ข้ามไปเนื้อหา

การเยือนภาคใต้ของเติ้ง เสี่ยวผิง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รูปปั้นของเติ้ง เสี่ยวผิง ที่สวนสาธารณะเหลียน-ฮฺวาชาน ในนครเชินเจิ้น ประเทศจีน

การเยือนภาคใต้ของเติ้ง เสี่ยวผิง (จีนตัวย่อ : 邓小平南巡; จีนตัวเต็ม : 鄧小平南巡) หรือ การเยือนภาคใต้ พ.ศ. 2535 (จีนตัวย่อ: 九二南巡; จีนตัวเต็ม: 九二南巡) เป็นการเยือนภาคใต้ของจีนของเติ้ง เสี่ยวผิง อดีตผู้นำสูงสุดของจีน ได้แก่ เชินเจิ้น จูไห่ กว่างโจว และเซี่ยงไฮ้ ระหว่างวันที่ 18 มกราคม – 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535[1][2][3][4][5] การพูดคุยและข้อสังเกตของเติ้งระหว่างการเยือนได้ตอกย้ำการดำเนินการตามโครงการปฏิรูปเศรษฐกิจจีนของเขาในจีนแผ่นดินใหญ่ ซึ่งหยุดชะงักลงหลังจากการปราบปรามของทหารในการประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมินในปี พ.ศ. 2532 จากคำสั่งของเติ้งเอง[1][6][7][8] การเยือนภาคใต้ปี พ.ศ. 2535 ได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวางว่าเป็นจุดสำคัญในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของจีน เนื่องจากมีส่วนช่วยรักษาการปฏิรูปเศรษฐกิจของจีน ตลอดจนตลาดทุน และเสถียรภาพของสังคม[1][6][9][10][11][12]

ในระหว่างการเยือนภาคใต้ เติ้งได้เน้นย้ำกับผู้นำทางทหารหลายคนของกองทัพปลดปล่อยประชาชน คือ หยาง ช่างคุน หลิว หฺวาชิง และหยาง ไป่ปิง ว่า "ผู้ที่ไม่ส่งเสริมการปฏิรูปสมควรถูกถอดออกจากตำแหน่งผู้นำ" และบังคับให้เจียง เจ๋อหมิน ซึ่งขณะนั้นเป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน สนับสนุนและดำเนินโครงการปฏิรูปเศรษฐกิจต่อไป[13] นอกจากนี้เขายังหวังว่ามณฑลกวางตุ้งจะตามทัน "สี่เสือแห่งเอเชีย" ในแง่ของการพัฒนาเศรษฐกิจภายใน 20 ปี[14][15] ข้อสังเกตและความคิดเห็นที่โดดเด่นบางประการจากเติ้งในระหว่างการเยือน ได้แก่ "ไม่สำคัญว่าแมวจะเป็นสีดำหรือขาว ขอแค่จับหนูได้ มันก็เป็นแมวที่ดี" (不管黑猫白猫,能捉到老鼠就是好猫) ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกโดยเขาคริสต์ในทศวรรษ 1960 และ "การพัฒนาคือคำตอบสุดท้าย (发展才是硬道理)" และ "รัฐบาลเชินเจิ้น ควรเข้มงวดมากขึ้นในการปฏิรูปเศรษฐกิจ กล้าทดลอง และไม่ควรทำตัวเป็นผู้หญิงรัดเท้า"[10][16][17][18]

อย่างไรก็ตาม แม้เติ้งเองก็กล่าวว่าจะต้องบังคับใช้การต่อต้านการทุจริตตลอดกระบวนการปฏิรูปและการเปิดประเทศทั้งหมด และเน้นย้ำถึงความสำคัญของหลักนิติธรรม[19][20] แต่ในความเป็นจริงการเยือนภาคใต้ไม่ได้แก้ไขปัญหาการทุจริต ตลอดจนความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจในจีน และไม่ได้ดำเนินการปฏิรูปการเมืองของจีนต่อซึ่งล้มเหลวและสิ้นสุดลงในการประท้วงและการสังหารหมู่ที่จัตุรัสเทียนอันเหมินในปี พ.ศ. 2532[21][22][23][24][25]

เบื้องหลัง

[แก้]

การหยุดการปฏิรูปและเปิดประเทศ

[แก้]

สมาชิกคณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนมีความเห็นขัดแย้งกันอย่างรุนแรงว่าควรจะดำเนินโครงการปฏิรูปเศรษฐกิจจีนต่อไปหรือไม่ หลังจากที่เติ้ง เสี่ยวผิง ได้สั่งการให้ทหารเข้าปราบปรามการผู้ชุมนุมในการประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมินในปี พ.ศ. 2532[8][26] หลังจากที่ จ้าว จื่อหยาง อดีตเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนและนักปฏิรูปชั้นนำถูกบังคับให้ลาออกจากตำแหน่ง เนื่องจากมีการสนับสนุนนักศึกษาและต่อต้านการปราบปรามของทหารในการประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน เจียง เจ๋อหมิน จึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเลขาธิการคนใหม่ โดยได้รับการสนับสนุนจากผู้นำอนุรักษ์นิยมฝ่ายซ้ายที่ทรงอำนาจหลายคน เช่น เฉิน ยฺหวิน และหลี่ เซียนเนี่ยน[27][28]

ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2532 คณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนมีมติ ("การตัดสินใจเกี่ยวกับการแก้ไขธรรมาภิบาลเพิ่มเติมและการปฏิรูปเชิงลึก") โดยระบุว่าการปฏิรูปเร็วเกินไป และตัดสินใจยกเครื่องการเปลี่ยนแปลง[29] ผลที่ตามมาคือ โครงการปฏิรูปเศรษฐกิจจีนต้องหยุดชะงักลง โดยเฉพาะหลังการปฏิวัติ พ.ศ. 2532 ในยุโรป และการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี พ.ศ. 2534

สื่อ

[แก้]

ผลของการปฏิรูปตลาดซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเยือนภาคใต้ของเติ้ง ได้รับการถ่ายทอดทางโทรทัศน์อย่างกว้างขวาง[30]: 84 

ในฤดูใบไม้ผลิปี พ.ศ. 2534 หนังสือพิมพ์เจี๋ยฟางเดลี (Jiefang Daily) ในเซี่ยงไฮ้ได้ตีพิมพ์บทความหลายบทความที่เขียนโดยหฺวาง ฝู่ผิง ซึ่งส่งเสริมการปฏิรูป ซึ่งได้รับการสนับสนุนอย่างรวดเร็วจากเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นและประชาชน[26][31] ในทางกลับกัน สื่อหลายแห่งในกรุงปักกิ่งซึ่งควบคุมโดยเจียง เจ๋อหมิน และหลี่ เผิง (นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น) ตอบโต้ด้วยการวิพากษ์วิจารณ์บทความของหฺวางโดยตรง และตั้งคำถามว่าจีนกำลังเดินตามเส้นทางทุนนิยมหรือสังคมนิยม[26][31]

การเยือน

[แก้]

วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2535 เติ้ง เสี่ยวผิง ในวัย 87 ปี เริ่มต้นการเดินทางเยือนภาคใต้ของจีนด้วยการเยือนเขตอู่ชาง เมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ และเมืองฉางชา มณฑลหูหนาน[2] ต่อจากนั้น เขายังได้ไปเยือนหลายเมืองในมณฑลกวางตุ้ง รวมถึง เชินเจิ้น จูไห่ และกว่างโจว ตั้งแต่วันที่ 19–29 มกราคม[2] หลังจากนั้นเขาแวะพักในมณฑลเจียงซี และในวันที่ 31 มกราคม เติ้งก็เดินทางมาถึงเซี่ยงไฮ้ ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดการเยือนภาคใต้ของเขา[2] หลังจากใช้เวลาร่วมเทศกาลตรุษจีนในเซี่ยงไฮ้ เติ้งก็เดินทางกลับกรุงปักกิ่งในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ระหว่างทาง เขาได้แวะเยี่ยมนานกิง ในมณฑลเจียงซู และมณฑลอานฮุย[2]

ในช่วงแรก การเยือนภาคใต้ของเติ้งแทบจะไม่ได้รับความสนใจจากสื่อปักกิ่งและสื่อระดับชาติ เนื่องจากสื่อเหล่านั้นอยู่ภายใต้การควบคุมของคู่แข่งทางการเมืองของเติ้ง แม้กระทั่งเจียง เจ๋อหมิน เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนในขณะนั้น ก็แสดงท่าทีสนับสนุนน้อยมากและนิ่งเฉยต่อการเดินทางครั้งนี้ ทำให้ยิ่งตอกย้ำถึงความพยายามลดทอนความสำคัญของเติ้งบนเวทีการเมือง

