ข้ามไปเนื้อหา

ครบรอบ 60 ปีสาธารณรัฐประชาชนจีน

พิกัด: 39°54′26.4″N 116°23′27.9″E / 39.907333°N 116.391083°E / 39.907333; 116.391083
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พิธีฉลองครบรอบ 60 ปีการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยตัวแทนจากทุกภาคส่วนของกรุงปักกิ่ง
首都各界庆祝中华人民共和国成立60周年大会
ประเภทการสวนสนามทางทหาร, ขบวนพาเหรดพลเรือน, งานแสดงดนตรีและการเต้นรำ
วันที่1 ตุลาคม ค.ศ. 2009
ความถี่เลือกปี[A]
ที่ตั้งถนนฉางอาน, จัตุรัสเทียนอันเหมิน, กรุงปักกิ่ง, ประเทศจีน
พิกัดภูมิศาสตร์39°54′26.4″N 116°23′27.9″E / 39.907333°N 116.391083°E / 39.907333; 116.391083
ช่วงปี75
ประเดิม1 ตุลาคม ค.ศ. 1949 (1949-10-01)
เหตุการณ์ก่อนหน้าครบรอบ 50 ปีสาธารณรัฐประชาชนจีน
เหตุการณ์ถัดไปครบรอบ 70 ปีสาธารณรัฐประชาชนจีน
ผู้เข้าร่วมรัฐบาลจีน, กองทัพปลดปล่อยประชาชน, ตำรวจติดอาวุธประชาชน, กองกำลังอาสาสมัคร, องค์กรและหน่วยงานอื่น ๆ
ผู้นำหู จิ่นเทา (ผู้นำสูงสุด)
ผู้มีชื่อเสียงฝาง เฟิงฮุย (ผู้บัญชาการสวนสนาม)
เว็บไซต์Xinhua
People's Daily
China Daily
การเฉลิมฉลองครบรอบ 60 ปีการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน
อักษรจีนตัวย่อ庆祝中华人民共和国成立60周年活动
อักษรจีนตัวเต็ม慶祝中華人民共和國成立60周年活動
ความหมายตามตัวอักษรการถ่ายทอดสดการแสดงสดฉลองครบรอบหกสิบปีการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน
การชุมนุมใหญ่
อักษรจีนตัวย่อ庆祝中华人民共和国成立60周年大会
อักษรจีนตัวเต็ม慶祝中華人民共和國成立60周年大會
ความหมายตามตัวอักษรการชุมนุมใหญ่เพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 60 ปีการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน

พิธีฉลองครบรอบ 60 ปีการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยตัวแทนจากทุกภาคส่วนของกรุงปักกิ่ง (จีน: 首都各界庆祝中华人民共和国成立60周年大会) จัดขึ้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 2009[2] มีการจัดพิธีสวนสนามทางทหาร ณ จัตุรัสเทียนอันเหมิน ในกรุงปักกิ่ง โดยมีกำลังพลเข้าร่วมกว่า 10,000 นาย พร้อมด้วยการแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ที่มีเทคโนโลยีขั้นสูงหลากหลายชนิด และมีการจัดงานเฉลิมฉลองทั่วประเทศ หู จิ่นเทา ผู้นำสูงสุดของจีนได้ตรวจพลสวนสนามตามถนนฉางอาน ในกรุงปักกิ่ง ทันทีหลังจากการสวนสนามทางทหารสิ้นสุดลง ได้มีการจัดขบวนพาเหรดพลเรือนตามมา โดยมีผู้เข้าร่วมจำนวนกว่า 100,000 คน

ภูมิหลัง

[แก้]
พิธีสวนสนามทางทหารครบรอบ 60 ปีถูกจัดขึ้นบนถนนฉางอาน หน้าประตูเทียนอัน

สาธารณรัฐประชาชนจีนก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1949 นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา มีการจัดงานเฉลิมฉลองในระดับต่าง ๆ กันเป็นประจำทุกปีในวันชาติ การสวนสนามทางทหารซึ่งมีประธานเหมา เจ๋อตง ประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีน เป็นประธานในพิธี ได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีระหว่างปี ค.ศ. 1949 ถึง 1959 ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1960 ผู้นำจีนได้มีตัดสินใจให้จัดพิธีฉลองวันชาติขนาดใหญ่ทุกสิบปี และขนาดเล็กทุกห้าปี เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณ[3] การเฉลิมฉลองขนาดใหญ่ครั้งสุดท้ายในยุคของเหมาเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1969 และไม่ได้ถูกจัดขึ้นตลอดระยะเวลา 14 ปีแห่งจุดสูงสุดของการปฏิวัติทางวัฒนธรรม[3] นับตั้งแต่นั้นมา การเฉลิมฉลองวันชาติที่โดดเด่นที่สุดได้เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1984 และ 1999 ซึ่งตรงกับวาระครบรอบ 35 ปี และ 50 ปีตามลำดับ ในระหว่างการเฉลิมฉลองดังกล่าว ผู้นำสูงสุดในขณะนั้นคือเติ้ง เสี่ยวผิง และเจียง เจ๋อหมิน ได้ทำการตรวจพลสวนสนามในพิธีสวนสนามของกองทัพปลดปล่อยประชาชน การสวนสนามในปี ค.ศ. 2009 นับเป็นครั้งแรกและครั้งสุดท้ายที่หู จิ่นเทาได้มีโอกาสเป็นประธานในการจัดงาน เนื่องจากเขาได้พ้นจากตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน (ผู้นำสูงสุดของประเทศ) ในปี ค.ศ. 2012 ตามวาระที่กำหนดไว้[4]

