ข้ามไปเนื้อหา

ก้าวแรกสู่สังเวียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ก้าวแรกสู่สังเวียน
はじめの一歩
ชื่อภาษาอังกฤษFighting Spirit
แนว
มังงะ
เขียนโดยโจจิ โมริกาวะ
สำนักพิมพ์ประเทศญี่ปุ่น โคดันชะ
วางจำหน่ายตั้งแต่2532ปัจจุบัน
จำนวนเล่ม142 เล่ม
อนิเมะ
ก้าวแรกสู่สังเวียน : The Fighting!
กำกับโดยซาโตชิ นิชิมูระ
สตูดิโอประเทศญี่ปุ่น แมดเฮาส์
ฉาย ประเทศญี่ปุ่น 3 ตุลาคม 2543 27 มีนาคม 2545
ประเทศไทย 1 พฤศจิกายน 2548 - 30 กรกฎาคม 2549
อนิเมะ
แชมเปี้ยนโร้ด
กำกับโดยซาโตชิ นิชิมูระ
สตูดิโอประเทศญี่ปุ่น แมดเฮาส์
อนิเมะ
มาชิบะ ปะทะ คิมูระ
กำกับโดยฮิโตชิ นัมบะ
สตูดิโอประเทศญี่ปุ่น แมดเฮาส์
ฉาย5 กันยายน 2546
อนิเมะ
ก้าวแรกสู่สังเวียน : New Challenger
กำกับโดยชิชิโด จุน
สตูดิโอประเทศญี่ปุ่น แมดเฮาส์
ฉาย ประเทศญี่ปุ่น 6 มกราคม 2552 30 มิถุนายน 2552
ประเทศไทย 2554

ก้าวแรกสู่สังเวียน (ญี่ปุ่น: はじめの一歩โรมาจิHajime no Ippo; อังกฤษ: Fighting Spirit) เป็นการ์ตูนญี่ปุ่นแนวมวย เขียนและวาดภาพประกอบโดยโจจิ โมริกาวะ เรื่องนี้ได้รับการตีพิมพ์เป็นตอนโดยสำนักพิมพ์โคดันชะลงในโชเน็นแม็กกาซีน นิตยสารแนวโชเน็งตั้งแต่เดือนตุลาคม 1989 และมีการรวบรวมเป็นฉบับรวมเล่ม (ทังโกบง) ทั้งหมด 142 เล่ม ณ เดือนธันวาคม 2024 เรื่องราวนี้เป็นเรื่องราวของ อิปโป มาคุโนะอุจิ นักเรียนมัธยมปลายในช่วงที่เขาเริ่มต้นอาชีพนักมวย และเมื่อเวลาผ่านไป เขาก็คว้าแชมป์ต่าง ๆ มากมาย และเอาชนะคู่ต่อสู้ไปได้หลายคน

ส่วนฉบับอนิเมะ เริ่มออกอากาศที่ญี่ปุ่น ทางสถานีนิปปอนทีวี ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2543 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2545 มีความยาวทั้งสิ้น 76 ตอน หลังจากนั้นก็ยังมีการสร้างตอน "แชมเปี้ยนโร้ด" ซึ่งเป็นภาคพิเศษออกฉายทางโทรทัศน์ และตอน "มาชิบะ ปะทะ คิมูระ" ออกจำหน่ายในรูปแบบ OVA (โอวีเอ) ด้วย สำหรับในประเทศไทย เคยออกอากาศทางโมเดิร์นไนน์ ทีวีตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 ถึง 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 ในรายการโมเดิร์นไนน์ การ์ตูน เวลา 9.30-10.00 น. และออกจำหน่ายในรูปแบบวีซีดี โดย TIGA ในชื่อรายการ MCOT Dexclub ทุกเช้าวันเสาร์ - อาทิตย์ เวลา 6.00 น. - 6.30 น. เริ่มเร็วๆ นี้ ฉายทางช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี

เรื่องย่อ

[แก้]

อิปโป เป็นเด็กหนุ่มลูกชาวประมงที่ทั้งกตัญญูและขยันขันแข็ง ก่อนไปโรงเรียนเขาจะช่วยแม่ทำงาน และเมื่อกลับจากโรงเรียนก็จะรีบกลับมาช่วยแม่จัดของลงเรือทุกวัน ทำให้อิปโปไม่ค่อยมีเพื่อน บวกกับความที่มีนิสัยขี้ขลาด อ่อนแอ ไม่สู้คน เขาจึงมักจะถูกเพื่อนในชั้นเรียนรังแกอยู่เสมอ

