรช่วยให้มนุษย์สร้างอารยธรรมได้ แต่ก็ก่อผลลบ เช่น โภชนาการแย่ลง อายุสั้นลง เตี้ยลง เสียชีวิตมากขึ้น โรคติดเชื้อเพิ่มขึ้น ฟันผุเกิดบ่อยขึ้น เด็กโตช้า เจ็บป่วยเป็นจำนวนมากขึ้น (บทความเก่าปรับปรุงเพิ่มความยาวเป็นสองเท่าโดยผู้เสนอ) --Tikmok (คุย) 16:28, 11 กันยายน 2567 (+07)ตอบกลับ
    @Tikmok: ดีแล้วครับแต่มีข้อสังเกตดังต่อไปนี้
    1. พูดคุย:การปฏิวัติยุคหินใหม่ เคยมีประวัติขึ้นหน้าหลักด้วยข้อความเชิงลบเกี่ยวกับยุคนี้ไปแล้ว
    2. ในบทความมี "ๆ" ค่อนข้างมาก / ส่วนที่อ้างอิงอยู่ภายใต้ "การเปลี่ยนแปลงทางสังคม" แต่ข้อความเป็นไปในทางกายภาพเสียมากกว่า (ผมชอบประโยคเปิดในย่อหน้าแรกของส่วนย่อยนี้มากกว่า "ผลบวกของมันดูเหมือนจะถูกหักล้างด้วยผลลบต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือโรคภัยและสงคราม" ซึ่งสรุปใจความได้ชันเจน)
    3. คำกำกวมหรือซ้ำซ้อนของข้อความที่เสนอ (กำกวม ได้แก่ เตี้ยลงและเด็กโตช้า อาจไม่ใช่ผลลบเสมอไป -> อะไรคือ optimum height หรือ optimum time in childhood จะเทียบระหว่างมนุษย์ด้วยกันในแต่ละยุคหรือเทียบกับสัตว์อื่น ผมเข้าใจว่าไม่มีคำตอบที่ตายตัวหรือยังไม่รู้คำตอบกัน ดังนั้นจึงไม่อาจกล่าวได้ว่าการเพิ่มการลดเป็นไปในทิศทางที่ optimum หรือไม่) (ซ้ำซ้อน ได้แก่ อายุ (ขัย) สั้นลง เสียชีวิตมากขึ้น / แม้เราไม่ไม่ทราบว่าแมวของชเรอดิงเงอร์ตายหรือยัง แต่เรามั่นใจว่าชเรอดิงเงอร์และมนุษย์ยุคหิน (เก่า กลาง ใหม่ ฯลฯ) ได้เสียชีวิตไปหมดแล้ว 100% เป็นจำนวนที่มากที่สุด ไม่อาจมากขึ้นได้อีก - en:RIP) (ตรงนี้ก็ต้องแอบเหมารวมว่าอายุขัยที่ยืนยาวเป็นเรื่องดีด้วยเหตุผลทางสังคมมากกว่าวิทยาศาสตร์ไปก่อนด้วย)
    โดยสรุป หากต้องการปรับเพียงนิดเดียวให้ผ่านก็ได้ แต่ถ้าจะเปลี่ยนไปเลย โดยดึงเอาเรื่องอื่นขึ้นมาคืนความยุติธรรมแก่มนุษย์ยุคหินก็ได้นะครับ --Taweethaも (คุย) 08:24, 12 กันยายน 2567 (+07)ตอบกลับ
    ครับ ขอบคุณครับที่ให้ความเห็นอย่างละเอียด เดี๋ยวขอลองคิดดูใหม่ว่าจะเลือกเอาตรงไหนดีครับ --Tikmok (คุย) 08:29, 12 กันยายน 2567 (+07)ตอบกลับ
    ...การปฏิวัติยุคหินใหม่ไปเป็นสังคมเกษตรเป็นรากฐานให้มนุษย์แบ่งแรงงานโดยความเชี่ยวชาญ เพิ่มการติดต่อกันเพื่อค้าขายแล้วแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม มีผลเป็นการเกิดอารยธรรมและวิวัฒนาการทางเทคโนโลยี / ลองอันนี้ดูครับ