การเตรียมการ

[แก้]
ป้ายโฆษณาในเชินเจิ้นในเดือนสิงหาคม

บริษัท ปักกิ่ง ฟลาวเวอร์ แอนด์ทรีส์ คอร์ปอเรชัน ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ ได้จัดส่งกระถางดอกไม้จำนวน 40 ล้านกระถาง เพื่อนำไปประดับตกแต่งตามท้องถนนในกรุงปักกิ่ง โดยมีการปลูกดอกไม้จำนวนประมาณ 5 ล้านกระถางบริเวณถนนฉางอาน ซึ่งเป็นแกนกลางแนวตะวันออก–ตะวันตกของเมือง และเป็นที่รู้จักกันในชื่อ "ถนนแห่งสันติภาพนิรันดร์" ดอกไม้ในจัตุรัสเทียนอันเหมินถูกเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง โรงงานธงแดงจิงกง กรุงปักกิ่ง กำลังผลิตธงชาติจำนวน 2 ล้านผืนเพื่อใช้ในการเฉลิมฉลอง[5] ณ จัตุรัสเทียนอันเหมิน ได้มีการจัดสร้าง "เสาแห่งความสามัคคีของชาติ" จำนวน 56 ต้น ซึ่งแต่ละต้นเป็นสัญลักษณ์แทน 56 กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศจีน โดยภายในเสาแต่ละต้นนั้นได้บรรจุพลุไว้เพื่อใช้ในการแสดงแสงสีในยามค่ำคืนของวันที่ 1 ตุลาคม[6] อาสาสมัครจำนวน 800,000 คนได้รับมอบหมายให้ควบคุมฝูงชนและรักษาความสงบเรียบร้อย ขณะเดียวกัน อีก 30,000 คนก็ได้ให้บริการแปลภาษาที่สถานีรถไฟใต้ดินและสถานีรถประจำทาง[7]

ยุง หนู แมลงวัน และแมลงสาบ กลายเป็นเป้าหมายของการกำจัดโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการควบคุมแมลง มีการดำเนินการกำจัดอย่างเข้มงวดและลับ ๆ ถึงสี่ครั้งในช่วงกลางคืนบริเวณโดยรอบจัตุรัสเทียนอันเหมิน กรุงปักกิ่ง รวมทั้งภายในบริเวณพระราชวังต้องห้าม ประชาชนได้รับการส่งเสริมให้สนับสนุนการกำจัดผ่านป้ายคำขวัญสีแดงที่ติดตั้งตามท้องถนนและตรอกซอกซอยในกรุงปักกิ่ง ซึ่งหนังสือพิมพ์ไทมส์ได้เปรียบเทียบว่ามีความคล้ายคลึงกับการรณรงค์ปราบสี่ศัตรูพืช มีคำขวัญหนึ่งเขียนว่า "กำจัดสี่ศัตรูพืช เน้นสุขอนามัย สะอาด สดใส ต้อนรับวันชาติ!"[8]

จัตุรัสเทียนอันเหมินถูกปิดตลอดทั้งวันที่ 29 สิงหาคม เพื่อใช้ในการซ้อมใหญ่ครั้งแรก ผู้แสดงนับหมื่นคนสวมเครื่องแต่งกายเต็มยศได้ทำการซ้อมใหญ่ในวันที่ 16 กันยายน[9] กองทัพได้เตรียมกำลังพลและยุทโธปกรณ์ โดยมีการจัดขบวนยานยนนต์ทหารหลายร้อยคันเคลื่อนผ่านถนนฉางอันในวันที่ 6 กันยายน[10] ในวันที่ 18 กันยายน พื้นที่บางส่วนของกรุงปักกิ่งถูกปิดเพื่อดำเนินการซ้อมใหญ่ครั้งสุดท้าย เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการเคลียร์พื้นที่ถนนและอาคารสำนักงานบนถนนสายหลักบริเวณใกล้จัตุรัสเทียนอันเหมินตั้งแต่เวลาเที่ยงวันเพื่อเตรียมการสำหรับการซ้อมใหญ่ในช่วงค่ำของวันเหล่านั้น สื่อของรัฐได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการรายงานข่าวการฝึกซ้อมของทหารหลายพันนาย ซึ่งใช้เวลาถึงสี่เดือนในการฝึกเดินทัพอย่างเป็นระเบียบในสนามฝึกจำลองที่จำลองจากถนนฉางอาน พร้อมทั้งมีปรัมพิธีสำหรับผู้นำในการตรวจแถว[11] ภายหลังเกิดเหตุการณ์สับสนวุ่นวายจากการซ้อมใหญ่ ซึ่งส่งผลให้ต้องปิดการจราจรบนถนนและระบบรถไฟใต้ดินในกรุงปักกิ่งเป็นบริเวณกว้าง สำนักข่าวซินหัวได้ประกาศยกเลิกการซ้อมใหญ่ครั้งสุดท้ายซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 26 กันยายน[12]

การรักษาความปลอดภัย

[แก้]

หนังสือพิมพ์เดอะซันเดย์ไทมส์รายงานว่า "จะมีเจ้าหน้าที่จำนวนมากเข้าร่วมปฏิบัติการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด ซึ่งมากกว่าที่เคยใช้ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเมื่อปี ค.ศ. 2008"[13] ตำรวจในกรุงปักกิ่งและพื้นที่ใกล้เคียงได้อยู่ในภาวะเฝ้าระวังสูงสุด โดยมีการจัดชุดปฏิบัติการลาดตระเวนกลางคืนโดยกำลังตำรวจติดอาวุธตั้งแต่วันที่ 15 กันยายนจนถึงสิ้นสุดช่วงเทศกาล[5] อาคารทุกแห่งในเมืองที่มีชั้นใต้ดินต้องได้รับการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ ขณะเดียวกัน ร้านอาหารบางแห่งที่มีระเบียงดาดฟ้าก็ไม่ได้รับอนุญาตให้จัดที่นั่งสำหรับลูกค้าบริเวณด้านที่หันหน้าออกสู่ถนนตลอดระยะเวลาที่กำหนด[10] แม้จะมีการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวดในกรุงปักกิ่ง แต่ก็เกิดเหตุการณ์สะเทือนขวัญขึ้นในวันที่ 17 กันยายน เมื่อมีชายคนหนึ่งใช้อาวุธมีดก่อเหตุทำร้ายผู้อื่นเสียชีวิต 2 ราย และบาดเจ็บอีก 12 รายในใจกลางกรุงปักกิ่ง[14] ปีเตอร์ ฟอร์ด จากหนังสือพิมพ์เดอะคริสเตียนไซแอนซ์มอนิเตอร์ กล่าวว่าเหตุการณ์การแทงดังกล่าวได้รับการรายงานข่าวในวงจำกัดภายในประเทศ[15] หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าว มีการสั่งถอดมีดออกจากชั้นวางจำหน่ายในร้านค้าบางแห่ง เช่น วอลมาร์ต และคาร์ฟูร์[16][17]

