ปฏิกิริยาต่อการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จสวรรคตเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เวลา 15.52 นาฬิกา ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช หลังการสวรรคต มีประเทศต่างๆและองค์การระดับนานาชาติส่งสาส์นแสดงความเสียใจเป็นจำนวนมาก
ในประเทศ
[แก้]นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา กล่าวปราศรัยถึงการสวรรคตของพระมหากษัตริย์ต่อสาธารณชนไว้ว่า:
...ตลอดรัชสมัยเป็นช่วงเวลาที่มีการพัฒนาประเทศในทุกด้าน ทรงเป็นกษัตริย์ ผู้เป็นที่รัก เทิดทูน ทรงเป็นศูนย์รวมใจ ของคนไทยทั้งชาติ นับเป็น 70 ปี ที่ทรงครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุข แห่งมหาชนชาวสยาม โดยแท้... วันที่ 13 ตุลาคม จะเป็นวันที่อยู่ในความทรงจำของประชาชนชาวไทยตลอดไปนานแสนนาน...บัดนี้ 70 ปี ในรัชสมัย ของ "สมเด็จพระภัทรมหาราช" พระมหากษัตริย์ ผู้ประเสริฐยิ่ง ของปวงชนชาวไทยได้สิ้นสุดลงแล้ว พระมหากรุณาธิคุณ ที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยมากมาย ล้นพ้นหาที่สุดมิได้ มากเพียงใด ความวิปโยคอาลัยของพสกนิกรชาวไทย ก็มากมายท่วมท้นหาที่สุดมิได้...โดยรัฐบาลจะแจ้งไปยังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ว่าพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในพระบรมโกศ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม สถาปนาพระรัชทายาทตามกฎมณเฑียรบาลไว้แล้ว เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2515 จากนั้นสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จะดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป...ทั้งนี้ ท่านทั้งหลายอาจเข้าร่วมพิธีหรือ จัดกิจกรรมทางศาสนาของตน ถวายเป็นพระราชกุศล หรือ จัดเป็นพระบรมราชานุสรณ์ อีกทั้งควรใช้โอกาสนี้ ให้กำลังใจแก่กันและกัน เพราะเราทุกคนต่างก็มีหัวอกเดียวกัน เพราะมีพ่อของแผ่นดินร่วมกัน และโปรดช่วยกันรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง มิให้ผู้ใดฉวยโอกาส แทรกเข้ามาก่อความขัดแย้ง จนกลายเป็นความวุ่นวาย...พี่น้องประชาชนชาวไทยทั้งหลาย พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 เสด็จสวรรคตแล้ว ขอพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลใหม่ทรงพระเจริญ[1][2]
นานาชาติ
[แก้]ยุโรป
[แก้]- บริเตนใหญ่ : สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร ทรงมีพระราชสาส์นส่วนพระองค์แสดงความเสียพระราชหฤทัยเป็นอย่างมาก มายังสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร (สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร) ซึ่งแม้พระราชสาส์นดังกล่าวจะไม่มีการเผยแพร่สู่สาธารณชน แต่สื่อมวลชนในอังกฤษคาดหมายว่าคงจะมีเนื้อหาแสดงความอาลัยและคำสดุดีในฐานะที่ทรงปฏิบัติพระราชกรณียากิจนานับประการ[3] นายกรัฐมนตรีเทเรซา เมย์ แสดงความอาลัย ระบุความว่า "ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานกราบบังคมทูลแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์และขอแสดงความเสียใจยิ่งต่อพสกนิกรชาวไทย ในการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงปกครองราชอาณาจักรไทยด้วยพระเกียรติ" ทั้งนี้ในวันที่ 26 ตุลาคม ปี พ.ศ. 2560 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ ดยุกแห่งยอร์ก เสด็จแทนพระองค์ไปในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร [4]
- นครรัฐวาติกัน : สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส ทรงส่งพระราชสาส์นจากกรุงวาติกันถึงพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของไทย เพื่อแสดงความอาลัยแด่การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ความว่า “ข้าพเจ้ารู้สึกโศกเศร้าเสียใจอย่างยิ่งที่ได้รับทราบว่า พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สวรรคตแล้ว และในช่วงเวลาแห่งความโทมนัสนี้ ข้าพเจ้าขอแสดงความเสียใจกับพระบรมวงศานุวงศ์และพสกนิกรชาวไทยทั้งประเทศ” “ข้าพเจ้าสวดมนต์ภาวนาแด่พระองค์ กษัตริย์ผู้เปี่ยมด้วยวิสัยทัศน์และทรงพระปรีชา ผู้นำพาความสงบสุขมาสู่แผ่นดินของพระองค์ ขอทุกวิญญาณของพระองค์ทรงสถิตสู่สวรรคาลัย”[5]
- โรมาเนีย : เจ้าหญิงมาร์กาเรตา มกุฎราชกุมารีแห่งโรมาเนีย ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ สมเด็จพระราชาธิบดีไมเคิลที่ 1 แห่งโรมาเนีย เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย เจ้าชายราดู พระสวามี ไปในการลงพระนามาภิไธยและแสดงความเสียพระทัยต่อการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ไปยังพระบรมวงศานุวงศ์ไทย รวมทั้งประชาชนชาวไทย ณ สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงบูคาเรสต์ ประเทศโรมาเนีย
- สวีเดน : สมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 16 กุสตาฟแห่งสวีเดน และ สมเด็จพระราชินีซิลเวียแห่งสวีเดน ตรัสว่า “หม่อมฉันและและพระราชินีทราบข่าวด้วยความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรในพระบรมโกศ หม่อมฉันและพระราชินีขอแสดงความเสียใจไปยังสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และพระบรมวงศานุวงศ์ รวมถึงประชาชนชาวไทยทั่วประเทศ”[6] ทั้งนี้ในวันที่ 26 ตุลาคม ปีพ.ศ. 2560 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระราชินีซิลเวีย เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปใน พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
- เดนมาร์ก : สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก และ เจ้าชายเฮนริกแห่งเดนมาร์ก พระราชสวามี ทรงมีพระราชสาส์นว่า “หม่อมฉันรู้สึกเสียใจอย่างสุดซึ้งที่ได้ทราบข่าวการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ความสัมพันธ์ระหว่างสองราชวงศ์ของเราใกล้ชิดมาโดยตลอด เจ้าชายเฮนริค (พระสวามี) และหม่อมฉันขอแสดงความเสียใจมายังพระบรมวงศานุวงศ์และประชาชนคนไทย”[7] ทั้งนี้ในวันที่ 26 ตุลาคม ปีพ.ศ. 2560 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ เจ้าฟ้า มกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปใน พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
