ข้ามไปเนื้อหา

คุยเรื่องวิกิพีเดีย:รู้ไหมว่า/เสนอรู้ไหมว่า/กรุ 1

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กรุ 1

เสนอวลี

อยากรู้ว่าจะเสนอวลีเช่น

"วู้ปี้ แมน,นี้คือก้าวเล็กๆ สำหรับนีล,แต่เป็นก้าวอันยิ่งใหญ่สำหรับผม"นี้คือคำพูดของ พีท คอนราด ขณะลงมาจากยานลูนาในโครงอะพอลโล 12 ซึ่งเป็นมนุษน์คนที่3ที่ลงมาประทับรอยเท้าบนดวงจันทร์ ได้กล่าวติดตลกต่อคำพูดของนีล อาร์มสตรองที่กล่าวว่า"นี่เป็นก้าวเล็ก ๆ ของชายคนนึง แต่เป็นก้าวกระโดดครั้งยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ"--

จะสามารถเสนอได้ไม่ ที่ถูกต้องเสนอวลีอย่างไรBig ~Bean~ 20:55, 24 กรกฎาคม 2016 (UTC)

นำไปใช้แล้ว

ตรงส่วน นำไปใช้แล้ว จะเอาออกไหมครับ เพราะทำให่รกเปล่าๆ แล้วก็สามารถตรวจชื่อที่นำไปใช้แล้วได้ที่ วิกิพีเดีย:รู้ไหมว่า อยู่แล้ว -- Paru ~パル~ 06:28, 13 พฤษภาคม 2007 (UTC)

การนำเสนอที่ไม่เกี่ยวข้อง

ข้อนี้เกี่ยวข้องกับบทความไหนครับ? ผมเข้าใจว่า รู้ไหมว่า จุดประสงค์หลักคือเพื่อสนับสนุนบทความใหม่ (จากหน้าแม่แบบที่เขียนว่า มาจากบทความใหม่) ส่วนการนำเสนอบทความเก่านั้น ก็ช่วยเสริมเฉยๆ แต่ก็ไม่น่าจะเป็นที่สำหรับเสนอเกร็ดความรู้ "อะไรก็ได้" นะครับ (คือ น่าจะเกี่ยวกับบทความในวิกิพีเดีย) kinkkuananas 19:47, 24 พฤษภาคม 2007 (UTC)

มารอกันเยอะ เปลี่ยนให้บ่อยขึ้น

รายชื่อหัวข้อที่นำเสนอเริ่มมีมากแล้ว ผมจะเริ่มเปลี่ยนให้บ่อยขึ้นนะครับ เปลี่ยนเป็นทุก 7 วัน มันจะได้หมดไปสักที และไม่ควรเก็บเข้ากรุ เพราะเวลาเลือกก็ไม่ได้เลือกตามลำดับเวลา (สุ่มขึ้นมา) และบางอันก็ยังใหม่อยู่เลย --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 06:47, 7 พฤษภาคม 2551 (ICT)

การเสนอหัวข้อรู้ไหมว่า

เนื่องจาก เนื้อหาใน "รู้ไหมว่า " เป็นเนื้อหาที่ คนอาจไม่รู้มาก่อน และบางหัวข้อเสนอ ไม่รู้ว่าเป็นจริงหรือเปล่า หรือเนื้อหาที่อ้างว่าเป็นที่สุด อย่างเช่น "...การต่อสู้ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ถือเป็นการต่อสู้ทางการเมืองของประชาชนครั้งยิ่งใหญ่ที่สุด ในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ที่สามารถยึดทำเนียบรัฐบาลเป็นที่มั่นได้ " ... ซึ่งไม่รู้ว่าใครเป็นคนอ้าง ผมจึงเห็นว่า การเสนอในแต่ละครั้งควรมีอ้างอิงประกอบ หรืออยู่ในบทความนั้นในวิกิพีเดียด้วย --Sry85 22:24, 5 ตุลาคม 2551 (ICT)

เรื่องที่เสนอหายครับ

ผมเสนอ รู้ไหมว่า ไปเรื่องหนึ่ง ที่เกี่ยวกับรถเต่า โฟล์กสวาเกน บีเทิล แล้วหายไปโดยที่ไม่ได้ลงไปอยู่ในหัวข้อตรวจสอบ, ต้องการแหล่งอ้างอิง ใดๆ ทั้งสิ้น โดยที่ไม่ได้ขึ้นข้อความบนหน้าหลัก อยากทราบครับว่าผมขัดเงื่อนไขใดๆ รึเปล่าครับ จะได้รับทราบ ปรับปรุง -- Jimmy Classic 18:33, 8 สิงหาคม 2553

เข้าใจว่าถ้าไม่นำออกโดยประมาท (ซึ่งไม่น่าจะเป็นเช่นนั้น) ก็อาจเป็นเพราะว่า
  1. บทความไม่มี Inline-ref (อ้างอิงประโยคแบบ [1], [2], [3], ฯลฯ) ซึ่งปกติแล้วควรจะนำมาลงไว้ในหัวข้อรอการปรับปรุง
  2. คุณ Horus (พูดคุย · เรื่องที่เขียน) พยายามจะนำเสนอบทความของตนเองบนหน้าหลัก แล้วลบของคุณจิมมีออกไป
  3. บทความอาจไม่สดใหม่พอครับ

อย่างไรก็ดี ผู้ให้คำตอบในกรณีดังกล่าวได้ดีที่สุด ก็คือผู้ที่ นำข้อความออกไป ซึ่งก็คือคุณฮอรัส ซึ่งผมจะได้เรียนเชิญเพื่อถกกรณีดังกล่าวต่อไปครับ --G(x) (พูดคุย · หน้าที่เขียน) 18:47, 10 สิงหาคม 2553 (ICT)

ที่ผมลบไปโดยมิได้ย้ายไปรอนั้นเห็นว่า (1) บทความของคุณไม่มีกระทั่งแหล่งอ้างอิงด้านล่าง ๆ ของบทความ จึงไม่คิดว่าคุณจะใส่แหล่งอ้างอิงในบรรทัด ซึ่งเป็นอคติครับ ผมยอมรับ แต่คราวหน้าขอให้มีแหล่งอ้างอิงในบรรทัดกำกับข้อความที่นำมาด้วยนะครับ (2) ที่คุณ G(x) ระบุว่าผมพยายามจะนำเสนอบทความของตนเองนั้น ขอเรียนว่า ผมพยายามนำของทุกคนที่เป็นไปตามเกณฑ์ไปเสนอครับ เพียงแต่ว่าดูเหมือนว่าผมจะยกของตนเองขึ้นไปมากเป็นพิเศษ (3) ความสดใหม่ของบทความ คิดว่า 1 เดือนก็น่าจะใหม่อยู่ แต่คงไม่เท่ากับ 3-5 วันของวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ ขอชี้แจงเท่านี้ครับ คุณยังสามารถเสนอบทความได้เหมือนเดิมตามเกณฑ์
หากคุณมีข้อเสนอแนะหรือความคิดเห็นเกี่ยวกับเกณฑ์ สามารถพิจารณาได้ เพราะผมเข้าใจว่าตัวเองบังคับใช้เกณฑ์นี้เอง ไม่มีผู้อื่นควบคุมผมอีกที --Horus | พูดคุย 20:59, 10 สิงหาคม 2553 (ICT)

ประเด็นการเสนอเรื่องแต่ง

  • สองอันข้างล่างนี้คืออะไร? เลขไอพีทั้งสองโปรดระบุเหตุผล --Aristitleism 20:59, 1 พฤษภาคม 2554 (ICT)
    • ...สัญญากับปิศาจ เป็นสัญญาที่มนุษย์ทำกับปิศาจ เพื่อขอให้ปิศาจช่วยเหลือ แล้วจะอุทิศวิญญาณของตนให้เป็นการตอบแทน ? --58.9.117.189 00:35, 26 เมษายน 2554 (ICT)
    • ...จุมพิตแห่งอลัชชี (ในภาพ) เป็นพิธีกรรมที่แม่มดกระทำเพื่อสักการะปิศาจ โดยจุมพิตทวารหนัก ก่อนจะสมสู่กับปิศาจ ? --115.87.148.101 14:33, 1 พฤษภาคม 2554 (ICT)
จาก:

การเสนอรู้ไหมว่า หากเป็นเรื่องแต่ง (fiction) ควรโยงมาในชีวิตจริง (real world) มากกว่าเสนอมุมมองเพียงในเรื่องที่แต่งขึ้น

— Sry85 00:31, 26 เมษายน 2554 (ICT)

ทำไม สัญญากับปิศาจ, จุมพิตแห่งอลัชชี จึงได้รับการเสนอ โปรดชี้แจง --58.9.141.79 09:23, 2 พฤษภาคม 2554 (ICT)

  • ไม่เห็นมีหลักเช่นนั้น ถ้าอย่างนั้น บทความเช่น ทศกัณฐ์ ก็นำเสนอไม่ได้สิว่า "ทศกัณฐ์ เป็นผู้ครองนครลงกา และเป็นบิดาของนางสีดา" เป็นต้น --Aristitleism 10:21, 2 พฤษภาคม 2554 (ICT)
    • จาก en:Wikipedia:Did_you_know กล่าวว่า If the subject is a work of fiction or a fictional character, the hook must involve the real world in some way. --Sry85 19:44, 2 พฤษภาคม 2554 (ICT)
      • หัวข้อทั้งสองมิใช่งานบันเทิงคดี (work of fiction) และมิใช่ตัวละครในบันเทิงคดี (fictional character) ด้วย ก็ไม่เข้าข่ายอยู่แล้วนี่ครับ --Aristitleism 19:54, 2 พฤษภาคม 2554 (ICT)
        • ผมอธิบายข้อความที่อ้างจากของผม ครับ มิใช่คนเสนอการตรวจสอบ แต่ก็น่าจะผ่านครับ ตามที่คุณว่า แต่รู้สึกว่า จะไม่มีอ้างอิงในบรรทัดนะครับ อาจจะตรวจสอบไม่ถี่ถ้วนก่อนนำเสนอในหน้าหลัก--Sry85 19:58, 2 พฤษภาคม 2554 (ICT)
  • "จาก en:Wikipedia:Did_you_know กล่าวว่า If the subject is a work of fiction or a fictional character, the hook must involve the real world in some way." อยากให้มีเป็นหลักเกณฑ์ในไทยก่อน ผมจะได้ไม่เสนอเก้ออีก และผมคงไม่ตามไปนั่งอ่านที่หน้าภาษาอังกฤษเพื่อดูว่าผ่านเกณฑ์หรือไม่นะครับ --B20180 11:34, 3 พฤษภาคม 2554 (ICT)