เจ้าหน้าที่กึ่งทหารจำนวนมากถูกส่งไปประจำการบนสะพาน อุโมงค์ถนน และจุดยุทธศาสตร์อื่น ๆ ในเมือง[18] ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ได้รับการแจ้งเตือนว่าหากออกมาปรากฏตัวที่ระเบียงในเส้นทางดังกล่าว อาจมีความเสี่ยงที่จะถูกยิง[13] ผู้ที่มีบัตรเข้าชมจำนวน 30,000 คนได้รับเชิญให้เข้าร่วมชมงานนี้ แต่บางส่วนได้รับการแนะนำให้ชมการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจเกิดขึ้น[19]

หนังสือพิมพ์ไทมส์รายงานว่า หน่วยงานทางการได้ส่งหน่วยต่อต้านการก่อการร้ายและสายข่าวเข้าไปปฏิบัติการในพื้นที่ที่มีประชากรชาวมุสลิมอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากในเขตซินเจียง นอกจากนี้ยังได้มีการจับตาเฝ้าระวังพระสงฆ์ชาวทิเบต และจับกุมผู้เห็นต่างทางการเมืองอีกด้วย[13] ชาวนาที่เดินทางมายังเมืองหลวงเพื่อยื่นคำร้องร้องทุกข์ถูกขัดขวาง[13] รัฐบาลได้สั่งการให้ดำเนินการตรวจค้นรถทุกคันที่เข้าสู่เขตกรุงปักกิ่ง ปฏิบัติการรักษาความปลอดภัยที่กระทรวงความมั่นคงสาธารณะได้ริเริ่มในกรุงปักกิ่ง ยังรวมถึงมณฑลเหอเป่ย์ เหลียวหนิง ชานตง และฉ่านซี เขตปกครองตนเองมองโกเลียใน และเทศบาลนครเทียนจิน ได้รับการขนานนามว่า "คูเมืองแห่งความมั่นคง" โดยเจ้าหน้าที่ระดับสูง เจ้าหน้าที่ได้ให้สัมภาษณ์ว่า "ความปลอดภัยในการเฉลิมฉลองวันชาติจีนและความมั่นคงในกรุงปักกิ่งนั้นมีความสำคัญสูงสุด"[20] ตามรายงานของหนังสือพิมพ์เดอะไทมส์ ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตระบุว่ามีการควบคุมการตรวจพิจารณาอย่างเข้มงวดขึ้น เว็บไซต์หลายแห่งถูกปิดกั้น รวมถึงเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์[13] นักวิเคราะห์สื่อรายหนึ่งกล่าวว่า หน่วยงานรัฐบาลได้อัปเกรดเทคโนโลยีเพื่อปิดกั้นบริการพร็อกซีฟรีและพยายามปิดกั้นบริการพร็อกซีฟรีและ VPN ใด ๆ ในสัปดาห์ก่อนวันครบรอบ[21]

มาตรการรักษาความปลอดภัยอื่น ๆ ที่ดำเนินการประกอบด้วย การย้ายตู้ไปรษณีย์และแผงหนังสือพิมพ์ตามแนวถนนฉางอาน และการปิดหรือจำกัดการเปิดให้บริการของโรงแรมบางแห่งตามเส้นทางดังกล่าว ตัวอย่างเช่น โรงแรมปักกิ่ง โรงแรมปักกิ่งนิวส์พลาซา และโรงแรมนานาชาติปักกิ่ง โรงแรมอื่น ๆ บนถนนฉางอานได้ปิดห้องพักที่หันหน้าออกสู่ถนนสายหลักในช่วงการเฉลิมฉลอง[5]

สื่อมวลชน

[แก้]

รัฐบาลได้จัดตั้งศูนย์สื่อมวลชนขึ้น ณ โรงแรมมีเดียเซ็นเตอร์ ตั้งแต่วันที่ 22 กันยายน ถึง 2 ตุลาคม เพื่ออำนวยความสะดวกแก่บรรดาผู้สื่อข่าวที่ปฏิบัติหน้าที่รายงานข่าวการเฉลิมฉลอง รองผู้อำนวยการศูนย์ฯ จู โชวเฉิน ได้กล่าวว่า ศูนย์ฯ ได้รับใบสมัครจากผู้สื่อข่าวจำนวนกว่า 4,500 คนทั่วโลก รวมถึงผู้สื่อข่าวประมาณ 1,300 คนจากองค์กรสื่อ 346 แห่งใน 108 ประเทศ มีรายงานว่าเกือบ 400 คนมาจากฮ่องกง มาเก๊า และไต้หวัน[22]

