เจ้าแวมไพร์ พันธุ์ตายไว
เจ้าแวมไพร์ พันธุ์ตายไว | |
หน้าปกหนังสือมังงะ (ทังโกบง) เล่มแรก | |
吸血鬼すぐ死ぬ (Kyūketsuki Sugu Shinu) | |
---|---|
ชื่อภาษาอังกฤษ | The Vampire Dies in No Time |
แนว | สุขนาฏกรรม[1] |
มังงะ | |
เขียนโดย | อิตารุ บนโนกิ |
สำนักพิมพ์ | อากิตะโชเต็ง |
สำนักพิมพ์ภาคภาษาไทย | สยามอินเตอร์คอมิกส์ |
ในเครือ | โชเน็งแชมเปียนคอมิกส์ |
นิตยสาร | โชเน็งแชมเปียนรายสัปดาห์ |
กลุ่มเป้าหมาย | โชเน็ง |
วางจำหน่ายตั้งแต่ | 25 มิถุนายน พ.ศ. 2558 – ปัจจุบัน |
จำนวนเล่ม | 25 (ญี่ปุ่น) 2 (ไทย) |
อนิเมะโทรทัศน์ | |
กำกับโดย | ฮิโรชิ โคจินะ |
เขียนบทโดย | ยูกิเอะ ซูงาวาระ |
ดนตรีโดย | เรียว ทากาฮาชิ |
สตูดิโอ | แมดเฮาส์ |
ถือสิทธิ์โดย | อนิพลัส |
เครือข่าย | โตเกียวเอ็มเอ็กซ์, BS11, tvk, KBS Kyoto, SUN |
เครือข่ายภาษาไทย | เอไอเอสเพลย์, อ้ายฉีอี้, เน็ตฟลิกซ์, ทรูไอดี |
ฉาย | 4 ตุลาคม พ.ศ. 2564 – 27 มีนาคม พ.ศ. 2565 |
ตอน | 24 |
เจ้าแวมไพร์ พันธุ์ตายไว (ญี่ปุ่น: 吸血鬼すぐ死ぬ; โรมาจิ: Kyūketsuki Sugu Shinu; ทับศัพท์: คีวเก็ตสึกิ ซูงุ ชินุ; แปลว่า "แวมไพร์ตายในฉับพลัน") เป็นซีรีส์มังงะญี่ปุ่น แต่งเรื่องและวาดภาพโดยอิตารุ บนโนกิ ตีพิมพ์ในนิตยสารโชเน็งแชมเปียนรายสัปดาห์ นิตยสารมังงะแนวโชเน็งของสำนักพิมพ์อากิตะโชเต็งตั้งเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2558 และได้รับการรวบรวมตีพิมพ์เป็นหนังสือมังงะรวมเล่ม (ทังโกบง) ถึงเล่มที่ 25 เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2566 ซีรีส์มังงะมีลิขสิทธิ์ในประเทศไทยโดยสำนักพิมพ์สยามอินเตอร์คอมิกส์ ซีรีส์อนิเมะโทรทัศน์ดัดแปลงผลิตโดยสตูดิโอแมดเฮาส์ ออกอากาศตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงธันวาคม พ.ศ. 2564 ฤดูกาลที่ 2 ออกอากาศตั้งแต่เดือนมกราคมถึงมีนาคม พ.ศ. 2566
เนื้อเรื่อง
[แก้]ฉาก
[แก้]ซีรีส์มีฉากเป็นโลกที่แวมไพร์มีตัวตนจริง มีตั้งแต่แวมไพร์ชั้นต่ำซึ่งโดยพื้นฐานแล้วเป็นสัตว์ และแวมไพร์บรรพชนที่มีลักษณะและสติปัญญาเหมือนมนุษย์ แวมไพร์บรรพชนทุกตนมีความสามารถและจุดอ่อนพื้นฐานของแวมไพร์ แต่บางตนก็มีความสามารถพิเศษที่แตกต่างออกไปจากแวมไพร์ตนอื่น แวมไพร์บรรพชนยังสามารถหาสัตว์ทั่วไปมาทำให้เป็นภูตรับใช้ที่เป็นอมตะได้
แวมไพร์บางตนเลือกจะใช้ชีวิตร่วมกับมนุษย์อย่างสันติ ส่วนบางตนเลือกจะทำตนเป็นภัยคุกคาม ดังนั้นมนุษย์บางกลุ่มจึงทำหน้าที่เป็นแวมไพร์ฮันเตอร์ (นักล่าแวมไพร์) เพื่อควบคุมแวมไพร์ที่ไม่เป็นมิตร
เรื่องย่อ
[แก้]เรื่องราวเกี่ยวกับโรนัลด์แวมไพร์ฮันเตอร์ผู้โด่งดัง ผู้ได้รับงานไปปราบดราลุค แวมไพร์บรรพชนที่ร่ำลือกันว่าไร้เทียมทาน เพื่อช่วยเหลือเด็กมนุษย์ผู้ชายที่ดราลุคถูกกล่าวหาว่าลักพาตัวไป แต่เมื่อโรนัลด์เผชิญหน้ากับดราลุคในปราสาท จึงได้รู้ความจริงว่าดราลุคเป็นแวมไพร์ที่อ่อนแออย่างเหลือเชื่อ ไม่ว่าจะโดนอะไรก็จะตายสลายกลายเป็นทราย แต่ก็มีความสามารถในการฟื้นคืนชีพอย่างรวดเร็วแทบจะทันทีหลังกลายเป็นทราย ส่วนเด็กที่เชื่อว่าถูกลักพาตัวไปนั้นแท้จริงเพียงแต่แอบเข้ามาในปราสาทของดราลุคเป็นประจำเพื่อเล่นวิดีโอเกมจำนวนมากที่ดราลุคสะสมไว้ ระหว่างที่โรนัลด์เผชิญหน้ากับดราลุคนั้นก็เกิดความโกลาหลจนทำให้ปราสาทของดราลุคถูกทำลายกลายเป็นจุณ
ดราลุคที่กลายเป็นแวมไพร์ไร้ที่อยู่จึงย้ายไปอาศัยที่สำนักงานปราบแวมไพร์ของโรนัลด์ สร้างความรำคาญให้โรนัลด์ ดราลุคยังพาภูตรับใช้เป็นตัวอาร์มาดิลโลที่น่ารักชื่อจอห์น ซึ่งโรนัลด์ก็เอ็นดูจอห์นมาก หลังจากดราลุคได้ช่วยเหลือโรนัลด์ในคดีแวมไพร์ครั้งหนึ่ง ทั้งคู่จึงกลายเป็นคู่หูอย่างไม่เป็นทางการ มักจะพบปะและปะทะกับเหล่าแวมไพร์และแวมไพร์ฮันเตอร์มากหน้าหลายตา
ตัวละคร
[แก้]สำนักงานปราบแวมไพร์โรนัลด์
[แก้]- โรนัลด์ (ロナルド Ronarudo)
- ให้เสียงโดย: มาโกโตะ ฟูรูกาวะ[2], มุตสึมิ ทามูระ (วัยเด็ก) (ญี่ปุ่น); สรวิศ ตงเท่ง[3] (ไทย)
- แวมไพร์ฮันเตอร์อายุราวยี่สิบปีที่ปฏิบัติงานอยู่ที่ชินโยโกฮาม่า เดิมทีไม่พอใจที่จะมีดราลุคมาเป็นเพื่อนร่วมห้อง แต่ความเป็นคู่หูระหว่างเขากับดราลุคที่เขียนไว้ในซีรีส์นิยาย "มหากาพย์โรนัลด์วอร์" ที่โรนัลด์เขียนทำให้นิยายประสบความสำเร็จด้านรายได้อย่างมาก โรนัลด์จึงต้องทนอยู่กับดราลุคอย่างไม่ค่อยเต็มใจ มักจะฆ่าดราลุคบ่อย ๆ เวลาดราลุคทำตัวน่ารำคาญ นอกจากนี้โรนัลด์ยังเป็นโรคกลัวขึ้นฉ่ายขั้นรุนแรง
- ดราลุค (ドラルク Doraruku)
- ให้เสียงโดย: จุง ฟูกูยามะ[2], ยูมิริ ฮานาโมริ (วัยเด็ก) (ญี่ปุ่น); ฎาวิล วิศาลบรรณวิทย์[3] (ไทย)
- แวมไพร์เชื้อสายโรมาเนีย-ญี่ปุ่นอายุ 208 ปีจากทรานซิลเวเนีย ชอบเล่นวิดีโอเกมและชอบล้อเลียนโรนัลด์ แต่ในสถานการณ์ปกติโดยมากมักมีสามัญสำนึกและมีความเป็นสุภาพบุรุษต่อผู้หญิง ในฐานะเพื่อนร่วมห้องของโรนัลด์ ดราลุครับผิดชอบในการทำความสะอาดและการทำอาหารซึ่งถือเป็นหนึ่งในความสามารถพิเศษของดราลุค ดราลุคเป็นแวมไพร์อ่อนแอที่มักจะตายอยู่บ่อย ๆ โดยการสลายกลายเป็นทราย แต่ดราลุคนั้นเป็นอมตะ สามารถฟื้นคืนร่างตัวเองได้อย่างรวดเร็ว
- จอห์น (ジョン Jon)
- ให้เสียงโดย: มุตสึมิ ทามูระ[4] (ญี่ปุ่น); ชุติกาญจน์ บางแดง[3] (ไทย)
- อาร์มาดิลโลสามแถบจากอเมริกาใต้และเป็นสัตว์อสูรรับใช้ของดราลุค เป็นที่รักและเอ็นดูของทุก ๆ คน มีเสียงร้องว่า "นู"
หน่วยปราบปรามแวมไพร์
[แก้]- ฮินะอิจิ (ヒナイチ Hinaichi)
- ให้เสียงโดย: นัตสึมิ ฮิโอกะ[4] (ญี่ปุ่น); ปพิชญา แสวงผล[3] (ไทย)