ไหนบอกว่าต้องไม่มีลิงก์แดง

แต่บทความที่ปรากฏในขณะนี้มีลิงก์แดง แล้วจะยึดอันไหนเป็นหลัก หรือตั้งกฎขึ้นมาเพื่อฝ่าฝืน --Sasakubo1717 17:31, 21 มกราคม 2555 (ICT)

หมายถึง ในข้อความที่เสนอต้องไม่มีลิงก์แดง --Horus | พูดคุย 18:22, 22 มกราคม 2555 (ICT)

ความยาวจากตัวอักษร

เกณฑ์ที่ว่าด้วยความยาวขั้นต่ำของบทความ ควรเปลี่ยนไปใช้ความยาวเฉพาะตัวอักษรหรือไม่ครับ เห็นวิกิพีเดียภาษาอังกฤษจะมีโปรแกรมคำนวณของเขาอยู่ ไม่งั้นก็ลอกลงเวิร์ดแล้วนับเอา ? --Horus non nobis, sed omnibus | พูดคุย 23:12, 15 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)

  1. นับความยาวเฉพาะเนื้อหา (ไม่รวมอ้างอิงและ syntax) ก็ดีครับ มีความถูกต้องแม่นยำกว่าเดิม - จะนับเป็นคำ เป็นอักขระ หรือเป็นประโยคก็ได้ (สำหรับภาษาไทยนับอักขระจะแม่นยำที่สุด)
  2. วิธีการนับควรใช้โปรแกรมเสรีเท่านั้นและควรทำได้สะดวก (เช่น ผ่านเครื่องมือออนไลน์) ผมไม่เห็นด้วยกับการใช้ Microsoft Word เพื่อการนี้ครับ

--taweethaも (พูดคุย) 06:25, 16 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)

ผมว่าตัดแม่แบบ ลิงก์ข้ามภาษา ลิงก์หมวดหมู่ทิ้ง (syntax ถึงมีก็คงไม่มาก ผมกลัวพวกกล่องข้อมูลยักษ์มากกว่า) แล้วนับอักขระเอา ซึ่งเรื่องนับอักขระ text editor ทั่วไปก็น่าจะทำได้อยู่แล้วนะครับ --Nullzero (พูดคุย) 15:48, 16 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)

เห็นด้วยครับว่า text editor ทั่วไปนับอักขระได้อยู่แล้ว - ผมเห็นว่านับแต่อักขระอย่างเดียวก็เป็นเพียงเกณฑ์เชิงปริมาณ น่าจะนับอ้างอิงประกอบกันหรือเป็นตัวเลือกด้วย เช่น มีความยาวขั้นต่ำเฉพาะเนื้อหา ไม่รวมกล่องไม่รวมอ้างอิง 2000 อักขระ และ/หรือมีอ้างอิงที่น่าเชื่อถือในรูปแบบที่ถูกต้องไม่น้อยกว่า 5 รายการ เป็นต้น --taweethaも (พูดคุย) 17:37, 16 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)
พบว่า เกณฑ์ของเขาให้ 1500 อักขระ และใช้สคริปต์นี้ในการตรวจครับ --Horus non nobis, sed omnibus | พูดคุย 18:06, 16 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)
ดีครับ แต่ต้องปรับแก้เงื่อนไขบางประการ เช่น แก้ไขเพิ่มเติมเนื้อหาเป็น 5 เท่า หรือเงื่อนไขอื่นๆ ให้เป็นไปตามวิกิพีเดียภาษาไทย ฯลฯ อยากให้คุณ Nullzero ลองรับไปพิจารณาดูแล้วเป็นเจ้าภาพโค้ดฉบับวิกิพีเดียภาษาไทย --taweethaも (พูดคุย) 06:12, 17 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)
เช่นนั้น ก็ยึด 2000 อักขระ และเพิ่มเนื้อหาจากเดิม 2 เท่า (เป็น 3 เท่า) ซึ่งไม่นับอักขระที่มิใช่ข้อความ นะครับ --Horus non nobis, sed omnibus | พูดคุย 12:11, 17 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)

สรุปเกณฑ์ตามนี้นะครับ

  1. 2000 อักขระ
  2. 14 วัน
  3. เพิ่มขึ้น 2 เท่า (รวมเป็น 3 เท่าจากของเดิม)

อย่างไรก็ตาม ผมมีความสงสัย และสังเกตถึงความขัดแย้งกันในกฎ

  • เป็นบทความที่เพิ่งสร้างใหม่ไม่เกิน 2 สัปดาห์นับจากวันที่เสนอ (ดูรายชื่อ)
  • บทความต้องยาวกว่า 5,0002000 ไบต์ หรือเป็นบทความที่เพิ่มข้อมูลจนยาวกว่าเดิมอย่างน้อยสองเท่า และมีความน่าสนใจ ไม่ควรเป็นเพียงการเสนอคำนิยาม
  1. คำว่าเพิ่มขึ้น 2 เท่านี้คือยังไงครับ ในเมื่อบทความดังกล่าวต้องเป็นบทความใหม่ (ภายใน 14 วัน) เงื่อนไข 2000 อักขระก็เพียงพอแล้วไม่ใช่หรือครับ
  2. กฎเพิ่มขึ้น 2 เท่าจะทำให้คนที่อยากให้บทความผ่านเกณฑ์ เริ่มต้นเขียนบทความเป็นโครงให้สั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้วค่อยเพิ่มในภายหลังให้เกิน 2 เท่า ซึ่งผมไม่เห็นว่ามันจะสร้างสรรค์ตรงไหนเลย
  3. ผมว่า 2 เท่ามันควรจะเป็นเกณฑ์ที่ใช้สนับสนุนให้คนมาเขียนบทความเก่าเพิ่มเติมมากกว่า แต่ในเมื่อโดนจำกัดด้วยระยะเวลา 14 วัน ผมก้ไม่เห็นประโยชน์ที่จะมีเกณฑ์นี้

--Nullzero (พูดคุย) 15:00, 17 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)

ขออภัยครับ จริง ๆ แยกเป็นบทความใหม่ที่ยาวเกิน 2000 อักขระ กับ บทความเก่าที่มีการต่อเติมให้ยาวขึ้น --Horus non nobis, sed omnibus | พูดคุย 18:13, 17 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)

ผมขอเขียนที่ผมคิดไว้นะครับ ไม่ทราบว่าพอได้หรือเปล่า

  • ลักษณะบทความ
    • เป็นบทความที่เพิ่งสร้างใหม่ไม่เกิน 2 สัปดาห์นับจากวันที่เสนอ (ดูรายชื่อ) บทความนั้นต้องยาวกว่า 50002000 ไบต์อักขระ หรือ
    • เป็นบทความที่เพิ่มข้อมูลจนยาวกว่าเดิมอย่างน้อยสองเท่าภายใน 2 สัปดาห์ และความยาวนี้ต้องมากกว่า 2000 + 2000*2 = 6000 ไบต์อักขระ --Nullzero (พูดคุย) 18:30, 17 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)
ท้วงดังนี้ครับ ข้อ 1. เป็น "2000 อักขระ (ไม่รวมอักขระอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาโดยตรง)" ข้อ 2. ขอออกความเห็นว่า การกำหนดระยะเวลาที่จะให้เพิ่มเนื้อหานั้นก็ควรอยู่ แต่ควรมีการอภิรายก่อน ส่วนการกำหนดความยาวขั้นต่ำ คิดไปคิดมา อาจจำเป็นในกรณีของบทความที่สั้นเกิน ดังนั้นจึงเปลี่ยนใจไม่ท้วงครับ --Horus non nobis, sed omnibus | พูดคุย 18:39, 17 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)

โอเคครับ ทำสคริปต์เรียบร้อยแล้ว ลองเล่นกันได้โดยใส่โค้ดดังนี้ที่ vector.js

importScript('User:Nullzero/DYKcheck.js');

แล้วแถบด้านซ้ายมือจะมี "ตรวจสอบบทความรู้ไหมว่า" โผล่ขึ้นมา

เกณฑ์ที่ผมตั้งตอนนี้คือ

  1. ขั้นต่ำ 2000 อักขระ โดยตัดพวก markup ทิ้งแล้ว ไม่ว่าจะเป็นบทความใหม่หรือเก่าฃ
  2. แบ่งเป็น 2 กรณี
    1. บทความใหม่ ต้องสร้างภายใน 14 วันที่ผ่านมา
    2. บทความเก่า ต้องมีการเพิ่มข้อมูลอย่างน้อย 2 เท่า ภายใน 14 วัน <= แต่รออภิปรายตัวเลขที่เหมาะสมตามที่คุณ Horus ว่า --Nullzero (พูดคุย) 19:52, 17 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)
บทควาที่ผ่านการพิจารณาไปแล้วก่อนเราจะอภิปรายกันเรื่องจำนวนอักขระ ควรจะปล่อยไปตามกติกาเดิมคือจำนวนไบต์นะครับ (กฎหมายไม่ผลย้อนหลังในทางให้โทษ) ส่วนบทความที่เสนอใหม่วันนี้ ผมจะขุนให้ได้ความยาวต่อไปตามที่กำหนด --taweethaも (พูดคุย) 16:04, 1 มีนาคม 2556 (ICT)
รับทราบครับ --Nullzero (พูดคุย) 16:07, 1 มีนาคม 2556 (ICT)

