การเบียดเบียนชาวโซโรอัสเตอร์
มีการบันทึกถึงการเบียดเบียนศาสนาโซโรอัสเตอร์มาตลอดทั้งประวัติศาสตร์ศาสนาโซโรอัสเตอร์ ศาสนาในอิหร่าน การเบียดเบียนขนานใหญ่ครั้งสำคัญเกิดขึ้นหลังจุดเริ่มต้นของศาสนาอิสลามในคริสต์ศตวรรษที่ 7 ทั้งระหว่างและหลังการพิชิตเปอร์เซียโดยมุสลิมชาวอาหรับ การเลือกปฏิบัติและการล่วงละเมิดต่อชาวโซโรอัสเตอร์เกิดทั้งในรูปแบบบังคับเปลี่ยนศาสนาและใช้ความรุนแรงขนาดย่อม มีบันทึกถึงมุสลิมที่เข้ามาในภูมิภาคนี้หลังถูกผนวกเข้ากับรัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดูนว่าพวกเขาทำลายวิหารโซโรอัสเตอร์ และชาวโซโรอัสเตอร์ที่อาศัยในบริเวณที่อยู่ภายใต้การปกครองของมุสลิมจะต้องจ่ายภาษีที่มีชื่อว่าญิซยะฮ์[1]
มีการสร้างมัสยิดทับวิหารโซโรอัสเตอร์ที่ถูกทำลาย และห้องสมุดเปอร์เซียหลายแห่งถูกเผา จากนั้นจึงค่อย ๆ มีการออกกฎหมายจากรัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดูนจำนวนมากขึ้น ซึ่งควบคุมพฤติกรรมของศาสนาโซโรอัสเตอร์และจำกัดความสามารถต่อการมีส่วนร่วมในสังคม เมื่อเวลาผ่านไป การเบียดเบียนชาวโซโรอัสเตอร์โดยชาวมุสลิมกลายเป็นเรื่องปกติและแพร่หลายมากขึ้นเรื่อย ๆ และด้วยเหตุนี้ ศาสนาจึงเริ่มเสื่อมถอยลง[1] เนื่องจากกระบวนการอิสลามานุวัตรกำเนิดขึ้นภายใต้การปกครองของมุสลิม ชาวโซโรอัสเตอร์หลายคนหนีไปทางตะวันออกจากเปอร์เซียไปยังอินเดีย
มีชาวโซโรอัสเตอร์จำนวนมากเข้ารับอิสลามเพื่อหลีกเลี่ยงการเลือกปฏิบัติและผลของการเป็นพลเมืองขั้นที่สองในรัฐเคาะลีฟะฮ์ หลังจากนั้น ลูก ๆ ของพวกเขาจะถูกส่งไปยังโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามเพื่อเรียนรู้ภาษาอาหรับและศึกษาอัลกุรอานกับคำสอนศาสนาในเรื่องอื่น ๆ กระบวนการนี้มีส่วนทำให้ศาสนาโซโรอัสเตอรเสื่อมถอย อย่างไรก็ตาม ในสมัยจักรวรรดิซามานิด ซึ่งเป็นชาวอิหร่านที่เปลี่ยนศาสนาจากโซโรอัสเตอร์เป็นอิสลามนิกายซุนนี ภาษาเปอร์เซียจึงเกิดขึ้นใหม่และเจริญรุ่งเรืองขึ้น ทำให้ยุคนี้เป็นจุดเริ่มต้นของ Iranian Intermezzo
การเบียดเบียนโดยมุสลิม
[แก้]การพิชิตของอิสลาม