- เบลเยียม : สมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิปแห่งเบลเยียม และ สมเด็จพระราชินีมาตีลด์แห่งเบลเยียม ส่งทรงพระราชสานส์ ความว่า รู้สึกเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อการเสด็จสวรรคต ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็นการสิ้นสุดรัชสมัยที่ยาวนาน ข้าพเจ้าขอส่งความระลึกไปถึงพระราชวงศ์ และพสกนิกรชาวไทย ทั้งนี้ในวันที่ 9 พฤศจิกายน ทั้ง 2 พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ นิโคลัส นิอง ผู้ดำรงตำแหน่งอุปทูตสถานเอกอัครราชทูตเบลเยียมประจำประเทศไทยเดินทางไปวางพวกมาลาถวายราชสักการะพระบรมศพ ทั้งนี้ในวันที่ 26 ตุลาคม ปีพ.ศ. 2560 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระราชินีมาทิลเดอ เสด็จพระราชดำเนินไปใน พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
- นอร์เวย์ : สมเด็จพระราชาธิบดีฮารัลด์ที่ 5 แห่งนอร์เวย์ และ สมเด็จพระราชินีซอนยาแห่งนอร์เวย์ มีพระราชสาสน์แสดงความเสียพระราชหฤทัย ไปยังสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สำหรับการเสด็จสวรรคต ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ใจความว่า “หม่อมฉันและพระราชินีได้ทราบข่าวด้วยความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อการสูญเสียพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 หม่อมฉันขอแสดงความเสียใจถึงฝ่าพระบาทและพระราชวงศ์ ตลอดจนขอร่วมถวายความอาลัยร่วมกับประชาชนชาวไทย”[8] ทั้งนี้ในวันที่ 26 ตุลาคม ปีพ.ศ. 2560 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ เจ้าฟ้าชาย มกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปใน พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
- เนเธอร์แลนด์ : สมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลม-อเล็กซานเดอร์ และ สมเด็จพระราชินีแม็กซิมาแห่งเนเธอร์แลนด์ ทรงมีพระราชสานส์ความว่า ความรู้สึกที่ข้าพเจ้าได้ทราบข่าวการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สำหรับประชาชนชาวไทยแล้ว พระองค์เป็นเหมือนดั่งความมั่นคง แม้แต่มีช่วงเวลาที่ปั่นป่วนตลอดรัชสมัยที่ยาวนานกว่า 70 ปี ครั้งแล้วครั้งเล่า ที่พระองค์ทรงเน้นย้ำถึงความสามัคคีและน้ำหนึ่งใจเดียวกัน นึกถึงครั้นสมเด็จพระราชินีแม็กซิม่า, พระมารดา เจ้าหญิงเบียทริกซ์ และตัวข้าพเจ้าเอง เคยได้เฝ้าพระองค์ ขอส่งความระลึกถึงสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์” ทั้งนี้ได้มีพระราชดำรัสเทิดทูนพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรในพระบรมโกศ ในฐานะที่ทรงให้ความสำคัญต่อคุณค่าแห่งความสามัคคีและความร่วมมืออย่างสันติของประชาชนในชาติ นอกจากนี้กระทรวงต่างประเทศเนเธอร์แลนด์ ปรับข้อแนะนำสำหรับนักท่องเที่ยวดัตช์ในไทย เพื่อให้เข้ากับสภาวะของการไว้ทุกข์ โดยแนะนำให้นักท่องเที่ยวเคารพกฎระเบียบและสังคมไทย[9] ทั้งนี้ในวันที่ 26 ตุลาคม ปีพ.ศ. 2560 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระราชินีมักซิมา เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปใน พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
- ฝรั่งเศส : ประธานาธิบดีฟรองซัวส์ ออลลองด์ ได้กล่าวแสดงความอาลัยต่อการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และเทิดทูนพระองค์สำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน จนทำให้พระองค์เป็นที่รักของชาวไทย [10]
- รัสเซีย : ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย ได้ส่งสาส์นแสดงความอาลัยใจความว่า “ตลอดหลายสิบปีที่ทรงครองราชย์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเป็นที่รักและเทิดทูนอย่างจริงใจของพสกนิกรชาวไทย และทรงเป็นที่เคารพนับถืออย่างยิ่งในต่างประเทศ”[11]
- เยอรมนี : นายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคิล ได้แสดงความอาลัยต่อพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เช่นกัน โดยระบุว่า"พระองค์ได้สร้างความทันสมัยและสร้างความแข็งแกร่งต่อเศรษฐกิจไทยในช่วงการครองราชย์นาน 70 ปี ยิ่งไปกว่านั้น พระองค์ยังทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจอย่างมิรู้จักเหน็ดเหนื่อย เพื่อความผาสุกของปวงชนชาวไทย" [12]
อเมริกา
[แก้]- แคนาดา : นายกรัฐมนตรีจัสติน ทรูโด ทวีตข้อความแสดงความเสียใจมายังประชาชนชาวไทย ความว่า "ข้าพเจ้าขอร่วมแสดงความเสียใจต่อการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระมหากษัตริย์ผู้เป็นที่รักของข้าพเจ้าและประชาชนชาวไทยทุกคน" ในขณะที่เดวิด จอห์นสตัน ผู้สำเร็จราชการแคนาดา ส่งสาสน์แสดงความเสียใจถึงรัฐบาลไทย
- เม็กซิโก : ประธานาธิบดีเอนรีเก เปญา เนียโต ทวีตข้อความแสดงความเสียใจมายังประชาชนชาวไทย ความว่า "ข้าพเจ้ามีความโศกเศร้าเป็นอย่างยิ่ง หลังได้ทราบข่าวการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช" "ขอแสดงความเสียใจต่อประชาชนชาวไทยและรัฐบาลไทยต่อการสูญเสียในครั้งนี้"
- สหรัฐอเมริกา : ประธานาธิบดีบารัก โอบามา แถลงการณ์แสดงความเสียใจมายังประชาชนชาวไทย โอบามากล่าวว่า "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเป็นพระมหากษัตริย์ทรงงานอย่างทรงไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยในการพัฒนาบ้านเมือง ทรงอุทิศพระองค์ด้วยความแน่วแน่เพื่อยกมาตรฐานความเป็นอยู่ของราษฎร ด้วยพระปรีชาสามารถด้านการริเริ่มสร้างสรรค์ตลอดจนทรงใฝ่พระทัยในนวัตกรรม พระองค์ได้ทรงคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ ๆ ซึ่งเป็นที่ยกย่องไปทั่วโลก น้ำพระราชหฤทัยที่ทรงห่วงใยพสกนิกรชาวไทยโดยเสมอมาจะเป็นสมบัติอันล้ำค่าที่ชนรุ่นหลังจักเทิดทูนสืบต่อไป"
และยังกล่าวว่า "ทรงเป็นมิตรที่ใกล้ชิดของสหรัฐอเมริกาและทรงเป็นพันธมิตรที่ทรงค่ายิ่งของประธานาธิบดีสหรัฐฯ หลายคน ข้าพระพุทธเจ้าได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เข้าเฝ้าเมื่อคราวเยือนประเทศไทยในปี พ.ศ. 2555 ข้าพระพุทธเจ้ายังรำลึกได้ถึงพระราชจริยวัตรอันงดงามและนํ้าพระราชหฤทัยอันเปี่ยมด้วยความรักความเมตตาที่พระองค์ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทย
[13] - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา แอชตัน คาร์เตอร์ กล่าวว่า "พวกเราขอร่วมกับประธานาธิบดี บารัก โอบามา แสดงความเสียใจมายังพระราชวงศ์ไทยและประชาชนชาวไทยทุกคนต่อการสูญเสียในครั้งนี้"[13]
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา จอห์น เคร์รี กล่าวว่า "ในนามของประชาชนชาวอเมริกัน จะขอร่วมรำลึกถึงพระองค์ท่าน เช่นเดียวกับประชาชนชาวไทย ซึ่งทราบดีว่าขณะนี้ทุกคนกำลังอยู่ในช่วงเวลาแห่งความเศร้าโศก จึงขอใช้โอกาสนี้ส่งมอบความปรารถนาดีไปยังประชาชนชาวไทยทุกคน