- เจ้าหน้าที่จากหน่วยปราบปรามแวมไพร์ เป็นรองหัวหน้าหน่วยที่มีอายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ของหน่วยด้วยอายุ 19 ปี ใช้ดาบคู่ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ ชื่นชอบอาหารฝีมือของดราลุคโดยเฉพาะคุกกี้
- ฮันดะ โท (半田桃 Handa Tо̄)
- ให้เสียงโดย: โยชิตสึงุ มัตสึโอกะ[4] (ญี่ปุ่น); อภิชิต ลิขิตลิ้มปรีชา[3] (ไทย)
- ผู้ใต้บังคับบัญชาของฮินะอิจิ เป็นแดมพีร์และอดีตเพื่อนร่วมชั้นในโรงเรียนมัธยมปลายเดียวกับโรนัลด์ เป็นคนติดแม่ที่เป็นแวมไพร์ จึงไม่ชอบที่แม่ของตนเป็นแฟนหนังสือของโรนัลด์และมักหาทางทำให้แม่ของตนเห็นด้านแย่ ๆ ของโรนัลด์
- ฮิโยชิ (ヒヨシ Hiyoshi)
- ให้เสียงโดย: ไดซูเกะ โอโนะ[5]
- หัวหน้าหน่วยปราบปรามแวมไพร์และเป็นพี่ชายของโรนัลด์ เคยเป็นแวมไพร์ฮันเตอร์
- ซาเกียว (サギョウ Sagyō)
- ให้เสียงโดย: โคตาโร นิชิยามะ[6]
- เจ้าหน้าที่คนใหม่ของหน่วยปราบปรามแวมไพร์
- เคย์ คันทาโร่ (ケイ・カンタロウ Kei Kantarō)
- ให้เสียงโดย: เซอิจิโร ยามาชิตะ[6] (ญี่ปุ่น); อภิชิต ลิขิตลิ้มปรีชา (ไทย)
- เจ้าหน้าที่คนหนึ่งของหน่วยปราบปรามแวมไพร์
ฮันเตอร์กิลด์
[แก้]- ซาเท็ตสึ (サテツ Satetsu)
- ให้เสียงโดย: โยชิมาซะ โฮโซยะ[5] (ญี่ปุ่น); รุจิระ ขจีเจริญ[3] (ไทย)
- แวมไพร์ฮันเตอร์จากกิลด์ที่มีเกราะโลหะที่แขนซ้าย
- ช็อต (ショット Shotto)
- ให้เสียงโดย: อัตสึชิ ทามูระ[5] (ญี่ปุ่น); ขจรภพ อินทร์ชิน[3] (ไทย)
- แวมไพร์ฮันเตอร์จากกิลด์ผู้ชวมชุดแนวอเมริกันตะวันเฉียงใต้ มีรสนิยมชอบขนบนร่างกายผู้หญิง
- มาเรีย (マリア Maria)
- ให้เสียงโดย: โยโกะ ฮิกาซะ[7]
- แวมไพร์ฮันเตอร์หญิงจากกิลด์ผู้แต่งตัวเป็นแม่ชี มีงานหลักคือเป็นพรานล่าหมีมาตางิ
- ต๋าเฉียง[a] (ター・チャン Ta Chan)
- ให้เสียงโดย: คาโอริ อิชิฮาระ[7]
- แวมไพร์ฮันเตอร์หญิงร่างเล็กจากกิลด์ สวมชุดคล้ายชุดกี่เพ้า เป็นคนโผงผางตรงไปตรงมา
- ซีเนีย ซีริสกี (シーニャ・シリスキー Shi'nya Shirisuki)
- ให้เสียงโดย: มาซายะ โอโนซากะ (ญี่ปุ่น); มนัสวิน มลิวงศ์[3] (ไทย)
- แวมไพร์เทรนเนอร์ผู้ชอบฝึกสอนและควบคุมแวมไพร์ที่จับมาได้
- โกเซ็ตสึ/มาสเตอร์ (ゴウセツ / マスター Gо̄setsu / Masuta)
- ให้เสียงโดย: เท็ตสึ อินาดะ
- อดีตแวมไพร์ฮันเตอร์ที่กลายมาเป็นกิลด์มาสเตอร์และบาร์เทนเดอร์ของสมาคม
- โคยูกิ (コユキ Koyuki)
- ให้เสียงโดย: ยูกิ ทากาดะ (ญี่ปุ่น); ดวงกมล นาระตะ[3] (ไทย)
- ลูกสาวของโกเซ็ตสึ ทำงานเป็นบาร์เมด
- วาโมเน่ (ヴァモネ Vamone)
- แวมไพร์ฮันเตอร์ที่สวมหน้ากากเป็ด เป็นที่นิยมมาก
- โฮมรันแบตเตอร์ (ホームランバッター Hōmuranbatta)
- ให้เสียงโดย: ฮิโรโนริ ชิโอจิริ
- แวมไพร์ฮันเตอร์ในชุดนักเบสบอล
- เมโดกิและโชกะ (メドキ & ショーカ Medoki & Shōka)
- ให้เสียงโดย: โคได ซาไก (เมโดกิ), จุนจิ มาจิมะ (โชกะ) (ญี่ปุ่น); อภิชิต ลิขิตลิ้มปรีชา (โชกะ)[3] (ไทย)
- แวมไพร์ฮันเตอร์อีกสองคนในกิลด์
- มิคาซึกิ (ミカヅキ Mikazuki)
- ให้เสียงโดย: อายูมุ มูราเซะ[8] (ญี่ปุ่น); มนัสวิน มลิวงศ์[3] (ไทย)
- แดมพีร์ผู้มีความมุ่งมั่นในการปราบแวมไพร์
แวมไพร์
[แก้]- แวมไพร์เซนราเนียม (吸血鬼ゼンラニウム Kyūketsuki Zenraniumu)
- ให้เสียงโดย: อากิโตะ อตสึกะ
- แวมไพร์เกือบเปลือยที่มีช่อดอกเจอราเนียมต่างเซ็นเซอร์ที่บริเวณหว่างขา มีความสามารถในการควบคุมพืชและคนที่ถูกป้อนด้วยเมล็ดพืช
- นางิริจอมเชือด[b] (辻斬りナギリ Tsujigiri Nagiri)
- ให้เสียงโดย: โทชิฮิโกะ เซกิ (ญี่ปุ่น); ศิวพันธ์ บุณยรัตพันธุ์[3] (ไทย)
- แวมไพร์อดีตฆาตกรต่อเนื่องผู้มีความสามารถทำให้เลือดแข็งตัวเป็นใบมีดโดยมักสร้างจากฝ่ามือ
- สัตว์ประหลาด[c] (へんな動物 Henna Dōbutsu)
- ให้เสียงโดย: ยาซูฮิโระ ทากาโตะ (ญี่ปุ่น); มนัสวิน มลิวงศ์[3] (ไทย)
- ชื่อจริง: ฟอน นา ดูบุตซ์ (フォン・ナ・ドゥーブツ Fon na doubutsu) แวมไพร์ที่มีความสามารถในการแปลงร่างได้หลากหลาย แต่ควบคุมพลังของตนไม่ค่อยได้เพราะชอบคิดเรื่องลามกตลอดเวลา ร่างจริงเป็นแวมไพร์ผมทองรูปหล่อ
- โบซัตสึ[d] (ボサツ Bosatsu)
- ให้เสียงโดย: รีวเซ นากาโอะ (ญี่ปุ่น); ขจรภพ อินทร์ชิน[3] (ไทย)
- แมวแวมไพร์ที่ต่อมากลายเป็นแมวของฟุคุมะ
- อดัม (アダム Adamu)
- ให้เสียงโดย: โทโมฮิโระ โอมาจิ
- แวมไพร์รูปหล่อที่พยายามจีบสาวคนหนึ่ง แต่กลับดึงดูดมาเรมิที่เป็นเพือนของสาวคนนั้นให้เข้ามาหาแทน อดัมไม่อยากสานสัมพันธ์กับมาเรมิพยายามหลบหนีจากมาเรมิ จนกระทั่งได้มาเรมิช่วยชีวิตจากการถูกรถชน อดัมจึงหันมาหลงไหลมาเรมิ
- เก็คโคอิน มาเรมิ (月光院 希美 Gekkōin Maremi)
- ให้เสียงโดย: คานะ ฮานาซาวะ
- อดีตเคยเป็นมนุษย์ ปัจจุบันเป็นแวมไพร์ เป็นที่รู้จักในนามจักรพรรดินี มาเรมิเข้าใจผิดว่าอดัมกำลังจีบตนทั้งที่อดัมตั้งใจจะจีบเพื่อนของมาเรมิ มาเรมิจึงเริ่มไล่ตามอดัมหวังจะให้อดัมกัดตน หลังมาเรมิช่วยชีวิตอดัมจากการถูกรถชนและกลับเป็นฝ่ายถูกรถชนบาดเจ็บใกล้ตาย อาดัมจึงตัดสินใจกัดมาเรมิเพื่อทำให้มาเรมิกลายเป็นแวมไพร์ เมื่อมาเรมิฟื้นขึ้นมาในฐานะแวมไพร์ก็กลายเป็นผู้มีพลังมหาศาล
- แวมไพร์คุณลุงทะลึ่งตึงตัง[e] (吸血鬼Y談おじさん kyūketsuki waidan ojisan)
- ให้เสียงโดย: คาซูฮิโกะ อิโนอูเอะ
- แวมไพร์ที่มีรูปร่างเป็นชายวัยกลางคนซึ่งมีความสามารถในการสะกดจิตทำให้ผู้คนพูดรสนิยมทางเพศของตน เป็นคนรู้จักเก่าแก่ของดราอุสพ่อของดราลุค
- แวมไพร์คนรักเป่ายิงฉุบแก้ผ้า[f] (吸血鬼野球拳大好き kyūketsuki yakyūken daisuki)
- ให้เสียงโดย: ชิเงรุ ชิบะ (ญี่ปุ่น); ขจรภพ อินทร์ชิน[3] (ไทย)