อย่างไรก็ตาม สื่อในฮ่องกงรายงานข่าวการเดินทางของเติ้งเป็นแห่งแรก หลังได้รับการยืนยันจากรัฐบาลเชินเจิ้น ในขณะที่หนังสือพิมพ์เขตเศรษฐกิจพิเศษเชินเจิ้นรายวัน (深圳特区报) ได้เผยแพร่รายงานโดยละเอียดเกี่ยวกับการเดินทางของเติ้งในวันที่ 26 มีนาคม โดยไม่ได้รับอนุมัติจากรัฐบาลกลาง นับเป็นสื่อแห่งแรกในจีนแผ่นดินใหญ่ที่กล้าทำเช่นนั้น[32]

เชินเจิ้น

[แก้]
ห้องพักของโรงแรมที่เติ้งพักขณะไปเยือนเชินเจิ้น

เวลา 9 โมงเช้าของวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2535 เติ้ง เสี่ยวผิง เดินทางมาถึงเชินเจิ้น หนึ่งในเขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งแรกของจีนที่ได้รับการอนุมัติจากตัวเขาเอง ท่ามกลางการต้อนรับจากเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น รวมถึง เซี่ย เฟย์ เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนประจำมณฑลกวางตุ้ง[2][33] ในวันรุ่งขึ้น เติ้งได้เดินทางไปเยี่ยมชมตึกกั๋วเม่า (Guomao Building) และบริษัทเทคโนโลยีหลายแห่งในเชินเจิ้น[2] ในวันที่ 21 มกราคม เติ้งได้เยี่ยมชมเมืองจีนโพ้นทะเลและหมู่บ้านพื้นเมือง[2] ในเช้าตรู่ของวันที่ 22 มกราคม เติ้งพร้อมด้วยภรรยา บุตร และหลาน ได้เดินทางไปเยี่ยมชมสวนพฤกษศาสตร์ไห่หลินร่วมกัน ซึ่งพวกเขายังร่วมปลูกต้นไม้ไว้เป็นที่ระลึกด้วย ในช่วงบ่ายวันเดียวกัน เติ้งได้กล่าวสุนทรพจน์อันโด่งดังต่อเจ้าหน้าที่รัฐบาลเซินเจิ้น คำพูดของเขาในครั้งนี้เป็นแรงกระตุ้นสำคัญของนโยบาย "ปฏิรูปและเปิดประเทศ" และมีความหมายต่อทิศทางเศรษฐกิจจีนอย่างมาก:[2][17][18]

"รัฐบาลเชินเจิ้นควรกล้าหาญมากขึ้นในการดำเนินการปฏิรูปและเปิดประเทศ กล้าที่จะทดลอง และไม่ควรทำตัวเหมือนผู้หญิงรัดเท้า หากคุณคิดว่าอะไรถูกแล้ว จงทดลองและยอมรับมันอย่างกล้าหาญ บทเรียนสำคัญของเชินเจิ้นคือ "จิตวิญญาณแห่งความกล้าหาญ" หากปราศจากจิตวิญญาณแห่งความกล้าหาญและพลังขับเคลื่อน คุณจะไม่สามารถค้นหาเส้นทางที่ดีหรือเส้นทางใหม่ หรือสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ได้ (改革开放胆子要大一些,敢于试验,不能像小脚女人一样。看准了的,就大胆地试,大胆地闯。深圳的重要经验就是敢闯。没有一点闯的精神,没有一点“冒”的精神,没有一股气呀、劲呀,就走不出一条好路,走不出一条新路,就干不出新的事业)

ในระหว่างการเยือน เติ้งคาดหวังว่ามณฑลกวางตุ้งจะตามทัน "สี่เสือแห่งเอเชีย" ในแง่ของการพัฒนาเศรษฐกิจภายใน 20 ปี[2][14][15] การเยือนของเติ้งยังช่วยรักษาตลาดทุนของจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดหลักทรัพย์สองแห่งที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นใหม่ ได้แก่ ตลาดหลักทรัพย์เซี่ยงไฮ้ และตลาดหลักทรัพย์เชินเจิ้น [12][34][35][36] เติ้งชี้ให้เห็นว่า:[36][37]