 สำเร็จ เปลี่ยนเกณฑ์แล้วนะครับ --Horus non nobis, sed omnibus | พูดคุย 17:23, 3 มีนาคม 2556 (ICT)


เกณฑ์ (อีกรอบ)

ผมไปพบโปรแกรม swath (http://www.cs.cmu.edu/~paisarn/software.html) ซึ่งสามารถใช้นับคำภาษาไทยได้ เลยมาถามว่าควรจะเปลี่ยนเกณฑ์ไปเป็นจำนวนคำแทนไหมครับ อนึ่งโปรแกรมยังทำงานได้ไม่สมบูรณ์แบบ (อันที่จริง สำหรับภาษาไทยแล้ว จะทำให้ได้ผลลัพธ์ถูกต้องเป็นเรื่องยากมาก) แต่โดยรวมแล้วโปรแกรมทำงานดีมาก และโปรแกรมนี้ได้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ en:LaTeX ภาษาไทย ด้วย จึงไม่ต้องห่วงเรื่องความน่าเชื่อถือ --Nullzero (พูดคุย) 04:35, 27 พฤษภาคม 2557 (ICT)

@Nullzero: เอาเป็นเท่าไหร่ดีครับ ตอนนี้บทความที่เกิน 2000 อักขระมันต้องยาวมากจริง ๆ ถึงจะผ่าน (ลองเขียนเองแล้วก็ไม่ผ่าน) --Horus | พูดคุย 20:00, 21 กันยายน 2557 (ICT)
500 คำดีไหมครับ ขอบทความที่คุณ Horus กล่าวถึงด้วยครับ ว่าง ๆ จะตรวจสอบให้ว่ายาวกี่คำ --Nullzero (พูดคุย) 09:45, 22 กันยายน 2557 (ICT)
ยกตัวอย่าง หมอเท้าเปล่า ครับ จำนวนคำยังไม่แน่ใจ แต่เอาให้ความยาวขั้นต่ำประมาณ 10,000-15,000 ไบต์กำลังดีครับ และขอทราบว่า โปรแกรมดังกล่าวนับแยกเฉพาะ readable prose เหมือนเครื่องมือเก่าได้ไหรือเปล่าครับ --Horus | พูดคุย 15:09, 22 กันยายน 2557 (ICT)
http://tools.wmflabs.org/nullzerobot/tools/dykchecker/ฃ/ ลองทดลองกับ บทความคุณภาพ 3หมื่นไบต์ ยังไม่ผ่านเกณฑ์ 2000 อักขระเลย ต้องลดจำนวนแล้ว ไม่งั้นจะไม่มีบทความไหนผ่านเกณฑ์ซะที --Sry85 (พูดคุย) 15:32, 22 กันยายน 2557 (ICT)
ระหว่างนี้ ขอเสนอให้ปรับลดเกณฑ์เดิมเหลือสัก 750 หรือ 1000 อักขระไปก่อน ระหว่างที่มีการเปลี่ยนเกณฑ์ไปเป็นอย่างอื่น --Horus | พูดคุย 12:06, 4 ตุลาคม 2557 (ICT)
ผมตั้งค่ามาตรฐานเป็น 400 (2000 / 5) แล้วกันนะครับ ประมาณเอาว่า 1 คำมี 5 อักขระ --Nullzero (พูดคุย) 11:36, 9 พฤศจิกายน 2557 (ICT)
ผมใช้ 750 คำแทนนะครับ -- หน้า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2511 มีความยาว 10,000 ไบต์ มี 800 คำ ถ้าอยากได้

10,000 จำนวนคำก็น่าจะประมาณนี้ --Nullzero (พูดคุย) 11:47, 9 พฤศจิกายน 2557 (ICT)

เสนอสคริปต์ใหม่

ช่วงนี้ที่สคริปต์ไม่ทำงาน ผมไปเจอ สคริปต์ DYKCheck ในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษครับ ผมลองติดตั้งดูแล้วคิดว่ามันก็นำคำได้พอสมควร แต่ไม่แน่ใจว่าเมื่อนำมาใช้นับภาษาไทยแล้วจะมีปัญหาอะไรหรือเปล่า แต่คิดว่าถ้าเราเปลี่ยนไปใช้สคริปต์นี้เป็นเกณฑ์ก็น่าจะมีมาตรฐานเดียวกันได้ --Horus (พูดคุย) 18:30, 28 กุมภาพันธ์ 2561 (ICT)

ขออนุญาตเชิญมาอภิปรายนะครับ @Pilarbini:, @Mr.BuriramCN:, @Thomson Walt:, @2ndoct: --Horus (พูดคุย) 14:52, 20 มีนาคม 2561 (ICT)
ลองเล่นดูเบื้องต้นดูดีนะคะ ใช้ง่ายดี ถึงจะนับคำภาษาไทยไม่ตรงเลยแต่นับจำนวนตัวอักษรได้ดี คิดว่าถ้าเปลี่ยน (หรือเพิ่ม) เกณฑ์กำหนดจำนวนอักขระน่าจะตรวจง่ายขึ้น --Pilarbini (คุย) 03:40, 22 มีนาคม 2561 (ICT)
เห็นด้วยกับการเพิ่มเกณฑ์จำนวนอักขระ --2ndoct (คุย) 15:21, 24 มีนาคม 2561 (ICT)
จำนวนอักขระตอนนี้ไม่มีสคริปต์ให้ใช้นะครับ มีแค่สคริปต์นอกนี่แหละที่ไปเจอ ส่วนตัวกะไว้ว่าประมาณ 10,000 ไบต์ น่าจะซัก 400–500 คำ --Horus (พูดคุย) 19:17, 24 มีนาคม 2561 (ICT)

เสนอการจัดเรียงใหม่

เสนอให้จัดเรียงส่วน “ที่ได้รับการตรวจสอบแล้ว” ไปไว้ด้านล่าง และนำส่วนสำหรับเสนอจริง ๆ ไว้ข้างบน เพื่อให้สะดวกต่อคนมาเสนอ (เข้าใจว่าคนที่จะเข้ามาหน้านี้คือมาเพื่อเสนอมากกว่ามาตรวจสอบที่ได้รับการเสนอแล้ว—?, ยังไงหน้าที่ลิงค์เข้ามาก็ชื่อว่า “เสนอหัวข้อ” อยู่ดี ควรเป็นความตั้งใจหลักของหน้าและใช้ไว้ด้านบนมากกว่าครับ) รบกวนพิจารณาด้วยครับ ขอบคุณมากครับ —Chainwit. (คุย) 19:50, 22 มิถุนายน 2563 (+07)ตอบกลับ

เปล่าครับ เรียงแบบนี้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่แอดมินที่อัปเข้าสู่หน้าหลักครับ --Horus (พูดคุย) 19:57, 22 มิถุนายน 2563 (+07)ตอบกลับ
ตามนั้นครับ 5555 —Chainwit. (คุย) 21:06, 22 มิถุนายน 2563 (+07)ตอบกลับ

เกณฑ์การนำเสนอบทความในส่วนของรู้ไหมว่า

เท่าที่ผมไปอ่านย้อนหลังและในหน้าของการเสนอบทความส่วนรู้ไหมว่าพบว่ามีการกำหนดว่าบทความที่นำเสนอนั้นต้องมีคำมากกว่า 750 คำ แต่ในระยะหลังพบว่าบทความที่นำเสนอนั้นบางส่วนยังมีจำนวนคำไม่ตรงตามเกณฑ์ ดังนั้นจึงอยากถามความเห็นว่าเราควรเปลี่ยนเกณฑ์การนำเสนอหรือไม่หรือให้บังคับใช้เกณฑ์ 750 คำให้เข้มงวดมากยิ่งขึ้นครับ หรืออาจปรับเป็น 400 คำตามที่คุณ Horus เสนอด้านบนดีครับ --Timekeepertmk (คุย) 22:07, 13 กรกฎาคม 2563 (+07)ตอบกลับ

@Chainwit., Mr.GentleCN, และ Waniosa Amedestir: ขอรบกวนความเห็นของท่านทั้ง 3 ที่มีส่วนเสนอบทความในช่วงนี้ครับ --Timekeepertmk (คุย) 21:09, 25 กรกฎาคม 2563 (+07)ตอบกลับ

ประเด็นด้านเครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบ

ลองเสนอเกณฑ์ที่มีเครื่องมือตรวจสอบดูก็ได้ครับ ตอนนี้เครื่องมือเสียเลยใช้เกณฑ์ดังกล่าวไม่ได้ --Horus (พูดคุย) 16:32, 16 กรกฎาคม 2563 (+07)ตอบกลับ
ผมเองไม่มีความสามารถมากพอที่จะสร้างเครื่องมือมาตรวจสอบในส่วนนี้ครับ ทุกวันนี้ผมใช้ Microsoft Word ในการดูคร่าว ๆ ว่า จำนวนคำถึงเกณฑ์หรือไม่ ทีนี้เมื่อใช้ Microsoft Word จึงพบว่าหลายบทความมีจำนวนคำไม่ถึง 750 คำ จึงคิดว่าน่าจะลดเกณฑ์ลงมาเหลือ 400 คำ และถ้าหาเครื่องมือมาใช้ได้แล้ว ค่อยใช้เครื่องมือนั้นสำหรับการช่วยตรวจสอบครับ --Timekeepertmk (คุย) 14:12, 18 กรกฎาคม 2563 (+07)ตอบกลับ
ได้ลองตรวจดูหรือยังครับ เหมือนเมื่อก่อนคุ้น ๆ ว่าเคยมีความกังวลว่าโปรแกรมอาจจะนับผิด ถ้าเชื่อได้ก็อาจจะใช้วิธีก็อปลงเวิร์ดไปนับคำ --Horus (พูดคุย) 22:02, 25 กรกฎาคม 2563 (+07)ตอบกลับ
การนับจำนวนคำในกรณีของ Microsoft Word อาจไม่ถูกต้อง 100% ครับ เท่าที่เคยลองใช้พบว่า บทความที่มีการใช้ภาษาต่างประเทศในเนื้อความจะมีการนับจำนวนคำที่เพี้ยนค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตามคิดว่าเป็นเครื่องมือใกล้ตัวที่พอใช้เป็นเบื้องต้นได้ หากจะให้นับแบบแน่นอนชัดเจนต้องใช้จำนวนอักขระ อันนี้โปรแกรมนับได้แม่นยำแน่นอนครับ ทั้งนี้ผมจะลองไปหาดูว่าพอมีโปรแกรมใดที่นับได้แม่นกว่านี้ครับ --Timekeepertmk (คุย) 22:35, 25 กรกฎาคม 2563 (+07)ตอบกลับ

