ข้ามไปเนื้อหา

กีฬาเดฟลิมปิก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กีฬาเดฟลิมปิก
Deaflympics
ตราสัญลักษณ์ของผู้พิการทางการได้ยินโลก
ก่อตั้งครั้งที่ 1 ค.ศ. 1924
ฝรั่งเศส ปารีส, ประเทศฝรั่งเศส
จัดขึ้นทุก4 ปี
ครั้งล่าสุดครั้งที่ 24 ค.ศ. 2021
บราซิล กาเซียส โด ซูล, ประเทศบราซิล
ครั้งที่ 19 ค.ศ. 2019
อิตาลี วาลเทลลินา , ประเทศอิตาลี
วัตถุประสงค์มหกรรมกีฬาสำหรับประเทศสมาชิกทั้งหมดของผู้พิการทางการได้ยิน
สำนักงานใหญ่สหรัฐอเมริกา เฟรเดริก สหรัฐอเมริกา
ประธานวาเลรี่ นิกิติต รุกเลเยฟ

กีฬาเดฟลิมปิก (อังกฤษ: Deaflympics) หริอชื่อเดิม กีฬาผู้พิการทางการได้ยินโลก (อังกฤษ: World Games for the Deaf) เป็นมหกรรมกีฬาสำหรับผู้พิการทางการได้ยินซึ่งจัดขึ้นโดยคณะกรรมการกีฬาคนหูหนวกระหว่างประเทศ (Comité International des Sports des Sourds)[1] ชื่อการแข่งขันเกิดจากการรวมกันของคำว่า "คนหูหนวก" (Deaf) และ "โอลิมปิก" (Olympics) ซึ่งหมายถึงการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกของคนหูหนวก หรือ กีฬาเดฟลิมปิก (Deaflympics)

กีฬาเดฟลิมปิกจัดขึ้นในทุก 4 ปี และเป็นการแข่งขันมหกรรมกีฬาที่เก่าแก่ที่สุดรองจากกีฬาโอลิมปิก[2] การแข่งขันครั้งแรกที่จัดขึ้นที่ปารีส ในปี ค.ศ. 1924[3] ยังเป็นการแข่งขันกีฬาครั้งแรกสำหรับผู้ที่มีความพิการอีกด้วยโดยจัดทุกสี่ปีเสมอ ยกเว้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง และในปี ค.ศ. 1949 ได้มีการจัดการแข่งขันฤดูหนาวขึ้น[4] ในช่วงแรกมีนักกีฬาเข้าแข้งขัน 148 คนจากประเทศในทวีปยุโรป

เดิมการแข่งขันใช้ชื่อว่า กีฬาคนหูหนวกนานาชาติ (International Deaf Games) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1924 จนถึง ค.ศ. 1965 และ กีฬาผู้พิการทางการได้ยินโลก (World Games for the Deaf) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1966 จนถึง ค.ศ. 1999[5]