ประเด็นที่ว่าหุ้นและตลาดหลักทรัพย์นั้นเหมาะสมกับระบบสังคมนิยมหรือไม่ หรือเป็นสิ่งเฉพาะตัวของระบบทุนนิยมเท่านั้น ยังคงเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วน ไม่มีความชัดเจนเบ็ดเสร็จ และนี่ก็หมายความว่า เราต้องทดลองมันก่อน! (证券、股票,这些东西究竟好不好,有没有危险,是不是资本市场独有的东西,社会主义能不能用?允许看,但要坚决地试)

จูไห่

[แก้]

วันที่ 23 มกราคม เติ้งเดินทางไปยังจูไห่ ซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษอีกแห่งในมณฑลกวางตุ้ง[2] เติ้งได้เน้นย้ำกับผู้นำทางทหารหลายคนของกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน รวมถึงหยาง ช่างคุน, หลิว หัวชิง และหยาง ไป่ปิง ว่า "ผู้ที่ไม่ส่งเสริมการปฏิรูปควรจะถูกลดตำแหน่งลง"[13] นอกจากนี้ เขายังไปเยี่ยมชมบริษัทเทคโนโลยีขั้นสูงหลายแห่งในจูไห่ โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเรียกร้องให้นักเรียนจีนที่เรียนอยู่ต่างประเทศกลับมาสู่มาตุภูมิ[2] เติ้งออกจากพื้นที่ในวันที่ 29 มกราคม[2]

เติ้งเยี่ยมชมสะพานหนานผู่ ในเซี่ยงไฮ้เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535

เซี่ยงไฮ้

[แก้]

วันที่ 31 มกราคม เติ้งเดินทางมาถึงเซี่ยงไฮ้ เพื่อร่วมฉลองเทศกาลตรุษจีนประจำปี 2535[2]

เติ้งเยี่ยมชมสะพานหนานผู่ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ และในวันต่อมา เขาเดินทางไปบนแม่น้ำหวงผู่โดยเรือสำราญ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น รวมถึงหฺวาง จฺวี๋ และอู๋ ปังกั๋ว[2] ร่วมกับหยาง ช่างคุน และคนอื่น ๆ เติ้งเยี่ยมชมบริษัทเทคโนโลยีขั้นสูงหลายแห่งในเซี่ยงไฮ้ ตั้งแต่วันที่ 10 กุมภาพันธ์[2] ในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ เขาใช้เวลากลางคืนของเทศกาลโคมไฟที่ย่านช้อปปิ้งถนนหนานจิง[2]

เติ้งเดินทางออกจากเซี่ยงไฮ้กลับไปยังปักกิ่งในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ สิ้นสุดการเดินทางภาคใต้ของเขา[2] เขาเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการพัฒนาพื้นที่ผู่ตงใหม่ของเซี่ยงไฮ้ ทำให้เมืองนี้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้งในฐานะศูนย์กลางเศรษฐกิจแห่งหนึ่งของจีน

คำกล่าวที่โดดเด่น

[แก้]

ในระหว่างการเยือนภาคใต้ เติ้งได้กล่าวสุนทรพจน์หลายต่อหลายครั้ง ซึ่งสร้างเสียงสนับสนุนนโยบายปฏิรูปประเทศของเขาอย่างกว้างขวาง เขาเน้นย้ำถึงความสำคัญของการปฏิรูปเศรษฐกิจจีน และวิพากษ์วิจารณ์ผู้ที่ต่อต้านการปฏิรูป แม้ว่าจะมีการถกเถียงกันว่าเติ้งเคยพูดคำว่า "การร่ำรวยนั้นเป็นสิ่งที่รุ่งโรจน์ (致富光荣)" จริงหรือไม่[38] แต่คำพูดอันเป็นที่รับรู้ของเขานี้ได้ปลดปล่อยคลื่นแห่งการประกอบการส่วนบุคคล ซึ่งยังคงขับเคลื่อนเศรษฐกิจของจีนในปัจจุบัน[39] นอกจากนี้ เขายังระบุว่า กลุ่ม "ฝ่ายซ้าย" ภายในพรรคคอมมิวนิสต์จีนนั้นอันตรายมากกว่าพวก "ฝ่ายขวา" มาก[2]