- แวมไพรผู้รักการเล่นยาคีวเค็งหรือเป่ายิงฉุบแก้ผ้า มีความสามารถในการกางม่านพลังกักคู่ต่อสู้ที่ตนต้องการเล่นเป่ายิงฉุบด้วย ผู้แพ้จะสูญเสียเครื่องแต่งกายของตนไปทีละชิ้น มีชื่อจริงว่า เค็น (ケン Ken)
- แวมไพร์ไมโครบิกีนี่ (吸血鬼マイクロビキニ kyūketsuki maikuro bikini)
- ให้เสียงโดย: ฮิโรกิ ยาซูโมโตะ (ญี่ปุ่น); ภาคภูมิ วันทอง[3] (ไทย)
- แวมไพร์ที่ดึงพลังมาจากไมโครบิกินี่ที่ตนสวม ใครก็ตามที่ถูกเขากัดก็จะถูกสวมไมโครบิกินี่และตกอยู่ภายใต้การควบคุมของเขา เป็นน้องชายของแวมไพร์คนรักเป่ายิงฉุบแก้ผ้า มีชื่อจริงว่า มิคาเอลา (ミカエラ Mikaera)
- ท่อนล่างใสแจ๋ว (下半身透明 Kahanshin Tōmei)
- ให้เสียงโดย: โนบูนางะ ชิมาซากิ
- แวมไพร์คล้ายผีที่มีความสามารถทำให้ร่างกายส่วนล่างโปร่งใส เป็นน้องชายคนสุดท้องของแวมไพร์คนรักเป่ายิงฉุบแก้ผ้าและแวมไพร์ไมโครบิกินี่
- แวมไพร์ประพฤติผิดระเบียบ[g] (吸血鬼マナー違反 kyūketsuki manaaihan)
- ให้เสียงโดย: โซมะ ไซโต
- แวมไพร์ผู้ควบคุมกูลเพื่อละเมิดมารยาททางสังคมและก่อความรำคาญในที่สาธารณะ มีชื่อจริงว่า มานาบุ
- แวมไพร์จุมพิตพิศวาส[h] (吸血鬼熱烈キッス kyūketsuki netsuretsu kissu)
- ให้เสียงโดย: มิซะ โคบายาชิ
- แวมไพร์รูปร่างประหลาดที่มีริมฝีปาก 3 อัน พุ่งเป้าไปที่ชายหนุ่มหน้าตาดีและดูดเลือดผ่านการจูบ ชื่อจริงของเธอคือ ฮานาซาคุ ฟรานเชสก้า (花咲 フランチェスカ Hanasaku Furanchesuka)
- อาราเนีย (アラネア Aranea)
- ให้เสียงโดย: ซูมิเระ อูเอซากะ (ญี่ปุ่น); นิมมาน ชุนหชา[3] (ไทย)
- แวมไพร์ที่มีความสามารถของแมงมุม
- ดราอุส (ドラウス Dorausu)
- ให้เสียงโดย: โช ฮายามิ (ญี่ปุ่น); ศิวพันธ์ บุณยรัตพันธุ์[3] (ไทย)
- พ่อของดราลุค
- มิร่า (ミラ Mira)
- ให้เสียงโดย: อัตสึโกะ ทานากะ (ญี่ปุ่น); นิมมาน ชุนหชา[3] (ไทย)
- แม่ของดราลุค
- ปู่ของดราลุค (ドラルクの祖父 Doraruku no Sofu)
- ให้เสียงโดย: โจจิ นากาตะ (ญี่ปุ่น); รุจิระ ขจีเจริญ[3] (ไทย)
- กอร์กอน่า (ゴルゴナ Gorugona)
- ให้เสียงโดย: ยูกิ โคไดระ
- อาสะใภ้ของดราลุคและน้องสะใภ้ของดราอุส สนใจการเต้นโพลแดนซ์ของโรนัลด์
- อุระชินโยโกฮาม่า
- ให้เสียงโดย: โฮจู อตสึกะ[9]
- แวมไพร์ที่มีรูปร่างเป็นสถานีรถไฟ
สำนักพิมม์ออทัมโชเต็น
[แก้]- ฟุคุมะ (フクマ Fukuma)
- ให้เสียงโดย: ชูอิจิ โทกิ[5] (ญี่ปุ่น); รุจิระ ขจีเจริญ[3] (ไทย)
- บรรณาธิการของโรนัลด์จากสำนักพิมม์ออทัมโชเต็น
- ซันสุ (サンズ Sanzu)
- ให้เสียงโดย: มาริยะ อิเซะ[10]
- หญิงสาวไฟแรงผู้เข้าทำงานในสำนักพิมพ์ออทัมโชเต็นหวังจะได้เป็นบรรณาธิการของโรนัลด์แทนฟุคุมะ มีนิสัยมักพูดสองแง่สามง่ามโดยไม่ตั้งใจเมื่อคุยกับโรนัลด์
ตัวละครอื่น ๆ
[แก้]- โยมตสึซากะ (ヨモツザカ Yomotsuzaka)
- ให้เสียงโดย: ทาเกฮิโตะ โคยาซุ[6]
- ผุ้อำนวยการของศูนย์วิจัยแวมไพร์
- ตากล้อง/คาเมยะ (カメ谷 Kameya)
- ให้เสียงโดย: ทากายูกิ คงโด[5] (ญี่ปุ่น); อภิชิต ลิขิตลิ้มปรีชา (ไทย)
- ช่างภาพและนักข่าว อดีตเพื่อนร่วมชั้นเรียนของโรนัลด์ผู้ติดตามการทำงานของโรนัลด์อย่างใกล้ชิด
- ไอ้เด็กคิกบอร์ด (キックボードのガキ Kickboard no gaki)
- ให้เสียงโดย: มุตสึมิ ทามูระ[5]
- เด็กชายที่แอบเข้ามาในปราสาทของดราลุคเพื่อเล่นวิดีโอเกม เป็นต้นเหตุที่ทำให้ดราลุคเสียที่อยู่และย้ายมาอาศัยที่สำนักงานของโรนัลด์
- โบโบโอะ (暴々夫 Bobo)
- ให้เสียงโดย: ฮารูโอะ ยามางิชิ [5]
- ผู้จัดการร้านสะดวกซื้อแวมมิลี่มาร์ทซึ่งตั้งอยู่ใกล้สำนักงานของโรนัลด์
- บุบุโอะ (武々夫 Bubuo)
- ให้เสียงโดย: ยูกิฮิโระ โนซูยามะ[5]
- ลูกชายของโบโบโอะที่มีนิสัยหัวรั้น
- คาโต้ ชินอิจิ, โยโคตะ ฮิโรชิ และมาโคโตะ ฮากิโนะ (加藤 新一、横田 浩、萩野 真 Katō Shin'ichi, Yokota Hiroshi, Hagino Makoto)
- ให้เสียงโดย: นัตสึมิ ฟูจิวาวะ (ชินอิจิ), ซายากะ คิกูจิ (ฮิโรชิ), อายากะ อาซาอิ (มาโคโตะ) (ญี่ปุ่น); ชุติกาญจน์ บางแดง (ชินอิจิ), ดวงกมล นาระตะ (ฮิโรชิ), ปพิชญา แสวงผล (มาโคโตะ)[3] (ไทย)
- เด็กนักเรียนชั้นประถมสามคนผู้ชอบเล่นออกล่าแวมไพร์
สื่อ
[แก้]มังงะ
[แก้]เจ้าแวมไพร์ พันธุ์ตายไว แต่งเรื่องและวาดภาพโดยอิตารุ บนโนกิ มังงะเริ่มตีพิมพ์ในนิตยสารโชเน็งแชมเปียนรายสัปดาห์ นิตยสารมังงะแนวโชเน็งของสำนักพิมพ์อากิตะโชเต็งตั้งแต่ฉบับที่ 30 ซึ่งวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2558[11] ได้รับการรวบรวมตีพิมพ์เป็นหนังสือมังงะรวมเล่ม (ทังโกบง) ถึงเล่มที่ 24 เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566[12]
หนังสือมังงะ
[แก้]ซีรีส์ภาคหลัก
[แก้]# | วันที่ออกจำหน่ายต้นฉบับ | ISBN ต้นฉบับ | วันที่ออกจำหน่ายภาษาไทย | ISBN ภาษาไทย |
---|---|---|---|---|
1 | 8 ธันวาคม พ.ศ. 2558[13] | 978-4-253-22279-2 | เมษายน พ.ศ. 2567 | 978-616-605-833-8 |
2 | 8 เมษายน พ.ศ. 2559[14] | 978-4-253-22280-8 | พฤษภาคม พ.ศ. 2567 | 978-616-605-834-5 |
3 | 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2559[15] | 978-4-253-22281-5 | — | — |
4 | 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559[16] | 978-4-253-22282-2 | — | — |
5 | 8 มีนาคม พ.ศ. 2560[17] | 978-4-253-22283-9 | — | — |
6 | 8 มิถุนายน พ.ศ. 2560[18] | 978-4-253-22284-6 | — | — |
7 | 6 ตุลาคม พ.ศ. 2560[19] | 978-4-253-22285-3 | — | — |
8 | 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561[20] | 978-4-253-22323-2 | — | — |
9 | 8 มิถุนายน พ.ศ. 2561[21] | 978-4-253-22324-9 | — | — |
10 | 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561[22] | 978-4-253-22325-6 | — | — |