ชีวิตของอิปโปดำเนินเป็นวัฏจักรเช่นนี้มาตลอด จนกระทั่งวันหนึ่ง เมื่อ ทากามูระ มาโมรุ ได้เข้ามาช่วยเหลือในขณะที่เขากำลังถูกรังแก อิปโปรู้สึกประทับใจในความเก่งกาจของทากามูระ และฝันอยากจะชกมวยอย่างทากามูระบ้าง แม้เส้นทางสู่การเป็นนักมวยของเขาจะไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ แต่อย่างน้อยอิปโปก็รู้แล้วว่าสิ่งที่ตนเองรักและต้องการที่จะทำที่สุดนั้น ไม่มีอย่างอื่นอีกแล้วนอกจาก มวย

สื่อ

[แก้]

มังงะ

[แก้]

เขียนและวาดภาพประกอบโดยโจจิ โมริกาวะ ก้าวแรกสู่สังเวียน ได้รับการตีพิมพ์ใน โชเน็นแม็กกาซีน ของสำนักพิมพ์โคดันชะตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม 1989[2] มังงะเรื่องนี้ได้ตีพิมพ์มาแล้วกว่า 30 ปี[3] และได้ตีพิมพ์ถึงตอนที่ 1,000 ในเดือนธันวาคม 2012[4] กลายเป็นหนึ่งในซีรีส์มังงะที่ตีพิมพ์ยาวนานที่สุด โดยมีตอนมากกว่า 1,400 ตอนในญี่ปุ่นในปี 2022 โคดันชะได้จัดทำเป็นฉบับรวมเล่ม (ทังโกบง) เล่มแรกได้รับการตีพิมพ์เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 1990[5] ณ วันที่ 17 กรกฎาคม 2024 ได้ตีพิมพ์ไปแล้ว 141 เล่ม[6] ในเดือนมิถุนายน 2021 มีการประกาศว่ามังงะเรื่องนี้จะมีการเผยแพร่ทางดิจิทัลเป็นครั้งแรกในรอบ 33 ปีนับตั้งแต่การตีพิมพ์ โดยเริ่มในวันที่ 1 กรกฎาคมของปีเดียวกัน[7]

โคดันชะเริ่มเผยแพร่ในรูปแบบดิจิทัลเป็นภาษาอังกฤษบนบริการ K Manga โดยวางจำหน่าย 10 เล่มแรก (87 ตอน) ในเดือนกันยายน 2023 และมีวางจำหน่ายตอนใหม่ทุกสัปดาห์[8][9]

อนิเมะ

[แก้]

ก้าวแรกสู่สังเวียน ถูกดัดแปลงเป็นแฟรนไชส์อนิเมะ ซีรีส์อนิเมะทางโทรทัศน์ความยาว 75 ตอน ผลิตโดยแมดเฮาส์, นิปปงทีวี และ VAP กำกับโดยซาโตชิ นิชิมูระ ออกอากาศทางนิปปงทีวีระหว่างวันที่ 4 ตุลาคม 2000 ถึง 27 มีนาคม 2002[10] ตอนต่างๆ ได้ถูกรวบรวมเป็นดีวีดีจำนวน 25 แผ่นที่ออกโดย VAP ตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2001 ถึงวันที่ 21 มีนาคม 2003[11][12] ดีวีดีชุดสุดท้ายประกอบด้วยตอนพิเศษที่ไม่ได้ออกอากาศในญี่ปุ่น ตอนที่ 76[12] ภาพยนตร์โทรทัศน์เรื่อง Hajime no Ippo: Champion Road ออกอากาศเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2003[13] ออริจินัลวิดีโอแอนิเมชัน (OVA) ชื่อ Hajime no Ippo Mashiba vs. Kimura ออกฉายเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2003[14]

ซีซั่นที่สองชื่อว่า Hajime no Ippo: New Challenger ออกอากาศทางนิปปงทีวีตั้งแต่วันที่ 6 มกราคมถึง 30 มิถุนายน 2009[15][16]

ในปี 2009 ริกิยะ โคยามะ ผู้พากย์เสียงมาโมรุ ทากามูระ เปิดเผยบนบล็อกของเขาว่ากำลังมีแผนสร้างภาคต่อของซีรีส์อนิเมะทางโทรทัศน์เรื่อง Hajime no Ippo: New Challenger ในตอนท้ายของบล็อกของเขา เขาเขียนว่า "แน่นอนว่าเรากำลังวางแผนสร้างภาคต่อด้วย!!"[16] ในเดือนกรกฎาคม 2013 มีรายงานจากนิตยสาร โชเน็นแม็กกาซีน ฉบับที่ 34 ของปีนั้นว่า ก้าวแรกสู่สังเวียน ซีซั่นที่ 3 จะออกอากาศในปี 2013[17][18] ซีซั่นที่ 3 ชื่อว่า Hajime no Ippo: Rising ออกอากาศทั้งหมด 25 ตอนตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2013 ถึง 29 มีนาคม 2014[19][20] Hajime no Ippo: Rising ได้รับการสตรีมบน Crunchyroll[21]