หนึ่งในสุนทรพจน์ที่ทรงอิทธิพลที่สุดเกี่ยวกับการปฏิรูปและเปิดประเทศ เติ้ง เสี่ยวผิงได้กล่าวไว้ว่า:[40]: 44 

แก่นแท้ของความแตกต่างระหว่างสังคมนิยมกับทุนนิยม ไม่ใช่ว่า การวางแผนของรัฐจะเหนือกว่ากลไกตลาด หรือกลไกตลาดจะเหนือกว่าการวางแผนของรัฐ เศรษฐกิจแบบแผนมิใช่สิ่งเดียวกับสังคมนิยม และในเศรษฐกิจแบบทุนนิยมก็มีการวางแผนเช่นกัน ทั้งการวางแผนและกลไกตลาด ล้วนเป็นเครื่องมือทางเศรษฐกิจ ... ตราสารและตลาดหลักทรัพย์ ดีหรือไม่ดี? สังคมนิยมสามารถนำมาใช้ได้หรือไม่? เราควรเปิดใจศึกษา แต่ที่สำคัญยิ่งกว่านั้นคือ เราควรลองทดลองดู ... เพื่อให้สังคมนิยมมีความได้เปรียบ จำเป็นต้องกล้าหาญในการนำสิ่งที่ดีและความสำเร็จต่างๆ ของอารยธรรมที่มนุษยชาติสร้างสรรค์มาปรับใช้"

คำกล่าวที่สำคัญอื่น ๆ ของเติ้งระหว่างการเยือนภาคใต้ ได้แก่:

  • "แมวไม่ว่าดำหรือขาว ถ้าจับหนูได้ก็ดี (不管黑猫白猫,捉到老鼠就是好猫)" ประโยคนี้ เติ้งเคยกล่าวไว้ตั้งแต่ยุค 1960 แต่กลับโด่งดังไปทั่วหลังจากการเดินทางครั้งนี้[10][41]
  • "เศรษฐกิจแบบแผนไม่เท่ากับสังคมนิยม และเศรษฐกิจแบบตลาดไม่เท่ากับทุนนิยม สังคมนิยมสามารถมีกลไกตลาดได้เช่นกัน และการวางแผนของรัฐบาลกับกลไกตลาด ล้วนเป็นเครื่องมือทางเศรษฐกิจ"[42]: 65 
  • "การพัฒนาคือสิ่งสำคัญเหนือสิ่งอื่นใด (发展才是硬道理)”[16]
  • "[รัฐบาลเชินเจิ้น] ควรกล้าหาญในการดำเนินการปฏิรูปและเปิดประเทศ กล้าทดลอง และไม่ควรทำตัวเหมือนผู้หญิงรัดเท้า (改革开放胆子要大一些,敢于试验,不能像小脚女人一样)"[17][18]
  • "ผู้ที่ไม่ส่งเสริมการปฏิรูป จะต้องถูกปลดจากตำแหน่งผู้นำ (谁不改革,谁就下台)"[13][43]
  • "เราควรลงมือทำมากกว่าพูดจาไร้สาระ (多干实事,少说空话)"[44][45]
  • "ถ้าไม่ใช่ผลสำเร็จของการปฏิรูปและนโยบายเปิดประเทศ เราคงผ่านเหตุการณ์วันที่ 4 มิถุนายนมาไม่ได้... ทำไมประเทศของเราถึงยังคงมั่นคงหลังเหตุการณ์วันที่ 4 มิถุนายน? นั่นเป็นเพราะว่าเราได้ดำเนินการปฏิรูปและนโยบายเปิดประเทศ"[46]
  • "ไปเรียนรู้จากต่างประเทศ โดยเฉพาะสิงคโปร์ พวกเขามีระบบและการบริหารในการจัดการสังคม"[47]