ประเด็นจำนวนคำ

เห็นด้วยกับ 400 คำครับ —Chainwit. (คุย) 21:59, 25 กรกฎาคม 2563 (+07)ตอบกลับ
ควรใช้แบบ 400 คำ เพราะบางครั้งเมื่อพิมพ์คำลงไป ก็กลัวว่าจะไม่ครบตามจำนวนคำที่กำหนดครับ --Waniosa Amedestir (คุย) 15:51, 26 กรกฎาคม 2563 (+07)ตอบกลับ
 ความเห็น ต้องดูว่า 400 คำมีความยาวเท่าไหร่ ผมว่าประมาณ 10,000 ไบต์กำลังดี ถ้าสั้นกว่านั้นจะเป็นเนื้อหาไม่กี่ย่อหน้าครับ (ต้องไม่ลืมด้วยว่าอักขระไทยตัวหนึ่ง 3 ไบต์ ถ้าอังกฤษตัวละ 1 ไบต์) --Horus (พูดคุย) 16:30, 26 กรกฎาคม 2563 (+07)ตอบกลับ
 ความเห็น ผมเห็นว่า 400 คำก็ยาวอยู่นะครับ สมมติอย่างคำว่า "ประเทศ" 1 คำ หาก 1 อัขระไทยได้ 3 ไบต์เท่ากับว่าคำนี้จะมี 6 ไบต์ ผมว่าเกณฑ์ 400 คำก็เหมาะสมดีครับ แต่ถ้าใช้เกณฑ์เป็นไบต์ก็จะชัดเจนครับ เพราะไม่ต้องใช้เครื่องมืออะไรมาช่วยตรวจสอบ ปัญหาคือผมไม่รู้ว่าจำนวนไบต์มันอิงกับตาราง แม่แบบหรือ tag ref หรือไม่ ถ้านับรวมด้วย ก็จะมีปัญหาว่าบทความที่มีตารางหรือแม่แบบที่ซับซ้อนก็อาจเกิน 10,000 ไบต์ได้ครับ --Timekeepertmk (คุย) 17:51, 26 กรกฎาคม 2563 (+07)ตอบกลับ
ใช่ครับ ถ้าใช้ความยาวอย่างเดียวจะนับโค้ดอย่างอื่นด้วย ต้องหาวิธีคิดเฉพาะ readable prose --Horus (พูดคุย) 17:52, 26 กรกฎาคม 2563 (+07)ตอบกลับ
อาจจะเป็นวิธีบ้าน ๆ ไปหน่อย แต่ผมลองทดสอบด้วยการ copy แต่ข้อความของการประท้วงโดยเผาตัวตายของชาวทิเบตในประเทศจีน ลงในผู้ใช้:Timekeepertmk/กระบะทราย4 ก็จะได้เป็น 6,439 ไบต์ ดังนั้นถ้าใช้วิธีนี้ก็นับได้ชัวร์ครับ แต่ก็จะรกหน้าฟีดปรับปรุงล่าสุดนิดหน่อย ดังนั้นถ้าใช้วิธีนี้จริง 10,000 ไบต์อาจเยอะไปก็ได้ครับ สัก 6,000–7,000 ไบต์ น่าจะเพียงพอครับ --Timekeepertmk (คุย) 18:29, 26 กรกฎาคม 2563 (+07)ตอบกลับ

––––

ผมขออนุญาตสรุปไว้เป็นเบื้องต้นว่า ในขณะนี้ยังไม่มีเครื่องมือที่สามารถตรวจสอบได้อย่างชัดเจน แต่เสียงส่วนใหญ่มีความเห็นว่าให้ลดจำนวนคำเหลือ 400 คำ โดยไม่มีการคัดค้าน ซึ่งการลดจำนวนคำนี้ เป็นการสะท้อนถึงบทความที่มีการนำเสนอในปัจจุบัน ซึ่งไม่ถึง 750 คำตามเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ นอกจากนี้ได้มีข้อเสนอให้มีจำนวน 10,000 ไบต์ ขึ้น ดังนั้นจึงขอปิดอภิปรายในส่วนนี้ และแก้ไขเกณฑ์นำเสนอเป็น บทความนั้นต้องมีคำ (ไม่รวมอักขระที่เป็นโค้ด แม่แบบ ตาราง ฯลฯ) มากกว่า 400 คำ และมีขนาด 10,000 ไบต์ขึ้นไป --Timekeepertmk (คุย) 19:45, 28 กรกฎาคม 2563 (+07)ตอบกลับ


เพิ่มรายการ

สวัสดีครับ เนื่องจากช่วงนี้ turnover ของการเสนอ DYK ค่อนข้างเร็ว เนื่องจากมีผู้สนใจเพิ่มขึ้น ขอเสนอให้เพิ่มจากรอบละ 5 ข้อเป็นรอบละ 6 ข้อ เพื่อแก้ปัญหาความสมดุลในหน้าหลักสำหรับผู้ใช้พีซีครับ --Horus (พูดคุย) 23:21, 27 สิงหาคม 2563 (+07)ตอบกลับ

  1. เห็นด้วย ผมเห็นด้วยนะครับ เพราะส่วน DYK ไม่สมดุลจริง ๆ เพียงแต่ไม่แน่ใจว่าการนำเสนอจะมีเยอะแบบนี้หรือไม่ในอนาคต ถ้าอนาคตมีการนำเสนอน้อยลง ค่อยเปลี่ยนกลับไปใช้รอบละ 5 ข้อก็น่าจะได้ครับ --Timekeepertmk (คุย) 23:37, 27 สิงหาคม 2563 (+07)ตอบกลับ

สอบถาม

จากประโยคที่ว่า "ไม่เสนอเรื่องซ้ำกันในรอบเดียวกัน เช่น ฟุตบอล ประเทศอังกฤษ" คือดูที่ตัวบทความหรือดูที่ประโยคอะครับ --`Ez. (คุย) 21:03, 18 เมษายน 2564 (+07)ตอบกลับ

ดูที่ตัวบทความที่เสนอเป็นหลักครับ แต่ถ้าเสนอสองบทความใน hook เดียวจะเป็นกลุ่มเดียวกันก็ได้ เพราะหลัก ๆ ต้องการให้ 1 hook = 1 ประเด็น --Horus (พูดคุย) 21:15, 18 เมษายน 2564 (+07)ตอบกลับ
โอเคครับ --`Ez. (คุย) 21:48, 18 เมษายน 2564 (+07)ตอบกลับ

หญ้าในกรีนแลนด์

หัวข้อรู้ไหมว่าที่ขึ้นหน้าหลักอยู่ตอนนี้ (หญ้าพบได้ทั่วโลก ยกเว้นเกาะกรีนแลนด์และทวีปแอนตาร์กติกา) อันนี้ผิดนะครับ ไปดูจากอ้างอิงของบทความหญ้า ต้นฉบับบอกว่า "40.5 percent of the terrestrial area excluding Greenland and Antarctica" หมายความว่า 40.5% ของพื้นผิวโลกหากไม่นำกรีนแลนด์และแอนตาร์กติกามาคำนวณ ไม่ได้หมายความว่าหญ้าไม่มีในกรีนแลนด์และแอนตาร์กติกาแต่อย่างใด และจากการลองกูเกิลดูง่ายๆ ก็จะพบว่ากรีนแลนด์มีหญ้าครับ --Portalian (คุย) 03:40, 30 เมษายน 2565 (+07)ตอบกลับ


ข้อเสนอเพื่อพัฒนาให้ตอบสนองผู้อ่านหน้าหลักได้ดียิ่งขึ้น

เนื่องจากการปรับปรุงหัวข้อรู้ไหมว่าไม่สม่ำเสมอ อาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้อ่านและอาสาสมัครผู้เขียนบทความ ขอเสนอให้มีการวางแผนล่วงหน้า (อาจเขียนเป็น source code ลงไว้ในหน้าหลักหรือแม่แบบได้คล้ายกับบทความคัดสรรประจำเดือน) ในอดีตเรายึดหลักเอาตามวิกิพีเดียภาษาอังกฤษเป็นสำคัญแต่ลดจำนวนลงเอาตามกำลังความสามารถ แต่เมื่อเวลาผ่านไปกว่าสิบปีแล้ว เราคงไม่ทำตามวิกิพีเดียภาษาอังกฤษเป็นหลัก แต่คิดอ่านเอาเองได้ว่า กำลังของอาสาสมัครมีขึ้นลงเป็นช่วง และควรจะปรับหลักเกณฑ์ให้ยืดหยุ่นรองรับการเปลี่ยนแปลงที่อาสาสมัครมีเวลาเข้ามาดูแลได้

ณ วันสิ้นเดือนของแต่ละเดือนขอให้คำนึงถึง n เป็นจำนวนคิวที่เต็มแล้วของข้อความ DYK ณ 23:59 น. UTC+7 วันก่อนวันสิ้นเดือน (คิวที่เต็มแล้วหมายถึง 6 ชุดข้อความและ 1 รูปภาพที่ผ่านการพิจารณาเป็นรายชิ้นแล้ว รวมถึงผ่านการจัดชุดบทความให้มีความหลากหลายในเชิงเนื้อหาสาระพร้อมนำเสนอในภาพรวมแล้วด้วย วันก่อนวันสิ้นเดือน เช่น เดือนมกราคม หมายถึง 30 มกราคม) ในข้อเสนอคราวนี้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงวิธีพิจารณาบทความลงคิวแต่อย่างใด ซึ่งไม่มีกำหนดที่ตายตัว ทยอยพิจารณาไปตามความสะดวกของอาสาสมัครอยู่แล้ว สิ่งที่จะขอให้เปลี่ยนแปลง คือ การกำหนดให้แน่นอนลงไปว่าจะเอาคิวที่พิจารณาคัดกรองจัดสรรเสร็จแล้วไปแสดงผลในหน้าหลักเมื่อใดและมีระยะเวลานานเท่าไร การดำเนินการในขั้นนี้เสนอให้ใช้หลักการด้านล่าง ไม่ต้องใช้ดุลยพินิจเพิ่มเติมอีก