11 | 8 มกราคม พ.ศ. 2562[23] | 978-4-253-22326-3 | — | — |
12 | 8 เมษายน พ.ศ. 2562[24] | 978-4-253-22327-0 | — | — |
13 | 8 สิงหาคม พ.ศ. 2562[25] | 978-4-253-22328-7 | — | — |
14 | 6 ธันวาคม พ.ศ. 2562[26] | 978-4-253-22329-4 | — | — |
15 | 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2563[27] | 978-4-253-22330-0 | — | — |
16 | 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563[28] | 978-4-253-22231-0 | — | — |
17 | 8 เมษายน พ.ศ. 2564[29] | 978-4-253-22232-7 | — | — |
18 | 8 กันยายน พ.ศ. 2564[30] | 978-4-253-22233-4 | — | — |
19 | 7 มกราคม พ.ศ. 2565[31] | 978-4-253-22234-1 | — | — |
20 | 8 มีนาคม พ.ศ. 2565[32] | 978-4-253-22235-8 | — | — |
21 | 8 มิถุนายน พ.ศ. 2565[33] | 978-4-253-28191-1 | — | — |
22 | 8 กันยายน พ.ศ. 2565[34] | 978-4-253-28192-8 | — | — |
23 | 8 ธันวาคม พ.ศ. 2565[35] | 978-4-253-28193-5 | — | — |
24 | 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566[12] | 978-4-253-28194-2 | — | — |
25 | 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2566[36] | 978-4-253-28194-2 | — | — |
อาร์มาดิลโล โนะ จอห์น ฟอร์ม คีวเค็ตสึกิ ซูงุ ชินุ
[แก้]# | วันที่ออกจำหน่าย | ISBN |
---|---|---|
1 | 8 เมษายน พ.ศ. 2562[37] | 978-4-253-25366-6 |
2 | 6 มกราคม พ.ศ. 2566[38] | 978-4-253-25367-3 |
อนิเมะ
[แก้]อนิเมะดัดแปลงมีการประกาศสร้างในนิตยสารโชเน็งแชมเปียนรายสัปดาห์ฉบับที่ 23 ที่วางจำหน่ายในวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2563[1] ภายหลังมีการเผยว่าเป็นซีรีส์โทรทัศน์ ผลิตโดยสตูดิโอแมดเฮาส์ กำกับโดยฮิโรชิ โคจินะ ดูแลบทของซีรีส์โดยยูกิเอะ ซูงาวาระ ออกแบบตัวละครโดยมายูโกะ นากาโนะ และแต่งดนตรีประกอบโดยเรียว ทากาฮาชิ ซีรีส์อนิเมะออกอากาศตั้งแต่วันที่ 4 ตุลาคมถึม 20 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ทางช่องโตเกียวเอ็มเอ็กซ์, BS11, tvk, KBS Kyoto และ SUN[2][39][5] จุง ฟูกูยามะร้องเพลงเปิดชื่อเพลงว่า "Dies in No Time" ส่วนไดซูเกะ โอโนะและทากายูกิ คนโดในฐานะวงชื่อ TRD ร้อ เพลงปิดชื่อเพลงว่า "Strangers"[40][41] อนิพลัสได้ลิขสิทธิ์เผยแพร่ในภูมิเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยฉายทางเอไอเอสเพลย์และอ้ายฉีอี้ และมีรูปแบบพากย์เสียงภาษาไทยทางอ้ายฉีอี้ ส่วนฟันนิเมชันได้ลิขสิทธิ์เผยแพร่อนิเมะนอกทวีปเอเชีย[42] ภายหลังอีกหนึ่งปี เน็ตฟลิกซ์ได้ลิขสิทธิ์เผยแพร่อนิเมะในทวีปเอเชียในวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2565
หลังการออกอากาศตอนสุดท้าย ได้มีการประกาศสร้างฤดูกาลที่ 2 สมาชิกทีมงานจากฤดูกาลแรกกลับมารับหน้าที่เดิม[43] ฤดูกาลที่ 2 ออกอากาศตั้งแต่วันที่ 9 มกราคมถึง 27 มีนาคม พ.ศ. 2566[8][44] จุง ฟูกูยามะและวง TRD กลับมาร้องเพลงเปิดและเพลงปิด ชื่อเพลงว่า "New Drama Paradise" และ "Cozy Crazy Party!" ตามลำดับ[45]
รายชื่อตอน
[แก้]ฤดูกาลที่ 1
[แก้]ตอนที่ (ของซีรีส์) | ตอนที่ (ของฤดูกาล) | ชื่อ [46][47][i] | กำกับโดย [46] | เขียนโดย [46] | สตอรีบอร์ดโดย [46] | วันฉายเดิม [48] |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | 1 | "มือปราบมาเยือนผองเพื่อนเหินฟ้า" ถอดเสียง: "Hantā Kitarite Sora o Tobu Zenpen" (ญี่ปุ่น: | ซาโตรุ มัตสึบาระ | ยูกิเอะ ซูงาวาระ | ฮิโรชิ โคจินะ | 4 ตุลาคม พ.ศ. 2564 |
"อนิจจาไอ้บ้ากับร้านสะดวกซื้อ[j]" ถอดเสียง: "Baka to Konbini to Mujō" (ญี่ปุ่น: バカとコンビニと無常) | ||||||
2 | 2 | "คุณฟุคุมะ จู่โจม![l]" ถอดเสียง: "Shūgeki!! Fukuma-san" (ญี่ปุ่น: 襲撃!!フクマさん[n]) | อาซามิ คาวาโนะ | โยชิกิ โอกูซะ | อาซามิ คาวาโนะ | 11 ตุลาคม พ.ศ. 2564 |
"บุปผาโรยราในชินโยโกฮาม่า[m]" ถอดเสียง: "Shin-Yokohama ni Hana to Chiruramu" (ญี่ปุ่น: 新横浜に花と散るらむ) | ||||||
"ทุบกำแพงเอาแรง ๆ จะตายไหม[o]" ถอดเสียง: "Kabe o Tataite Koroseru ka" (ญี่ปุ่น: 壁を叩いて殺せるか) | ||||||
3 | 3 | "หนทางเลื่อนขั้นเลื่อนขึ้นเลื่อนลง[p]" ถอดเสียง: "Shusse Kaidō Tenraku-dō" (ญี่ปุ่น: 出世街道転落道) | ซาโตรุ มัตสึบาระ | อิตสึกิ โยโมยามะ | มิตสึยูกิ มาซูฮารุ | 18 ตุลาคม พ.ศ. 2564 |
"กิลด์มือปราบพันธุ์อลเวง[q]" ถอดเสียง: "Bakasawagi Hantāzu Girudo" (ญี่ปุ่น: バカ騒ぎ | ||||||
"ยังคงเป็นกิลด์มือปราบพันธุ์อลเวง[r]" ถอดเสียง: "Mada Bakasawagi Hantāzu Girudo" (ญี่ปุ่น: まだバカ騒ぎ | ||||||
4 | 4 | "วิปริตรักจำแลงร่าง[s]" ถอดเสียง: "Erosu Yue ni Metamorufōze" (ญี่ปุ่น: | ทากาอากิ อิชิยามะ | ยูกิเอะ ซูงาวาระ | โทโมยะ คิตางาวะ | 25 ตุลาคม พ.ศ. 2564 |
"พลพรรคปลดแอกห้องครัว[t]" ถอดเสียง: "Daidokoro Riberaru Fōsu" (ญี่ปุ่น: 台所リベラルフォース) | ||||||
"เรียกเขาว่าฮันดะ[u]" ถอดเสียง: "Sono Otoko no Na wa Handa" (ญี่ปุ่น: その男の名は半田) | ||||||
5 | 5 | "1 วันอันแสนยาวนานของนากิริจอมดักเชือด[v]" ถอดเสียง: "Tsujigiri Nagiri no Ichiban Nagai Hi" (ญี่ปุ่น: 辻斬りナギリのいちばん長い日) | ชิเอะ ยามาชิโระ | โยชิกิ โอกูซะ | ชิเอะ ยามาชิโระ | 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 |
"แมวเหมียวน่ารัก[w]" ถอดเสียง: "Neko wa Kawaii" (ญี่ปุ่น: 猫はかわいい) | ||||||
"ฮันดะ-วันหยุด-ฮิสตอรี่[x]" ถอดเสียง: "Handa Ofu no Hi Hisutorī" (ญี่ปุ่น: 半田・オフの日・ヒストリー) | ||||||
