ข้ามไปเนื้อหา

กองเรือเฉพาะกิจผสม 151

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พลเรือตรี ธานินทร์ ลิขิตวงศ์ จากกองทัพเรือไทย (ซ้าย) เข้ารับหน้าที่แทน พลเรือจัตวา อาเก้ บูร์ เจนเซ่น กองทัพเรือเดนมาร์ก (ขวา) ในตำแหน่งผู้บัญชาการในพิธีเปลี่ยนผู้บัญชาการกองเรือเฉพาะกิจร่วม 151 (CTF-151) โดยมี พลเรือโท มาร์ก ฟ็อกซ์ กองทัพเรือสหรัฐ ผู้บัญชาการกองกำลังผสมทางทะเลเป็นพยาน

กองเรือเฉพาะกิจผสม 151 (อังกฤษ: Combined Task Force 151: CTF-151) เป็นกองเรือเฉพาะกิจทางทะเลหลายชาติที่จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2552 เพื่อตอบสนองต่อการโจมตีของโจรสลัดในอ่าวเอเดนและนอกชายฝั่งตะวันออกของโซมาเลีย[1] ภารกิจของหน่วยคือหยุดยั้งโจรสลัดและการปล้นด้วยอาวุธในทะเล และร่วมมือกับพันธมิตรในภูมิภาคและพันธมิตรอื่น ๆ เพื่อสร้างศักยภาพและปรับปรุงความสามารถที่เกี่ยวข้องเพื่อปกป้องการค้าทางทะเลระดับโลกและรักษาเสรีภาพในการเดินเรือ ปฏิบัติการของกองเรือเฉพาะกิจผสมนี้ปฏิบัติการร่วมกันกับปฏิบัติการอาตาลันตา (Operation Atalanta) ของสหภาพยุโรปและปฏิบัติการโอเชียนชิลด์ของเนโท

ณ วันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2567 ผู้บัญชาการกองเรือเฉพาะกิจผสม 151 คือพลเรือเอก Rüştü Sezer แห่งกองทัพเรือตุรกี[2]

ประวัติ

[แก้]

กองเรือเฉพาะกิจผสม 151 ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2552 เพื่อตอบสนองต่อการโจมตีของโจรสลัดในโซมาเลีย "โดยมีภารกิจเฉพาะตามคำสั่งของข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 1816, 1838, 1846, 1851 และ 1897"[3] กองเรือเฉพาะกิจผสม 150 จัดการเรื่องความปลอดภัยทางทะเลและการต่อต้านการก่อการร้ายเป็นหลัก ขณะที่โจรสลัดถือเป็นภารกิจบังคับใช้กฎหมายมากกว่า[3] กองเรือเฉพาะกิจผสมก่อตั้งขึ้นเป็นกองเรือเฉพาะกิจตามภารกิจ เมื่อก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2552 ปฏิบัติการภายใต้คำสั่งต่อต้านโจรสลัดของข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ กองเรือเฉพาะกิจผสมไม่ถูกจำกัดด้วยข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์[4] คำสั่งของพวกเขา "ขึ้นอยู่กับขอบเขตของข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ต่อต้านโจรสลัด"[4] ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 กลุ่มโจรสลัดได้จี้เรือที่ชักธงปานามา รัฐบาลพุนต์แลนด์ระบุว่าพวกเขาไม่ต้องการให้เรือและฐานทัพโจรสลัดถูกยึดใกล้กับโบซาโซ[5] โจรสลัดบังคับให้ลูกเรือของเรือไปทางทิศใต้เพื่อไปยังพื้นที่ชายฝั่งที่ไม่ถูกยอมรับ[6] พลเรือเอก แม็กไนท์ ได้สนทนากับ จาทิน ดูอา และหน่วยซีลของกองทัพเรือได้ช่วยตัวประกันสองคนที่ถูกกักขังอยู่ในค่ายที่อยู่ห่างไกลออกไป หน่วยซีลสังหารโจรสลัดไปประมาณ 9 คน[7]

สมาชิกของหน่วยบังคับใช้กฎหมายยามฝั่งสหรัฐและกองเรือเฉพาะกิจผสม 151 ดำเนินปฏิบัติการตรวจค้นและจับกุมเรือต้องสงสัย จากเรือ เรือยูเอสเอส ฟาร์รากุท (DDG-99) ขึ้นไปบนเรือต้องสงสัย

ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2555 โจรสลัดโซมาเลีย 6 คนได้เปิดฉากโจมตีเรือบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่ MV Sunshine ซึ่งอยู่ห่างจากชายฝั่งโอมานไปประมาณ 100 ไมล์ การโจมตีนี้เรียกว่าเป็นการโจมตีตามตำรา โจรสลัดใช้ปืน เอเค-47 เครื่องยิงจรวด ตะขอเกาะ และพยายามติดบันไดเข้ากับเรือ[8] โจรสลัดโยนอาวุธลงน้ำเพื่อให้ทีมที่ขึ้นเรือไม่สามารถจับกุมพวกเขาได้ พวกเขาให้อาหารและน้ำแก่โจรสลัด และในที่สุดก็ปล่อยพวกเขาออกไป ชาวโซมาเลียไม่รู้ว่าเฮลิคอปเตอร์จาก ยูเอสเอส โมบาย เบย์ กำลังติดตามการเคลื่อนไหวของพวกโจรสลัด โจรสลัดจึงมุ่งหน้ากลับไปที่เรือใบของอิหร่าน[8] เรือยูเอสเอส คิดด์ สามารถติดตามเรือ Al Mulahi ได้และสังเกตเห็นว่ามีชาวตะวันออกกลางอยู่บนเรือด้วย เดอะนิวยอร์กไทมส์ รายงานว่าเกิดการเผชิญหน้า หลังจากนั้น ชาวโซมาเลียยังคงซ่อนตัวอยู่ และกัปตันชาวอิหร่านได้พูดคุยกับชาวอเมริกัน[9]

รูปขบวน

[แก้]
สมาชิกของชุดความปลอดภัยและความมั่นคงทางทะเลยามฝั่งสหรัฐ (MSST) 91104 เตรียมการสืบสวนเรือเล็กระหว่างปฏิบัติการรักษาความปลอดภัยทางทะเล

ระหว่างปี พ.ศ. 2545 ถึง 2547 กองทัพเรือร่วมชุดแรกที่รับผิดชอบการต่อต้านการก่อการร้ายในพื้นที่ได้รับการขนานนามว่ากองเรือเฉพาะกิจ 151

เมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2552 ณ กองบัญชาการทัพเรือที่ 5 ของสหรัฐในกรุงมานามา ประเทศบาห์เรน พลเรือโท วิลเลียม อี. กอร์ตนีย์ กองทัพเรือสหรัฐ ได้ประกาศจัดตั้ง กองเรือเฉพาะกิจผสม 151 (CTF-151) เพื่อต่อสู้กับภัยคุกคามจากโจรสลัดนอกชายฝั่งโซมาเลีย โดยมีพลเรือตรี เทอเรนซ์ อี. แม็กนไนท์ เป็นผู้บังคับบัญชา[10] เรือยูเอสเอส ซานอันโตนิโอ (LPD-17) ได้รับการมอบหมายให้เป็นเรือธงลำแรกของกองเรือเฉพาะกิจผสม 151 โดยทำหน้าที่เป็นฐานเตรียมการล่วงหน้าทางน้ำ (afloat forward staging base: AFSB) สำหรับส่วนกำลังต่อไปนี้:

  • ชุดตรวจค้นและจับกุมเรือต้องสงสัย (VBSS) ของกองทัพเรือสหรัฐจำนวน 14 นาย[11][12]
  • กลุ่มปฏิบัติการเคลื่อนที่ (Deployable Operations Group) ยามฝั่งสหรัฐ ประกอบไปด้วยสมาชิกชุดความปลอดภัยและความมั่นคงทางทะเล (Maritime Safety and Security Team: MSST) 91104 ประมาณ 24 นาย และหนึ่งหน่วยแยกบังคับใช้กฎหมาย (Law Enforcement Detachment: LEDET) ที่มีสมาชิก 8 คน ได้แก่ ส่วนแยกบังคับใช้กฎหมาย 405[11][12]
  • หมวดพลซุ่มยิงลาดตระเวน กองพันที่ 2 กรมนาวิกโยธินที่ 6 กองพันนาวิกโยธินที่ 26 (26th Marine Expeditionary Unit: 26th MEU) ย้ายข้ามมาจากยูเอสเอส อิโวจิมา (LHD-7)[11]
  • หมวดที่ 3 (กองร้อยกอล์ฟ กองพันนาวิกโยธินที่ 26) หน่วยแยกสารวัตรทหาร และเจ้าหน้าที่ข่าวกรอง[12]
  • ศัลยแพทย์ประจำทัพเรือชุด 8 ที่มีความสามารถในการผ่าตัดระดับ 2 เพื่อรับมือกับการบาดเจ็บ การผ่าตัด การดูแลวิกฤต และการอพยพทางการแพทย์[12]
  • นาวิกโยธินประมาณ 75 นายพร้อมเฮลิคอปเตอร์ เอเอช-1 ซูเปอร์คอบรา (เอเอช-1ดับบิว) จำนวน 6 ลำ และเฮลิคอปเตอร์ ยูเอช-1เอ็น ฮิวอี้ จำนวน 2 ลำ จากฝูงบินเฮลิคอปเตอร์ขนาดกลางนาวิกโยธินที่ 264 (Marine Medium Helicopter Squadron 264: HMM-264) ของกองพันนาวิกโยธินที่ 26 ย้ายข้ามมาจากเรือ ยูเอสเอส อิโวจิมะ[13]
  • เฮลิคอปเตอร์เอชเอช-60เอช จำนวน 3 ลำจ ากฝูงบินต่อต้านเรือดำน้ำที่ 3 (Helicopter Anti-Submarine Squadron 3: HS-3) ย้ายข้ามมาจากเรือยูเอสเอส ธีโอดอร์ รูสเวลต์ (CVN-71)[12][14]