[แก้]ก่อนหน้าการรุกรานของชาวอาหรับและการพิชิตของมุสลิมในภายหลัง เปอร์เซีย (ปัจจุบันคือประเทศอิหร่าน) ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 7 เคยเป็นรัฐอิสระทางการเมืองที่กินพื้นที่ตั้งแต่เมโสโปเตเมียถึงแม่น้ำสินธุ และส่วนใหญ่นับถือศาสนาโซโรอัสเตอร์[2][3][4] ศาสนาโซโรอัสเตอร์เป็นศาสนาประจำชาติของจักรวรรดิเปอร์เซียก่อนอิสลาม 4 อาณาจักร[5] โดยจักรวรรดิสุดท้ายคือจักรวรรดิซาเซเนียนที่ผ่านพระราชกฤษฎีกาของสิ่งนี้ใน ค.ศ. 224[3][6] การรุกรานของชาวอาหรับทำให้การครอบงำทางศาสนาของศาสนาโซโรอัสเตอร์ในเปอร์เซียสิ้นสุดลงอย่างกะทันหัน และสถาปนาศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำรัฐ[7][8][9]
อัลบะลาษุรี นักประวัติศาสตร์อิสลาม กล่าวถึงชาวโซโรอัสเตอร์ในเยเมนที่กำหนดให้จ่ายญิซยะฮ์หลังการพิชิตของมุฮัมมัด[10]
หลังการพิชิตจักรวรรดิเปอร์เซีย ชาวโซโรอัสเตอร์ได้รับสถานะษิมมีและอยู่ภายใต้การถูกข่มเหง การเลือกปฏิบัติ และการคุกคามที่เริ่มขึ้นในรูปความรุนแรงขนาดย่อม[11] ผู้จ่ายญิซยะฮ์ถูกดูถูกและเหยียดหยามจากคนเก็บภาษี[12][13][14] ชาวโซโรอัสเตอร์ที่ถูกจับเป็นทาสในช่วงสงครามจะกลายเป็นไทถ้าพวกเขาเข้ารับอิสลาม[12]
วิหารไฟหลายแห่งที่มีช่องเปิดโค้งตามแนวแกนสี่ช่อง มักถูกแปลงเป็นมัสยิดด้วยการตั้ง เมียะห์รอบ ที่ส่วนโค้งที่ใกล้ กิบลัต ที่สุด วิหารโซโรอัสเตอร์ที่ถูกแปลงเป็นมัสยิดในกรณีนี้สามารถพบได้ที่บูฆอรอ เช่นเดียวกันกับบริเวณในและใกล้ Istakhr และเมืองเปอร์เซียอื่น ๆ[15][ต้องการอ้างอิงเต็มรูปแบบ] พื้นที่เมืองที่ผู้ว่าการชาวอาหรับเข้ามาตั้งถิ่นฐานเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการถูกประหัตประหารทางศาสนามากที่สุด วิหารไฟใหญ่ถูกแปลงเป็นมัสยิด และประชาชนถูกบังคับให้ยอมจำนนหรือหลบหนี[16] ห้องสมุดหลายแห่งถูกเผาและมรดกทางวัฒนธรรมจำนวนมากสูญหาย[17]
หลังจากนั้นจึงค่อย ๆ มีกฎหมายที่ควบคุมพฤติกรรมของชาวโซโรอัสเตอร์จำนวนมากขึ้น จำกัดความสามารถในการมีส่วนร่วมในสังคม และทำให้ชีวิตของชาวโซโรอัสเตอร์ยากลำบากขึ้น ด้วยความหวังว่าพวกเขาจะเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม[17] เมื่อเวลาผ่านไป การกดขี่ข่มเหงชาวโซโรอัสเตอร์กลายเป็นเรื่องธรรมดาและแพร่หลายมากขึ้น และจำนวนผู้นับถือลดลงอย่างมาก ผู้ที่เปลี่ยนศาสนาหลายคน (บางคนเพียงผิวเผิน) ทำสิ่งนี้เพื่อหลีกหนีจากการละเมิดและการเลือกปฏิบัติอย่างเป็นระบบตามกฎหมายของแผ่นดิน[12] ส่วนอีกกลุ่มที่เข้ารับอิสลามก็เพราะการจ้างงานในอุตสาหกรรมและช่างฝีมือจะทำให้พวกเขาไม่บริสุทธิ์ เนื่องจากตามความเชื่อของศาสนาโซโรอัสเตอร์ งานของพวกเขาเกี่ยวข้องกับการทำให้ไฟเป็นมลทิน[18] ทอมัส วอล์กเกอร์ อาร์โนลด์รายงานว่า ผู้เผยแผ่ศาสนาอิสลามไม่มีปัญหาในการอธิบายหลักคำสอนของอิสลามแก่ชาวโซโรอัสเตอร์ เนื่องจากมีความคล้ายคลึงกันระหว่างความเชื่อหลายประการ โดยอาร์โนลด์รายงานว่า สำหรับชาวเปอร์เซีย พวกเขาจะพบพระอหุระมาซดะกับอาฮ์รีมานภายใต้พระนามของอัลลอฮ์กับอิบลีส[18]