6 | 6 | "กำเนิดจักรพรรดินี[y]" ถอดเสียง: "Jotei Tanjō Monogatari" (ญี่ปุ่น: 女帝誕生物語) | จุนอิจิ ฟูจิเซะ | ยูกิเอะ ซูงาวาระ | โทโมยะ คิตางาวะ | 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 |
"ครอบครัวหรรษาดราลุค[z]" ถอดเสียง: "Doraruku-ke no Ichizoku" (ญี่ปุ่น: ドラルク家の一族) | ||||||
"ครอบครัวหรรษาดราลุค ต่อ[aa]" ถอดเสียง: "Zoku Doraruku-ke no Ichizoku" (ญี่ปุ่น: 続・ドラルク家の一族) | ||||||
7 | 7 | "เรื่องทะลึ่งตะลึงตึงตึง[ab]" ถอดเสียง: "Waidan Dadandandandadān" (ญี่ปุ่น: Y談ダダンダンダンダダーン) | อาซามิ คาวาโนะ | ยูกิเอะ ซูงาวาระ | ฮิโรชิ โคจินะ | 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 |
"วันหยุดสุดรันทดของฮันดะ โท[ac]" ถอดเสียง: "Handa Tō no Sanzan na Hiban no Hi" (ญี่ปุ่น: 半田桃の散々な非番の日) | ||||||
"และแล้วพ่อก็มาเยือน" ถอดเสียง: "Soshite Chichi ga Kuru" (ญี่ปุ่น: そして父が来る) | ||||||
8 | 8 | "เรื่องปี๊ด ๆ สุดหวาดเสียว[ad]" ถอดเสียง: "Pisu Pisu Kiki Ippatsu" (ญี่ปุ่น: ピスピス危機一髪) | ซาโตรุ มัตสึบาระ | ยูกิเอะ ซูงาวาระ | มาซาโตชิ ฮากาตะ | 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 |
"Kidnap Capriccio[ae]" ถอดเสียง: "Kiddonappu Kapurichio" (ญี่ปุ่น: キッドナップ・カプリチオ) | ||||||
"Kidnap Elegy[af]" ถอดเสียง: "Kiddonappu Erejī" (ญี่ปุ่น: キッドナップ・エレジー) | ||||||
9 | 9 | "เป่ายิงฉุบแก้ผ้ามหา~ชน[ag]" ถอดเสียง: "Shimin Yakyū Kēn" (ญี่ปุ่น: 市民野球ケーン) | ยูกิ คูซากาเบะ | ยูกิเอะ ซูงาวาระ | อาซามิ คาวาโนะ | 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 |
"แขนซ้ายเหล็กกล้ามันจืดจางซะเหลือเกิน[ah]" ถอดเสียง: "Tetsu no Hidarite Imaichi Jimi de" (ญี่ปุ่น: 鉄の左手イマイチ地味で) | ||||||
"จักรพรรดิหาดทราย[ai]" ถอดเสียง: "Nagisa no Teiō-sama" (ญี่ปุ่น: 渚の帝王様) | ||||||
10 | 10 | "เสียงบรรเลงเทศกาลที่เรียกหาเธอ[aj]" ถอดเสียง: "Matsuri Bayashi ga Kimi o Yobu" (ญี่ปุ่น: 祭り囃子が君を呼ぶ) | ชิเอะ ยามาชิโระ | ยูกิเอะ ซูงาวาระ | ชิเอะ ยามาชิโระ | 6 ธันวาคม พ.ศ. 2564 |
"ศึกปะทะแวมไพร์สุดวายป่วงแห่งชินโยโกยุคเฮย์เซย์[ak]" ถอดเสียง: "Heisei Meiwaku na Kyūketsuki Gassen Shin'yoko" (ญี่ปุ่น: 平成迷惑な吸血鬼合戦シンヨコ) | ||||||
"รายการออลไนท์ชินโยโกกับดราลุค[al]" ถอดเสียง: "Doraruku no Ōru Naito Shin'yoko" (ญี่ปุ่น: ドラルクのオールナイト・シンヨコ) | ||||||
11 | 11 | "ชินโยโก แบททะลึ่ง รอยัล[am]" ถอดเสียง: "Shin'yoko Batoru Rowaiyaru" (ญี่ปุ่น: シンヨコ・バトル・ロYヤル) | จุนอิจิ ฟูจิเซะ ซาโตรุ มัตสึบาระ | ยูกิเอะ ซูงาวาระ | มาซาโตชิ ฮากาตะ | 13 ธันวาคม พ.ศ. 2564 |
"John meets Draluc[an]" | ||||||
"Waiting for LOVE[ao]" | ||||||
12 | 12 | "ซิลเวอร์ไลซ์ ไบลด์ ยัวร์ อายส์[ap]" ถอดเสียง: "Shirubā Raizu Buraindo Yua Aizu" (ญี่ปุ่น: シルバーライズ・ブラインド・ユア・アイズ) | อาซามิ คาวาโนะ | ยูกิเอะ ซูงาวาระ | อาซามิ คาวาโนะ | 20 ธันวาคม พ.ศ. 2564 |
"เดรสอัพ ฟอร์ ยู[aq]" ถอดเสียง: "Doresu Appu Fō Yū" (ญี่ปุ่น: ドレスアップ・フォー・ユー) | ||||||
"ศึกคนบ้าห้ายก[ar]" ถอดเสียง: "Baka Goban Shōbu" (ญี่ปุ่น: バカ五番勝負) | ||||||
ฤดูกาลที่ 2
[แก้]ตอนที่ (ของซีรีส์) | ตอนที่ (ของฤดูกาล) | ชื่อ [46][47][as] | กำกับโดย [46] | เขียนโดย [46] | สตอรีบอร์ดโดย [46] | วันฉายเดิม [49] |
---|---|---|---|---|---|---|
13 | 1 | "ดราลุค กลีบไม่เดียว กระเทียมไม่โทน" ถอดเสียง: "Doraruku・Tomodachi・Hitoridachi Misui" (ญี่ปุ่น: ドラルク・ともだち・ひとりだち未遂) | มายูโกะ นากาโนะ | โทชิ ทากาเมะ | อาซามิ คาวาโนะ | 9 มกราคม พ.ศ. 2566 |
"สู้สุดฟ้า ล่าท้าผี" ถอดเสียง: "Soreike Gōsutohantāzu" (ญี่ปุ่น: それ行けゴーストハンターズ) | ||||||
"ดราลุค-ไม่รักสงบ" ถอดเสียง: "Doraruku Za Sairentojamā" (ญี่ปุ่น: ドラルク・ザ・サイレントジャマー) | ||||||
14 | 2 | "ฟรอม โตเกียว ทู นีโอ เบย์ไซด์" ถอดเสียง: "Furomu Tokyo tu Neo Bei Saido" (ญี่ปุ่น: フロム トーキョー トゥ ネオ ベイサイド) | ฮิเดกิ โทโนคัตสึ | โทชิ ทากาเมะ | จุนอิจิ ซากาตะ | 16 มกราคม พ.ศ. 2566 |
"บันทึกสังเกตการณ์ดราลุคแสนสนุก" ถอดเสียง: "Wakuwaku Doraruku Kansatsu Nikki" (ญี่ปุ่น: わくわくドラルク観察日記) | ||||||
"Quest of Soul Gate: เหล่าผู๋ไล่ล่าจิตวิญญาณ" ถอดเสียง: "Quest of Soul Gate: Tamashī no Tankyūsha-tachi" (ญี่ปุ่น: Quest of Soul Gate:魂の探求者たち) | ||||||
15 | 3 | "Lovecall of Sanzu" | มิตสึยูกิ มาซูฮาระ | โทชิ ทากาเมะ | มิตสึยูกิ มาซูฮาระ | 23 มกราคม พ.ศ. 2566 |
"สู้ต่อไปซาเกียวคุง" ถอดเสียง: "Ganbare Sagyō-kun" (ญี่ปุ่น: がんばれサギョウくん) | ||||||
"ไอ้ตัววุ่นกลับมาแล้ว" ถอดเสียง: "Kaettekita Mechakuchaman" (ญี่ปุ่น: 帰ってきたメチャクチャマン) | ||||||
16 | 4 | "คืนเฝ้าร้านกับไอ้วิตถาร" ถอดเสียง: "Omiseban to Fushinsha" (ญี่ปุ่น: お店番と不審者) | ชินโนซูเกะ โทนากะ | โทชิ ทากาเมะ | มาซาโตชิ ฮากาตะ | 30 มกราคม พ.ศ. 2566 |
"Good Mother Goodbye Summer" ถอดเสียง: "Guddo Mazā・Guddobai Samā" (ญี่ปุ่น: グッドマザー・グッドバイサマー) | ||||||
"Good Mother Goodbye Summer ต่อ" ถอดเสียง: "Zoku・Guddo Mazā・Guddobai Samā" (ญี่ปุ่น: 続・グッドマザー・グッドバイサマー) | ||||||
17 | 5 | "ผจญภัยล่าฝันกับฟุคุมะพิศวง" ถอดเสียง: "Michinaru Fukuma ni Yume o Motomete" (ญี่ปุ่น: 未知なるフクマに夢を求めて) | เซจุนอิจิ ฟูจิ | โทชิ ทากาเมะ | มาซาโตชิ ฮากาตะ | 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 |