ผลที่ตามมา

[แก้]
ตลาดหลักทรัพย์เชินเจิ้น

คำกล่าวของเติ้งที่เน้นเสรีนิยมทางเศรษฐกิจได้สร้างความขัดแย้งทางการเมืองครั้งใหญ่ภายในพรรคคอมมิวนิสต์จีน กลุ่มต่าง ๆ ในคณะกรมการเมืองต่างแบ่งฝักแบ่งฝ่าย เจียง เจ๋อหมิน ในที่สุดก็เลือกอยู่ข้างเติ้งในเดือนเมษายน พ.ศ. 2535 สื่อระดับชาติจึงเริ่มรายงานการเยือนภาคใต้ของเติ้งเกือบสองเดือนหลังจากเสร็จสิ้น[32] นักวิเคราะห์ชี้ว่า การที่เจียงยอมรับนโยบายของเติ้ง ช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้เขาในฐานะผู้สืบทอดอำนาจของเติ้ง เบื้องหลัง การเยือนภาคใต้ของเติ้งช่วยให้พันธมิตรสายปฏิรูปของเขา เช่น จู หรงจี้ เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนประจำเซี่ยงไฮ้ ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุดในระดับชาติ และเปลี่ยนทิศทางของจีนไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างถาวร[48] เติ้งได้รับการสนับสนุนมากขึ้นจากผู้นำระดับมณฑล กองทัพ สื่อมวลชน และประชาชนโดยทั่วไป[30]: 84  นอกจากนี้ ผลลัพธ์สุดท้ายของการเยือนภาคใต้ยังพิสูจน์ว่าเติ้งยังคงเป็นบุคคลทรงอำนาจที่สุดในจีน[49]

การเยือนภาคใต้ของเติ้งมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจของจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านตลาดทุนและการเติบโตของพื้นที่ชายฝั่งทะเล ช่วยฟื้นฟูความเชื่อมั่นในตลาดทุนจีนที่กำลังประสบปัญหา ส่งผลให้ตลาดหลักทรัพย์เซี่ยงไฮ้ และเชินเจิ้นรอดพ้นจากภาวะตกต่ำ[12][34][35][36] นอกจากนี้ การมุ่งเน้นด้านการเปิดกว้างเศรษฐกิจของเขายังส่งเสริมระดับการเติบโตที่น่าทึ่งของพื้นที่ชายฝั่ง โดยเฉพาะภูมิภาค "สามเหลี่ยมทองคำ" รอบเซี่ยงไฮ้ เติ้งยืนยันนโยบายที่ว่า "บางพื้นที่ต้องร่ำรวยก่อน" และยืนยันว่า ความมั่งคั่งจากพื้นที่ชายฝั่งจะถูกถ่ายโอนไปช่วยสร้างเศรษฐกิจภายในประเทศในที่สุด อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีนี้เผชิญความท้าทายมากมายเมื่อนำไปปฏิบัติจริง เนื่องจากรัฐบาลท้องถิ่นต่างก็ปกป้องผลประโยชน์ของตนเอง

แม้องค์ประกอบการดำเนินการทางเศรษฐกิจเอกชนอย่างไม่เป็นทางการจะปรากฏอยู่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 แต่รูปแบบการเป็นเจ้าของกิจการเอกชนเหล่านี้ได้รับการยอมรับทางกฎหมายอย่างเป็นทางการครั้งแรกในระหว่างการเดินทางเยือนภาคใต้ของเติ้ง[42]: 213 