เมื่อครอบครัวโซโรอัสเตอร์เข้ารับอิสลาม บรรดาลูก ๆ ต้องเข้าไปเรียนในโรงเรียนมุสลิมและเรียนรู้ภาษาอาหรับกับคำสอนของอัลกุรอาน และเด็ก ๆ เหล่านั้นสูญเสียอัตลักษณ์โซโรอัสเตอร์ไป[12] ปัจจัยเหล่านี้มีส่วนทำให้อัตราการเปลี่ยนศาสนาจากโซโรอัสเตอร์เป็นอิสลามเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง[19] นักวิชาการเปอร์เซียแสดงความคิดเห็นว่า "ทำไมหลายคนต้องตายหรือทนทุกข์ทรมาน? นั่นเพราะว่าฝ่ายหนึ่งตั้งใจยัดเยียดศาสนาของตนให้อีกฝ่ายหนึ่งที่ไม่เข้าใจสิ่งนี้"[20]
อย่างไรก็ตาม เซอร์ ทอมัส วอล์กเกอร์ อาร์โนลด์ (Sir Thomas Walker Arnold) ตั้งข้อสงสัยต่อรายงานการบังคับเปลี่ยนศาสนาของชาวโซโรอัสเตอร์ทั้งหมด โดยยกตัวอย่างอ้างอิงความอดกลั้นหลายรายงานของขุนศึกมุสลิมว่า "เมื่อเผชิญกับข้อเท็จจริงดังกล่าว เป็นไปไม่ได้อย่างแน่นอนที่จะระบุว่าความเสื่อมถอยของศาสนาโซโรอัสเตอร์ทั้งหมดมาจากการเปลี่ยนศาสนาอย่างรุนแรงโดยผู้พิชิตที่เป็นมุสลิม"[21] อาร์โนลด์เสนอแนะว่าการเปลี่ยนศาสนาของชาวโซโรอัสเตอร์ในอดีตบางส่วน อันที่จริงเป็นการอ้างถึงความคล้ายคลึงกันระหว่างสองศาสนาอย่างจริงใจ เพื่อเป็นแรงจูงใจให้เกิดการเปลี่ยนศาสนา[21] นอกจากนี้ Stepaniants ยังประกาศ(แบบเดียวกันกับอาร์โนลด์)ว่า นักประวัติศาสตร์บางคนกล่าวว่าการเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามบางส่วนนั้นเป็นไปอย่างจริงใจ โดยอ้างถึงข้อเท็จจริงที่ว่า อิสลามได้เสนอการเปิดประตูแห่งความเป็นพี่น้องที่กว้างขึ้น ซึ่งแตกต่างจากเกณฑ์ที่จำกัดของศาสนาโซโรอัสเตอร์[22] ถึงกระนั้น อาร์โนลด์ยอมรับว่าการเบียดเบียนชาวโซโรอัสเตอร์เกิดขึ้นในช่วงต่อมา[23] ส่วน Stepaniants กล่าวว่า การเบียดเบียนหลายครั้งเกิดขึ้นในสมัยอับบาซียะฮ์ และในช่วงเวลานั้นเป็นช่วงที่มีการอพยพของชาวปาร์ซี[24] แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ทั้งอาร์โนลด์และ Stepaniants ต่างก็กล่าวว่า ศาสนาอิสลามไม่ควรถูกตำหนิต่อความเสื่อมถอยของศาสนาโซโรอัสเตอร์ทั้งหมด[25][21] นอกจากนี้ ประชากรในนครนีชอบูร์ยังคงมีประชากรที่นับถือศาสนาโซโรอัสเตอร์จำนวนมากที่อาศัยอยู่ร่วมกับชาวยิวและคริสต์นิกายเนสทอเรียน (แม้จะมีการเข้ารีตเป็นอิสลามเกือบทันที) แม้กระทั่งในช่วงหลังการพิชิตก็ตาม[26]