- อดีตประธานาธิบดี บิล คลินตัน และภรรยา ตัวแทนพรรคเดโมแครต ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2559 ฮิลลารี คลินตัน ได้ร่วมแสดงความเสียใจต่อการสวรรคต กล่าวว่า "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเป็นผู้นำที่ประเสริฐและเปี่ยมล้นด้วยพระเมตตา พระองค์ทรงเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐและไทย ในฐานะชาติพันธมิตรแรกของสหรัฐในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งยังทรงเป็นผู้นำที่อุทิศตนเพื่อประชาราษฎร์อย่างแท้จริง" และยังกล่าวอีกว่า "ข้าพเจ้ารู้สึกเป็นเกียรติที่ได้เดินทางเยือนขณะดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเพื่อเข้าร่วมในงานเฉลิมฉลองในวโรกาสที่พระองค์ทรงครองราชสมบัติครบ 50 ปี ทั้งยังได้มีโอกาสเฉลิมฉลองและแบ่งปันความรักในดนตรีแจ๊สร่วมกับพระองค์, และฮิลลารีก็รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าพระองค์เมื่อครั้งเดินทางเยือนประเทศไทยร่วมกับประธานาธิบดีบารัก โอบามา ในปี พ.ศ. 2555"[13]
เอเชีย
[แก้]- อาเซอร์ไบจาน : ประธานาธิบดีอิลฮัม อะลีเยฟ ส่งสาส์นแสดงความเสียใจมายังนายกรัฐมนตรีไทย โดยกล่าวว่า "ข้าพเจ้ารู้สึกเสียใจเป็นอย่างมากต่อข่าวการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เราทั้งหลายขอร่วมแสดงความอาลัยในวาระแห่งความสูญเสียอันยิ่งใหญ่"[14]
- บาห์เรน : สมเด็จพระราชาธิบดีฮะมัด บิน อีซา อัลเคาะลีฟะฮ์ และมกุฎราชกุมารแห่งบาห์เรน ทรงส่งพระราชสาส์นแสดงความเสียพระราชหฤทัยมายังสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร นายกรัฐมนตรีและประชาชนชาวไทย[15] นอกจากนี้นายกรัฐมนตรีบาห์เรนยังแสดงความเสียใจยังสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระบรมวงศานุวงศ์ และประชาชนชาวไทยความว่า "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จะทรงถูกจดจำโดยคนรุ่นต่อไปในความพยายามของพระองค์ เพื่อสันติภาพและความมั่นคงของประชาคมโลก รวมทั้งพระราชกรณียกิจเพื่อการพัฒนาและความเจริญรุ่งเรืองของประเทศไทย"[16]
- บังกลาเทศ : ประธานาธิบดีอับดุล ฮามิด ส่งสาส์นแสดงความเสียใจโดยกล่าวว่า "รู้สึกตกใจอย่างที่สุดต่อการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ขอให้ดวงพระวิญญาณของพระองค์เสด็จสู่สุคติ"[17] ในขณะที่นายกรัฐมนตรีเชก ฮาซินา ส่งสาส์นแสดงความเสียใจมายังนายกรัฐมนตรีไทย โดยกล่าวยกย่องว่า "พระองค์ทรงเป็นที่เคารพบูชาของชาวบังกลาเทศ ทรงเป็นสัญลักษณ์ของคุณความดี การอุทิศตน และงานด้านมนุษยธรรม" และ "พระองค์จะทรงเป็นที่เคารพนับถือในใจของเราตลอดไป ในฐานะพระมหากษัตริย์ในอุดมคติ ผู้ทรงประสบความสำเร็จในทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง"[18]
- ภูฏาน : สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก เสียพระราชหฤทัยเป็นอย่างมาก ในคืนแรกแห่งการสวรรคต พระองค์ทรงนำสมาชิกพระราชวงศ์ร่วมจุดเทียนและสวดมนต์เพื่อแสดงความระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระราชดำรัสสั่งให้วันที่ 14 ตุลาคมเป็นวันหยุดราชการ และทรงจัดให้มีการสวดมนต์แสดงความอาลัยเป็นกรณีพิเศษทั่วประเทศ[19] และในการเสด็จฯ ถวายสักการะพระบรมศพ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระองค์ทรงพระอักษรแสดงความอาลัยความว่า "แด่พระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทย ผู้ซึ่งหาที่เปรียบมิได้ ทรงเปี่ยมด้วยวิสัยทัศน์และเปรียบดั่งอัญมณีล้ำค่า ที่ได้ทรงเข้าสู่ปรินิพพานแล้วนั้น ข้าพเจ้าขอแสดงความเคารพอย่างถึงที่สุด พร้อมด้วยผู้คนที่สวดภาวนาอย่างสุดหัวใจ ขอให้พระองค์ท่านเสด็จพระราชสมภพในฐานะธรรมราชาตลอดกาล เพื่อสร้างคุณประโยชน์ให้แก่ทุกสรรพชีวิต" ทั้งนี้ในวันที่ 16 ตุลาคม สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระราชินีเจตซุน เพมา วังชุก เจ้าชายจิกมี นัมเกล วังชุก มกุฎราชกุมารแห่งภูฏาน มายัง พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เพื่อวางพวงมาลาและสักการะพระบรมศพพร้อมลงพระนามแสดงความอาลัย[20]
- จีน : ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ส่งสาส์นแสดงความเสียใจมายังสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระบรมวงศานุวงศ์ และประชาชนชาวไทยความว่า "รัฐบาลจีนของแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งไปยังพระบรมวงศานุวงศ์และประชาชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้พัฒนาประเทศ พระองค์ทรงเป็นผู้ขับเคลื่อนให้ความสัมพันธ์ระหว่างสองแผ่นดิน คือไทย-จีนที่ไม่สามารถแบ่งแยกออกไปจากกันได้ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนจะไม่มีวันแน่นแฟ้นหากปราศจากพระองค์ การที่ประเทศไทยสูญเสียพระองค์ คือการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของของประชาชนทั้งสองแผ่นดินเช่นกัน และโดยส่วนตัว ท่านประธานาธิบดีเองเชื่อว่าพระองค์จะยังคงอยู่ในใจของประชาชนทั้งสองแผ่นดินนี้ตลอดไป"[21] เช่นเดียวกับนายกรัฐมนตรีหลี่ เค่อเฉียง ที่ส่งสาส์นแสดงความเสียใจความว่า "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงห่วงใยพสกนิกรเป็นอย่างยิ่ง ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจด้วยพระวิริยะอุตสาหะ เพื่อความผาสุกของพสกนิกร ทรงเป็นที่เคารพรักและเทิดทูนของคนไทยทั้งชาติ การสูญเสียในครั้งนี้จึงนับเป็นความสูญเสียอย่างใหญ่หลวงของประชาชนชาวไทย พระองค์ทรงทุ่มเทพระวรกายในการส่งเสริมมิตรภาพระหว่างไทยกับจีน และทรงมีบทบาทสำคัญในการพัฒนากิจการด้านความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศอย่างที่ยากจะหาใครเสมอเหมือนได้"[22]
- อินเดีย : ประธานาธิบดีประณับ มุกเคอร์จี ส่งสาส์นแสดงความเสียใจมายังสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ความตอนหนึ่งว่า "ข้าพเจ้ารู้สึกโศกเศร้าเสียใจเป็นอย่างยิ่งเมื่อทราบข่าวการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ประเทศไทยและประชาคมโลก ได้สูญเสียผู้นำผู้ทรงไหวพริบและทุ่มเทอุทิศพระวรกาย ประเทศอินเดียได้สูญเสียเพื่อนอันเป็นที่รัก และจะสรรเสริญพระราชกรณียกิจของพระองค์ในการกระชับความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศตลอดไป"[23] นายกรัฐมนตรีนเรนทระ โมที ทวิตข้อความแสดงความเสียใจว่า "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นที่เคารพอย่างที่สุดของเหล่าพสกนิกรชาวไทย ข้าพเจ้าขอส่งความปรารถนาดีอย่างที่สุดมายังพระบรมวงศานุวงศ์ และชาวไทย ประชาชนชาวอินเดียและข้าพเจ้าขอร่วมไว้อาลัยต่อการสูญเสียพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ผู้นำสูงสุดในช่วงเวลาของเรา" และยังได้กล่าวต่อว่า "ขอร่วมส่งใจไปยังพระราชวงศ์จักรีของไทยที่อยู่ในความทุกข์ในขณะนี้"[24]