  • n = 0 ไม่มีการปรับปรุง DYK ในเดือนถัดไปตลอดทั้งเดือน ขอใส่เป็นแม่แบบมีข้อความเชิญชวนให้เสนอบทความ DYK และช่วยกันพิจารณา DYK ตามหลักเกณฑ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งจะแสดงผลในหน้าหลักตลอดทั้งเดือน (เหตุการณ์นี้อาจเกิดขึ้นได้จากขาดอาสาสมัครพิจารณาข้อเสนอ DYK ไปจัดลงคิวก็ได้ ไม่ใช่เพียงขาดแคลนการเสนอบทความเข้าสู่ DYK)
  • 1 <= n <= 9 ดึงออกมาใช้งานตามจำนวนครั้งด้านล่าง โดยตัดออกจากคิวปัจจุบันออกไปเพื่อทำเป็นแม่แบบรอขึ้นหน้าหลักได้เลย
    • n = 1, 2, 3 เดือนถัดไปจะมีการปรับปรุง DYK ครั้งเดียว ในวันที่ 15 เท่านั้น
    • n = 4, 5 เดือนถัดไปจะมีการปรับปรุง DYK สองครั้ง ในวันที่ 8 และ 22 เท่านั้น
    • n = 6, 7 เดือนถัดไปจะมีการปรับปรุง DYK สามครั้ง ในวันที่ 5 15 และ 25 เท่านั้น
    • n = 8, 9 เดือนถัดไปจะมีการปรับปรุง DYK สี่ครั้ง ในวันที่ 4 11 19 และ 26 เท่านั้น
    • หลักคิดคือต้องสำรองเนื้อหาไว้ประมาณหนึ่งเท่าตัว เลี่ยงการปรับปรุงในวันที่ 1 เพราะเป็นวันเปลี่ยนบทความคัดสรรประจำเดือน แต่ยังยึดหลักการพิจารณาคราวเดียวในวันสุดท้ายของเดือนเพื่อให้เกิดความแน่นอนว่าเนื้อหาที่จะแสดงในหน้าหลักในเดือนถัดไปคืออะไร หลักคิดนี้คล้ายกับการจัดการ DYK ของวิกิพีเดียภาษาอังกฤษรวมถึงบทความคัดสรรในวิกิพีเดียภาษาไทย แต่การดำเนินการปรับให้เหมาะกับชุมชนที่มีแรงงานน้อยและมีระยะเวลาการสื่อสารระหว่างกันที่ต้องรอฟังความเห็นกันนานหน่อย เดือนหนึ่งมี 28-31 วัน ได้พยายามกระจายวันให้เท่ากันมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้แต่มันก็จะไม่เท่ากันเสียทีเดียว
  • n >= 10 เป็นไปได้ยากในสถานการณ์ปัจจุบัน หากเกิดขึ้นก็นำกลับมาอภิปรายกันใหม่ อาจะ
    • ใช้วิธีสุ่มขึ้นมาแสดงผลทั้งเดือน (จะยังไม่มีการเตรียมการ แต่เข้าใจว่าเป็นไปได้ทางเทคนิค)
    • เพิ่มความเคร่งครัดในเงื่อนไขการพิจารณา จำกัดจำนวนที่เสนอได้ต่อคนต่อเดือน ให้เฉพาะผู้เขียนบทความเป็นผู้เสนอ ให้ผู้ที่เคยตรวจสอบ DYK ให้ผู้อื่นแล้วจึงจะเสนอได้ [วิกิพีเดียภาษาอังกฤษใช้แนวทางนี้] ลดเวลาที่อนุญาตให้เสนอได้จาก 14 วันลง ฯลฯ
สรุปอย่างย่อ
  1. เกณฑ์การพิจารณา DYK ยังเหมือนเดิมโดยประการทั้งปวง แต่ข้อเสนอนี้ขอให้ความถี่การปรับปรุงขึ้นสู่หน้าหลักมีความแน่ชัด และหากมีไม่พอจะปรับปรุงจะไม่แสดงของเดิมค้างแต่มีข้อความแนะนำเชิญชวนให้รู้จักโครงการ DYK
  2. ขอเชิญผู้เกี่ยวข้องช่วยกันพิจารณา โดย ping ท่านที่เข้ามาร่วมโครงการในเวลาที่ผ่านมาไม่นานนี้ @Tvcccp, B20180, Mr.BuriramCN, Chainwit., Waniosa Amedestir, Pomznp, Stirz117, Siam2019, Ddjingjing, ZeroSixTwo, Wutkh, DMS WIKI, PhakkaponP, และ Kaoavi:
  3. เรื่องแม่แบบข้อความเชิญชวนและแม่แบบตัดแสดงผลตามวันเวลาที่กำหนด ผมสามารถรับไปพิจารณาออกแบบให้ได้ ถ้าทุกท่านเห็นด้วยกับข้อเสนอข้างต้น

เสนอให้รับฟังความคิดเห็น 14 วันและเริ่มใช้งานในเดือนถัดจากเดือนที่ได้รับฉันทามติจากชุมชน --Taweethaも (คุย) 14:31, 18 มิถุนายน 2567 (+07)ตอบกลับ