ในอเมริกาเหนือ ซีซั่นแรกได้รับการเผยแพร่โดย Geneon Entertainment ในปี 2003 ซึ่งเปิดตัวภายใต้ชื่อ Fighting Spirit[22] Geneon จัดจำหน่าย Fighting Spirit ในรูปแบบดีวีดี 15 แผ่น โดยแต่ละแผ่นมี 5 ตอน ดีวีดีชุดแรกออกจำหน่ายเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2004 และชุดที่ 15 ออกจำหน่ายเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2006[23][24] ดีวีดีมีทั้งภาษาอังกฤษและภาษาสเปน รวมทั้งภาษาญี่ปุ่นต้นฉบับด้วย ภาพยนตร์โทรทัศน์เรื่อง Champion Road ออกอากาศในอเมริกาเหนือเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2007[25] ไม่มีแผนที่จะออกอากาศ OVA, Mashiba vs. Kimura เนื่องจากยอดขายแผ่นดีวีดีของซีรีส์ชุดนี้ไม่ค่อยดีนัก[26] ในเดือนกันยายน 2020 Discotek Media ประกาศว่าพวกเขาได้รับลิขสิทธิ์ในซีรีส์มังงะเรื่องนี้ รวมถึงตอนทั้ง 76 ตอน, Champion Road และ OVA Mashiba vs. Kimura ที่ออกอากาศเป็นครั้งแรกในอเมริกาเหนือ[27] แผ่นบลูเรย์ชุดแรก (ตอนที่ 1–24) วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2021[28] ชุดที่สอง (ตอนที่ 25–48) วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2021[29]

ตัวละครในภาคอนิเมะ

[แก้]