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 "Deng Xiaoping's Southern Tour" (PDF). Berkshire Publishing Group LLC. 2009.
  2. 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 2.11 2.12 2.13 2.14 2.15 2.16 2.17 2.18 "邓小平92南巡背景揭秘,有两句话记者不敢见报". People's Daily (ภาษาจีน). 2012-01-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-10. สืบค้นเมื่อ 2020-05-01.
  3. "1992年邓小平南巡珍贵历史照片(组图)". People's Daily (ภาษาจีน). 2014-01-24. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-21. สืบค้นเมื่อ 2020-05-01.
  4. "鄧南巡講話20週年 官方低調". BBC (ภาษาจีน). สืบค้นเมื่อ 2020-05-01.
  5. "邓小平南巡讲话(全文)". Phoenix New Media (ภาษาจีน). 2011-12-31. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-02. สืบค้นเมื่อ 2020-05-01.
  6. 6.0 6.1 Ma, Damien (2012-01-23). "After 20 Years of 'Peaceful Evolution,' China Faces Another Historic Moment". The Atlantic (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2020-05-01.
  7. "The inside story of the propaganda fightback for Deng's reforms". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 2018-11-14. สืบค้นเมื่อ 2020-05-01.
  8. 8.0 8.1 Keck, Zachary. "Tiananmen: 'Deng Xiaoping Clearly Wanted to Make a Statement'". The Diplomat (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 June 2014. สืบค้นเมื่อ 2021-06-05.
  9. "'How my father's speeches saved Chinese economic reform': Deng Xiaoping's daughter pays tribute". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 2014-08-21. สืบค้นเมื่อ 2020-05-01.
  10. 10.0 10.1 10.2 "The great pragmatist: Deng Xiaoping". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2008-12-18. ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2020-05-01.
  11. Zhao, Suisheng (1993). "Deng Xiaoping's Southern Tour: Elite Politics in Post-Tiananmen China". Asian Survey. 33 (8): 739–756. doi:10.2307/2645086. ISSN 0004-4687. JSTOR 2645086.
  12. 12.0 12.1 12.2 Walter, Carl E. (2014). "Was Deng Xiaoping Right? An Overview of China's Equity Markets". Journal of Applied Corporate Finance (ภาษาอังกฤษ). 26 (3): 8–19. doi:10.1111/jacf.12075. ISSN 1745-6622. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ ":12" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  13. 13.0 13.1 13.2 Liang, Wei (2016-07-24). "邓小平92年南巡时讲话:谁反对改革就让谁睡觉去". Phoenix New Media (ภาษาจีน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-12. สืบค้นเมื่อ 2020-05-01.
  14. 14.0 14.1 Sun, Lena H. (1992-05-28). "FLEXIBLE 'SOCIALISM' FUELS CHINESE GROWTH". Washington Post (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0190-8286. สืบค้นเมื่อ 2020-05-01.
  15. 15.0 15.1 "广东GDP总量今年将超亚洲四小龙平均水平". Sina Corp (ภาษาจีน). 2007-07-20. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-25. สืบค้นเมื่อ 2020-05-01.
  16. 16.0 16.1 "Factsheet on the Deng Xiaoping Marker" (PDF). National Archives of Singapore. 2010. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ ":4" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  17. 17.0 17.1 17.2 Martinek, Madeleine (2018-05-21). Experimental Legislation in China between Efficiency and Legality: The Delegated Legislative Power of the Shenzhen Special Economic Zone (ภาษาอังกฤษ). Springer. ISBN 978-3-319-77616-3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ ":5" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  18. 18.0 18.1 18.2 "改革开放胆子要大一些,敢于试验,不能像小脚女人一样". People's Daily (ภาษาจีน). 2013-08-19. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-10. สืบค้นเมื่อ 2020-05-01.
  19. "整个改革开放过程中都要反对腐败". People's Daily (ภาษาจีน). 2016-06-14. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-11. สืบค้นเมื่อ 2020-05-01.
  20. "对干部和共产党员来说,廉政建设要作为大事来抓". People's Daily (ภาษาจีน). 2017-01-19. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-06. สืบค้นเมื่อ 2020-05-01.
  21. Bao, Tong (2015-06-04). "鲍彤纪念六四,兼谈邓小平与中国的腐败". The New York Times (ภาษาจีน). สืบค้นเมื่อ 2020-05-01.
  22. Tong, Bao (2015-06-03). "Opinion | How Deng Xiaoping Helped Create a Corrupt China". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2020-05-01.
  23. Wang, Yuhua. "Analysis | How has Tiananmen changed China?". Washington Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-05-01.
