กุ่ย
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
กุ่ย | |||||||
หยกแกะสลักของ กุ่ย (ป้ายอาญาสิทธิ์) สมัยราชวงศ์ฮั่นจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานเสียนหยาง (咸阳博物, Xianyang Museum) | |||||||
ภาษาจีน | 圭 | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ความหมายตามตัวอักษร | ป้ายอาญาสิทธิ์ ป้ายสำหรับบวงสรวง | ||||||
|
กุ่ย (จีน: 圭; พินอิน: Guǐ) คือ แผ่นหยก ซึ่งใช้เป็นสัญญาลักษณ์มงคลและเครื่องสักการะบูชาที่ใช้สำหรับบวงสรวงในศาสนาชาวบ้านจีนและใช้สำหรับจักรพรรดิ, จักรพรรดินี, เจ้าแคว้น, พระราชอัครมเหสี, พระอัครมเหสี, พระมเหสี, พระสนม และพระบรมวงศานุวงศ์เท่านั้น ในบรรดาเครื่องหยก เป็นสัญญาลักษณ์เครื่องบูชาหลักคือทิศตะวันออก[1] แผ่นหยก ของจักรพรรดิ, เจ้าแคว้น เรียกว่า เจิ้นกุ่ย (镇圭) โดยด้านหน้าสลักด้วยลวดลายภูเขาทาสีทองสี่อัน ซึ่งเรียงกันขึ้น ลง ซ้ายและขวา เป็นสัญลักษณ์ของภูเขาของสี่เมืองทางทิศใต้ ทิศใต้ ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และ แสดงความหมายว่า "ประเทศอยู่ในการควบคุมและสี่ด้านมีเสถียรภาพ" (江山在握,安定四方) โดยคาบสมุทรเกาหลี อาณาจักรรีวกีว และไดเวียดซึ่งรับวัฒนธรรมและธรรมเนียมจากจีนโบราณอย่างเข้มข้นล้วนใช้แผ่นหยกในพิธีกรรมของราชสำนักเช่นเดียวกัน
ประติมานวิทยา
[แก้]ในทางประติมานวิทยาของกิมซิ้นในศาสนาชาวบ้านจีนและลัทธิเต๋า เทพเจ้าและเทพนารีชั้นผู้ใหญ่มักทรงแผ่นหยกอาญาสิทธิ์นี้ในพระหัตถ์เสมอ เช่น เง็กเซียนฮ่องเต้ ซีหวังหมู่ ซำกัวไต่เต่ ตี่บ้อเนี่ยเนี้ย ม่าจ้อโป๋แสดงถึงการประทานพรด้านอำนาจราชศักดิ์และบารมีมอบให้แก่ผู้สักการะผู้บูชา
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 《周礼·春官·大宗伯》:「以玉作六器,以礼天地四方:以苍璧礼天,以黄琮礼地,以青圭礼东方,以赤璋礼南方,以白琥礼西方,以玄璜礼北方」