- อิหร่าน : ประธานาธิบดีฮัสซัน โรฮานี ส่งสาส์นแสดงความเสียใจมายังนายกรัฐมนตรีไทย ความว่า "ในนามของข้าพเจ้า รัฐบาล และประชาชนแห่งสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน ขอแสดงความเสียใจต่อพระบรมวงศานุวงศ์ รัฐบาล และปวงชนชาวไทย ต่อการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช" และกล่าวว่าพระองค์ "ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่และมีความปราดเปรื่อง"[25][26]
- อิสราเอล : ประธานาธิบดีอิสราเอลส่งสาส์นแสดงความเสียใจมายังสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์[27]
- ญี่ปุ่น : สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะและสมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโกะทรงไว้ทุกข์ถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเป็นเวลา 3 วัน และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ราชเลขาธิการเป็นผู้แทนพระองค์อัญเชิญพระราชสาส์น และลงนามแสดงความอาลัย ณ สถานเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงโตเกียว[28] นายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ ส่งสาส์นแสดงความเสียใจความว่า "ในนามรัฐบาลญี่ปุ่นและประชาชน ผมขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้ง ผมจะจดจำพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชในฐานะที่เป็นผู้มีพระปรีชาสามารถสูงส่งและทรงมีพระราชจริยวัตรงดงาม” และกล่าวยกย่องว่า "พระองค์เป็นผู้ที่มีความปรีชาสามารถในการพลิกฟื้นเศรษฐกิจไทย ในฐานะที่เป็นศูนย์รวมจิตใจปวงชนชาวไทย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิอดุลยเดชทรงช่วยนำการพัฒนาและการยกระดับความเป็นอยู่ของชีวิตประชาชนไทยให้ดีขึ้น"[24] นอกจากนี้ในวันที่ 20 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพปีที่ 82 ของสมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโกะ ยังได้ทรงตอบจดหมายคำถามแก่สมาคมผู้สื่อข่าวประจำสำนักพระราชวังญี่ปุ่นใจความตอนหนึ่งว่า "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชแห่งประเทศไทยเปรียบเสมือนพี่ชายผู้แสนดี" ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ในวันที่ 5 มีนาคม - 6 มีนาคม สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ และ สมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโกะ หลังจากทรงปฏิบัติพระราชกรณียากิจที่ประเทศลาว ทั้ง 2 พระองค์ เสด็จพระราชดำเนินเยือน ราชอาณาจักรไทย เป็นการส่วนพระองค์ เพื่อถวายสักการพพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช[29]
- จอร์แดน : สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลอฮ์ที่ 2 ทรงส่งพระราชสาส์นแสดงความเสียพระราชหฤทัยมายังสมเด็จพระบรมโอรสธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร[30]
- คาซัคสถาน : ประธานาธิบดีนูร์ซุลตัน นาซาร์บายิฟ ส่งสาส์นแสดงความเสียใจมายังนายกรัฐมนตรีไทย ความว่า "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จะทรงสถิตย์อยู่ในความทรงจำของชาวคาซัคสถานตลอดไป ในฐานะผู้นำผู้ทรงมีวิสัยทัศน์และมีพระราชจริยวัตรอันโดดเด่น ที่ช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศให้แน่นแฟ้น"[31]
- เกาหลีใต้ : ประธานาธิบดีพัก กึน-ฮเย ส่งสาส์นแสดงความเสียใจมายังนายกรัฐมนตรีไทยโดยกล่าว "แสดงความเสียใจอย่างที่สุดต่อพระราชวงศ์ และประชาชนชาวไทยต่อการจากไปของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ผู้ทรงเป็นบิดาและผู้นำทางจิตใจของไทย ทรงทำให้ประชาชนชาวไทยมีความเป็นหนึ่งเดียว และสร้างความทันสมัยให้กับไทย ความเป็นผู้นำของพระองค์ท่านจะสถิตและเป็นที่รักและเคารพยิ่งของประชาชนชาวไทย"[32]
- คูเวต : สมเด็จพระราชาธิบดีเศาะบาห์ อัลอะห์มัด อัลญาบิร อัศเศาะบาห์ ทรงส่งพระราชสาส์นแสดงความเสียพระราชหฤทัยมายังสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เช่นเดียวกับมกุฎราชกุมาร และนายกรัฐมนตรีแห่งคู่เวต รวมทั้งประธานสภาแห่งชาติ[33]
- คีร์กีซสถาน : ประธานาธิบดีอัลมัซเบค อาตัมบาเยฟ ส่งสาส์นแสดงความเสียใจมายังสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โดยกล่าวยกย่องพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชในด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน และขอร่วมแสดงความอาลัยอย่างจริงใจในช่วงเวลาอันยากลำบากของประเทศไทย[34]
- มัลดีฟส์ : ประธานาธิบดีอับดุลลาห์ ยามีน ส่งสาส์นแสดงความเสียใจมายังนายกรัฐมนตรีไทย ความตอนหนึ่งว่า "ข้าพเจ้ารู้สึกเสียใจเป็นอย่างมากเมื่อทราบข่าวการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระมหากษัตริย์ผู้ทรงครองราชย์ยาวนานที่สุดในปัจจุบัน การอุทิศพระองค์เพื่อความก้าวหน้าและความเจริญรุ่งเรืองของประเทศไทย โดยเฉพาะการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนผู้ยากไร้ในชนบทจะถูกจดจำตลอดไป"[35] และได้มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาเศรษฐกิจ เป็นผู้แทนพิเศษเดินทางมาถวายความเคารพพระบรมศพ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท[36]
- มองโกเลีย : ประธานาธิบดีซาคีอากีอิน เอลเบกดอร์ช ส่งสาส์นแสดงความเสียใจมายังสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร โดยกล่าวว่า "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จะทรงประทับอยู่ในความทรงจำและในจิตใจของเรา ในฐานะที่ทรงเป็นสัญลักษณ์แห่งความสามัคคีของคนในชาติ ผู้ทรงอุทิศชีวิตและจิตวิญญาณของพระองค์เพื่อการพัฒนาประเทศและชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน"[37]
- เนปาล : ประธานาธิบดีพิทยา ภัณทารี ส่งสาส์นแสดงความเสียใจมายังสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร โดยกล่าวแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อการสวรรคตของพระมหากษัตริย์ไทยอันเป็นที่เคารพรักยิ่ง ในขณะเดียวกัน นายกรัฐมนตรีเนปาลและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเนปาลได้ทรงสาส์นแสดงความเสียใจมายังประเทศไทยเช่นกัน[38]
- โอมาน : สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านกอบูส บิน ซะอีด อัสซะอีด ทรงส่งพระราชสาสน์แสดงความเสียพระราชหฤทัยมายังสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร[39]