"ไอ้คนดี อาละวาด" ถอดเสียง: "Bōsō Tokkyū Ohitoyoshi" (ญี่ปุ่น: 暴走特急お人好し) | ||||||
"สถานีต่อไป สุดสาย อุระชินโยโกฮาม่า" ถอดเสียง: "Tsugi wa Shūten Ura-Shin-Yokohama" (ญี่ปุ่น: 次は終点裏新横浜) | ||||||
18 | 6 | "พี่จ๋าซาก้า ภาคแสงสว่าง" ถอดเสียง: "Aniki Sāga: Kō no Shō" (ญี่ปุ่น: アニキ・サーガ 光の章) | อาซามิ คาวาโนะ | โทชิ ทากาเมะ | อาซามิ คาวาโนะ | 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 |
"พี่จ๋าซาก้า ภาคความมืด" ถอดเสียง: "Aniki Sāga: Yami no Shō" (ญี่ปุ่น: アニキ・サーガ 闇の章) | ||||||
"เพลงมาร์ชทะลุนรก" ถอดเสียง: "Oshuraba Kōshinkyoku" (ญี่ปุ่น: お修羅場行進曲) | ||||||
19 | 7 | "Put a sock in it" | ยูกิ โมริชิตะ | โทชิ ทากาเมะ | ฮิโรชิ โคจินะ, ฮิเดกิ โทโนคัตสึ | 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 |
"อันจู๋คือชาติ" ถอดเสียง: "Chin wa Kokkanari" (ญี่ปุ่น: ちんは国家なり) | ||||||
"จอห์น อ้วนขึ้นนะ" ถอดเสียง: "Jon Inutta na" (ญี่ปุ่น: ジョン 犬ったな) | ||||||
20 | 8 | "โอ้โห เซนรา" ถอดเสียง: "Ō Zenra" (ญี่ปุ่น: オオ・ゼンラ) | ซูมิโตะ ซาซากิ | โทชิ ทากาเมะ | จุนอิจิ ซากาตะ | 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 |
"ฮันดะลึ่ง ตะลึงตะลึงตึงตัง" ถอดเสียง: "Handandadandandandadān" (ญี่ปุ่น: 半田ンダダンダンダンダダーン) | ||||||
"หาดวงจันทร์ขึ้นลอยขึ้น เหนือชินโยโกฮาม่า?" ถอดเสียง: "Shinyokohama ni Tsuki wa Mata Noboru ka?" (ญี่ปุ่น: 新横浜に月はまた昇るか?) | ||||||
21 | 9 | "BBOLAND แดนแห่งความฝัน" ถอดเสียง: "Yume no Kuni BBOLAND" (ญี่ปุ่น: 夢の国BBOLAND) | มิตสึยูกิ มาซูฮาระ | โทชิ ทากาเมะ | มิตสึยูกิ มาซูฮาระ | 6 มีนาคม พ.ศ. 2566 |
"คุณพ่อกับคนน่าสงสัย" ถอดเสียง: "Otōsan to Fushinsha" (ญี่ปุ่น: お父さんと不審者) | ||||||
"ฮัลโหล ฮาวอาร์ยู ตอนนี้ว่างป่าว?" ถอดเสียง: "Harō Hawayū Ima ohima?" (ญี่ปุ่น: ハロー・ハワユー・いまおヒマ?) | ||||||
22 | 10 | "ตัวน้อย ตัวจ้อย ร้อยบรรเลง" ถอดเสียง: "Ritoru・Ritoru・Kyōsōkyoku" (ญี่ปุ่น: リトル・リトル・協奏曲) | วาตานากะ ชินโนซูเกะ | โทชิ ทากาเมะ | มาซาโตชิ ฮากาตะ | 13 มีนาคม พ.ศ. 2566 |
"ตัวน้อย ตัวจ้อย ร้อยบรรเลง ~ภาคสยบเป็ด~" ถอดเสียง: "Ritoru・Ritoru・Kyōsōkyoku ~Kamo Tsubushi-hen~" (ญี่ปุ่น: リトル・リトル・協奏曲〜鴨潰し編〜) | ||||||
"เดชะบุญแท้ กุญแจมือ ทำไมชีวิตข้าถึงเป็นแบบนี้" ถอดเสียง: "Mirakuru・Manakuru・Dōshite Itsumo Ore wa Kō Naru" (ญี่ปุ่น: ミラクル・マナクル・どうしていつも俺はこうなる) | ||||||
23 | 11 | "ร้องขอไออุ่นให้ฉันที" ถอดเสียง: "Atatametekure to Ittekure" (ญี่ปุ่น: 温めてくれと言ってくれ) | ทัตสึโนริ มิยาเกะ, คัง อิล-กู, ฮวัง อิล-จิน | โทชิ ทากาเมะ | จุนอิจิ ซากาตะ | 20 มีนาคม พ.ศ. 2566 |
"เลเจนด์ ออฟ โรนัลลิสต์" ถอดเสียง: "Rejendo Obu Ronarisuto" (ญี่ปุ่น: レジェンド オブ ロナリスト) | ||||||
"ร่ายจังหวะวอลซ์กับแย้มเจ้าเหมันต์ในเมืองนิรันดร" ถอดเสียง: "Tokoyo no Machi wa Kōri Emi Kyō to Warutsu o Odoru" (ญี่ปุ่น: 常世の町は氷笑卿とワルツを踊る) | ||||||
24 | 12 | "ร่ายจังหวะวอลซ์กับแย้มเจ้าเหมันต์ในเมืองนิรันดร ต่อ" ถอดเสียง: "Zoku・Tokoyo no Machi wa Kōri Emi Kyō to Warutsu o Odoru" (ญี่ปุ่น: 続・常世の町は氷笑卿とワルツを踊る) | อาซามิ คาวาโนะ | โทชิ ทากาเมะ | อาซามิ คาวาโนะ | 27 มีนาคม พ.ศ. 2566 |
"พลพรรคคนบ้าหรรษาแห่งชินโยโกฮาม่า สเปเชี่ยลver." ถอดเสียง: "Shin-Yokohama no Tanoshī Baka Yarōtachi Supesharu Ver." (ญี่ปุ่น: 新横浜の楽しいバカ野郎たち スペシャルver.) | ||||||
"ถามตอบ 12 ข้อโคทัตสึปีใหม่[at]" ถอดเสียง: "Shinshun Kotatsu Jūni Mondō" (ญี่ปุ่น: 新春コタツ十二問答) | ||||||
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ บทบรรยายใต้ภาพของอนิเมะโดยอนิพลัสที่เอไอเอสเพลย์ เน็ตฟลิกซ์ และทรูไอดี เรียกด้วยชื่อว่า "ทาจัง"
- ↑ บทบรรยายใต้ภาพของอนิเมะโดยอนิพลัสที่เอไอเอสเพลย์ เน็ตฟลิกซ์ และทรูไอดีเรียกด้วยชื่อว่า "นากิริจอมดักเชือด" บทบรรยายใต้ภาพของอนิเมะฤดูกาลแรกและอนิเมะฤดูกาลแรกรูปแบบพากย์ไทยที่อ้ายฉีอี้เรียกด้วยชื่อว่า "ฆาตกรจ้วงสังหารนากิริ"
- ↑ บทบรรยายใต้ภาพของอนิเมะโดยอนิพลัสที่เอไอเอสเพลย์ เน็ตฟลิกซ์ และทรูไอดีเรียกด้วยชื่อว่า "สัตว์แปลกหน้าบูด" บทบรรยายใต้ภาพของอนิเมะฤดูกาลแรกและอนิเมะฤดูกาลแรกรูปแบบพากย์ไทยที่อ้ายฉีอี้เรียกด้วยชื่อว่า "สัตว์ประหลาด" เช่นเดียวกับมังงะฉบับภาษาไทย
- ↑ บทบรรยายใต้ภาพของอนิเมะโดยอนิพลัสที่เอไอเอสเพลย์ เน็ตฟลิกซ์ และทรูไอดีเรียกด้วยชื่อว่า "พุดโท" บทบรรยายใต้ภาพของอนิเมะฤดูกาลแรกและอนิเมะฤดูกาลแรกรูปแบบพากย์ไทยที่อ้ายฉีอี้เรียกด้วยชื่อว่า "โพธิสัตว์"
- ↑ บทบรรยายใต้ภาพของอนิเมะฤดูกาลแรกและอนิเมะฤดูกาลแรกรูปแบบพากย์ไทยที่อ้ายฉีอี้เรียกด้วยชื่อว่า "แวมไพร์ ตาลุงมุกลามก"
- ↑ บทบรรยายใต้ภาพของอนิเมะฤดูกาลแรกและอนิเมะฤดูกาลแรกรูปแบบพากย์ไทยที่อ้ายฉีอี้เรียกด้วยชื่อว่า "แวมไพร์ "ชอบเกมเป่ายิ้งฉุบแก้ผ้าที่สุด" "
- ↑ บทบรรยายใต้ภาพของอนิเมะฤดูกาลแรกและอนิเมะฤดูกาลแรกรูปแบบพากย์ไทยที่อ้ายฉีอี้เรียกด้วยชื่อว่า "แวมไพร์ ไม่ทำตามกฎ"
- ↑ บทบรรยายใต้ภาพของอนิเมะฤดูกาลแรกที่อ้ายฉีอี้เรียกด้วยชื่อว่า "แวมไพร์ จูบเร่าร้อน" ส่วนรูปแบบพากย์ไทยเรียกด้วยชื่อว่า "แวมไพร์ จุมพิตอันเร่าร้อน"
- ↑ ชื่อตอนภาษาไทยนำมาจากเอไอเอส เพลย์
- ↑ ชื่อตอนภาษาไทยที่อ้ายฉีอี้คือ "คนโง่กับร้านสะดวกซื้อและความแล้งน้ำใจ"
- ↑ ชื่อตอนเขียนว่า
退治人 来たりて空を跳ぶ ในตอน - ↑ ชื่อตอนภาษาไทยที่อ้ายฉีอี้คือ "โจมตี! คุณฟุคุมะ!"