รายชื่อเจ้าภาพเดฟลิมปิกฤดูร้อน

[แก้]
เมืองเจ้าภาพกีฬาเดฟลิมปิกฤดูร้อน
เมืองเจ้าภาพกีฬาเดฟลิมปิกฤดูร้อนของทวีปยุโรป
ครั้งที่ ปี เจ้าภาพ พิธีเปิดโดย วันที่ จำนวนประเทศ จำนวนนักกีฬา กีฬา รายการ เจ้าเหรียญทอง
รวม ชาย หญิง
1 1924 ฝรั่งเศส ปารีส, ฝรั่งเศส ประธานาธิบดี กัสตง ดูแมร์ก 10–17 สิงหาคม 9 148 147 1 6 31 ฝรั่งเศส
2 1928 เนเธอร์แลนด์ อัมสเตอร์ดัม, เนเธอร์แลนด์ สมเด็จพระราชินีนาถวิลเฮลมินาแห่งเนเธอร์แลนด์ 18–26 สิงหาคม 10 212 198 14 5 38 สหราชอาณาจักร
3 1931 เยอรมนี เนือร์นแบร์ค, สาธารณรัฐไวมาร์ เพาล์ ฟ็อน ฮินเดินบวร์ค 19–23 สิงหาคม 14 316 288 28 6 43 เยอรมนี
4 1935 สหราชอาณาจักร ลอนดอน, สหราชอาณาจักร สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักร 17–24 สิงหาคม 12 221 178 43 5 41 สหราชอาณาจักร
5 1939 สวีเดน สต็อกโฮล์ม, สวีเดน สมเด็จพระเจ้ากุสตาฟที่ 5 แห่งสวีเดน 24–27 สิงหาคม 13 250 208 42 6 43 สหราชอาณาจักร
6 1949 เดนมาร์ก โคเปนเฮเกน, เดนมาร์ก สมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 9 แห่งเดนมาร์ก 12–16 สิงหาคม 14 391 342 49 7 51 สหราชอาณาจักร
7 1953 เบลเยียม บรัสเซลส์, เบลเยียม สมเด็จพระราชาธิบดีโบดวงแห่งเบลเยียม 15–19 สิงหาคม 16 473 432 41 7 57 เยอรมนี
8 1957 อิตาลี มิลาน, อิตาลี ประธานาธิบดี โจวันนี กรอนกี 25–30 สิงหาคม 25 635 565 70 9 69 สหภาพโซเวียต
9 1961 ฟินแลนด์ เฮลซิงกิ, ฟินแลนด์ ประธานาธิบดี อุรโฮ เกกโกเนน 6–10 สิงหาคม 24 613 503 110 10 94 สหภาพโซเวียต
10 1965 สหรัฐอเมริกา วอชิงตัน ดี.ซี., สหรัฐ ประธานาธิบดี ลินดอน บี. จอห์นสัน 27 มิถุนายน – 3 กรกฎาคม 27 687 575 112 9 85 สหภาพโซเวียต
11 1969 สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย เบลเกรด, ยูโกสลาเวีย ประธานาธิบดี ยอซีป บรอซ ตีโต 9–16 สิงหาคม 33 1189 964 225 12 105 สหภาพโซเวียต
12 1973 สวีเดน มัลเมอ, สวีเดน สมเด็จพระเจ้ากุสตาฟที่ 6 อดอล์ฟแห่งสวีเดน 21–28 สิงหาคม 31 1116 893 223 11 97 สหรัฐ
13 1977 โรมาเนีย บูคาเรสต์, โรมาเนีย ประธานาธิบดี นีกอลาเอ ชาวูเชสกู 17–27 กรกฎาคม 32 1150 913 237 11 106 สหรัฐ
14 1981 เยอรมนีตะวันตก โคโลญ, เยอรมนีตะวันตก Helmut Schmidt 23 กรกฎาคม – 1 สิงหาคม 32 1198 893 305 11 110 สหรัฐ
15 1985 สหรัฐอเมริกา ลอสแอนเจลิส, สหรัฐ ประธานาธิบดี โรนัลด์ เรแกน 10–20 สิงหาคม 29 995 745 250 11 96 สหรัฐ
16 1989 นิวซีแลนด์ ไครสต์เชิร์ช, นิวซีแลนด์ นายกรัฐมนตรี เดวิด แลงจ์ 7–17 มกราคม 30 955 726 229 12 120 สหรัฐ
17 1993 บัลแกเรีย โซเฟีย, บัลแกเรีย ประธานาธิบดี เจลูย์ เจเลฟ 24 กรกฎาคม – 2 สิงหาคม 52 1679 1295 384 12 126 สหรัฐ
18 1997 เดนมาร์ก โคเปนเฮเกน, เดนมาร์ก จอห์น เอ็ม. เลิฟเวตต์ 13–26 กรกฎาคม 65 2028 1496 534 14 140 สหรัฐ
19 2001 อิตาลี โรม, อิตาลี นายกรัฐมนตรี การ์โล อาเซลโย ชัมปี 22 กรกฎาคม – 1 สิงหาคม 67 2208 1562 646 14 143 สหรัฐ
20 2005 ออสเตรเลีย เมลเบิร์น, ออสเตรเลีย แมรีโกลด์ เซาเทย์ 5–16 มกราคม 63 2038 1402 636 14 147 ยูเครน
21 2009 จีนไทเป ไทเป, จีนไทเป 1 ประธานาธิบดี หม่า อิงจิ่ว 5–15 กันยายน 80 2670 1714 779 17 177 รัสเซีย
22 2013 บัลแกเรีย โซเฟีย, บัลแกเรีย2 ประธานาธิบดี โรเชน เพลฟเนลีเยฟ 26 กรกฎาคม – 4 สิงหาคม2 83 2711 1792 919 16 2032 รัสเซีย
23 2017 ตุรกี ซัมซุน, ตุรกี ประธานาธิบดี เรเจป ไตยิป แอร์โดอัน 18–30 กรกฎาคม 97 2856 1897 959 18 219 รัสเซีย
24 2021 บราซิล กาซียัสดูซุล, บราซิล สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่ง มีเชลี โบลโซนารู 1–15 พฤษภาคม 20223 71 1489 1022 467 183 2193 ยูเครน
25 2025 ญี่ปุ่น โตเกียว, ญี่ปุ่น