- ปากีสถาน : นายกรัฐมนตรีนาวาซ ชาริฟ ส่งสาส์นแสดงความเสียใจความว่า "ข้าพเจ้าขอแสดงความเสียใจต่อสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ ต่อการสูญเสียผู้นำอันเป็นที่รักและเคารพมากที่สุด การเสด็จฯ เยือนปากีสถานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในปี พ.ศ. 2505 ยังคงตราตรึงอยู่ในความทรงจำในฐานะก้าวย่างสำคัญของความสัมพันธ์ไทย-ปากีสถาน ประชาชนและรัฐบาลปากีสถานยังคงรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงพระราชทานความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยพิบัติเหตุการณ์แผ่นดินไหวในอาซาดจัมมูและแคชเมียร์ในปี พ.ศ. 2548 โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารทรงนำสิ่งของบรรเทาทุกข์มายังปากีสถานด้วยพระองค์เอง"[40][32]
- กาตาร์ : สมเด็จพระราชาธิบดีตะมีม บิน ฮะมัด อัษษานี เจ้าผู้ครองรัฐกาตาร์ รองเจ้าผู้ครองรัฐกาตาร์ และนายกรัฐมนตรีกาตาร์ ส่งพระราชสาส์นแสดงความเสียพระราชหฤทัยมายังสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร[41]
- ซาอุดีอาระเบีย : สมเด็จพระราชาธิบดีซัลมาน บิน อับดัลอะซิซ อาล สะอูด ทรงส่งพระราชสาส์นแสดงความเสียพระราชหฤทัยมายังสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารความว่า "ข้าพเจ้ารับทราบข่าวการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ข้าพเจ้าในนามของรัฐบาลซาอุดีอาระบียและประชาชน ขอแสดงความเสียพระราชหฤทัยอย่างสุดซึ้งต่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร พระบรมวงศานุวงศ์ และรัฐบาลไทย ตลอดจนประชาชนชาวไทยทุกหมู่เหล่าต่อการสูญเสียอันใหญ่หลวงในครั้งนี้" เช่นเดียวกับมกุฎราชกุมาร และรองมกุฎราชกุมารแห่งซาอุดีอาระเบีย[42]
- ศรีลังกา : ประธานาธิบดีไมตรีพาลา สิริเสนา และนายกรัฐมนตรีศรีลังกา เดินทางไปลงนามแสดงความอาลัย ณ สถานเอกอัครราชทูตไทยประจำศรีลังกา โดยประธานาธิบดีได้ระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชที่ได้ทรงกระชับความสัมพันธ์ระหว่างศรีลังกากับไทยให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ในขณะที่นายกรัฐมนตรีศรีลังกาลงนามตอนหนึ่งว่า "ไม่อาจลืมพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชที่ได้ทรงทำให้ประเทศไทย และประชาชนชาวไทยพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว"[43]
- ไต้หวัน : ประธานาธิบดีไช่ อิงเหวิน ได้เดินทางไปลงนามแสดงความอาลัย ณ สำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทย ในกรุงไทเป โดยกล่าวว่า "ในนามของประชาชนสาธารณรัฐจีน ข้าพเจ้าขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งมายังพระบรมวงศานุวงศ์และประชาชนคนไทยทุกคนสำหรับการสูญเสียกษัตริย์ที่ดีที่สุด พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช"[44]
- ฮ่องกง : ผู้ช่วยหัวหน้าผู้บริหารเกาะฮ่องกง แคร์รี่ แลม กล่าวแสดงความเสียใจต่อกรณีเสด็จสู่สวรรคาลัยของพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศในนามของรัฐบาลและประชาชนชาวฮ่องกง ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้ง โดยประชาชนชาวฮ่องกงจะร่วมไว้อาลัยต่อการสูญเสียครั้งนี้เช่นกัน[45]
- มาเก๊า : ผู้ช่วยหัวหน้าผู้บริหาร เพอร์ นันโค ความเสียใจเสด็จสู่สวรรคาลัยของพระบาทเจ้าอยู่ในพระโกศของรัฐบาลและประชาชนชาวมาเก๊า ขอแสดงความเสียใจ ตลอดไป
- ติมอร์-เลสเต : รัฐบาลติมอร์-เลสเตส่งสาส์นแสดงความเสียใจมายังประเทศไทย[46]
- เติร์กเมนิสถาน : ประธานาธิบดีกูร์บันกูลืย เบียร์ดีมูฮาเมดอฟ ส่งสาสน์แสดงความเสียใจมายังนายกรัฐมนตรีไทย ในนามของประชาชนชาวเติร์กเมนิสถาน และในนามส่วนตัว โดยกล่าวแสดงความเสียใจอยากสุดซึ้ง และเป็นกำลังใจให้พระญาติและพระสหายของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ตลอดจนประชาชนชาวไทย[47]
- สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ : ประธานาธิบดีเคาะลีฟะฮ์ บิน ซายิด อัลนะฮ์ยาน นายกรัฐมนตรีมุฮัมมัด บิน รอชิด อัลมักตูม และมกุฎราชกุมารแห่งรัฐอาบูดาบี ทรงมีพระราชสาส์นแสดงความเสียพระราชหฤทัยความว่า "ประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรียูเออี รวมทั้งมกุฏราชกุมารแห่งรัฐอาบูดาบี ขอแสดงความอาลัยต่อข่าวการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และขอแสดงความเสียใจและความเห็นใจอย่างจริงใจต่อรัฐบาลและประชาชนชาวไทยในนามของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ต่อการสูญเสีย และขอแสดงความเสียใจเป็นการส่วนพระองค์ต่อพระราชวงศ์ และขอให้ประเทศไทยประสบความเจริญรุ่งเรืองและมีเสถียรภาพสืบไป"[32]
- อุซเบกิสถาน : รักษาการประธานาธิบดีชัฟคัต มีร์ซีโยเยฟ ส่งสาส์นแสดงความเสียใจมายังสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โดยกล่าวแสดงความอาลัยต่อการสูญเสียรัฐบุรุษผู้ทรงคุณอันโดดเด่น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช[48]
อาเซียน
[แก้]- บรูไน : สมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละห์ ทรงมีพระราชสาส์นแสดงความเสียพระราชหฤทัยมายังสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร มีความตอนหนึ่งว่า "การเสียสละและความรักอย่างไร้ขีดจำกัดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชต่อปวงประชาไม่เพียงแต่เป็นสิ่งที่ตราตรึงในจิตใจของประชาชนชาวไทย แต่ยังได้รับการเคารพยกย่องไปทั่วโลก ตลอดช่วง 70 ปีในรัชสมัยของพระองค์ ประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว พระบิดาของชาวไทยจะไม่เพียงแต่อยู่ในหัวใจของผู้ที่ใกล้ชิดกับพระองค์เท่านั้น แต่จะทรงอยู่ในใจของผู้คนที่พระองค์ทรงได้เปลี่ยนแปลง" และทรงมีพระราชสาส์นมายังนายกรัฐมนตรี ความตอนหนึ่งว่า "การอุทิศตนเพื่อปวงประชาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลเดชเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของพสกนิกรจะเป็นที่จดจำตลอดไป"[49][50]
- กัมพูชา : สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ส่งสาส์นแสดงความเสียใจมายังนายกรัฐมนตรี โดยกล่าวว่า "การสวรรคตนี้ถือเป็นการสูญเสียอันยิ่งใหญ่ของประเทศไทย พสกนิกรไทย มิตรของไทยทั่วโลก รัฐบาลและประชาชนกัมพูชาขอน้อมถวายและขอส่งความเสียใจอย่างสุดซึ้งมายังสมเด็จพระราชินี พระบรมวงศานุวงศ์ รัฐบาลและประชาชนไทย" ด้านพระมหาวีรกษัตรีย์นโรดม มุนีนาถ สีหนุ พระวรราชมารดาแห่งกัมพูชา (พระมารดาในพระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม มีข้อความพระราชสาส์นแสดงความเสียพระราชหฤทัย ไปยังสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ต่อการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ความว่า...