การเบียดเบียนโดยกลุ่มเดียวกัน
[แก้]เจ้าขุนโซโรอัสเตอร์มองแมสแดกเป็นพวกนอกรีต และผู้ติดตามของเขาถูกผู้นำซาเซเนียนที่นับถือศาสนาโซโรอัสเตอร์เบียดเบียน โฆสโรว์ที่ 1 ทรงริเริ่มโครงการต่อต้านพวกแมสแดกใน ค.ศ. 524 หรือ 528 ที่จบลงด้วยการสังหารหมู่ซึ่งคร่าชีวิตพวกเขาไปเกือบหมด รวมทั้งตัวแมสแดกเอง และฟื้นฟูศาสนาโซโรอัสเตอร์ดั้งเดิมให้เป็นศาสนาประจำชาติ[27]
มีหลายรายงานที่ระบุการเสียชีวิต อย่างในชอฮ์นอเมระบุว่า ชาวแมสแดกสามพันคนถูกเผาทั้งเป็นด้วยการให้ชูเท้าขึ้นข้างบน เพื่อแสดงลัทธิแมสแดกในรูปแบบ "สวนมนุษย์" ในขณะที่ตัวแมสแดกถูกแขวนคอคว่ำ และถูกยิงด้วยลูกศรจำนวนนับไม่ถ้วน ส่วนบางเรื่องระบุวิธีการประหารชีวิตที่ทรมานอื่น ๆ ไม่ว่าในกรณีใด ภายหลังแอนูชีร์วอนทรงดำเนินการปฏิรูปสังคมและการปกครองของพระองค์อย่างกว้างขวาง[28] ลัทธิแมสแดกเกือบหายสาบสูญไปหลังการสังหารหมู่[29] ต่อมามีกรณีที่กลุ่มนักบวชโซโรอัสเตอร์ได้รับความช่วยเหลือจากชาวมุสลิมในการต่อต้านชาวโซโรอัสเตอร์ ซึ่งกลุ่มนักบวชโซโรอัสเตอร์กลุ่มนั้นถือเป็นพวกนอกรีตหรือพวกแบ่งแยกดินแดน[1]
การเบียดเบียนโดยชาวคริสต์
[แก้]แมรี บอยซ์ (Mary Boyce) รายงานว่า ชาวโซโรอัสเตอร์ที่อยู่ภายใต้การปกครองของชาวคริสต์ในเอเชียไมเนอร์ประสบกับความยากลำบาก[30] โดยเฉพาะในช่วงความขัดแย้งที่ยาวนานระหว่างจักรวรรดิโรมันและเปอร์เซีย ชาวคริสต์ที่อาศัยอยู่ในดินแดนที่ฝ่ายซาเซเนียนควบคุมมีการสังเกตว่าได้ทำลายวิหารไฟและศาสนสถานของศาสนาโซโรอัสเตอร์ไปหลายแห่ง[31]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 Houtsma 1936, p. 100, Volume 2
- ↑ Lapidus 2002, p. 6
- ↑ 3.0 3.1 Khanbaghi 2006, p. 6
- ↑ Khanbaghi 2006, p. 15
- ↑ Sanasarian 2000, p. 48
- ↑ Stepaniants 2002, p. 1
- ↑ Khanbaghi 2006, p. 17
- ↑ Jackson 1906, p. 27
- ↑ Bleeker & Widengren 1971, p. 212
- ↑ Lecker, Michael (January 1998). Jews and Arabs in pre-Islamic Arabia. p. 20. ISBN 9780860787846.
- ↑ Stepaniants 2002, p. 163
- ↑ 12.0 12.1 12.2 12.3 Boyce 2001, p. 148
- ↑ Lambton 1981, p. 205
- ↑ Meri & Bacharach 2006, p. 878
- ↑ Hillenbrand
- ↑ Boyce 2001, p. 147
- ↑ 17.0 17.1 "Under Persian rule". BBC. สืบค้นเมื่อ 16 December 2009.