รายชื่อเจ้าภาพเดฟลิมปิกฤดูหนาว

[แก้]
ครั้งที่ ปี เจ้าภาพ เปิดโดย วันที่ จำนวนประเทศ จำนวนนักกีฬา กีฬา รายการ เจ้าเหรียญทอง
รวม ชาย หญิง
1 1949 ออสเตรีย เซเฟ็ลด์, ออสเตรีย 26–30 กุมภาพันธ์ 5 33 33 0 2 5 สวิตเซอร์แลนด์
2 1953 นอร์เวย์ ออสโล, นอร์เวย์ 20–24 กุมภาพันธ์ 6 44 42 2 4 9 นอร์เวย์
3 1955 เยอรมนี โอเบอร์อัมเมอร์เกา, เยอรมนีตะวันตก 10–13 กุมภาพันธ์ 8 59 54 5 4 11 นอร์เวย์
4 1959 มงตานา-แวร์มาลา, สวิตเซอร์แลนด์ 27–31 กุมภาพันธ์ 10 42 3 14 นอร์เวย์
5 1963 สวีเดน โอเร, สวีเดน 12–16 มีนาคม 9 60 2 13 ออสเตรีย
6 1967 เยอรมนี แบร์ชเทิสกาเดิน, เยอรมนีตะวันตก 20–25 กุมภาพันธ์ 12 89 2 11 นอร์เวย์
7 1971 Adelboden, Switzerland 25–30 กุมภาพันธ์ 13 145 2 11 สวิตเซอร์แลนด์
8 1975 สหรัฐอเมริกา เลกพลาซิด, สหรัฐ 2–8 กุมภาพันธ์ 13 136 4 12 แคนาดา
9 1979 ฝรั่งเศส เมรีเบล, ฝรั่งเศส 21–27 มกราคม 14 180 3 12 สหภาพโซเวียต
10 1983 อิตาลี มาดอนนาดีกัมปิกลีโอ, อิตาลี 13–23 มกราคม 15 147 3 17 สหภาพโซเวียต
11 1987 นอร์เวย์ ออสโล, นอร์เวย์ 7–14 กุมภาพันธ์ 15 169 3 18 นอร์เวย์
12 1991 แคนาดา แบมฟ์, แคนาดา 2–9 มีนาคม 16 175 5 18 สหภาพโซเวียต
13 1995 ฟินแลนด์ ยัลแอส, ฟินแลนด์ 14–19 มีนาคม 18 260 4 15 รัสเซีย
14 1999 ดาโวส, สวิตเซอร์แลนด์ 6–14 มีนาคม 18 273 5 17 รัสเซีย
15 2003 สวีเดน ซุนส์วัล, สวีเดน 26 กุมภาพันธ์ – 9 มีนาคม 21 259 4 23 รัสเซีย
16 2007 สหรัฐอเมริกา ซอลต์เลกซิตี, สหรัฐ 1–10 กุมภาพันธ์ 23 302 5 26 รัสเซีย
17 2011 สโลวาเกีย วิโซเกตาตรี, สโลวาเกีย 16–28 กุมภาพันธ์ ยกเลิก
18 2015 รัสเซีย ฮันตี-มันซิสค์ และ มักนีโตกอสค์, รัสเซีย รองนายกรัฐมนตรี วีตาลี มุตโค 28 มีนาคม – 5 เมษายน 27 344 5 31 รัสเซีย
19 2019 อิตาลี จังหวัดซอนดรีโอ, อิตาลี มาร์โก สการาเมลลีนี 12–21 ธันวาคม 34 461 6 36 รัสเซีย
20 2023 TBA TBA
21 2027 TBA TBA

สรุปเหรียญตลอดกาล

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "About the International Sports Committee for the Deaf". International Sports Committee for the Deaf (ICSD). สืบค้นเมื่อ 11 September 2009.
  2. What are the Deaflympics?. Disabled World. Retrieved on 17 October 2011.
  3. Future Directions of the Deaflympics เก็บถาวร 2012-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Thefreelibrary.com. Retrieved on 17 October 2011.
  4. Historical overview of the Paralympics, Special Olympics, and Deaflympics เก็บถาวร 2012-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Thefreelibrary.com. Retrieved on 17 October 2011.
  5. "Uma visão historica das Paraolímpiadas,Olímpiadas e Surdolímpiadas". The Free Library. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-13. สืบค้นเมื่อ 11 September 2009.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]