“ข้าพเจ้ารู้สึกเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระบรมราชชนกนาถ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เป็นการสูญเสียพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นที่รักยิ่งและศูนย์รวมจิตใจของประชาชน ที่ทรงทุ่มเทพระวรกายปฏิบัติพระราชกรณียกิจมากมายแก่ประเทศชาติ ในสถานการณ์ที่เจ็บปวดและเศร้าโศกนี้ ข้าพเจ้าขอร่วมถวายความอาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อีกทั้งขอแสดงความเสียใจไปยังสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถด้วย รวมทั้งพระราชวงศ์ไทยทั้งมวล – พระนามาภิไธย มุนีนาถ สีหนุ.”รวมทั้งสมเด็จพระอนุชนโรดม อรุณรัศมีแห่งกัมพูชา พระขนิษฐา (น้องสาว) ในพระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี เสด็จไปทรงถวายสักการะและทรงลงพระนามถวายความอาลัยต่อการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา.[32][51]
- อินโดนีเซีย : ประธานาธิบดีโจโก วีโดโด ส่งสาส์นแสดงความเสียใจ โดยกล่าวว่า "โลกได้สูญเสียผู้นำที่ใกล้ชิดกับประชาชน เป็นการสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของอาเซียนและของโลก"[52][53]
- ลาว : บุนยัง วอละจิด ประธานประเทศลาว ส่งสาส์นแสดงความเสียใจไปยังสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โดยมีความตอนหนึ่งว่า "พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงธรรมและเสียสละอย่างใหญ่หลวง ทรงมีบทบาทอย่างสำคัญในการปรับปรุงและกระชับความสัมพันธ์ฉันมิตรและความร่วมมือระหว่างสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวกับราชอาณาจักรไทย การสวรรคตจึงเป็นความสูญเสียอันใหญ่หลวงของชาวไทยและเป็นการสูญเสียมิตรของชาวลาว" ในขณะที่นายกรัฐมนตรีทองลุน สีสุลิด ส่งสาส์นแสดงความเสียใจมายังนายกรัฐมนตรีไทย[54]
- มาเลเซีย : สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซีย ทรงส่งพระราชสาส์นแสดงความเสียพระราชหฤทัย[55] เช่นเดียวกับนายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซะก์ ที่ส่งสาส์นแสดงความเสียใจมีความตอนหนึ่งว่า "พระองค์ทรงเป็นแบบอย่างที่สูงส่ง การอุทิศพระองค์เพื่อประเทศไทยและภูมิภาคนั้นมากเกินกว่าคำบรรยายใด"[56]
- พม่า : ประธานาธิบดีทีนจอ ส่งสาส์นแสดงความเสียใจมายังสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และนายกรัฐมนตรีไทย[57] ในขณะที่ ออง ซาน ซูจี ส่งสาส์นแสดงความเสียใจมายังนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และกล่าวแสดงความเสียใจระหว่างการประชุมบิมสเทกที่ประเทศอินเดีย[58]
- ฟิลิปปินส์ : ประธานาธิบดีโรดรีโก ดูแตร์เต ส่งสาส์นแสดงความเสียใจความตอนหนึ่งว่า "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ไม่เพียงเป็นกษัตริย์ที่ครองราชยาวนานที่สุดในโลก แต่ยังเป็นผู้นำทางประเทศไทยไปสู่ประเทศที่มีความก้าวหน้าที่สุดประเทศหนึ่งในเอเชีย"[59]
- สิงคโปร์ : นายกรัฐมนตรีลี เซียนลุง กล่าวแสดงความเสียใจความว่า "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงครองราชย์ยาวนานที่สุดในโลก อีกทั้งยังทรงเป็นที่เคารพรักของปวงชนชาวไทยทุกคน เพราะพระองค์ทรงอุทิศตนเพื่อประชาชนของพระองค์ และเพื่อประเทศชาติ เพราะพระองค์ต้องการให้ประชาชนในประเทศมีความเป็นอยู่ที่ดี พระองค์ทรงใช้ความสามารถที่มีและพระราชอำนาจเพื่อปกครองประเทศให้เป็นปึกแผ่น"[60]
- เวียดนาม : ประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา ตลอดจนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเวียดนาม ส่งสาส์นแสดงความเสียใจถึงพระบรมวงศานุวงศ์ รัฐบาลและประชาชนชาวไทย โดยมีใจความว่า "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองสิริราชสมบัติ 70 ปี โดยพระองค์ทรงเสียสละเพื่อให้ประชาชนไทยมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี ซึ่งการเสด็จสวรรคตของพระองค์เป็นความสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ของพระบรมวงศานุวงศ์ ประชาชนอาเซียนและปวงชนชาวไทย เวียดนามตระหนักถึงบทบาทที่สำคัญของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเนื่องจากทรงมีส่วนร่วมกระชับความสัมพันธ์ร่วมมือระหว่างเวียดนามกับไทยในหลายปีที่ผ่านมาและหวังว่า ประเทศไทยจะฟันฝ่าความสูญเสียครั้งนี้ไปได้และพัฒนาก้าวรุดหน้าต่อไปตามความปรารถนาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช"[61]
แอฟริกา
[แก้]- ไลบีเรีย : ประธานาธิบดีเอลเลน จอห์นสัน เซอร์ลีฟ ส่งสาส์นแสดงความเสียใจมายังรัฐบาลแห่งประชาชนชาวไทย ความว่า "พวกเราต่างทราบว่านี่คือเหตุการณ์ที่สะเทือนใจและความโศกเศร้าอันใหญ่หลวงจากการสูญเสียพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทย[62]
- ไนจีเรีย : [63]
- แอฟริกาใต้ : [64]
- เลโซโท : 2 พฤศจิกายน 2559 เวลา 10.05 น. – สมเด็จพระราชาธิบดีเลตซีที่ 3 แห่งเลโซโท เสด็จพระราชดำเนินไปในการทรงเคารพพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง – สมเด็จพระราชาธิบดีเลตซี่ที่ 3 เคยเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศไทยเพื่อร่วมพระราชพิธีเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เมื่อปีพ.ศ. 2549
ออสเตรเลีย
[แก้]- ออสเตรเลีย : นายกรัฐมนตรีแมลคัม เทิร์นบุลล์ ส่งสาส์นแสดงความเสียใจมายังประชาชนชาวไทย ความว่า "ในนามของรัฐบาลและประชาชนชาวออสเตรเลีย ข้าพเจ้าขอถวายความอาลัยแด่พระราชวงศ์ของไทยและร่วมแสดงความเสียใจกับประชาชนชาวไทยในช่วงเวลาที่โศกเศร้านี้ พระองค์ทรงมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของทวีปเอเชีย ในรัชสมัยของพระองค์ ประเทศไทยได้เติบโตจากประชากร 20 ล้านคน เป็นกว่า 67 ล้านคนในปัจจุบัน และมีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างยอดเยี่ยม ประชาชนชาวไทยในออสเตรเลียซึ่งมีจำนวนประมาณ 50,000 คน จะร่วมถวายอาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชด้วยเช่นเดียวกัน"[13]