ตัวละครหลัก

[แก้]
  • มาคุโนอุจิ อิปโป (幕内)
เกิดวันที่ 23 พฤศจิกายน ค.ศ. 1973 กรุ๊ปเลือด O นักชกรุ่นเฟเธอร์เวท สังกัดค่ายคาโมงาวะ ในอดีตเคยเป็นเด็กหนุ่มที่มีนิสัยขี้ขลาด แต่เมื่อเขาพบว่า มวย คือสิ่งที่เขารัก เขาก็ทุ่มเทให้กับมันอย่างสุดกำลัง อิปโปเป็นนักมวยที่มีความทรหดสูง และมีช่วงล่างที่แข็งแกร่ง ทำให้พลังหมัดของเขามีความหนักหน่วงมาก การชกของอิปโปจึงจบลงด้วยการ KO เสมอ ท่าไม้ตายของของเขาคือ เด็มพ์ซี่ย์โรลในภายหลังได้พัฒนาไปเป็น เด็มพ์ซี่ย์โรลฉบับเปลี่ยนแปลง(ตามปกติเด็มพ์ซี่ย์โรลจะใช้แรงเหวี่ยงร่างกายท่อนบนเป็นรูปเลขแปดแล้วระดมต่อยหมัดฮุคซ้ายขวาใส่คู่ต่อสู้แต่เมื่อถูกคู่ต่อสู้หลายๆคนจับทางได้อิปโปจึงได้เปลี่ยนรูปแบบของ เด็มพ์ซี่ย์โรลให้มีหมัดกาเซลพั้นช์เพิ่มเข้าไปด้วยโดยเพิ่มแรงส่งจากร่างกายช่วงล่างทำให้พลังทำลายสูงขึ้นแต่ก็เป็นผลเสียต่อร่างกายของอิปโปเองหากใช้บ่อยเกินไป) (CV:คิยาสึ โคเฮ)
  • คาโบงาวะ เก็นจิ (鴨川源二)
เกิดวันที่ 15 มกราคม ค.ศ. 1917 กรุ๊ปเลือด A เจ้าของค่ายคาโมงาวะ แม้จะเป็นคนที่ค่อนข้างหัวแข็งและหัวโบราณ แต่ก็มีความรู้ทางทฤษฎีมวยสูง เป็นที่เคารพรักของลูกค่ายทุกคน (CV:อุสึมิ เคนจิ)
  • ทาคามูระ มาโมรุ (鷹村 守)
เกิดวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1969 กรุ๊ปเลือด O นักชกรุ่นมิดเดิ้ลเวท สังกัดค่ายคาโมงาวะ เป็นคนแรกที่มองเห็นแววนักมวยในตัวอิปโป แม้ปกติจะมีนิสัยทะลึ่งลามก และชอบพาลคนอื่นโดยไร้เหตุผล แต่สำหรับเรื่องมวยแล้ว เรียกได้ว่าเข้าขั้นอัจฉริยะ ทากามูระเป็นนักชกที่มีพลังหมัดหนักหน่วงและมีความทรหดสูง ทำสถิติชนะน็อกมาตลอดตั้งแต่ขึ้นชกครั้งแรก และเป็นนักมวยคนแรกของค่ายคาโมงาวะที่ได้เข็มขัดแชมป์โลก 2 รุ่น คือรุ่น จูเนียร์มิดเดิลเวท และรุ่นมิดเดิ้ลเวท (CV:โคยามะ ริกิยะ)
  • มิยาตะ อิจิโร่ (宮田一郎)
เกิดวันที่ 27 สิงหาคม ค.ศ. 1973 กรุ๊ปเลือด A นักชกรุ่นเฟเธอร์เวท สังกัดค่ายคาวาฮาระ นักมวยอัจฉริยะผู้มีลีลาการชกอันแสนสง่างาม คู่แข่งตลอดกาลของอิปโป แรกเริ่มสังกัดค่ายคาโมงาวะ แต่หลังจากพ่ายแพ้แก่อิปโปในการชกซุปเปอร์ริงก์ ก็ได้ย้ายไปอยู่ค่ายคาวาฮาระ ท่าไม้ตายคือ หมัดเคานเตอร์ (CV:เซกิ โทโมคาสึ)
  • อาโอกิ มาซารุ (青木 勝)
เกิดวันที่ 9 กันยายน ค.ศ. 1971 กรุ๊ปเลือด B นักชกรุ่นไลท์เวท สังกัดค่ายคาโมงาวะ เป็นทั้งเพื่อนสนิทและคู่แข่งของคิมูระ อนาคตอยากเปิดกิจการร้านราเมง ตอนนี้จึงชกมวยไปด้วยและทำงานพิเศษที่ร้านราเมงไปด้วยเพื่อเก็บเงินมาลงทุนเปิดร้าน ท่าไม้ตายคือ หมัดกบกระโดด (CV:ทาคางิ วาตารุ)
  • คิมูระ ทัตสึยะ (木村達也)
เกิดวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 1971 กรุ๊ปเลือด A นักชกรุ่นจูเนียร์ไลท์เวท สังกัดค่ายคาโมงาวะ เป็นทั้งเพื่อนสนิทและคู่แข่งของอาโอกิ มีนิสัยค่อนข้างใจเย็น จึงมักจะเป็นคนคอยห้ามปรามเวลาพรรคพวกมีเรื่องทะเลาะกันอยู่เสมอ ท่าไม้ตายคือ ดราก้อนฟิชโบลว์ ซึ่งได้ไอเดียมาจากการกระโดดของปลามังกรที่ตัวเองเลี้ยงไว้ (CV:ฟุจิวาระ เคจิ)
  • ยางิ ฮารุฮิโกะ (八木晴彦)
เกิดวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 1949 กรุ๊ปเลือด AB ผู้จัดการค่ายคาโมงาวะ มีฝีมือในการตกปลามาก (CV:นาคาจิมะ โทชิฮิโกะ)
  • อิตางากิ มานาบุ นักชกรุ่นเฟเธอร์เวท สังกัดค่ายคาโมงาวะ เป็นนักชกที่อยู่รุ่นเดียวกับอิปโป มาอยู่ค่ายเดียวกับอิปโปเพราะนับถือในฝีมือของอิปโปมาก มีนิสัยร่าเริง และมีความสามารถในเชิงชกระดับอัจฉริยะเนื่องจากมีประสาทสัมผัสที่เหนือกว่านักชกคนอื่นๆจึงสามารถหลบหมัดคู่ต่อสู้ได้อย่างง่ายดาย ท่าไม้ตายคือหมัดเม่น (หมัดที่รัวใส่คู่ต่อสู้อย่างรวดเร็วและแม่นยำเหมือนการสลัดขนของเม่น)

ตัวละครอื่นๆ (นักมวย)