    • เรื่อง "ๆ" เป็นเรื่องชอบใจของผมครับ เพราะเป็นตัวบ่งพหูพจน์ได้ แบ่งวรรคพักสายตาได้ แต่ขอบคุณที่บอกครับเพราะมีเยอะจริง ๆ แทบทุกวรรค --Tikmok (คุย) 15:41, 12 กันยายน 2567 (+07)ตอบกลับ
    @Tikmok: "ๆ" ไม่ได้เกี่ยวกับ DYK ขนาดนั้น แต่เนื่องจากจะได้ขึ้นหน้าหลักแล้ว เก็บกวาดอะไรได้ก็ช่วยเก็บกวาดกันไปเลยครับ เห็นด้วยครับว่าเป็นพหูพจน์ แต่ข้อด้อยของ "ๆ" คือ 1. ควรจะมีหรือไม่มีวรรคก่อนหน้า ถ้ามีจะเป็นวรรคเล็กหรือวรรคใหญ่ (ราชบัณฑิตฯ มีคำตอบ แต่ความชอบและความคุ้นตา และการทำให้สำเร็จได้ทางเทคนิคพาไปคนละทาง) และ 2. ความหนักแน่นของประโยคลดลงและมีความเป็นภาษาพูดมากขึ้น (ไม่เสมอไป ออกจะเป็นแนว correlation/association ไม่ได้หมายความว่าเป็น causation/indicator ของประโยคที่ไม่แน่ใจ 100% หรือเป็นภาษาพูด) / โดยสรุป ได้พิจารณานำข้อความขึ้นแล้วครับ ส่วนบทความสามารถเลือกใช้สำนวน ศักราช (ค.ศ. พ.ศ. สากลศักราช หรือ xx ก่อนปีปัจจุบัน) ได้ตามอิสระอยู่แล้ว ผมขออนุญาตตั้งข้อสังเกตเพียงเล็กน้อยส่วน "ๆ" เท่านั้นครับ --Taweethaも (คุย) 07:35, 13 กันยายน 2567 (+07)ตอบกลับ
  2. ...การสูญเสียแบคทีเรีย Oxalobacter formigenes ที่ย่อยสลายออกซาเลตในลำไส้หลังการใช้ยาปฏิชีวนะ เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนิ่วไตจากแคลเซียมออกซาเลต --Siam2019 (คุย) 22:22, 10 กันยายน 2567 (+07)ตอบกลับ
  3. ...ภาษาฮีบรูสมัยใหม่ เป็นภาษาเดียวจากภาษาสูญแล้วที่ได้รับการฟื้นฟูจนมีผู้พูดเป็นภาษาแม่ (เขียนโดยตนเอง) --Waniosa Amedestir (คุย) 10:07, 13 กันยายน 2567 (+07)ตอบกลับ
  4. จากความนิยมของหมูเด้ง ทำให้จำนวนผู้เข้าชมสวนสัตว์เปิดเขาเขียว เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า (บทความโดย DMS WIKI)--DMS WIKI (คุย) 15:40, 13 กันยายน 2567 (+07)ตอบกลับ
    เสนอเปลี่ยนว่า ...จากความนิยมของหมูเด้ง ลูกฮิปโปแคระตัวเมีย ทำให้จำนวนผู้เข้าชมสวนสัตว์เปิดเขาเขียวเพิ่มขึ้นถึงสองเท่า --Tikmok (คุย) 18:53, 13 กันยายน 2567 (+07)ตอบกลับ
    เห็นชอบการเปลี่ยนแปลงตามนี้ครับ DMS WIKI (คุย) 04:32, 14 กันยายน 2567 (+07)ตอบกลับ
    สิ่งที่เป็นสองเท่าคือยอดผู้เยี่ยมชมสวนสัตว์รายวัน (ผมได้ไปสวนทวนจากแหล่งอื่นมาแล้ว) จึงขอแก้ไขทั้งในข้อความและข้อเสนอให้ถูกต้อง --Taweethaも (คุย) 13:35, 19 กันยายน 2567 (+07)ตอบกลับ