- ↑ ชื่อตอนภาษาไทยที่อ้ายฉีอี้คือ "ดอกไม้ร่วงโรยที่ชินโกฮาม่า"
- ↑ ชื่อตอนเขียนว่า 襲撃!フクマさん ในตอน
- ↑ ชื่อตอนภาษาไทยที่อ้ายฉีอี้คือ "ชนกำแพงจะตายไหม"
- ↑ ชื่อตอนภาษาไทยที่อ้ายฉีอี้คือ "เส้นทางอาชีพตกต่ำ"
- ↑ ชื่อตอนภาษาไทยที่อ้ายฉีอี้คือ "เอะอะโวยวาย สมาคมแวมไพร์ฮันเตอร์"
- ↑ ชื่อตอนภาษาไทยที่อ้ายฉีอี้คือ "เอะอะโวยวาย สมาคมแวมไพร์ฮันเตอร์ ต่อ"
- ↑ ชื่อตอนภาษาไทยที่อ้ายฉีอี้คือ "โรคจิตเพราะรัก"
- ↑ ชื่อตอนภาษาไทยที่อ้ายฉีอี้คือ "พลังเอกเทศของห้องครัว"
- ↑ ชื่อตอนภาษาไทยที่อ้ายฉีอี้คือ "ผู้ชายคนนั้นชื่อว่า ฮันดะ"
- ↑ ชื่อตอนภาษาไทยที่อ้ายฉีอี้คือ "วันที่ยาวนานที่สุดในชีวิตของฆาตกรจ้วงสังหารนากิริ"
- ↑ ชื่อตอนภาษาไทยที่อ้ายฉีอี้คือ "แมวน่ารักกันทุกตัว"
- ↑ ชื่อตอนภาษาไทยที่อ้ายฉีอี้คือ "ฮันดะ วันหยุด ประวัติศาสตร์"
- ↑ ชื่อตอนภาษาไทยที่อ้ายฉีอี้คือ "การถือกำเนิดของจักรพรรดินี"
- ↑ ชื่อตอนภาษาไทยที่อ้ายฉีอี้คือ "ตระกูลดราลุค"
- ↑ ชื่อตอนภาษาไทยที่อ้ายฉีอี้คือ "ตระกูลดราลุค ต่อ"
- ↑ ชื่อตอนภาษาไทยที่อ้ายฉีอี้คือ "ศึกมุกลามก"
- ↑ ชื่อตอนภาษาไทยที่อ้ายฉีอี้คือ " วันหยุดที่ทำให้ฮันดะ โทหมดแรง"
- ↑ ชื่อตอนภาษาไทยที่อ้ายฉีอี้คือ "ปี๊ดปี๊ด รอดหวุดหวิด"
- ↑ ชื่อตอนภาษาไทยที่อ้ายฉีอี้คือ "คดีคาปริชลักพาตัว"
- ↑ ชื่อตอนภาษาไทยที่อ้ายฉีอี้คือ "ลักพาตัว สถานการณ์ฉุกเฉิน"
- ↑ ชื่อตอนภาษาไทยที่อ้ายฉีอี้คือ "เกมเป่ายิ้งฉุบแก้ผ้าประชาชน"
- ↑ ชื่อตอนภาษาไทยที่อ้ายฉีอี้คือ "แขนซ้ายที่ทำจากเหล็กดูไม่สะดุดตาเลย"
- ↑ ชื่อตอนภาษาไทยที่อ้ายฉีอี้คือ "พระราชาริมทะเล"
- ↑ ชื่อตอนภาษาไทยที่อ้ายฉีอี้คือ "ฮอร์นแห่งงานเทศกาลกำลังเรียกเจ้าอยู่"
- ↑ ชื่อตอนภาษาไทยที่อ้ายฉีอี้คือ "แวมไพร์หาเรื่องแห่งเฮเซต่อสู้ ณ ชินโยโกฮาม่า"
- ↑ ชื่อตอนภาษาไทยที่อ้ายฉีอี้คือ "ชินโยโกฮาม่าที่ไม่หลับใหลของดราลุค"
- ↑ ชื่อตอนภาษาไทยที่อ้ายฉีอี้คือ "การต่อสู้เกมลามก ณ ชินโยโกฮาม่า"
- ↑ ชื่อตอนภาษาไทยที่อ้ายฉีอี้คือ "จอห์นเจอกับลูกโบว์ลิ่ง"
- ↑ ชื่อตอนภาษาไทยที่อ้ายฉีอี้คือ "รอคอยความรัก"
- ↑ ชื่อตอนภาษาไทยที่อ้ายฉีอี้คือ "เศษแก้วที่กระเด็น แทงใส่ตาเธอ"
- ↑ ชื่อตอนภาษาไทยที่อ้ายฉีอี้คือ "แต่งตัวอย่างอลังเพื่อคุณ"
- ↑ ชื่อตอนภาษาไทยที่อ้ายฉีอี้คือ "เจ้าโง่ ห้ารอบติดสินผลแพ้ชนะ"
- ↑ ชื่อตอนภาษาไทยนำมาจากเอไอเอส เพลย์และอ้ายฉีอี้
- ↑ ไม่ปรากฏป้ายชื่อตอน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Itaru Bonnoki's The Vampire Dies in No Time Manga Gets Anime". Anime News Network. May 6, 2020. สืบค้นเมื่อ May 7, 2020.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 "The Vampire Dies in No Time Comedy Anime Unveils Cast, Staff, 2021 TV Debut". Anime News Network. November 5, 2020. สืบค้นเมื่อ November 5, 2020.
- ↑ 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 3.10 3.11 3.12 3.13 3.14 3.15 3.16 3.17 3.18 3.19 3.20 3.21 "🧛♂️ The Vampire Dies in No Time เจ้าแวมไพร์ พันธุ์ตายไว S1-2". เฟซบุ๊ก. Tanudan Studio. May 4, 2024. สืบค้นเมื่อ May 5, 2024.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 "The Vampire Dies in No Time Anime Reveals 3 Cast Members". Anime News Network. April 7, 2021. สืบค้นเมื่อ April 7, 2021.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 5.7 5.8 "The Vampire Dies in No Time Anime Announces More Cast & Staff, October 4 Debut". Anime News Network. August 8, 2021. สืบค้นเมื่อ August 8, 2021.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 "The Vampire Dies in No Time Anime Announces 3 More Cast Members". Anime News Network. September 14, 2021. สืบค้นเมื่อ September 14, 2021.
- ↑ 7.0 7.1 "The Vampire Dies in No Time Anime Casts Yōko Hikasa, Kaori Ishihara". Anime News Network. August 25, 2021. สืบค้นเมื่อ August 25, 2021.
- ↑ 8.0 8.1 Mateo, Alex (August 8, 2022). "The Vampire Dies in No Time Anime's 2nd Season Reveals Promo Video, Cast, January 2023 Premiere". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ August 8, 2022.
- ↑ Cayanan, Joanna (February 7, 2023). "The Vampire Dies in No Time Anime's 2nd Season Reveals New Cast Member". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ February 7, 2023.