[แก้]
  • ยามาดะ นาโอมิจิ (山田直道)
เกิดวันที่ 3 ธันวาคม ค.ศ. 1974 กรุ๊ปเลือด B นักชกรุ่นจูเนียร์เวลเทอร์ สังกัดค่ายคาโมงาวะ (ภายหลังย้ายไปสังกัดสมาคมมวยฮาจิโนเฮะ ที่อาโอโมริ) ได้ฉายาว่า เจ้าอ้วก เนื่องจากเวลาที่เหนื่อยมากๆ มักจะอาเจียนอยู่บ่อยๆ ให้ความเคารพและนับถือในตัวอิปโปมาก ภายหลังได้ย้ายออกไปจากค่ายคาโมงาวะและต่อมาไม่น่าเชื่อว่าภายหลังเขาจะกลายมาเป็นผู้ท้าชิงแชมป์ญี่ปุ่นรุ่นเฟเธอร์เวทของอิปโปในนามที่ชื่อว่า Hammer Nao (CV:ซากางุจิ ไดสุเกะ)
  • โอดะ ยูซึเกะ (小田裕介)
เกิดวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1970 กรุ๊ปเลือด B นักชกรุ่นเฟเธอร์เวท สังกัดค่ายนิชิคาว่า คู่แข่งในการชกครั้งแรกของอิปโป ในอดีตเคยเป็นนักชกฝีมือดีคนหนึ่ง แต่เนื่องจากหลงระเริงในชื่อเสียง ไม่ค่อยสนใจที่จะฝึกซ้อมมวยเท่าไหร่นัก ทำให้ฝีมือการชกตกต่ำจนพ่ายแพ้มาหลายครั้ง แต่หลังจากที่ชกกับอิปโป เขาก็สำนึกตัวได้ และกลับมาตั้งใจฝึกซ้อมอีกครั้ง (CV:คันนะ โนบุโตชิ)
  • ฟูจิวาระ โยชิโอะ (藤原義男)
เกิดวันที่ 13 ตุลาคม ค.ศ. 1972 กรุ๊ปเลือด A นักชกรุ่นเฟเธอร์เวท สังกัดค่ายมาเอดะ คู่แข่งในการชกครั้งที่ 2 ของอิปโป ฝีมือการชกไม่โดดเด่นนัก แต่ชำนาญทางด้านการเอาหัวโขกมากกว่า (CV:ทาจิกิ ฟูมิฮิโกะ)
  • เจสัน โอซึมะ (ジェイソン・尾妻)
เกิดวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 1971 กรุ๊ปเลือด B นักชกรุ่นเฟเธอร์เวท สังกัดสมาคมมวยฮาจิโนเฮะ คู่แข่งคนแรกของอิปโปในศึกชิงแชมป์นักชกหน้าใหม่ภาคตะวันออก เป็นทหารอเมริกันที่ถูกส่งตัวมาประจำการที่ฐานทัพในอาโอโมริ มีหมัดฮุคซ้ายขวาที่หนักหน่วงมาก (CV:โคบายาชิ มาซาฮิโระ)
  • โคบาชิ เคนตะ (小橋健太)
เกิดวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ. 1973 กรุ๊ปเลือด O นักชกรุ่นเฟเธอร์เวท สังกัดค่ายโอทากิ เป็นนักชกที่ไม่มีเทคนิคอะไรที่โดดเด่น พลังหมัดก็ไม่หนักหน่วง แต่สามารถเอาชนะคะแนนนักชกคนอื่นๆมาได้ด้วยการเข้ากอด และแย็ปสกัดเพื่อไม่ให้คู่ชก ชกในสไตล์ที่ตัวเองถนัดได้ รวมทั้งมีท่าบล็อกกากบาททำให้หมัดของคู่ชกย้อนกลับมา (CV:มัตสึโนะ ไทกิ)
  • ฮายามิ ริวอิจิ (速水龍一)
เกิดวันที่ 23 ธันวาคม ค.ศ. 1972 กรุ๊ปเลือด O นักชกรุ่นเฟเธอร์เวท สังกัดค่ายโอโตวะ นักชกรูปหล่อขวัญใจสาวๆ อดีตแชมป์ระดับอินเตอร์ไฮ เป็นตัวเก็งคนหนึ่งในศึกชิงแชมป์นักชกหน้าใหม่ภาคตะวันออก ท่าไม้ตายคือหมัดชุดที่เรียกว่า ช็อตกัน (CV:สึจิทานิ โคจิ)