ภาพยนตร์เรื่องมังกรสร้างชาติ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานกำกับดูแลภาพยนตร์ของจีน และผลิตโดยบริษัทไชนาฟีล์มกรุป (China Film Group หรือ CFG) เพื่อเฉลิมฉลองวาระครบรอบดังกล่าว ได้เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ทั่วประเทศในวันที่ 17 กันยายน ภาพยนตร์เรื่องนี้เล่าเรื่องราวการขึ้นสู่อำนาจและชัยชนะของพรรคคอมมิวนิสต์อีกครั้ง โดยมีนักแสดงชื่อดังมากมาย อาทิ จาง จื่ออี๋ เฉินหลง หลี่ เหลียนเจี๋ย และผู้กำกับชื่อดังอย่าง เจียง เหวิน เฉิน ข่ายเกอ และจอห์น วู มารับบทรับเชิญเป็นส่วนใหญ่ ส่วนบทบาทสำคัญเช่น เหมา เจ๋อตง นั้นตกเป็นของนักแสดงที่ไม่เป็นที่รู้จักนัก ประธาน CFG หัน ซานผิง ได้ร่วมกำกับภาพยนตร์เรื่องนี้กับหวง เจี้ยนซิน โฆษกของ CFG กล่าวว่า บรรดานักแสดงจำนวนมากได้ตอบรับคำเชิญของฮั่นในการเข้าร่วมแสดงในภาพยนตร์เรื่องนี้ และขอสละค่าตัว ทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้สามารถรักษางบประมาณที่ค่อนข้างจำกัดไว้ได้ที่ 60–70 ล้านหยวน (8.8–10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ตามที่ผู้บริหารของหนึ่งในเครือโรงภาพยนตร์ขนาดใหญ่ที่สุดของจีนกล่าวไว้ ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ผสมผสาน "แก่นแท้ของภาพยนตร์ที่สร้างแรงบันดาลใจด้านจริยธรรม" ซึ่งตามที่สำนักข่าวเอพีระบุไว้ หมายถึงภาพยนตร์โฆษณาชวนเชื่อที่ "เข้ากับรูปแบบเชิงพาณิชย์" อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน[23]

การสวนสนาม

[แก้]
ปืนใหญ่อัตตาจร PLZ-89 กำลังเคลื่อนผ่านศูนย์การค้าชินคงเพลซลักชูรี ในระหว่างการฝึกซ้อมที่ปักกิ่ง

ผู้นำ

[แก้]

นายหลิว ฉี เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนประจำเทศบาลกรุงปักกิ่ง เป็นพิธีกรในพิธีนี้ นายหู จิ่นเทา เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน และประธานคณะกรรมาธิการการทหารส่วนกลาง เป็นประธานในพิธี นอกจากนี้ สมาชิกคณะกรรมาธิการสามัญประจำกรมการเมืองทั้งหมดในขณะนั้น รวมถึงนายเจียง เจ๋อหมิน อดีตผู้นำ ได้ยืนอยู่บนพลับพลาเทียนอันเหมินตามลำดับชั้นทางพิธีการจนจบพิธี ผู้นำระดับสูงที่เกษียณอายุคนอื่น ๆ อาทิ นายหลี่ เผิง และนายจู หรงจี้ อดีตนายกรัฐมนตรี ตลอดจนนายเจิง ชิ่งหง อดีตรองประธานาธิบดี ก็ได้เข้าร่วมในงานนี้ด้วย

พิธีสวนสนามทางทหาร

[แก้]
HQ-9 ในพิธีสวนสนามครบรอบ 60 ปีของจีน

พิธีสวนสนามทางทหารถูกจัดขึ้นบนถนนฉางอาน โดยบรรดาผู้นำประเทศเป็นผู้ชมการสวนสนามจากบนพลับพลาเทียนอันเหมิน เหนือภาพเหมือนของประธานเหมา นายหู จิ่นเทาได้ตรวจพลสวนสนามขณะยืนอยู่บนรถยนต์หงฉี HQE ที่ออกแบบมาเป็นพิเศษสำหรับงานดังกล่าว โดยมีป้ายทะเบียนพิเศษ (京V 02009) สำหรับเฉลิมฉลองครบรอบในครั้งนี้ รัฐบาลจีนได้จัดสรรงบประมาณราว 44 ล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับการสวนสนามทางทหาร โดยมีการปรับลดงบประมาณบางส่วนอันเนื่องมาจากวิกฤตการณ์ทางการเงินโลกครั้งล่าสุด[ต้องการอ้างอิง] ในการสวนสนามครั้งนี้มีการแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์รุ่นใหม่จำนวน 52 ประเภท ซึ่งประกอบด้วย รถถังหลัก ZTZ99 เครื่องบินขับไล่ J-10 เครื่องบินเตือนภัยล่วงหน้า KJ-200 และ KJ-2000 เฮลิคอปเตอร์โจมตี Z-9W และปืนเล็กยาวจู่โจม Type 95 และ 03 รุ่นใหม่[24]

กองทัพน้อยปืนใหญ่ที่สอง (Second Artillery Corps) ได้นำขีปนาวุธชนิดใหม่ทั้งห้าชนิดออกมาแสดงในการสวนสนาม การแสดงกำลังของกองทัพน้อยปืนใหญ่ได้นำเสนอขีปนาวุธทั้งหมด 108 ลูก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นถึงขีดความสามารถในการยับยั้งเชิงยุทธศาสตร์ของจีน[25]

รายชื่อหน่วยทหารที่เข้าร่วมการสวนสนาม

[แก้]

ตามลำดับการปรากฏ:

รายชื่อยานยนต์ทหารที่เข้าร่วมการสวนสนาม

[แก้]
ยานรบสะเทินน้ำสะเทินบก ZBD2000 ในปักกิ่งในระหว่างการฝึกซ้อม

สื่อมวลชนของรัฐบาลจีนรายงานว่า ยุทโธปกรณ์ทั้งหมดที่จัดแสดงในพิธีสวนสนามนั้นผลิตขึ้นภายในประเทศทั้งหมด และในจำนวนดังกล่าว ร้อยละ 90 เป็นการนำเสนอต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรก ยุทโธปกรณ์ทั้งหมดได้ถูกจัดเรียงตามลำดับการปรากฏ โดยยุทโธปกรณ์ที่ปรากฏเป็นครั้งแรกจะถูกเน้นด้วยตัวอักษรหนา:

ขบวนพาเหรดพลเรือน

[แก้]