  5. ทะเลกาลิลีเป็นทะเลสาบน้ำจืดที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลที่สุดในโลก และเป็นทะเลสาบที่อยู่ต่ำที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากทะเลเดดซีที่เป็นทะเลสาบน้ำเค็ม (บทความโดย วณิพก) --วณิพก (คุย) 17:01, 18 กันยายน 2567 (+07)ตอบกลับ
  6. ...ปัจจุบันแม้มนุษย์จะมีประชากรเกิน 8,000 ล้านคน แต่สัตว์ที่ใกล้ชิดกับมนุษย์ที่สุดในวงศ์ลิงใหญ่ รวมทั้งชิมแปนซี กอริลลา และอุรังอุตัง กลับล้วนมีสถานะใกล้สูญพันธุ์หรือใกล้สูญพันธุ์อย่างวิกฤติ --Tikmok (คุย) 03:59, 19 กันยายน 2567 (+07)ตอบกลับ
    ทั้งข้อความเป็นข้อเท็จจริงตรวจสอบได้ทั้งหมด อย่างไรก็ดี มีประเด็นปลีกย่อย
    1. ประชากรมนุษย์ > 8,000 ล้านคน ไม่อยู่ในบทความ
    2. การเชื่อมด้วย "แต่" ทำให้เข้าใจไปว่าสัตว์ใกล้ชิดกันอาจจะต้องเกื้อหนุนกัน ซึ่งอาจไม่เป็นความจริง มนุษย์นี้เองอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้มนุษย์สายพันธ์ใกล้ชิดกันสูญพันธุ์ ประสาอะไรกับสิ่งมีชีวิตอื่น และในทำนองเดียวกันพืชหรือสิ่งมีชีวิตอาณาจักรอื่นที่อยู่ในวงศ์เดียวกัน หากมีสิ่งใดโดดเด่นขึ้นมาก็อาจะทำให้สิ่งมีชิวิตอื่นในวงศ์เดียวกันสูญพันธุ์ก็ได้
    3. 8,000 ล้านคน ในเชิงสังคมและประวัติศาสตร์ถือว่ามากแน่นอนและมากที่สุด แต่ในเชิงของวิทยาศาสตร์ (ชีวภาพ, โลกและจักรวาล) จะมากขนาดไหนก็อาจเป็นที่ถกเถียงกันได้ ข้อความส่วนหน้าสันธาน "แต่" อาจพยามจะสื่อความหมายเช่นนั้น
    โดยสรุป ตัดข้อความถึง "แต่" ก็ผ่านได้เลย หรือจะเปลี่ยนไปดูประเด็นที่น่าสนใจอื่น เช่น "ควรได้รับสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน" ก็ได้ครับ
    --Taweethaも (คุย) 07:55, 19 กันยายน 2567 (+07)ตอบกลับ
    1. 8 พันล้าน มีอยู่ในตารางครับ แต่ไม่มีในเนื้อหา
    2. ไม่ใส่สันธานดูแล้วด้วน ๆ อย่างนี้ดีไหมครับ ...ปัจจุบันแม้มนุษย์จะมีประชากรเกิน 8,000 ล้านคน เทียบกับสัตว์ใกล้ชิดทางพันธุกรรมกับมนุษย์ที่สุดในวงศ์ลิงใหญ่ รวมทั้งชิมแปนซี กอริลลา และอุรังอุตัง กลับล้วนมีสถานะใกล้สูญพันธุ์หรือใกล้สูญพันธุ์อย่างวิกฤติ --Tikmok (คุย) 08:40, 19 กันยายน 2567 (+07)ตอบกลับ
    เสนอปรับอีกนิดเดียวครับ ...แม้ประชากรมนุษย์ในปัจจุบันมีมากกว่า 8,000 ล้านคน สัตว์ใกล้ชิดทางพันธุกรรมกับมนุษย์ที่สุดในวงศ์ลิงใหญ่ เช่น ชิมแปนซี กอริลลา และอุรังอุตัง กลับล้วนมีสถานะใกล้สูญพันธุ์หรือใกล้สูญพันธุ์อย่างวิกฤติ --Taweethaも (คุย) 10:39, 19 กันยายน 2567 (+07)ตอบกลับ
    เห็นชอบครับ --Tikmok (คุย) 13:02, 19 กันยายน 2567 (+07)ตอบกลับ