  • มาชิบะ เรียว (間柴 了)
เกิดวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 1971 กรุ๊ปเลือด A นักชกรุ่นเฟเธอร์เวท (ภายหลังเลื่อนขึ้นไปอยู่รุ่นจูเนียร์ไลท์เวท) สังกัดค่ายโตโฮ เป็นนักมวยร่างสูงฝีมือฉกาจที่ยึดติดในชัยชนะเป็นอย่างมาก เขาสูญเสียพ่อแม่ไปตั้งแต่ตอนอายุ 17 ปี ปัจจุบันอาศัยอยู่กับน้องสาวเพียงลำพัง 2 คน ดูภายนอกเหมือนเป็นคนเย็นชาและน่ากลัว แต่จริงๆแล้วเป็นคนที่รักและห่วงน้องสาวมาก เขาพยายามทำงานทุกอย่างเพื่อหาเงินมาให้น้องสาวได้อยู่อย่างสุขสบาย ท่าไม้ตายคือ ฟลิกเกอร์แย็ป ซึ่งเป็นหมัดแย็ปที่เลียนแบบมาจากยอดแชมป์โลกในอดีตอย่าง โธมัส เฮิร์น (CV:ทานากะ มาซาฮิโกะ)
  • เซนโด ทาเคชิ (千堂武士)
เกิดวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1972 กรุ๊ปเลือด B นักชกรุ่นเฟเธอร์เวท สังกัดสมาคมมวยนานิวะ แชมป์นักชกหน้าใหม่แห่งภาคตะวันตก เป็นนักชกสไตล์เดียวกับอิปโป มีพลังหมัดที่หนักหน่วงมาก ตั้งแต่ที่ได้ดูวิดีโอการชกของอิปโป เขาก็มองว่าอิปโปเป็นคู่แข่งของเขามาตลอด ท่าไม้ตายคือ สแมช (CV:โอโนซากะ มาซายะ)
นักชกรุ่นเฟเธอร์เวทชาวไทย ฝีมือเก่งกาจจนถูกขนานนามว่าเป็น เขาทราย แกแลคซี่ คนที่สองของเมืองไทย แต่ก็ต้องพ่ายแพ้ให้กับหมัดจอลท์เคานเตอร์ของมิยาตะ
  • ซาเอกิ ทาคุมะ (冴木卓麻)
เกิดวันที่ 7 เมษายน ค.ศ. 1970 กรุ๊ปเลือด A นักชกรุ่นเฟเธอร์เวท สังกัดค่ายคาวาอิ คู่แข่งคนแรกของอิปโปในศึกทัวร์นาเมนต์ระดับ A เป็นนักชกจอมเทคนิคที่มีความเร็วสูงจนได้ฉายาว่า ดาวสายฟ้า (CV:ยานาดะ คิโยยูกิ)
  • อเล็กซานเดอร์ วอรูค ซานคีเยฟ (ญี่ปุ่น:アレクサンダー・ヴォルグ・ザンギエフ, อังกฤษ:Alexander Volg Zangief)
เกิดวันที่ 30 ตุลาคม ค.ศ. 1972 กรุ๊ปเลือด O นักชกรุ่นเฟเธอร์เวท สังกัดค่ายโอโตวะ อดีตแชมป์โลกมวยสมัครเล่นชาวรัสเซีย มาชกมวยในญี่ปุ่นเพื่อหาเงินไปรักษาแม่ที่กำลังเจ็บป่วย เป็นนักมวยที่ยอดเยี่ยมทั้งในด้านกำลังและเทคนิค ท่าไม้ตายคือ White Fang ซึ่งเป็นการออกหมัดอัปเปอร์คัทและช็อปปิ้งไรท์ใส่คู่ชกในจังหวะที่เกือบจะพร้อมกัน คล้ายกับขากรรไกรบนและล่างของสัตว์ป่าที่ใช้บดขยี้เหยื่อ (CV:โมริคาวะ โทชิยูกิ)
  • ดาเตะ เอจิ (伊達英二)