ขบวนรถแห่จำนวน 60 คัน ซึ่งนำเสนอเกี่ยวกับหัวข้อต่าง ๆ อาทิ "ความก้าวหน้าของมาตุภูมิ", "การพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์", "ความสำเร็จอันยอดเยี่ยม" และ "ประเทศจีนอันสวยงามและเจริญรุ่งเรือง" ได้เคลื่อนผ่านจัตุรัสเทียนอันเหมิน[26] รถแห่สิบคันล้อมรอบด้วยกลุ่มผู้เดินขบวนจำนวน 1,949 หรือ 2,009 คนต่อกลุ่ม โดยมีผู้เข้าร่วมเดินขบวนทั้งหมดเกินหนึ่งแสนคน รถแห่คนหนึ่งได้ประดับภาพเหมือนขนาดใหญ่ของเหมา เจ๋อตง ซึ่งตามมาด้วยรถแห่ที่ออกแบบคล้ายคลึงกัน โดยประดับภาพเหมือนขนาดใหญ่ของเติ้ง เสี่ยวผิง เจียง เจ๋อหมิน และหู จิ่นเทา ตามมาด้วยการนำเสนอคติพจน์ที่เป็นอุดมการณ์หลักของผู้นำแต่ละคน ได้แก่ แนวคิดของเหมา เจ๋อตง ทฤษฎีเติ้ง เสี่ยวผิง ทฤษฎีสามตัวแทน และแนวคิดการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ มีการนำบันทึกเสียงของผู้นำแต่ละคนมาเผยแพร่ผ่านลำโพง มีรถแห่ที่ชื่อว่า "หนึ่งโลก" ซึ่งประกอบด้วยชาวต่างชาติ 181 คนจาก 53 ประเทศเข้าร่วมด้วย[27]

รายชื่อขบวนแห่

[แก้]
  • โหมโรง
    • กองเกียรติยศ
    • ตราแผ่นดิน
  • ตอนที่ 1: การดิ้นรนและเริ่มต้น
    • ดิ้นรนในสายเลือด
    • สถาปนาจีนใหม่
    • แนวคิดของเหมา เจ๋อตง
  • ตอนที่ 2: การปฏิรูปและเปิดประเทศ
    • ทฤษฎีเติ้ง เสี่ยวผิง
  • ตอนที่ 3: สู่ศตวรรษใหม่
    • สู่ศตวรรษใหม่
  • ตอนที่ 4: จีนในฐานะมหาอำนาจที่กำลังผงาด
    • แนวคิดการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์

รายการคำขวัญแปรอักษร

[แก้]

เพลงประกอบ

[แก้]
พิธีสวนสนาม
  1. มาร์ชต้อนรับ (欢迎进行曲)
  2. อี้หย่งจฺวินจิ้นสิงฉฺวี่ (เพลงชาติสาธารณรัฐประชาชนจีน) (义勇军进行曲)
  3. มาร์ชกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน (中国人民解放军进行曲)
  4. มาร์ชตรวจพลสวนสนาม (检阅进行曲)
  5. กองทัพประชาชนภักดีต่อพรรค (人民军队忠于党)
  6. เพลงโรงเรียนนายร้อย (军校之歌)
  7. พันธกิจ (使命)
  8. เตรียมพร้อมอยู่เสมอ (时刻准备着)
  9. คนเป็นทหาร (当兵的人)
  10. มาร์ชสวนสนามกองทัพปลดปล่อยประชาชน (分列式进行曲)
  11. มาตุภูมิโปรดทบทวน (祖国,请检阅)
  12. มาร์ชยานเกราะ (战车进行曲)
  13. บทเพลงแห่งผู้พิทักษ์ผู้ภักดี (忠诚卫士之歌)
  14. มาร์ชทหารปืนใหญ่ (炮兵进行曲)
  15. กองทัพเรือประชาชนก้าวไปข้างหน้า (人民海军向前进)
  16. มาร์ชอำนาจทางทหาร (军威进行曲)
  17. มาร์ชกองทัพน้อยปืนใหญ่ที่สอง (第二炮兵进行曲)
  18. มาร์ชกองทัพอากาศกองทัพปลดปล่อยประชาชน (中国空军进行曲)
  19. ข้ารักฟ้าครามแห่งมาตุภูมิ (我爱祖国的蓝天)
ขบวนแห่พลเรือน
  1. สดุดีธงแดง (红旗颂)
  2. บูรพาแดง (东方红)
  3. ไม่มีพรรคคอมมิวนิสต์ก็ไม่มีประเทศจีนใหม่ (没有共产党就没有新中国)
  4. นิทานฤดูใบไม้ผลิ (春天的故事)
  5. เยาวชนเอ๋ย เยาวชน (青春啊青春)
  6. ก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ (走进新时代)
  7. ลำนำแห่งแยงซี (长江之歌)
  8. ธารา ขุนเขา (江山)
  9. วันนี้เป็นวันเกิดคุณ (ประเทศจีนของฉัน) (今天是你的生日)
  10. บนทุ่งหญ้าแห่งความหวัง (在希望的田野上)
  11. เราเหล่ากรรมกรมีพลัง (咱们工人有力量)
  12. เพลงดื่มฉลอง (祝酒歌)
  13. ธงแดงโบกสะบัด (红旗飘飘)
  14. เธอกับฉัน (我和你)
  15. ท่วงทำนองแห่งการเชื้อเชิญ (迎宾曲)
  16. รักชาติจีนของฉัน (爱我中华)
  17. นำทางประเทศจีน (领航中国)
  18. สู่การฟื้นฟู (走向复兴)
  19. เพลงสรรเสริญผู้บุกเบิกรุ่นเยาว์แห่งประเทศจีน (中国少年先锋队队歌)
  20. เสียงเพลงและรอยยิ้ม (歌声与微笑)
  21. สดุดีมาตุภูมิ (歌唱祖国)

การถ่ายทอดสด

[แก้]

สถานีวิทยุโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน (CCTV) เป็นผู้รับผิดชอบการถ่ายทอดสดงานเฉลิมฉลองวันชาติและการสวนสนามทางทหารตั้งแต่เวลา 08:00 น. ถึงเที่ยงวัน (ตามเวลาประเทศจีน) ทางช่อง CCTV-1, CCTV-3, CCTV-4, CCTV-7, CCTV-10, CCTV-12, ช่องข่าว CCTV, CCTV-HD และช่องเพลง CCTV รวมถึงการถ่ายทอดสดในภาษาอื่น ๆ (ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน อาหรับ และรัสเซีย ทางช่องภาษาต่างประเทศของแต่ละภาษา) ทั้งทางโทรทัศน์และออนไลน์ ช่อง CCTV-9 (ภาษาอังกฤษ) ได้ออกอากาศการถ่ายทอดสดงานเฉลิมฉลองซ้ำอีกครั้งในเวลา 16:00 น. 24:00 น. และ 7:00 น. ของวันที่ 2 ตุลาคม

สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศจีน (CNR) ดำเนินการกระจายเสียงครอบคลุมทั่วแผ่นดินใหญ่ทางช่อง CNR 1, 2, 3, 4 และ 9 รวมถึงฮ่องกงและมาเก๊าทางช่อง CNR 7 และไต้หวันทางช่อง CNR 5

งานกาล่าวันชาติ

[แก้]

ในช่วงค่ำของวันที่ 1 ตุลาคม ตั้งแต่เวลา 20.00 น. ถึง 22.00 น. ได้มีการแสดงคอนเสิร์ตดนตรีบรรเลงบทเพลงรักชาติ 28 เพลง พร้อมกับการแสดงประกอบของนักเต้นหลายร้อยคน ณ จัตุรัสเทียนอันเหมิน โดยมีการแสดงดอกไม้ไฟครั้งใหญ่สว่างไสวเหนือท้องฟ้า รายงานข่าวเบื้องต้นคาดการณ์ว่า การแสดงดอกไม้ไฟไฟครั้งนี้จะใช้พลุเป็นสองเท่าเมื่อเทียบกับพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเมื่อปี ค.ศ. 2008[ต้องการอ้างอิง] ผู้ชมสถานีโทรทัศน์ CCTV และผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลก สามารถรับชมการถ่ายทอดสดงานเฉลิมฉลองช่วงค่ำได้เช่นกัน

เพลงประกอบ

[แก้]
บทนำ มาตุภูมิของฉัน
บทที่ 1 มาตุภูมิอันยิ่งใหญ่
  1. ฉันรักประเทศจีน
  2. มาตุภูมิของเราคือสวนดอกไม้
  3. เพลงสรรเสริญ
  4. ซินเจียงเป็นสถานที่ที่ดี
  5. ข้าทาสที่ได้รับอิสระร้องเพลงอย่างภาคภูมิใจ
  6. เพลงดอกระฆัง
  7. ดอกไม้กับเยาวชน
  8. เพลงพื้นบ้านเปรียบเสมือนน้ำพุ
  9. สาวชาวเขาอาหลี่
  10. มาตุภูมิของเราคือสวนดอกไม้ (ต่างออกไปเล็กน้อย; ใช้ซ้ำเป็นบทสรุปของบท)
บทที่ 2 ถิ่นเกิดของเรา
  1. วันนี้เป็นวันเกิดของคุณ
  2. บนผืนดินแห่งความหวัง
  3. มาร์ชจีน
  4. โฉมใหม่ของมาตุภูมิของเรา
  5. เพลงดื่มอวยพร
  6. วันเวลาที่ดี
บทที่ 3 บนผืนแผ่นดินอันกว้างใหญ่
  1. ผู้สร้างที่ภาคภูมิใจ
  2. จีนวัยเยาว์
  3. มาพายเรือกันเถอะ
  4. จีนอันยิ่งใหญ่
  5. เพื่อนหนุ่มสาวมารวมตัวกัน
  6. พบกันอีกครั้งหลังยี่สิบปี
บทที่ 4 แสงตะวันอยู่ทุกหนแห่ง
  1. วิถีแห่งแสงตะวัน
  2. เส้นทางสู่การฟื้นฟู
  3. วอลซ์แห่งเยาวชนและมิตรภาพ
  4. ลำนำเพื่อมาตุภูมิ
  5. เราจับมือกันแน่น*
  6. แผ่นดินและบ้านของเรา*

(" * " หมายถึง การแปลชื่อเพลงที่แตกต่างไปจากการแปลอย่างเป็นทางการที่ CCTV กำหนดไว้)

เหรียญและแสตมป์ที่ระลึก

[แก้]

ธนาคารแห่งประเทศจีนได้ออกเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกทองคำ 3 ชนิดราคา และเงิน 2 ชนิดราคาในวันที่ 16 กันยายนเนื่องในวาระครบรอบ มีการออกเหรียญทองคำจำนวนทั้งสิ้น 60,700 เหรียญ ซึ่งมีมูลค่าหน้าเหรียญอยู่ที่ 10,000 หยวน 2,000 หยวน และ 100 หยวนตามลำดับ ในขณะเดียวกันก็มีการออกเหรียญเงินจำนวนทั้งสิ้น 106,000 เหรียญ ซึ่งมีมูลค่าหน้าเหรียญอยู่ที่ 300 หยวน และ 10 หยวนตามลำดับ เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกทั้งหมดที่ผลิตโดยโรงกษาปณ์เชินเจิ้นกั๋วเป่าและโรงกษาปณ์เฉิ่นหยาง และจัดจำหน่ายโดยบริษัท ไชนา โกลด์ คอยน์ อินคอร์ปอเรชัน จำกัด ถือเป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย[28]

ด้านหน้าของเหรียญประดับด้วยตราแผ่นดินจีนล้อมรอบด้วยดอกโบตั๋น ส่วนด้านหลังของมีการออกแบบที่หลากหลาย อาทิ รูปจรวด ดาวเทียม รถไฟความเร็วสูง และสนามกีฬาโอลิมปิกปักกิ่ง รูปแบบอื่น ๆ จะแสดงรูปประตูเปิด สะพาน หรือการพัฒนาเมือง มีอักษรจีนจารึกอยู่ว่า "เพื่อรำลึกถึงวันครบรอบ 60 ปีแห่งการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน 1949–2009"[28]