ลงคะแนน
  1. เห็นด้วย ผมไม่มีข้อแย้งใด ๆ ในเรื่องระยะเวลาให้สม่ำเสมอ ส่วนเรื่องการเชิญชวนเสนอบทความผมเสนอเพิ่มเติมว่าน่าจะมีกลไกอื่นเพิ่มเติมประกอบด้วยเพื่อเพิ่มการรับรู้ เช่น บทความใหม่ที่ได้รับการจัดระดับ "ดี" ขึ้นไปให้มีข้อความเชิญชวนไปยังผู้เขียนหลักหรือผู้ร่วมเขียนด้วย (อาจเพิ่มเติมเงื่อนไขอื่นเพิ่มไม่ให้เป็นที่รำคาญของผู้ใช้ เช่น เป็นผู้ใช้ที่บัญชีสร้างมาไม่เกิน 1 ปี และยังไม่ได้รับสิทธิสูงกว่าผู้ใช้ยืนยันอัตโนมัติ) ฯลฯ --Wutkh (คุย) 23:22, 18 มิถุนายน 2567 (+07)ตอบกลับ
  2. เห็นด้วย แต่อาจต้องมีการพิจารณากรอบเวลาที่ยาวกว่ารายเดือน จากจำนวนอาสาสมัครผู้เขียนบทความที่เหลืออยู่ (น้อย) ในปัจจุบันครับ --Siam2019 (คุย) 16:00, 20 มิถุนายน 2567 (+07)ตอบกลับ
    • @Siam2019: ผมดูบทความใหม่ที่ผ่านมาเร็วๆ นี้ ก็พอเลือกขึ้นมาเสนอได้ครับ แต่หดหายไปหมด เราก็ได้ใช้หน้าหลักประชาสัมพันธ์เชิญชวนเข้าโครงการ DYK ไปทั้งเดือนครับ --Taweethaも (คุย) 13:40, 23 มิถุนายน 2567 (+07)ตอบกลับ
  3. เห็นด้วย ผมเห็นด้วยในข้อเสนอแนะของคุณ Wutkh และผมคิดว่าหากมีบทความที่รอคิวอยู่น้อยเช่น n=0-2 และมีรู้ไหมใช่ว่าที่เสนออยู่ค้างในเสนอรู้ไว้ใช่ว่าพอสมควร อาจตรวจพิจารณาบทความเพื่อให้ไปยังคิวรู้ไหมใช่ว่าให้เร็วขึ้นเช่นสัปดาห์ละครั้งจนครบคิว เพื่อให้สามารถมีรู้ไหมใช่ว่าหมุนเวียนได้ในเวลาที่ซึ่งมีคาบการปรับปรุงประมาณ15วัน Stirz117 (คุย) 13:50, 21 มิถุนายน 2567 (+07)ตอบกลับ
    • @Stirz117: เพื่อความชัดเจนขอชี้แจงว่าข้อเสนอนี้ไม่มีผลต่อความถถี่การพิจารณาในขั้นข้อเสนอไปสู่คิวครับ อย่างไรก็ดี หากไม่มีอาสาสมัครเข้ามาพิจารณาข้อเสนอไปสู่คิวเลย สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือหน้าหลักจะแสดงข้อความเชิญชวนเข้าโครงการโดยอัตโนมัติในเดือนถัดไป เป็นแนวคิดเพื่อความยั่งยืนของโครงการในระยะยาวครับ --Taweethaも (คุย) 13:37, 23 มิถุนายน 2567 (+07)ตอบกลับ
      @Taweetham ใช่ครับผมคิดว่าถ้านำแนวคิดของความถี่มาประกอบกับข้อเสนอน่าจะทำให้ตัวโครงการมีความยั่งยืนครับ Stirz117 (คุย) 12:09, 24 มิถุนายน 2567 (+07)ตอบกลับ
      @Stirz117: เห็นด้วยกับประเด็นความยั่งยืนครับ เพียงแต่ว่าข้อเสนอใดก็ตามสำหรับอาสาสมัครในปัจจุบัน ถ้าผู้เสนอไม่ลงมือทำได้เอง ต้องหลีกเลี่ยงการเพิ่มภาระงานแก่คนอื่นที่เคยทำงานมาอยู่แล้วโดยเขาอาจไม่ได้ยินดีหรือยินยอม (ผมเคยเขียนเสนอเป็น DYK ไว้ว่า เอากระดิ่งไปแขวนคอแมว) ผมหวังว่า DYK จะกลับมามีชีวิตชีวาขึ้นหลังการเปลี่ยนแปลงความถี่การแสดงผลและอาสาสมัครผู้เขียน ผู้เสนอ ก็จะผลัดการมาช่วยกันตรวจพิจารณาจัดคิวกันเองได้ ผมเข้าไปช่วยแค่เขียนโปรแกรมเอาคิวที่อาสาสมัครทุกท่านจัดกันเป็นที่ยุติแล้วนำขึ้นหน้าหลัก ซึ่งผมช่วยทำเพียงเดือนละครั้งก็ไม่หนักเกินไปและเมื่อจัดเป็นระบบแล้วงานตรงนี้ค่อนข้างง่ายอาสาสมัครท่านอื่นมาทำต่อหรือทำแทนได้เลย --Taweethaも (คุย) 07:44, 25 มิถุนายน 2567 (+07)ตอบกลับ
      @Taweetham ผมก็หวังว่า DYK จะกลับมามีชีวิตชีวาขึ้นหลังการเปลี่ยนแปลงตามข้อเสนอเช่นเดียวกับคุณครับ Stirz117 (คุย) 21:23, 25 มิถุนายน 2567 (+07)ตอบกลับ
  4. เห็นด้วย เห็นด้วยกับแนวทางครับ แต่เรื่องบทความที่ตัวผมเขียน / แปลขอให้เป็นการคัดเลือกของทีมงานตามแนวทางที่ระบุ --Adrich (คุย) 15:17, 23 มิถุนายน 2567 (+07)ตอบกลับ
  5. เห็นด้วย เหตุผลเหมือนกับคนอื่น ๆ ครับ --AAAERTCM 12:32, 24 มิถุนายน 2567 (+07)ตอบกลับ
  6. เห็นด้วย ไม่มีปัญหากับแนวทาง ปรับได้ตามความเหมาะสมครับ --Tvcccp (cn:Yesona) (Talk) 17:55, 24 มิถุนายน 2567 (+07)ตอบกลับ
  7. เห็นด้วย เหตุผลเช่นเดียวกันกับผู้ใช้ก่อนหน้าครับ --Mr.CN (คุย) 21:01, 24 มิถุนายน 2567 (+07)ตอบกลับ
  8. เห็นด้วย ข้างต้นคิดว่าไม่น่าจะมีปัญหาครับแต่ผมขอยังไม่ออกความคิดเห็นใด ๆ เพียงแต่จะรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกท่านอื่น ๆ ก่อน -- Kaoavi (คาโอะเอวีไอ) (คุย) 21:03, 24 มิถุนายน 2567 (+07)ตอบกลับ
  9. เห็นด้วย --Waniosa Amedestir (คุย) 18:44, 27 มิถุนายน 2567 (+07)ตอบกลับ
ความเห็นเพิ่มเติม (ถ้าไม่ได้เขียนประกอบไว้กับการลงคะแนนด้านบน)
  • เนื่องจากความเห็นตรงนี้อาจไม่เกี่ยวข้องกับข้อความโดยตรง แต่เป็นสิ่งที่ผมคิดเรื่องนี้ไว้เล็ก ๆ สำหรับการเสนอบทความเพื่อรับการพิจารณา คือ มีแม่แบบแสดงจำนวนรายการบทความที่เข้ารับการเสนอ แสดงเป็น dashboard ในหน้าศาลาประชาคมและหน้าหัวข้อการเสนอพิจารณา เพื่อให้อาสาสมัครได้เห็นว่ามีเรื่องค้างพิจารณามากน้อยเพียงใด ผมมองว่าเพิ่มกระตุ้นการเข้ามาพิจารณาได้มากขึ้น (ผมไม่แน่ใจว่าด้วยกำลังของมีเดียวิกิจะทำได้หรือไม่ แต่ลองเสนอดูครับ) ถ้าเห็นว่าควรขึ้นหัวเรื่องใหม่ สามารถแจ้งได้ครับ จะเสนอต่อหลังจากพิจารณาเรื่องนี้แล้วเสร็จครับ --Wutkh (คุย) 23:22, 18 มิถุนายน 2567 (+07)ตอบกลับ
อาจจะเป็นไปได้โดยการใช้ <section> ร่วมกับ lua เพื่อแยกจำนวนออกตามหัวข้อครับ น่าสนใจทีเดียว — Patsagorn 🍝 14:59, 23 มิถุนายน 2567 (+07)ตอบกลับ
  • ถ้าข้อเสนอนี้ผ่านจะเปิดทางให้มีการทำโครงการสนับสนุน DYK เป็นกิจจะลักษณะได้มากขึ้น คล้ายกับโครงการหนึ่งแสนบทความในอดีตนะครับ เพราะเราจะรู้กำหนดแน่นอนว่าบทความที่เสนอทั้งหมดจะมีระยะเวลาขึ้นหน้าหลักเมื่อใด ช่วยให้คนจัดโครงการประมาณภาระงานและผลลัพธ์ได้ชัดเจนกว่าเดิม --Taweethaも (คุย) 07:30, 24 มิถุนายน 2567 (+07)ตอบกลับ


สรุปว่าจะเริ่มใช้เต็มรูปแบบสิงหาคมเป็นต้นไปนะครับ ในเดือนกรกฎาคมนี้อาจยังเป็นเหมือนเดิมไปก่อน หรือ ถือว่าเป็นช่วงเปลี่นยผ่านสำหรับการทดลองใช้งานก็ได้ ปัจุจุบัน n=2 จะปรับปรุงเพียงครั้งเดียววันที่ 15 กรกฎาคม 2567 ใส่ไว้ที่ {{รู้ไหมว่า/2024-07-15}}

หัวใจสำคัญของการเขียนโค้ดคือ

  1. mw:Help:Extension:ParserFunctions##timel เช่น
    • {{#timel:j F xkY}} จะให้ 25 กันยายน 2567
    • {{#timel:Y-m-d}} จะให้ 2024-09-25 4-digit year (CE), Month index, zero-padded, Day of the month, zero-padded เป็นความหมายตามคู่มือ
    • {{#timel:Y-n-j}} จะให้ 2024-9-25 ผมขอเลือกแบบนี้เพื่อความสะดวก (not zero-padded)
  2. mw:Help:Extension:ParserFunctions##expr
    • {{#expr:{{#timel:j}}-1}} {{#expr:{{#timel:j}}-2}} {{#expr:{{#timel:j}}-3}} จะให้ 24 23 22
  3. mw:Help:Extension:ParserFunctions##ifexist เช่น
    • {{#ifexist: Special:Watchlist | exists | doesn't exist }} จะให้ exists

หน้าที่เกิดการแก้ไขโดยตรงจากข้อเสนอนี้คือ

--Taweethaも (คุย) 15:09, 2 กรกฎาคม 2567 (+07)ตอบกลับ

10 ≤ n ≤ สองเท่าของจำนวนวันในเดือนถัดไป

ด้วยการร่วมแรงร่วมใจของทุกท่าน ผ่านมาไม่ถึงครึ่งเดือนกรกฎาคมคิวของ DYK เติบโตเร็วขึ้นมากอย่างก้าวกระโดด และมีโอกาสว่าเมื่อถึงวันพิจารณาจะมีจำนวนสูงกว่ากติกาที่ได้ตกลงกันไว้ (ทั้ง 10 กรณี คือ 0-9 เท่านั้น) ซึ่งถ้าเป็นไปต่อเนื่องอย่างถาวรถือเป็นสัญญาณที่ดี แต่ถ้าเป็นชั่วคราวเราคงยังไม่ต้องเปิดอภิปรายใหม่ทั้งที่เพิ่งปิดไป

ข้อเสนอชั่วคราว คือ 10 ≤ n ≤ สองเท่าของจำนวนวันในเดือนถัดไป ให้ใช้ n/2 เป็นจำนวนครั้งการปรับปรุง DYK ในเดือนถัดไป (ปัดเศษจากการหารลง) กำหนดวันให้มีระยะห่างใกล้เคียงกันได้ตามความเหมาะสม หาก n มากกว่าสองเท่าของจำนวนวันในเดือนถัดไป เช่น 56-62 ค่อยมาอภิปรายกันใหม่ในแนวทางที่เคยเสนอไว้ข้างต้น ได้แก่ เพิ่มความเข้มงวดของเกณฑ์ และ/หรือ จัดการแสดงผลแบบสุ่ม

--Taweethaも (คุย) 09:48, 13 กรกฎาคม 2567 (+07)ตอบกลับ

เห็นด้วย ในเรื่องใช้สูตรหารสอง แต่ผมเห็นว่าควรจะเริ่มการอภิปรายมาตรการการตรวจเพิ่มเมื่อคิวจำนวนวันในเดือนถัดไปเพื่อให้มาตรการมีผลทันการตรวจพิจารณาคิวเดือนต่อ ๆ ไปครับ Wutkh (คุย) 00:20, 14 กรกฎาคม 2567 (+07)ตอบกลับ

ผมทำตารางต่อไปให้ได้ดังนี้ ช่องแรกคือจำนวนคิว ช่องที่สองคือครั้งที่จะลงหน้าหลัก และช่องที่สามคือวันที่จะลงหน้าหลัก