เกิดวันที่ 3 กรกฎาคม ค.ศ. 1964 กรุ๊ปเลือด A นักชกรุ่นเฟเธอร์เวท สังกัดค่ายนากะได แชมป์ญี่ปุ่นผู้เปี่ยมไปด้วยความสามารถและคุณสมบัติที่เพียบพร้อม เคยแขวนนวมไปครั้งหนึ่งเนื่องจากพ่ายแพ้แก่ ริคาร์โด มาร์ติเนซ แชมป์โลกชาวเม็กซิกันอย่างหมดรูป แต่ต่อมาก็ได้คืนสังเวียน และทวงตำแหน่งแชมป์ญี่ปุ่นคืนมาได้ ภายหลังได้สละตำแหน่งเพื่อขึ้นไปชกระดับโลก เพื่อจะได้แก้มือกับ ริคาร์โด มาร์ติเนซ อีกครั้ง ท่าไม้ตายคือ หมัดควงสว่านที่ Heartbreakshot (CV:ไอซาวะ มาซากิ)
เกิดวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1970 กรุ๊ปเลือด B นักมวยจากประเทศไทย เป็นคู่ชกคนแรกในการคืนสังเวียนของอิปโปหลังจากที่พ่ายแพ้แก่ดาเตะในศึกชิงแชมป์ พรชัยเป็นนักชกฝีมือเยี่ยมและมีความทรหดสูงมาก เขาสามารถน็อก จิมมี่ ศรีฟ้า ผู้ที่เคยทำให้มิยาตะถึงกับย่ำแย่มาแล้วได้อย่างง่ายดาย
  • ชิเงตะ อากิระ (茂田 晃)
นักชกรุ่นเฟเธอร์เวท สังกัดค่ายชินนิฮง อยู่รองอันดับ 4 รุ่นเฟเธอร์เวท และเป็นผู้ท้าชิงคนที่ 2 ในการป้องกันตำแหน่งแชมป์ของเซนโด แม้จะเป็นมวยถนัดซ้าย แต่ก็มีหมัดขวาที่หนักหน่วงมาก นั่นเพราะจริงๆแล้วเขาเป็นนักชกถนัดขวา (CV:โยชิโนะ ฮิโรยูกิ)
  • ซานาดะ คาซึกิ (真田一機)
นักชกรุ่นเฟเธอร์เวท สังกัดค่ายคิโนชิตะ นักศึกษาคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทโตะ ลูกชายคนเดียวของ ผ.อ.โรงพยาบาลซานาดะ เดิมเป็นแชมป์ในรุ่นจูเนียร์เฟเธอร์เวท แต่ต่อมาได้สละตำแหน่ง และเลื่อนขึ้นมาอยู่รุ่นเฟเธอร์เวทเพื่อชกกับอิปโป ซานาดะเป็นคนที่มีทักษะทางมวยสูง บวกกับความรู้ทางการแพทย์ที่ได้ร่ำเรียนมา ทำให้เขารู้จุดอ่อนทุกส่วนในร่างกายที่ชกแล้วสามารถทำให้คู่แข่งหมดพลังและล้มลงได้อย่างรวดเร็ว ท่าไม้ตายของเขาคือ นางแอ่นเหิน , นางแอ่นคืนรัง และ ตาใต้ฝุ้น ที่ได้เทรนเนอร์อย่าง ฮามะ ดันคิจิ เป็นผู้ฝึกสอนให้ (CV:ยามาเดระ โคอิจิ)
  • ซาวามูระ ริวเฮ
นักชกรุ่นเฟเธอร์เวท ฉายามังกรแห่งโอวาริ มีฝีมือการชกสูงส่งแต่นิสัยก้าวร้าวชอบใช้ความรุนแรงเพราะอดีตเคยเป็นอันธพาลมาก่อน เป็นนักมวยที่มีทักษะการใช้หมัดได้ดีทั้งสองข้าง สำหรับหมัดซ้ายนั้นจะมีท่าไม้ตายที่เรียกว่า หมัดกระสุน (เป็นหมัดแย็บที่รวดเร็วและมีพลังทำลายสูง) ส่วนหมัดขวาจะมีหมัดเคาน์เตอร์ที่รวดเร็วและหนักหน่วง 'เรียกว่าหมัดสายฟ้า

