ข้ามไปเนื้อหา

คำพ้องเสียง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ป้ายภาษาอังกฤษเขียนว่า Trespassers will be shot on site. ('ผู้บุกรุกจะถูกยิงในสถานที่') แทนที่จะเขียนว่า Trespassers will be shot on sight. ('ผู้บุกรุกจะถูกยิงทันทีที่เห็น') ทั้งนี้ คำ site เป็นคำพ้องเสียงของคำ sight

คำพ้องเสียง (อังกฤษ: homophone) คือคำที่ออกเสียงเหมือนกัน (ในระดับต่าง ๆ) กับอีกคำหนึ่ง แต่มีความหมายต่างกัน คำพ้องเสียงอาจสะกดเหมือนกัน เช่น มัน ('คำใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง') และ มัน ('มีรสอย่างรสกะทิหรืออย่างถั่วลิสงคั่ว') หรือสะกดต่างกัน เช่น หาญ ('กล้า') และ หาร ('แบ่งส่วนเท่า ๆ กัน') ศัพท์ "พ้องเสียง" ยังอาจใช้กับหน่วยที่ยาวหรือสั้นกว่าคำ เช่น วลี ตัวอักษร หรือกลุ่มตัวอักษรที่ออกเสียงเหมือนกับวลี ตัวอักษร หรือกลุ่มตัวอักษรอื่น

คำพ้องเสียงที่สะกดเหมือนกันถือเป็นทั้งคำพ้องรูป (homograph) และคำพ้องรูปพ้องเสียง (homonym) ด้วย[1]

ตัวอย่างในภาษาไทย

[แก้]

คำพ้องเสียงในภาษาไทยนั้นมีไม่มากนัก เช่น

เสียง รูปเขียนความหมายที่หนึ่ง ความหมายที่หนึ่ง รูปเขียนความหมายที่สอง ความหมายที่สอง
/mān/ มัน 'คำใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง' มัน 'มีรสอย่างรสกะทิหรืออย่างถั่วลิสงคั่ว'
/kòt/ กด 'ใช้กำลังดันให้ลง' กช 'ดอกบัว'
/kʰâ:/ ค่า 'จำนวนเงินที่เป็นราคาสิ่งของหรือบริการ' ฆ่า 'ทำให้ตาย'
/kʰān/ ครรภ์ 'ท้อง' (ใช้แก่หญิงที่มีลูกอยู่ในท้องของเธอ) คันธ์ 'กลิ่น'
/rót/ รด 'ราดของเหลวไปยังสิ่งใดสิ่งหนึ่ง' รถ 'ยานที่มีล้อสำหรับเคลื่อนไป'
/hǎ:n/ หาญ 'กล้า' หาร 'แบ่งส่วนเท่า ๆ กัน'
/t͡ɕān/ จันทร์ 'ชื่อวันที่สองของสัปดาห์' จันทน์ 'ชื่อพรรณไม้หอมบางชนิด'
/wān/ วัน 'ระยะเวลายี่สิบสี่ชั่วโมง' วรรณ 'สี'
/kān/ กัน 'คำต่อท้ายกริยาเพื่อบอกว่า กระทำกริยานั้นร่วมกันตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป' กรรณ 'ใบหู'
/pi/ พี่ 'บุคคลที่เกิดก่อน, เรียกคนที่อายุมากกว่าเรา' ผี้ว์ 'ผิว่า,แม้ว่า'
/rak/ รัก 'ชอบพอ' รักษ์ 'ดูแล, รักษา'

อ้างอิง

[แก้]
  1. ตามความหมายอย่างแคบของคำ homonym กล่าวคือ เป็นคำที่สะกดและออกเสียงเหมือนกัน อย่างไรก็ตาม homonym ตามความหมายกว้าง ๆ ซึ่งพบบ่อยในบริบทที่ไม่ใช่เรื่องเฉพาะทาง คือ คำที่สะกดหรือออกเสียงเหมือนกัน ตามนิยามนี้ homophone ทั้งหมด (ไม่ว่าจะสะกดเหมือนกันหรือไม่) จะเป็นคำพ้องรูปพ้องเสียง Random House Unabridged Dictionary entry for "homonym" at Dictionary.com