รหัสต้นฉบับของตาราง สร้างโดยโปรแกรม Mathematica คือ 
Table[{" " <> ToString[2 n] <> "-" <> ToString[2 n + 1], n, 
  ToString[Table[1 + Floor[md/n*(i - .5)], {i, n}]]}, {n, 5, md}] // TableForm
หลักคิดคือกระจายวันให้เท่ากันมากที่สุด เลี่ยงวันที่ 1 ซึ่งเป็นวันเปลี่ยนบทความคัดสรรประจำเดือน
เดือนที่มี 28 วัน (md=28)
10-11	5	{3, 9, 15, 20, 26}
12-13	6	{3, 8, 12, 17, 22, 26}
14-15	7	{3, 7, 11, 15, 19, 23, 27}
16-17	8	{2, 6, 9, 13, 16, 20, 23, 27}
18-19	9	{2, 5, 8, 11, 15, 18, 21, 24, 27}
20-21	10	{2, 5, 8, 10, 13, 16, 19, 22, 24, 27}
22-23	11	{2, 4, 7, 9, 12, 15, 17, 20, 22, 25, 27}
24-25	12	{2, 4, 6, 9, 11, 13, 16, 18, 20, 23, 25, 27}
26-27	13	{2, 4, 6, 8, 10, 12, 15, 17, 19, 21, 23, 25, 27}
28-29	14	{2, 4, 6, 8, 10, 12, 14, 16, 18, 20, 22, 24, 26, 28}
30-31	15	{1, 3, 5, 7, 9, 11, 13, 15, 16, 18, 20, 22, 24, 26, 28}
32-33	16	{1, 3, 5, 7, 8, 10, 12, 14, 15, 17, 19, 21, 22, 24, 26, 28}
34-35	17	{1, 3, 5, 6, 8, 10, 11, 13, 15, 16, 18, 19, 21, 23, 24, 26, 28}
36-37	18	{1, 3, 4, 6, 8, 9, 11, 12, 14, 15, 17, 18, 20, 22, 23, 25, 26, 28}
38-39	19	{1, 3, 4, 6, 7, 9, 10, 12, 13, 15, 16, 17, 19, 20, 22, 23, 25, 26, 28}
40-41	20	{1, 3, 4, 5, 7, 8, 10, 11, 12, 14, 15, 17, 18, 19, 21, 22, 24, 25, 26, 28}
42-43	21	{1, 3, 4, 5, 7, 8, 9, 11, 12, 13, 15, 16, 17, 19, 20, 21, 23, 24, 25, 27, 28}
44-45	22	{1, 2, 4, 5, 6, 8, 9, 10, 11, 13, 14, 15, 16, 18, 19, 20, 22, 23, 24, 25, 27, 28}
46-47	23	{1, 2, 4, 5, 6, 7, 8, 10, 11, 12, 13, 15, 16, 17, 18, 19, 21, 22, 23, 24, 25, 27, 28}
48-49	24	{1, 2, 3, 5, 6, 7, 8, 9, 10, 12, 13, 14, 15, 16, 17, 19, 20, 21, 22, 23, 24, 26, 27, 28}
50-51	25	{1, 2, 3, 4, 6, 7, 8, 9, 10, 11, 12, 13, 15, 16, 17, 18, 19, 20, 21, 22, 23, 25, 26, 27, 28}
52-53	26	{1, 2, 3, 4, 5, 6, 8, 9, 10, 11, 12, 13, 14, 15, 16, 17, 18, 19, 20, 22, 23, 24, 25, 26, 27, 28}
54-55	27	{1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11, 12, 13, 15, 16, 17, 18, 19, 20, 21, 22, 23, 24, 25, 26, 27, 28}
56-57	28	{1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11, 12, 13, 14, 15, 16, 17, 18, 19, 20, 21, 22, 23, 24, 25, 26, 27, 28}
เดือนที่มี 29 วัน (md=29)
10-11	5	{3, 9, 15, 21, 27}
12-13	6	{3, 8, 13, 17, 22, 27}
14-15	7	{3, 7, 11, 15, 19, 23, 27}
16-17	8	{2, 6, 10, 13, 17, 20, 24, 28}
18-19	9	{2, 5, 9, 12, 15, 18, 21, 25, 28}
20-21	10	{2, 5, 8, 11, 14, 16, 19, 22, 25, 28}
22-23	11	{2, 4, 7, 10, 12, 15, 18, 20, 23, 26, 28}
24-25	12	{2, 4, 7, 9, 11, 14, 16, 19, 21, 23, 26, 28}
26-27	13	{2, 4, 6, 8, 11, 13, 15, 17, 19, 22, 24, 26, 28}
28-29	14	{2, 4, 6, 8, 10, 12, 14, 16, 18, 20, 22, 24, 26, 28}
30-31	15	{1, 3, 5, 7, 9, 11, 13, 15, 17, 19, 21, 23, 25, 27, 29}
32-33	16	{1, 3, 5, 7, 9, 10, 12, 14, 16, 18, 20, 21, 23, 25, 27, 29}
34-35	17	{1, 3, 5, 6, 8, 10, 12, 13, 15, 17, 18, 20, 22, 24, 25, 27, 29}
36-37	18	{1, 3, 5, 6, 8, 9, 11, 13, 14, 16, 17, 19, 21, 22, 24, 25, 27, 29}
38-39	19	{1, 3, 4, 6, 7, 9, 10, 12, 13, 15, 17, 18, 20, 21, 23, 24, 26, 27, 29}
40-41	20	{1, 3, 4, 6, 7, 8, 10, 11, 13, 14, 16, 17, 19, 20, 22, 23, 24, 26, 27, 29}
42-43	21	{1, 3, 4, 5, 7, 8, 9, 11, 12, 14, 15, 16, 18, 19, 21, 22, 23, 25, 26, 27, 29}
44-45	22	{1, 2, 4, 5, 6, 8, 9, 10, 12, 13, 14, 16, 17, 18, 20, 21, 22, 24, 25, 26, 28, 29}
46-47	23	{1, 2, 4, 5, 6, 7, 9, 10, 11, 12, 14, 15, 16, 18, 19, 20, 21, 23, 24, 25, 26, 28, 29}
48-49	24	{1, 2, 4, 5, 6, 7, 8, 10, 11, 12, 13, 14, 16, 17, 18, 19, 20, 22, 23, 24, 25, 26, 28, 29}
50-51	25	{1, 2, 3, 5, 6, 7, 8, 9, 10, 12, 13, 14, 15, 16, 17, 18, 20, 21, 22, 23, 24, 25, 27, 28, 29}
52-53	26	{1, 2, 3, 4, 6, 7, 8, 9, 10, 11, 12, 13, 14, 16, 17, 18, 19, 20, 21, 22, 23, 24, 26, 27, 28, 29}
54-55	27	{1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 9, 10, 11, 12, 13, 14, 15, 16, 17, 18, 19, 20, 21, 23, 24, 25, 26, 27, 28, 29}
56-57	28	{1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11, 12, 13, 14, 16, 17, 18, 19, 20, 21, 22, 23, 24, 25, 26, 27, 28, 29}
58-59	29	{1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11, 12, 13, 14, 15, 16, 17, 18, 19, 20, 21, 22, 23, 24, 25, 26, 27, 28, 29}
เดือนที่มี 30 วัน (md=30)
10-11	5	{4, 10, 16, 22, 28}
12-13	6	{3, 8, 13, 18, 23, 28}
14-15	7	{3, 7, 11, 16, 20, 24, 28}
16-17	8	{2, 6, 10, 14, 17, 21, 25, 29}
18-19	9	{2, 6, 9, 12, 16, 19, 22, 26, 29}
20-21	10	{2, 5, 8, 11, 14, 17, 20, 23, 26, 29}
22-23	11	{2, 5, 7, 10, 13, 15, 18, 21, 24, 26, 29}
24-25	12	{2, 4, 7, 9, 12, 14, 17, 19, 22, 24, 27, 29}
26-27	13	{2, 4, 6, 9, 11, 13, 15, 18, 20, 22, 25, 27, 29}
28-29	14	{2, 4, 6, 8, 10, 12, 14, 17, 19, 21, 23, 25, 27, 29}
30-31	15	{2, 4, 6, 8, 10, 12, 14, 16, 18, 20, 22, 24, 26, 28, 30}
32-33	16	{1, 3, 5, 7, 9, 11, 13, 15, 16, 18, 20, 22, 24, 26, 28, 30}
34-35	17	{1, 3, 5, 7, 8, 10, 12, 14, 16, 17, 19, 21, 23, 24, 26, 28, 30}
36-37	18	{1, 3, 5, 6, 8, 10, 11, 13, 15, 16, 18, 20, 21, 23, 25, 26, 28, 30}
38-39	19	{1, 3, 4, 6, 8, 9, 11, 12, 14, 16, 17, 19, 20, 22, 23, 25, 27, 28, 30}
40-41	20	{1, 3, 4, 6, 7, 9, 10, 12, 13, 15, 16, 18, 19, 21, 22, 24, 25, 27, 28, 30}
42-43	21	{1, 3, 4, 6, 7, 8, 10, 11, 13, 14, 16, 17, 18, 20, 21, 23, 24, 26, 27, 28, 30}
44-45	22	{1, 3, 4, 5, 7, 8, 9, 11, 12, 13, 15, 16, 18, 19, 20, 22, 23, 24, 26, 27, 28, 30}
46-47	23	{1, 2, 4, 5, 6, 8, 9, 10, 12, 13, 14, 16, 17, 18, 19, 21, 22, 23, 25, 26, 27, 29, 30}
48-49	24	{1, 2, 4, 5, 6, 7, 9, 10, 11, 12, 14, 15, 16, 17, 19, 20, 21, 22, 24, 25, 26, 27, 29, 30}
50-51	25	{1, 2, 4, 5, 6, 7, 8, 10, 11, 12, 13, 14, 16, 17, 18, 19, 20, 22, 23, 24, 25, 26, 28, 29, 30}
52-53	26	{1, 2, 3, 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11, 13, 14, 15, 16, 17, 18, 20, 21, 22, 23, 24, 25, 26, 28, 29, 30}
54-55	27	{1, 2, 3, 4, 6, 7, 8, 9, 10, 11, 12, 13, 14, 16, 17, 18, 19, 20, 21, 22, 23, 24, 26, 27, 28, 29, 30}
56-57	28	{1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 9, 10, 11, 12, 13, 14, 15, 16, 17, 18, 19, 20, 21, 22, 24, 25, 26, 27, 28, 29, 30}
58-59	29	{1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11, 12, 13, 14, 16, 17, 18, 19, 20, 21, 22, 23, 24, 25, 26, 27, 28, 29, 30}
60-61	30	{1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11, 12, 13, 14, 15, 16, 17, 18, 19, 20, 21, 22, 23, 24, 25, 26, 27, 28, 29, 30}
เดือนที่มี 31 วัน (md=31)
10-11	5	{4, 10, 16, 22, 28}
12-13	6	{3, 8, 13, 19, 24, 29}
14-15	7	{3, 7, 12, 16, 20, 25, 29}
16-17	8	{2, 6, 10, 14, 18, 22, 26, 30}
18-19	9	{2, 6, 9, 13, 16, 19, 23, 26, 30}
20-21	10	{2, 5, 8, 11, 14, 18, 21, 24, 27, 30}
22-23	11	{2, 5, 8, 10, 13, 16, 19, 22, 24, 27, 30}
24-25	12	{2, 4, 7, 10, 12, 15, 17, 20, 22, 25, 28, 30}
26-27	13	{2, 4, 6, 9, 11, 14, 16, 18, 21, 23, 26, 28, 30}
28-29	14	{2, 4, 6, 8, 10, 13, 15, 17, 19, 22, 24, 26, 28, 30}
30-31	15	{2, 4, 6, 8, 10, 12, 14, 16, 18, 20, 22, 24, 26, 28, 30}
32-33	16	{1, 3, 5, 7, 9, 11, 13, 15, 17, 19, 21, 23, 25, 27, 29, 31}
34-35	17	{1, 3, 5, 7, 9, 11, 12, 14, 16, 18, 20, 21, 23, 25, 27, 29, 31}
36-37	18	{1, 3, 5, 7, 8, 10, 12, 13, 15, 17, 19, 20, 22, 24, 25, 27, 29, 31}
38-39	19	{1, 3, 5, 6, 8, 9, 11, 13, 14, 16, 18, 19, 21, 23, 24, 26, 27, 29, 31}
40-41	20	{1, 3, 4, 6, 7, 9, 11, 12, 14, 15, 17, 18, 20, 21, 23, 25, 26, 28, 29, 31}
42-43	21	{1, 3, 4, 6, 7, 9, 10, 12, 13, 15, 16, 17, 19, 20, 22, 23, 25, 26, 28, 29, 31}
44-45	22	{1, 3, 4, 5, 7, 8, 10, 11, 12, 14, 15, 17, 18, 20, 21, 22, 24, 25, 27, 28, 29, 31}
46-47	23	{1, 3, 4, 5, 7, 8, 9, 11, 12, 13, 15, 16, 17, 19, 20, 21, 23, 24, 25, 27, 28, 29, 31}
48-49	24	{1, 2, 4, 5, 6, 8, 9, 10, 11, 13, 14, 15, 17, 18, 19, 21, 22, 23, 24, 26, 27, 28, 30, 31}
50-51	25	{1, 2, 4, 5, 6, 7, 9, 10, 11, 12, 14, 15, 16, 17, 18, 20, 21, 22, 23, 25, 26, 27, 28, 30, 31}
52-53	26	{1, 2, 3, 5, 6, 7, 8, 9, 11, 12, 13, 14, 15, 17, 18, 19, 20, 21, 23, 24, 25, 26, 27, 29, 30, 31}
54-55	27	{1, 2, 3, 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11, 13, 14, 15, 16, 17, 18, 19, 21, 22, 23, 24, 25, 26, 27, 29, 30, 31}
56-57	28	{1, 2, 3, 4, 5, 7, 8, 9, 10, 11, 12, 13, 14, 15, 17, 18, 19, 20, 21, 22, 23, 24, 25, 27, 28, 29, 30, 31}
58-59	29	{1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 9, 10, 11, 12, 13, 14, 15, 16, 17, 18, 19, 20, 21, 22, 23, 25, 26, 27, 28, 29, 30, 31}
60-61	30	{1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11, 12, 13, 14, 15, 17, 18, 19, 20, 21, 22, 23, 24, 25, 26, 27, 28, 29, 30, 31}
62-63	31	{1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11, 12, 13, 14, 15, 16, 17, 18, 19, 20, 21, 22, 23, 24, 25, 26, 27, 28, 29, 30, 31}