  24. "北京话题 - 南巡讲话助中国经济起飞但政治后遗症严重". Radio France Internationale (ภาษาจีนตัวย่อ). 2012-04-02. สืบค้นเมื่อ 2020-05-01.
  25. Wu, Wei (2014-12-22). "80年代的政治改革为什么会失败?". The New York Times (ภาษาจีน). สืบค้นเมื่อ 2020-05-01.
  26. 26.0 26.1 26.2 Wu, Guangxiang. "邓小平南方谈话的先声:"皇甫平"的"四论改革"". People's Daily. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-11. สืบค้นเมื่อ 2020-06-04.
  27. "Zhao Ziyang". Radio Free Asia. สืบค้นเมื่อ 2020-05-01.
  28. "Profile: Jiang Zemin". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2012-10-23. สืบค้นเมื่อ 2020-05-01.
  29. "第十三届中央委员会第五次全体会议公报". People's Daily (ภาษาจีน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-09. สืบค้นเมื่อ 2020-05-01.
  30. 30.0 30.1 Ang, Yuen Yuen (2016). How China Escaped the Poverty Trap. Cornell University Press. ISBN 978-1-5017-0020-0. JSTOR 10.7591/j.ctt1zgwm1j.
  31. 31.0 31.1 "The inside story of the propaganda fightback for Deng's reforms". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 2018-11-14. สืบค้นเมื่อ 2020-06-04.
  32. 32.0 32.1 "东方风来满眼春". People's Daily (ภาษาจีน). 2018-03-27. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-04. สืบค้นเมื่อ 2020-05-02.
  33. "邓小平92南巡背景揭秘 有两句话记者不敢见报". Phoenix New Media. 2012-01-19. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-06. สืบค้นเมื่อ 2020-05-01.
  34. 34.0 34.1 ""坚决地试"中国股市发轫之端". People's Daily (ภาษาจีน). 2004-08-23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-02. สืบค้นเมื่อ 2020-05-02.
  35. 35.0 35.1 Tao, Yitao; Lu, Zhiguo (2018-10-05). Special Economic Zones and China's Development Path (ภาษาอังกฤษ). Springer. ISBN 978-981-10-3220-2.
  36. 36.0 36.1 36.2 "邓小平南巡讲话:奠定中国证券市场发展的春天". China Reform. 2013-12-18. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-20. สืบค้นเมื่อ 2020-05-02.
  37. "An old man's ups and downs in China's stock market". Embassy of the People's Republic of China in the Republic of Kenya. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-04. สืบค้นเมื่อ 2020-05-02.
  38. Iritani, Evelyn (9 September 2004). "Great Idea but Don't Quote Him; Deng Xiaoping's famous one-liner started China on the way to capitalism. The only problem is there's no proof he actually said it". Los Angeles Times. p. A1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 November 2007. สืบค้นเมื่อ 13 March 2010 – โดยทาง Pqasb.pqarchiver.com.
  39. "The Man Who Re-Invented China | Origins: Current Events in Historical Perspective". Ohio State University. สืบค้นเมื่อ 2020-05-01.
  40. Liu, Zongyuan Zoe (2023). Sovereign Funds: How the Communist Party of China Finances its Global Ambitions. The Belknap Press of Harvard University Press. ISBN 9780674271913.
  41. "邓小平同志"黑猫白猫论"背后的故事". People's Daily (ภาษาจีน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-02. สืบค้นเมื่อ 2020-05-01.
  42. 42.0 42.1 Marquis, Christopher; Qiao, Kunyuan (2022). Mao and markets the communist roots of Chinese enterprise. Kunyuan Qiao. New Haven: Yale University Press. ISBN 978-0-300-26883-6. OCLC 1348572572.
  43. Shan, Shaojie (2019-10-16). "软禁中的谈话:听赵紫阳谈改革". The New York Times (ภาษาจีน). สืบค้นเมื่อ 2020-09-27.
  44. "We should do more and engage less in empty talk - 1992". International Institute of Social History. สืบค้นเมื่อ 2020-05-01.
  45. Catrina, Schlager; Dongxiao, Chen; Alexander, Rosenplanter; Haibing, Zhang (2016-11-28). China And The Group 20: The Interplay Between A Rising Power And An Emerging Institution (ภาษาอังกฤษ). World Scientific. ISBN 978-1-938134-91-3.
  46. Small, Andrew (2022-11-15). No Limits: The Inside Story of China's War with the West (ภาษาอังกฤษ). Melville House. p. 194. ISBN 978-1-68589-015-5. OCLC 1352001415.
  47. "Records of Comrade Deng Xiaoping's Shenzhen Tour". People's Daily Online. สืบค้นเมื่อ 2022-03-31.
  48. "Zhu Rongji on the Record". Brookings (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2016-07-14. สืบค้นเมื่อ 2020-06-04.
  49. Zhao, Suisheng (1993). "Deng Xiaoping's Southern Tour: Elite Politics in Post-Tiananmen China". Asian Survey. 33 (8): 739–756. doi:10.2307/2645086. ISSN 0004-4687. JSTOR 2645086.