- ↑ 18.0 18.1 Arnold 1896, pp. 170–180
- ↑ Choksy 1987, pp. 28–30
- ↑ Shojaeddin Shaffa, p. 443
- ↑ 21.0 21.1 21.2 Arnold 1896,The Preaching of Islam: A History of the Propagation of the Muslim Faith, pp. 177-180
- ↑ Marietta Stepaniants, Philosophy East and West Vol. 52, No. 2 (Apr., 2002), pp. 164-165
- ↑ Arnold 1896,The Preaching of Islam: A History of the Propagation of the Muslim Faith, pp. 179
- ↑ Marietta Stepaniants, Philosophy East and West Vol. 52, No. 2 (Apr., 2002), pp. 163
- ↑ Marietta Stepaniants, Philosophy East and West Vol. 52, No. 2 (Apr., 2002), pp. 159
- ↑ Bulliet 1972, The Patricians of Nishapur, pp. 15
- ↑ Wherry 1896, p. 66
- ↑ Yarshater, p. 1022
- ↑ Houtsma 1936, p. 432, Volume 2
- ↑ Boyce 2001, p. 119
- ↑ Nigosian 1993, p. 37
บรรณานุกรม
[แก้]- Arnold, Sir Thomas Walker (1896), The preaching of Islam: a history of the propagation of the Muslim faith, A. Constable and co., p. 388
- Bleeker, Claas Jouco; Widengren, Geo (1971), Historia Religionum: Religions of the present, vol. II, Brill, p. 715, ISBN 9789004025981
- Bonner, Michael, Last empire of Iran
- Boyce, Mary (2001), Zoroastrians, their religious beliefs and practices (2 ed.), New York: Routledge & Kegan Paul, p. 252, ISBN 9780415239028
- Boyle, Kevin; Sheen, Juliet (1997), Freedom of religion and belief: a world report (2 ed.), Psychology Press, p. 475, ISBN 9780415159784
- Choksy, Jamsheed K. (1987), "Zoroastrians in Muslim Iran: Selected Problems of Coexistence and Interaction during the Early Medieval Period", Iranian Studies, Taylor & Francis Ltd., 20 (1): 17–30, doi:10.1080/00210868708701689, ISSN 1475-4819
- Fischer, Michael M. J. (2003), Iran: from religious dispute to revolution (illustrated ed.), Univ of Wisconsin Press, p. 314, ISBN 9780299184742
- Hillenbrand, R, Bearman, P.J.; Bosworth, C.E. (บ.ก.), Masdjid. I. In the central Islamic lands, Encyclopaedia of Islam, Brill Academic Publishers, ISSN 1573-3912[ต้องการอ้างอิงเต็มรูปแบบ]
- Houtsma, Martijn Theodoor (1936), First Encyclopaedia of Islam 1913-1936: E.J.Brill's, BRILL, ISBN 90-04-09796-1, 9789004097964
- Jackson, Abraham Valentine Williams (1906), Persia past and present: a book of travel and research, with more than two hundred illustrations and a map, The Macmillan Company, p. 471
- Khanbaghi, Aptin (2006), The fire, the star and the cross: minority religions in medieval and early (reprint ed.), I.B.Tauris, p. 268, ISBN 9781845110567
- Lambton, Ann K. S. (1981), State and government in medieval Islam: an introduction to the study of Islamic political theory: the jurists (reprint ed.), Routledge, p. 364, ISBN 9780197136003
- Lapidus, Ira Marvin (2002), A history of Islamic societies (2 ed.), Cambridge University Press, p. 970, ISBN 9780521779333
- Meri, Josef W.; Bacharach, Jere L. (2006), Medieval Islamic Civilization: L-Z, index, Medieval Islamic Civilization: An Encyclopedia, vol. II (illustrated ed.), Taylor & Francis, p. 878, ISBN 9780415966924
- Nigosian, Solomon Alexander (1993), The Zoroastrian faith: tradition and modern research, Montreal: McGill-Queen's Press, p. 154, ISBN 9780773511446
- Sanasarian, Eliz (2000), Religious minorities in Iran (Illustrated ed.), Cambridge University Press, p. 228, ISBN 9780521770736[ลิงก์เสีย]
- Shojaeddin Shaffa, Tavalodī Dīgar (Another Birth) [Another Birth] (ภาษาเปอร์เซีย) (3 ed.)
- Stepaniants, Marietta (2002), "The Encounter of Zoroastrianism with Islam", Philosophy East and West, University of Hawai'i Press, 52 (2): 159–172, doi:10.1353/pew.2002.0030, ISSN 0031-8221, JSTOR 1399963, S2CID 201748179
- Wherry, Rev. Elwood Morris (1896), A Comprehensive Commentary on the Quran: Comprising Sale's Translation and Preliminary Discourse, K. Paul, Trench, Trübner & co.
- Yarshater, Ehsan, The Cambridge history of Iran, vol. 2