@Wutkh: ถ้าเห็นด้วยก็เสนอชุมชนต่อไปได้เลยครับ แต่หากมีข้อแก้ไขอย่างไรแจ้งมาได้เลย ผมคิดว่ายังไม่ต้องรีบเสนอ ไว้รวมปัญหาอุปสรรคที่พบและแนวทางแก้ไขอย่างอื่นไปพร้อมกันแล้วเสนอทีเดียว เพราะเสนอครั้งหนึ่งเราต้องรอ 2 สัปดาห์ / ยังมีอีกเรื่องที่ผมอยากผลักดันอยู่ใน คุยเรื่องมีเดียวิกิ:Sitenotice รอเวลาที่จะเสนอขึ้นในอนาคตอันใกล้หากมีผู้เห็นชอบด้วย

--Taweethaも (คุย) 11:54, 14 กรกฎาคม 2567 (+07)ตอบกลับ

@Taweetham ผมลองพิจารณาอีกครั้งและดูจำนวนวันตามคิวแล้วเห็นภาพกว้างขึ้นมากและเห็นชอบตามที่เสนอครับ ส่วนจะเสนอเมื่อใดขอให้ดูสถานการณ์การเพิ่มจำนวนบทความที่มีคุณภาพพอจะขึ้น DYK และผลตอบรับจากมุมอื่น ๆ ให้ครบถ้วนก่อน + ให้ประชาคมได้พิจารณาเรื่องอื่น ๆ ก่อน รวมทั้ง Sitenotice ตามที่ท่านได้เสนอมาครับ -- Wutkh (คุย) 14:18, 15 กรกฎาคม 2567 (+07)ตอบกลับ
@Wutkh: ขอบคุณมากครับ ตรงนี้พักไว้ก่อนนะครับ --Taweethaも (คุย) 21:27, 16 กรกฎาคม 2567 (+07)ตอบกลับ

เปลี่ยนชื่อ (จาก หัวข้อที่ถูกเสนอ เป็น เสนอรู้ไหมว่า)

เท่าที่กดดูประวัติทีละ 500 หน้าอย่างรวดเร็วและดูปูม พบว่า

  • มีการสร้างนี้เมื่อ 14:22, 30 November 2006‎ Manop (ไม่ปรากฏใน พิเศษ:ปูม)
  • ได้รับการเปลี่ยนชื่อเมื่อ 07:13, 6 August 2024 Taweetham talk contribs moved page วิกิพีเดีย:รู้ไหมว่า/หัวข้อที่ถูกเสนอ to วิกิพีเดีย:รู้ไหมว่า/เสนอรู้ไหมว่า [1]

หลักฐานการอภิปรายอยู่ในหน้าพูดคุยของผู้ใช้ หากไม่มีการคัดค้านให้เปลี่ยนแปลงภายในวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2567 (UTC+7) จะแก้ไขข้อความในหน้าที่ลิงก์มาเฉพาะในเนมสเปซหลักให้เป็นปัจจุบันต่อไป (หน้าเปลี่ยนทางคงไว้เหมือนเดิม) --Taweethaも (คุย) 07:17, 7 สิงหาคม 2567 (+07)ตอบกลับ

พิเศษ:บทความที่โยงมา/วิกิพีเดีย:รู้ไหมว่า/หัวข้อที่ถูกเสนอ มีเพียง 70 รายการในปัจจุบัน น่าจะแก้ไขได้ไม่ยากด้วยบอต/สคริปต์ --Taweethaも (คุย) 08:09, 8 สิงหาคม 2567 (+07)ตอบกลับ
ดำเนินการด้วย https://hub-paws.wmcloud.org/ + mw:Manual:Pywikibot/PAWS + คำสั่งดังต่อไปนี้
  1. pwb.py replace "วิกิพีเดีย:รู้ไหมว่า/หัวข้อที่ถูกเสนอ" "วิกิพีเดีย:รู้ไหมว่า/เสนอรู้ไหมว่า" -ns:2 -search:"รู้ไหมว่า"
  2. pwb.py replace "วิกิพีเดีย:รู้ไหมว่า/หัวข้อที่ถูกเสนอ" "วิกิพีเดีย:รู้ไหมว่า/เสนอรู้ไหมว่า" -ns:4 -search:"รู้ไหมว่า"
  3. pwb.py replace "วิกิพีเดีย:รู้ไหมว่า/หัวข้อที่ถูกเสนอ" "วิกิพีเดีย:รู้ไหมว่า/เสนอรู้ไหมว่า" -ns:10 -search:"รู้ไหมว่า"
  4. pwb.py replace "วิกิพีเดีย:รู้ไหมว่า/หัวข้อที่ถูกเสนอ" "วิกิพีเดีย:รู้ไหมว่า/เสนอรู้ไหมว่า" -ns:828 -search:"รู้ไหมว่า"

--Taweethaも (คุย) 13:45, 20 สิงหาคม 2567 (+07)ตอบกลับ

พิเศษ:บทความที่โยงมา/วิกิพีเดีย:รู้ไหมว่า/หัวข้อที่ถูกเสนอ ยังแสดงหน้าหลักอยู่และหน้าอีกจำนวนมากที่นำหน้าหลักไปแสดงผล ผมเข้าใจว่ารอ 24 ชม. ถึงจะเห็นผลเพราะว่าได้ purge ทั้งหน้าหลักและแม่แบบแล้วยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง --Taweethaも (คุย) 13:58, 20 สิงหาคม 2567 (+07)ตอบกลับ
 สำเร็จ @Tikmok: เข้าใจว่ารอหลังการแก้ไขไม่เกิน 30 นาทีรายการใน [[พิเศษ:บทความที่โยงมา/วิกิพีเดีย:รู้ไหมว่า/หัวข้อที่ถูกเสนอ] ก็หายหมดครับ / สรุปว่าจะเหลือข้อความเดิมในหน้าพูดคุยของผู้ใช้เป็นส่วนใหญ่รวม 31 รายการที่จะไม่แก้ไข --Taweethaも (คุย) 14:30, 20 สิงหาคม 2567 (+07)ตอบกลับ