- นิวซีแลนด์ : นายกรัฐมนตรีจอห์น คีย์ ส่งสาส์นแสดงความเสียใจมายังประชาชนไทยโดยกล่าวว่า "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชสมบัตินานที่สุดในโลก และได้ทรงพัฒนาประเทศจนเจริญก้าวหน้าในด้านต่าง ๆ ทำให้ไทยกลายเป็นหนึ่งในประเทศสำคัญของภูมิภาคนี้ และเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจสำคัญชาติหนึ่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งตลอดระยะเวลาที่พระองค์ครองราชย์ นิวซีแลนด์และไทยได้พัฒนาความสัมพันธ์จนกลายเป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิด ซึ่งต่างปรารถนาให้เกิดสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาคนี้" และยังขอร่วมแสดงความเสียใจต่อการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของประชาชนชาวไทยในครั้งนี้ด้วย [13]
องค์การเหนือรัฐ
[แก้]- สหภาพยุโรป : นายดอนัลต์ ตุสก์ ประธานคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป และนายฌอง-โคลด ยุงเคอร์ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป เป็นตัวแทนของสหภาพยุโรปออกแถลงการณ์แสดงความเสียใจต่อการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พร้อมยกย่องว่าระหว่างการครองราชย์ตลอดระยะเวลา 70 ปี โครงการพัฒนาชนบทของพระองค์ได้พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวไทยหลายล้านคน พระองค์จะทรงเป็นที่จดจำต่อไปสำหรับคนรุ่นต่อไป โดยเฉพาะในยุโรปพระองค์ทรงเป็นที่จดจำในฐานะผู้ที่ทรงงานหนักเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน[65]
- สหประชาชาติ : นายพัน กี-มุน กับตัวแทนประเทศสมาชิกของสหประชาชาติ 193 ประเทศ ได้ร่วมยืนไว้อาลัยต่อการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ระหว่างการประชุมใหญ่แห่งสหประชาชาติครั้งที่ 70 เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 โดยนายพัน กี-มุน กล่าวว่า "พระองค์ทรงเป็นที่เคารพอย่างสูงของพสกนิกรชาวไทยและได้รับความนับถืออย่างสูงจากนานาประเทศ ทรงได้รับการถวายรางวัลจากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติเมื่อปี 2549 เพื่อเชิดชูผลงานของพระองค์" [66][13] นอกจากนี้ สมัชชาสหประชาชาติยังได้จัดประชุมครั้งพิเศษเพื่อสดุดีพระเกียรติยศของพระองค์ในวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2559[67]
- กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (ยูนิเซฟ) ออกแถลงการณ์แสดงความเสียใจกับการสูญเสียอันยิ่งใหญ่ของประชาชนชาวไทย โดยกล่าวว่า "พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเป็นที่รักของประชาชนและได้ทรงอุทิศพระวรกายและพระราชหฤทัยเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนทั่วประเทศอย่างไม่ทรงเหน็ดเหนื่อยย่อท้อ นอกจากนั้น พระองค์ยังทรงมุ่งมั่นในการพัฒนาเด็กและเยาวชนซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาประเทศมาโดยตลอด"[68]
- สหพันธ์แบดมินตันโลก : สหพันธ์แบดมินตันโลกออกแถลงการณ์ผ่านสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทยแสดงความเสียใจต่อการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งพระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์แก่วงการแบดมินตันมาอย่างยาวนาน พระองค์ทรงได้รับการถวายอิสริยาภรณ์สูงสุด "เพรสซิเดนต์เมดัล" ซึ่งเป็นเพียง 1 เดียวในโลกที่ได้รับรางวัลนี้ นายพออุล-เอริก เฮเยอร์ ลาร์เซิน ประธานสหพันธ์แบดมินตันโลก ได้กล่าวยกย่องว่า "พระองค์เป็นแบบอย่างที่ยิ่งใหญ่ของวงการแบดมินตันโลก"[69] [70]
ดูเพิ่ม
[แก้]- พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
- การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "NPM: Nation is in its greatest sorrow, expects new King by tradition". Bangkok Post. 29 October 2016. สืบค้นเมื่อ 13 October 2016.
- ↑ https://www.nstda.or.th/th/news/82-mourn-king9/319-premier-speech-king9 ฉบับแปลไทยของ สวทช.
- ↑ "โลกอาลัย "ในหลวงภูมิพล" มหากษัตริย์นักพัฒนา". Manager Online. 2559. สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ "ผู้นำหลายชาติส่งสารแสดงความเสียใจในหลวงสวรรคต". Sanook. 2559. สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ""โป๊ปฟรานซิส" ส่งพระราชสาส์นแสดงความอาลัย ในหลวง ร.9 สวรรคต". Chaoprayanews. 2559. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-21. สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "โลกอาลัย "ในหลวงภูมิพล" มหากษัตริย์นักพัฒนา". Manager Online. 2559. สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ "โลกอาลัย "ในหลวงภูมิพล" มหากษัตริย์นักพัฒนา". Manager Online. 2559. สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ "โลกอาลัย "ในหลวงภูมิพล" มหากษัตริย์นักพัฒนา". Manager Online. 2559. สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ "โลกอาลัย "ในหลวงภูมิพล" มหากษัตริย์นักพัฒนา". Manager Online. 2559.
{{cite web}}
:|access-date=
ต้องการ|url=
(help);|url=
ไม่มีหรือว่างเปล่า (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ""โลกสูญเสียผู้นำที่ใกล้ชิดประชาชน" นานาประเทศอาลัยในหลวงรัชกาลที่9สวรรคต". Posttoday. 2559. สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "โลกอาลัย "ในหลวงภูมิพล" มหากษัตริย์นักพัฒนา". Manager Online. 2559. สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ "ผู้นำหลายชาติส่งสารแสดงความเสียใจในหลวงสวรรคต". Sanook. 2559. สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 13.0 13.1 13.2 13.3 13.4 13.5 "The Latest: South Korea Says King Was Father of Thailand". New York Times. สืบค้นเมื่อ 22 October 2016.