- ↑ "Mariya Ise, Nobunaga Shimazaki Join Cast of Vampire Dies in No Time Anime's 2nd Season". Anime News Network. March 26, 2022. สืบค้นเมื่อ March 26, 2022.
- ↑ "週チャンですぐ死ぬ吸血鬼描くギャグ新連載、「実は私は」アフレコレポも". Natalie (ภาษาญี่ปุ่น). June 25, 2015. สืบค้นเมื่อ October 3, 2021.
- ↑ 12.0 12.1 吸血鬼すぐ死ぬ 第24巻 [The Vampire Dies Immediately Volume 24] (ภาษาญี่ปุ่น). Akita Shoten. สืบค้นเมื่อ January 8, 2023.
- ↑ "吸血鬼すぐ死ぬ 第1巻" (ภาษาญี่ปุ่น). Akita Shoten. สืบค้นเมื่อ November 6, 2020.
- ↑ "吸血鬼すぐ死ぬ 第2巻" (ภาษาญี่ปุ่น). Akita Shoten. สืบค้นเมื่อ November 6, 2020.
- ↑ "吸血鬼すぐ死ぬ 第3巻" (ภาษาญี่ปุ่น). Akita Shoten. สืบค้นเมื่อ November 6, 2020.
- ↑ "吸血鬼すぐ死ぬ 第4巻" (ภาษาญี่ปุ่น). Akita Shoten. สืบค้นเมื่อ November 6, 2020.
- ↑ "吸血鬼すぐ死ぬ 第5巻" (ภาษาญี่ปุ่น). Akita Shoten. สืบค้นเมื่อ November 6, 2020.
- ↑ "吸血鬼すぐ死ぬ 第6巻" (ภาษาญี่ปุ่น). Akita Shoten. สืบค้นเมื่อ November 6, 2020.
- ↑ "吸血鬼すぐ死ぬ 第7巻" (ภาษาญี่ปุ่น). Akita Shoten. สืบค้นเมื่อ November 6, 2020.
- ↑ "吸血鬼すぐ死ぬ 第8巻" (ภาษาญี่ปุ่น). Akita Shoten. สืบค้นเมื่อ November 6, 2020.
- ↑ "吸血鬼すぐ死ぬ 第9巻" (ภาษาญี่ปุ่น). Akita Shoten. สืบค้นเมื่อ November 6, 2020.
- ↑ "吸血鬼すぐ死ぬ 第10巻" (ภาษาญี่ปุ่น). Akita Shoten. สืบค้นเมื่อ November 6, 2020.
- ↑ "吸血鬼すぐ死ぬ 第11巻" (ภาษาญี่ปุ่น). Akita Shoten. สืบค้นเมื่อ November 6, 2020.
- ↑ "吸血鬼すぐ死ぬ 第12巻" (ภาษาญี่ปุ่น). Akita Shoten. สืบค้นเมื่อ November 6, 2020.
- ↑ "吸血鬼すぐ死ぬ 第13巻" (ภาษาญี่ปุ่น). Akita Shoten. สืบค้นเมื่อ November 6, 2020.
- ↑ "吸血鬼すぐ死ぬ 第14巻" (ภาษาญี่ปุ่น). Akita Shoten. สืบค้นเมื่อ November 6, 2020.
- ↑ "吸血鬼すぐ死ぬ 第15巻" (ภาษาญี่ปุ่น). Akita Shoten. สืบค้นเมื่อ November 6, 2020.
- ↑ "吸血鬼すぐ死ぬ 第16巻" (ภาษาญี่ปุ่น). Akita Shoten. สืบค้นเมื่อ November 6, 2020.
- ↑ "吸血鬼すぐ死ぬ 第17巻" (ภาษาญี่ปุ่น). Akita Shoten. สืบค้นเมื่อ June 25, 2020.
- ↑ "吸血鬼すぐ死ぬ 第18巻" (ภาษาญี่ปุ่น). Akita Shoten. สืบค้นเมื่อ October 3, 2021.
- ↑ "吸血鬼すぐ死ぬ 第19巻" (ภาษาญี่ปุ่น). Akita Shoten. สืบค้นเมื่อ January 19, 2022.
- ↑ "吸血鬼すぐ死ぬ 第20巻" (ภาษาญี่ปุ่น). Akita Shoten. สืบค้นเมื่อ January 19, 2022.
- ↑ "吸血鬼すぐ死ぬ 第21巻" [The Vampire Dies Immediately Volume 21] (ภาษาญี่ปุ่น). Akita Shoten. สืบค้นเมื่อ July 1, 2022.
- ↑ "吸血鬼すぐ死ぬ 第22巻" [The Vampire Dies Immediately Volume 22] (ภาษาญี่ปุ่น). Akita Shoten. สืบค้นเมื่อ October 30, 2022.
- ↑ "吸血鬼すぐ死ぬ 第23巻" [The Vampire Dies Immediately Volume 23] (ภาษาญี่ปุ่น). Akita Shoten. สืบค้นเมื่อ October 30, 2022.
- ↑ 吸血鬼すぐ死ぬ 第25巻 [The Vampire Dies Immediately Volume 25] (ภาษาญี่ปุ่น). Akita Shoten. สืบค้นเมื่อ March 13, 2023.
- ↑ "アルマジロのジョン from 吸血鬼すぐ死ぬ 第1巻" (ภาษาญี่ปุ่น). Akita Shoten. สืบค้นเมื่อ March 13, 2023.
- ↑ "アルマジロのジョン from 吸血鬼すぐ死ぬ 第2巻" (ภาษาญี่ปุ่น). Akita Shoten. สืบค้นเมื่อ March 13, 2023.
- ↑ "The Vampire Dies in No Time Anime Reveals Promo Video, Teaser Visual, October Debut". Anime News Network. March 27, 2021. สืบค้นเมื่อ March 27, 2021.
- ↑ "Jun Fukuyama Performs The Vampire Dies in No Time Anime's Opening Theme Song". Anime News Network. July 1, 2021. สืบค้นเมื่อ July 1, 2021.
- ↑ Loo, Egan (July 10, 2021). "Takayuki Kondō, Daisuke Ono Perform The Vampire Dies in No Time Anime's Ending Song". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ July 10, 2021.
- ↑ Friedman, Nicholas (September 20, 2021). "The Vampire Dies in No Time From Hunter x Hunter Director Joins the Funimation Fall Lineup". Funimation. สืบค้นเมื่อ September 20, 2021.
- ↑ Mateo, Alex (December 20, 2021). "The Vampire Dies in No Time Anime Gets 2nd Season". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ December 20, 2021.
- ↑ Hodgkins, Crystalyn (November 28, 2022). "The Vampire Dies in No Time Anime's 2nd Season Previewed in Promo Video, Ad". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ November 28, 2022.
- ↑ Mateo, Alex (October 12, 2022). "Jun Fukuyama, TRD Return to Perform Theme Songs for The Vampire Dies in No Time Anime's 2nd Season". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ October 12, 2022.
- ↑ 46.0 46.1 46.2 46.3 46.4 46.5 46.6 46.7 "Sutōrī | Terebi Anime "Kyūketsuki Sugu Shinu" Kōshiki Saito" STORY | TVアニメ「吸血鬼すぐ死ぬ」公式サイト [Story | TV Anime "The Vampire Dies in No Time" Official Website]. sugushinu-anime.jp (ภาษาญี่ปุ่น). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 27, 2021. สืบค้นเมื่อ September 27, 2021.
- ↑ 47.0 47.1 "เจ้าแวมไพร์พันธุ์ตายไว". เอไอเอสเพลย์. สืบค้นเมื่อ February 28, 2023.
- ↑ "On'ea | Terebi Anime "Kyūketsuki Sugu Shinu" Kōshiki Saito" ON AIR | TVアニメ「吸血鬼すぐ死ぬ」公式サイト [On Air | TV Anime "The Vampire Dies in No Time" Official Website]. sugushinu-anime.jp (ภาษาญี่ปุ่น). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 8, 2021. สืบค้นเมื่อ August 8, 2021.
- ↑ "On'ea | Terebi Anime "Kyūketsuki Sugu Shinu" Kōshiki Saito" ON AIR | TVアニメ「吸血鬼すぐ死ぬ」公式サイト [On Air | TV Anime "The Vampire Dies in No Time" Official Website]. sugushinu-anime.jp (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ January 9, 2023.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการของมังงะ ที่อากิตะโชเต็ง (ญี่ปุ่น)
- เว็บไซต์ทางการของอนิเมะ (ญี่ปุ่น)
- อนิเมะ เจ้าแวมไพร์ พันธุ์ตายไว ที่เอไอเอสเพลย์
- อนิเมะ เจ้าแวมไพร์ พันธุ์ตายไว ที่อ้ายฉีอี้
- อนิเมะ เจ้าแวมไพร์ พันธุ์ตายไว ที่เน็ตฟลิกซ์
- อนิเมะ เจ้าแวมไพร์ พันธุ์ตายไว ที่ทรูไอดี
- เจ้าแวมไพร์ พันธุ์ตายไว (มังงะ) ที่เครือข่ายข่าวอนิเมะ