วันที่ 20 ตุลาคม ค.ศ. 2009 บริษัทไปรษณียภัณฑ์แห่งประเทศจีนได้ออกคอลเลกชันสแตมป์ชุดพิเศษจำนวน 3 ชุดเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองครบรอบ 60 ปี ได้แก่อัลบั้มแสตมป์สองเล่ม ราคาเล่มละ 380 หยวน และ 680 หยวนตามลำดับ และม้วนแสตมป์ ราคา 1,280 หยวน[29] ไปรษณีย์ฮ่องกงออกชุดแสตมป์ที่ระลึกจำนวน 6 ชุด และแผ่นแสตมป์ขนาดใหญ่ในวันที่ 1 ตุลาคม[30] แตกต่างจากแสตมป์ทั่วไป แสตมป์ชุดนี้มีรูปทรงคล้ายพัด เมื่อนำมาวางรวมกันจะเกิดเป็นรูปวงกลม (ดังที่ปรากฏในแผ่นที่ระลึก) การออกแบบภาพประกอบของแสตมป์ชุดนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากผลงานที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในการประกวด โดยแสตมป์ราคา 1.40 ดอลลาร์ฮ่องกงมีภาพอ่าววิกตอเรียและจัตุรัสเทียนอันเหมินประดับอยู่บนเฟืองสองอันที่ขบกัน แสตมป์ราคา 1.80 ดอลลาร์ฮ่องกงมีภาพธงชาติจีนปลิวไสวอยู่ข้างดอกโบฮีเนียที่เบ่งบาน แสตมป์ราคา 2.40 ดอลลาร์ฮ่องกงมีภาพสนามกีฬารังนก แสตมป์ราคม 2.50 ดอลลาร์ฮ่องกงมีภาพยานอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุม "เฉินโจว 7" ของจีน แสตมป์ราคา 3 ดอลลาร์ฮ่องกงมีภาพหอสักการะฟ้า และแสตมป์ราคา 5 ดอลลาร์ฮ่องกงมีภาพมังกรทองที่โผบินอยู่เหนือกำแพงเมืองจีน แผ่นแสตมป์ประกอบด้วยแสตมป์ทั้งหกดวง ซึ่งเรียงต่อกันเป็นวงกลมสมบูรณ์ โดยมีตัวเลข "6" อยู่ด้านข้าง เมื่อนำมารวมกันแล้วจะได้ตัวเลข "60" แผ่นแสตมป์ของฮ่องกงประกอบด้วยแสตมป์ราคา 5 ดอลลาร์ฮ่องกงจำนวน 2 ดวง พิมพ์ด้วยหมึกสีแดงตามแบบดั้งเดิมของจีน โดยดวงหนึ่งมีภาพกรุงปักกิ่ง และอีกดวงหนึ่งมีภาพเมืองวิกตอเรีย โดยมีตราแผ่นดินและพลับพลาเทียนอันเหมินปรากฏอยู่ทางด้านซ้าย และตราประจำเขตปกครองพิเศษปรากฏอยู่เหนือภาพทิวทัศน์ยามค่ำคืนของฮ่องกง[30]

การเฉลิมฉลองในต่างประเทศ

[แก้]
ตึกเอ็มไพร์สเตตสว่างไสวด้วยไฟสีแดงและสีเหลืองเนื่องในโอกาสครบรอบ 60 ปีสาธารณรัฐประชาชนจีน

ตึกเอ็มไพร์สเตต ในนครนิวยอร์ก ได้ประดับไฟสีแดงและสีเหลืองเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองในโอกาสดังกล่าว[31][32] ซึ่งการกระทำดังกล่าวได้ก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ รวมถึงจากนักการเมืองสหรัฐด้วย[33] แสงไฟเริ่มสว่างขึ้นในช่วงเย็นก่อนวันที่ 30 กันยายน และส่องสว่างตลอดทั้งวันที่ตามมา[32]

ในวันที่ 1 ตุลาคม ประเทศปากีสถาน ซึ่งเป็นทั้งพันธมิตรและประเทศเพื่อนบ้านของจีน ได้ออกแสตมป์ที่ระลึกมูลค่า 5 รูปี[34]

เหตุการณ์และการประท้วง

[แก้]

นักข่าวช่องเคียวโดถูกทำร้ายร่างกาย

[แก้]

วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2552 เจ้าหน้าที่ได้บุกเข้าไปทำร้ายร่างกายผู้สื่อข่าวของสำนักข่าวเคียวโดของญี่ปุ่น จำนวน 3 รายภายในห้องพักที่โรงแรมในกรุงปักกิ่ง ขณะที่พวกเขากำลังรายงานข่าวการซ้อมสวนสนาม[35][36] กระทรวงการต่างประเทศของจีนได้ออกแถลงการณ์ว่า ผู้สื่อข่าวเหล่านั้นไม่ได้ปฏิบัติตามประกาศที่ส่งไปยังองค์กรสื่อมวลชนต่าง ๆ เกี่ยวกับการห้ามทำข่าวการซ้อมสวนสนาม[35]

การประท้วงในฮ่องกง

[แก้]

ผู้ประท้วงราว 800 คน สวมใส่เสื้อผ้าสีดำและถือป้ายข้อความ ได้เข้าร่วมการชุมนุมประท้วงเพื่อเรียกร้องสิทธิมนุษยชน ซึ่งเริ่มต้นขึ้นที่สวนชาเตอร์ ใจกลางย่านเซนทรัลของฮ่องกง เกิดเหตุการณ์ปะทะขึ้นเมื่อกลุ่มผู้ประท้วงพยายามเคลื่อนย้ายโลงศพจำลองไปยังประตูทางเข้าของสำนักงานประสานงาน[37][38] วงดนตรีมายลิตเติลแอร์พอร์ต ได้แสดงเพลงชื่อ "I Love The Country, But Not The Party" (我愛郊野,但不愛派對) โดยใช้คำพ้องเสียงเพื่อสื่อถึงวาระครบรอบ 60 ปี ชื่อเพลงในภาษาจีนเมื่อแปลตรงตัวจะหมายถึง "Country" ในความหมายของพื้นที่ชนบท และ "Party" ในความหมายของการสังสรรค์ทางสังคม[39]