ตัวละครอื่นๆ

[แก้]

รายชื่อตอน

[แก้]

1. First step 2. Fruits of Labor 3. Tear of Joy 4. Shadow boxing

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Marshall, Dallas (January 8, 2013). "Fighting Spirit". THEM Anime Reviews. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 15, 2013. สืบค้นเมื่อ July 13, 2018.
  2. 創刊時からの作品リスト (ภาษาญี่ปุ่น). Kodansha. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 4, 2011. สืบค้นเมื่อ January 8, 2020.
  3. 森川ジョージ「はじめの一歩」30周年をインタビューとマンガで振り返る書籍発売. Comic Natalie (ภาษาญี่ปุ่น). Natasha, Inc. September 18, 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 6, 2019. สืบค้นเมื่อ January 8, 2020.
  4. 「はじめの一歩」1000回を井上雄彦や高橋留美子らが祝福. Comic Natalie (ภาษาญี่ปุ่น). Natasha, Inc. December 5, 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 14, 2019. สืบค้นเมื่อ January 8, 2020.
  5. はじめの一歩 (1) [Hajime no Ippo (1)] (ภาษาญี่ปุ่น). Kodansha. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 12, 2005. สืบค้นเมื่อ October 31, 2010.
  6. はじめの一歩 (140) [Hajime no Ippo (140)] (ภาษาญี่ปุ่น). Kodansha. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 22, 2024. สืบค้นเมื่อ February 22, 2024.
  7. Mateo, Alex (June 22, 2021). "Hajime no Ippo Manga Gets Digital Releases on July 1". Anime News Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 22, 2021. สืบค้นเมื่อ June 22, 2021.
  8. Saabedra, Humberto (September 26, 2023). "Hajime no Ippo: Fighting Spirit! Manga Now Available in English Via K MANGA". Crunchyroll. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 26, 2023. สืบค้นเมื่อ September 26, 2023.
  9. Mateo, Alex (September 27, 2023). "K Manga Adds Hajime no Ippo Boxing Manga in English". Anime News Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 27, 2023. สืบค้นเมื่อ September 27, 2023.
  10. "Madhouse.co.jp" はじめの一歩 (ภาษาญี่ปุ่น). Madhouse. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 15, 2020. สืบค้นเมื่อ January 9, 2020.
  11. はじめの一歩 Vol.1 (ภาษาญี่ปุ่น). VAP. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 3, 2004. สืบค้นเมื่อ January 9, 2020.
  12. 12.0 12.1 はじめの一歩 Vol.25 (ภาษาญี่ปุ่น). VAP. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 17, 2004. สืบค้นเมื่อ January 9, 2020.
  13. はじめの一歩 Champion Road (ภาษาญี่ปุ่น). VAP. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 1, 2020. สืบค้นเมื่อ January 9, 2020. 2003年4月18日にはテレビ・スペシャル「Champion Road」が金曜ロードショーにてオンエアされました。 (The TV special "Champion Road" was aired on April 18, 2003)
  14. "VAP Official Site" はじめの一歩 間柴vs木村 (ภาษาญี่ปุ่น). VAP. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 1, 2020. สืบค้นเมื่อ January 9, 2020.
  15. Loo, Egan (November 27, 2008). "2nd Hajime no Ippo Show Named, Dated: New Challenger on January 6". Anime News Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 16, 2020. สืบค้นเมื่อ January 9, 2020.
  16. 16.0 16.1 Loo, Egan (June 12, 2009). "Sequel to Hajime no Ippo: New Challenger Being Planned". Anime News Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 30, 2017. สืบค้นเมื่อ January 9, 2020.
  17. Nelkin, Sarah (July 19, 2013). "3rd Season of Hajime no Ippo Anime Green-Lit". Anime News Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 16, 2020. สืบค้นเมื่อ January 9, 2020.
  18. Nelkin, Sarah (August 23, 2013). "Hajime no Ippo Rising TV Anime's Cast, Staff Announced". Anime News Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 16, 2020. สืบค้นเมื่อ January 9, 2020.
  19. #1(10/5放送)「最強の挑戦者」 (ภาษาญี่ปุ่น). Nippon TV. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 21, 2009. สืบค้นเมื่อ January 9, 2020.
  20. #25(3/29放送)「誓い」 (ภาษาญี่ปุ่น). Nippon TV. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 4, 2009. สืบค้นเมื่อ January 9, 2020.
  21. Hodgkins, Crystalyn (October 4, 2013). "Crunchyroll to Stream Hajime no Ippo Rising Anime". Anime News Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 24, 2019. สืบค้นเมื่อ January 9, 2020.
  22. Macdonald, Christopher (November 1, 2003). "Geneon Licenses". Anime News Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 19, 2017. สืบค้นเมื่อ April 4, 2007.
  23. "Fighting Spirit - (V.1) The First Step". Geneon Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 20, 2006. สืบค้นเมื่อ January 9, 2020.
  24. "Fighting Spirit - (V.15) One Step Further". Geneon Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 20, 2006. สืบค้นเมื่อ January 9, 2020.
  25. "Fighting Spirit - Champion Road TV Special". Geneon Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 20, 2006. สืบค้นเมื่อ January 9, 2020.
  26. Koulikov, Mikhail (May 13, 2007). "Geneon Entertainment - Anime Central 2007". Anime News Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 1, 2020. สืบค้นเมื่อ January 9, 2020. During the question and answer session that concluded the panel, they mentioned that because Hajime no Ippo did not perform as well as hoped, it is not likely that Geneon will acquire the 2003 Hajime no Ippo - Mashiba vs. Kimura OVA.
  27. Pineda, Rafael Antonio (September 14, 2020). "Discotek Licenses Rose of Versailles, Hajime no Ippo, Project A-Ko Anime". Anime News Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 27, 2021. สืบค้นเมื่อ September 15, 2020.
  28. Sherman, Jennifer (January 27, 2021). "North American Anime, Manga Releases, January 24–30". Anime News Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 22, 2021. สืบค้นเมื่อ May 19, 2021.
  29. Mateo, Alex (March 30, 2021). "North American Anime, Manga Releases, March 28-April 3". Anime News Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 19, 2021. สืบค้นเมื่อ May 19, 2021.
  30. ตอนที่ออกอากาศทางช่อง 9 อ.ส.ม.ท.ของไทย ใช้ชื่อว่า จิมมี่ ศรีอีสาน

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]