- ↑ "Ilham Aliyev expresses condolences to Thailand's PM". Trend News Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-12. สืบค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Leadership offers condolences over demise of Thai King". Bahrain News Agency. สืบค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "HRH Premier condoles with Thailand". Bahrain News Agency. สืบค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "President mourns death of Thai King". Office of the President of Bangladesh. สืบค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "PM mourns death of Thai King Bhumibol". Daily Sun. สืบค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ""องค์จิกมี" ทรงโทมนัส! นำชาวภูฏานทั่วประเทศจุดเทียนถวายอาลัย "ในหลวง"". ข่าวสด. สืบค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ""กษัตริย์จิกมี"ทรงพระอักษรถวายความอาลัยแด่ในหลวงรัชกาลที่ 9". โพสต์ทูเดย์. สืบค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ประธานาธิบดี สีจิ้น ผิง ส่งสาส์นแสดงความเสียใจต่อการสวรรคตของพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล". โพสต์ทูเดย์. สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "นายกฯจีนส่งสาส์นไว้อาลัยต่อการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่9". ประชาชาติธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "PRESIDENT OF INDIA WRITES TO CROWN PRINCE OF THAILAND CONVEYING CONDOLENCES ON THE PASSING AWAY OF KING BHUMIBOL ADULYADEJ". The President Office. สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 24.0 24.1 "ผู้นำโลกร่วมถวายอาลัย 'มหากษัตริย์นักพัฒนา'". ฐานเศรษฐกิจ. สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "President sends condolences over Thailand King's death". The President Office. สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ประธานาธิบดีอิหร่านส่งสาส์นแสดงความเสียใจ". TVSHIA. สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Statement by the President of Israel". Embassy of Israel to Thailand. สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ซาบซึ้ง… สิ่งที่มหามิตรอย่าง "ญี่ปุ่น" แสดงต่อกันในยามยาก". สปริงนิวส์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-03. สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ""ทรงเป็นเหมือนพี่ชายที่แสนดี" จักรพรรดินีญี่ปุ่นทรงเขียนระลึกถึงในหลวง ร.9". Post Today. สืบค้นเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "His Majesty offers condolences over death of Thai monarch". The Jordan Times. สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Telegram of condolences to Prime Minister of the Kingdom of Thailand Prayut Chan-o-cha on death of the King of Thailand Bhumibol Adulyadej". OFFICIAL SITE OF THE PRESIDENT OF THE REPUBLIC OF KAZAKHSTAN. สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 32.0 32.1 32.2 32.3 "ผู้นำนานาชาติอาลัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ". มติชน. สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Amir offers condolences to Thailand". Kuwait Times. สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Президент Алмазбек Атамбаев Таиланд Королдугунун Премьер-министри Прают Чан-О-Чага жана Таиланддын королевасы Сирикит айымга Таиланддын королу Пхумипон Адульядеттин дүйнөдөн кайтышына байланыштуу көӊүл айтты". The President Office. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-18. สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "President sends condolence message to the Prime Minister of Thailand". The President Office. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-29. สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Special Envoy of the President pays respect to the Late King of Thailand". The President Office. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-29. สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ Embassy of Mongolia in Bangkok
- ↑ "Nepal condoles Thai King Bhumibol Adulyadej's death". The Himalayan. สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "HM sends condolences to Thailand Crown Prince". Times of Oman. สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "PM condoles sad demise of King Bhumibol Adulyadej of Thailand". SAMAA. สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Emir sends condolences on Thai king's death". Gulf Times. สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "สมเด็จพระราชาธิบดีซาอุฯ มีพระราชสาส์นแสดงความเสียพระราชหฤทัย". คมชัดลึก. สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ปธน.และนายกฯศรีลังกา ถวายสักการะแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ". มติชน. สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ประธานาธิบดีไต้หวันร่วมไว้อาลัย ยกย่องทรงเป็นกษัตริย์ที่ดีที่สุด". โพสต์ทูเดย์. สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ผู้นำทั่วโลกถวายคำอาลัย สรรเสริญพระปรีชาสามารถยิ่ง". Thaitribune. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-27. สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Condolences to Thailand". Government of Timor-Leste. สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "The President of Turkmenistan sent letter of condolences to the Prime Minister of Thailand on occasion of the decease of the King Bhumibol Adulyadej". State News Agency of Turkmenistan. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-18. สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Interim President of Uzbekistan expresses condolences to Thailand". UzDaily. สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ Message of condolences[ลิงก์เสีย], The Brunei Times, สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2559
- ↑ สุลต่านบรูไน มีพระราชสาส์น แสดงความเสียพระทัย ‘ในหลวง’ เสด็จสวรรคต, ไทยรัฐ, สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2559
- ↑ Hun Sen Sends Condolences Over Thai King’s Death[ลิงก์เสีย], Khmer Times, สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2559
- ↑ Jokowi expresses condolences following King Bhumibol's passing, Jakarta Post, สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2559
- ↑ ผู้นำอินโดฯ สิงคโปร์ เสียใจสุดซึ้ง ‘ในหลวง’ สวรรคต สูญเสียครั้งใหญ่สุด, ไทยรัฐ, สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2559
- ↑ ประธานประเทศลาวส่งสาส์นแสดงความเสียใจต่อการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ เก็บถาวร 2016-10-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ผู้จัดการ, สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2559
- ↑ กษัตริย์มาเลเซียแสดงความเสียพระราชหฤทัย, คมชัดลึก, สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2559
- ↑ Najib expresses condolences over King Bhumibol's passing, The Star, สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2559
- ↑ Condolences stream in from around the world, Bangkok Post, สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2559
- ↑ อองซาน ซูจี-ผู้นำ 5 ชาติ ร่วมยืนไว้อาลัย ในหลวง ร.9 กลางที่ประชุมผู้นำ BRICS-BIMSTEC เก็บถาวร 2016-10-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เรื่องเล่าเช้านี้, สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2559
- ↑ ""โลกสูญเสียผู้นำที่ใกล้ชิดประชาชน" นานาประเทศอาลัยในหลวงรัชกาลที่9สวรรคต". Post Today. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "นายลี เซียนลุง ผู้นำสิงคโปร์ร่วมแสดงความเสียใจกับประชาชนชาวไทย". Media Insight. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-28. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ผู้นำเวียดนามส่งสารแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อพระบรมวงศานุวงศ์และประชาชนไทย". VOV5. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Liberia Consoles Thailand, Haiti". allafrica.
- ↑ "Nigeria: Buhari Condoles With Thailand Over Death of Monarch". allafrica.
- ↑ "South Africa: SA Mourns Thai King's Passing". allafrica.
- ↑ "Statement by Presidents Tusk and Juncker on the passing away of King Bhumibol Adulyadej of Thailand". General Secretariat of the Council. 2559. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "สมัชชาสหประชาชาติยืนสงบนิ่งไว้อาลัย". Komchadluek.net. 2559. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "UN calls special assembly to honour King Bhumibol". บางกอกโพสต์. 2559. สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "แถลงการณ์ขององค์การยูนิเซฟต่อการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช". UNICEF. 2559. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ "ส.แบดมินตันโลกอาลัยในหลวงเสด็จสวรรคต". Siamsport. 2559. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "BWF MOURNS KING BHUMIBOL'S PASSING". Badminton World Federation. 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-01. สืบค้นเมื่อ 22 October 2016.