ดูเพิ่ม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. นับตั้งแต่การก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนขึ้นมาจนถึงปี ค.ศ. 2019 ประเทศได้จัดพิธีสวนสนามทหารฉลองวันชาติครั้งใหญ่ไปแล้ว 15 ครั้งในปี ค.ศ. 1949–1959, 1984, 1999, 2009 และ 2019[1]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 新中国历次大阅兵 [New China's previous grand military parades]. Chinese government web. Xinhua News Agency. 21 August 2009. สืบค้นเมื่อ 26 September 2019.
  2. "60th Anniversary of the People's Republic of China". China Daily.
  3. 3.0 3.1 "Wei Jianfeng: Looking back at 13 military parades since the founding of the PRC". 東方軍事 (Eastday) (ภาษาจีน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 September 2009. สืบค้นเมื่อ 16 September 2009.
  4. Sainsbury, Michael (1 October 2009). "China marks 60th anniversary of communist rule". The Australian. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 October 2009. สืบค้นเมื่อ 2 October 2009.
  5. 5.0 5.1 5.2 China Daily (15 September 2009). "Flowers decorate streets of Beijing". Sina.com.
  6. "'Pillars of National Unity' set up in Tian'anmen Square". China Daily. 15 September 2009.
  7. Ng, Grace (26 September 2009). "Excitement over China's N-Day". The Straits Times.
  8. Macartney, Jane (3 September 2009). "China wages war on pests before 60th anniversary of Communist rule". The Times. London.[ลิงก์เสีย]
  9. Xinhua (17 September 2009). "Rehearsal for National Day celebration held in Beijing". Sina.com.
  10. 10.0 10.1 AP (6 September 2009). "60th anniversary rehearsal". The Straits Times.
  11. Hutzler, Charles (19 September 2009). "Dry run: Beijing shuts early for parade practice". Associated Press.[ลิงก์เสีย]
  12. Blanchard, Ben (18 September 2009). "Beijing cancels National Day rehearsal after disruptions". Reuters.
  13. 13.0 13.1 13.2 13.3 13.4 Sheridan, Michael (27 September 2009). "China reaches out on 60th anniversary". The Sunday Times. London. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 November 2009.
  14. Branigan, Tania (17 September 2009). "Stabbings in Beijing ahead of National Day". The Guardian. London.
  15. Ford, Peter (17 September 2009). "China covers up Tiananmen knifing amid 60th anniversary security boost". The Christian Science Monitor.
  16. "Security overdrive as Beijing readies for show of a lifetime". The Standard. Associated Press. 22 September 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 October 2013.
  17. Trung Hoa "làm sạch" trung tâm thủ đô chuẩn bị lễ Quốc Khánh เก็บถาวร 1 ธันวาคม 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ในภาษาเวียดนาม)
  18. Wong, Yee Fong (19 September 2009). "China tightens security ahead of anniversary celebrations". Channel NewsAsia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 June 2011. สืบค้นเมื่อ 19 September 2009.
  19. "China set for mass celebrations". BBC News. 30 September 2009.
  20. Xinhua (23 September 2009). "Senior leader calls for all-inclusive Beijing security checks". Chinaviwew. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 November 2012.
  21. Barriaux, Marianne (1 October 2009). "Internet, dissidents under watch for China's National Day". The Sydney Morning Herald. AFP.
  22. Xinhua (22 September 2009). "China opens media center for coverage of 60th National Day celebrations". Chinaviwew. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 September 2009.
  23. Lee, Min (3 September 2009). "China injects star power into anniversary film". AP.[ลิงก์เสีย]
  24. "Six Most Anticipated 'New Weapons' in the National Day Parade". People's Daily. 23 September 2009.
  25. Zhongguo Xinwen She, "Second Artillery To Debut 5 New Strategic Missiles at National Day Parade", 28 September 2009.
  26. Foster, Peter (30 September 2009). "China celebrates 60th anniversary but the public isn't invited". The Daily Telegraph. London.
  27. Tong, Xiong (30 September 2009). "One day in Beijing, once in a lifetime". Xinhua. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 October 2009.
  28. 28.0 28.1 Xinhua (2 September 2009). "Central Bank to issue coins commemorating 60th anniversary of founding of New China". People's Daily.
  29. "Celebration of The 60th Anniversary of the Founding of the People's Republic of China". China National Philatelic Corporation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 January 2013. สืบค้นเมื่อ 30 September 2009.
  30. 30.0 30.1 "Special Stamp Issue – '60th Anniversary of the Founding of the People's Republic of China'". Hongkong Post Newsletter. September 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 October 2009. สืบค้นเมื่อ 27 September 2009.
  31. No author, 28 September 2009, Empire State Building turns red-yellow for China's 60th, AFP
  32. 32.0 32.1 Abrams, Joseph, 1 October 2009, Empire State Building Goes Red for Communist China, Sparking Protest, Fox News
  33. Some relevant sources include
  34. Xinhua (1 October 2009). "Pakistan issues postage stamp to mark 60th anniversary of new China". chinaview.cn. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 October 2009.
  35. 35.0 35.1 AFP (22 September 2009). "Assault on reporters regretted". The Straits Times.
  36. AP (18 September 2009). "Chinese authorities assault 3 Kyodo News journalists in Beijing".
  37. The Australian. "Hong Kong activists urge human rights. เก็บถาวร 7 ตุลาคม 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน." The Australian Retrieved on 6 October 2009.
  38. Yahoo.com. "Yahoo.com เก็บถาวร 5 ตุลาคม 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน." 陶君行戴上手銬抬走. Retrieved on 6 October 2009.
  39. YouTube: I love the Country, but not the Party

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]