ในช่วงแรกกองเรือเฉพาะกิจผสม 151 ประกอบด้วย ซานอันโตนิโอ, ยูเอสเอส มาฮาน (DDG-72) และเอชเอ็มเอส พอร์ตแลนด์ (F79) โดยคาดว่าจะมีการส่งเรือรบเพิ่มเติมเข้าร่วมกองกำลังนี้[15] คาดว่าจะมี 20 ประเทศเข้าร่วมกองกำลังนี้ รวมถึงแคนาดา, เดนมาร์ก, ฝรั่งเศส, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, เนเธอร์แลนด์, ปากีสถาน, สิงคโปร์, ไทย และสหราชอาณาจักร ซึ่งทั้งหมดได้ให้คำมั่นที่จะเข้าร่วมในกองเรือเฉพาะกิจผสมนี้[16]

เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2552 พลเรือตรี มิเชลล์ เจ. โฮเวิร์ด จากกองทัพเรือสหรัฐได้รับหน้าที่เป็นผู้บังคับบัญชากองเรือเฉพาะกิจผสม 151 และกองเรือโจมตีโพ้นทะเลที่ 2 (Expeditionary Strike Group 2)[17] เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม รัฐบาลออสเตรเลียได้ให้คำมั่นที่จะสนับสนุน โดยมอบหมายให้กับเรือฟริเกต เอชเอ็มเอเอส วาร์รามุงกา (FFH 152) จากภารกิจในอ่าวเปอร์เซียไปยังกองเรือเฉพาะกิจ รวมถึงเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล พี-3 โอไรออน[18]

การเข้าร่วมของกองทัพเรือไทย

[แก้]

กองทัพเรือไทยได้ส่งหมู่เรือปราบปรามโจรสลัดเข้าร่วมปฏิบัติการจำนวน 2 ชุด ได้แก่

พลเรือโท มาร์ก ฟ็อกซ์ (ซ้าย) ผู้บัญชาการกองกำลังผสมทางทะเล จับมือกับ พลเรือตรี ไชยยศ สุนทรนาค ผู้โกองเรือรบฟริเกตที่ 2 ของกองทัพเรือไทย บนเรือหลวงสิมิลัน (AOR-871) ในพิธีสิ้นสุดการปฏิบัติภารกิจ

ชุดที่ 1 ออกเดินทางจากประเทศไทยในวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553[19] และเริ่มปฏิบัติการระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ถึงวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2554[20] ประกอบไปด้วยเรือหลวงสิมิลัน และเรือหลวงปัตตานี พร้อมด้วยเฮลิคอปเตอร์ประจำเรือแบบเบลล์ 212 จำนวน 2 ลำ[21] ชุดปฏิบัติการพิเศษทางเรือ และกำลังพลประจำเรือรวม 351 นาย ซึ่งมี พลเรือตรี ไชยยศ สุนทรนาค ตำรงตำแหน่งผู้บังคับหมู่เรือ[22] ปฏิบัติหน้าที่ในการคุ้มครองเรือสินค้าและเรือประมงของไทยและนานาชาติ และเดินทางกลับมาถึงประเทศไทยในวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2554[19] ระยะเวลาปฏิบัติภารกิจในพื้นที่ 130 วัน[21]

ชุดที่ 2 ออกเดินทางจากประเทศไทยในวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ประกอบไปด้วยเรือหลวงสิมิลัน และเรือหลวงนราธิวาส พร้อมด้วยเฮลิคอปเตอร์ประจำเรือแบบเบลล์ 212 จำนวน 1 ลำ ชุดปฏิบัติการพิเศษทางเรือ และกำลังพลประจำเรือรวม 368 นาย[23] ซึ่งมี พลเรือตรี ธานินทร์ ลิขิตวงศ์ ดำรงตำแหน่งผู้บังคับหมู่เรือ และนาวาเอก ภราดร พวงแก้ว เป็นผู้บังคับหน่วยเรือปราบปรามโจรสลัด ปฏิบัติหน้าที่ในการคุ้มครองเรือสินค้าและเรือประมงของไทยและนานาชาติเช่นเดิม และเดินทางกลับมาถึงประเทศไทยในวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ระยะเวลาปฏิบัติภารกิจในพื้นที่ 140 วัน[24]

ปฏิบัติการสำคัญ

[แก้]

ปฏิบัติการสำคัญของกองทัพเรือไทยระหว่างการเข้าร่วมกองเรือเฉพาะกิจผสม 151 เรือหลวงสิมิลันได้เข้าช่วยเหลือเรือสินค้าสัญชาติไลบีเรีย MSC NAMIBIA II ขนาด 24,000 ตัน แล่นออกจากอ่าวเอเดน ถูกกลุ่มโจรสลัด 6 ราย กำลังยิงจรวจอาร์พีจีใส่เรือทางกราบขวาและซ้าย พร้อมทั้งกระสุนปืนเล็ก ผู้บังคับหน่วยเรือจึงสั่งการให้เฮลิคอปเตอร์แบบเบลล์ 212 บินเข้าสกัดขัดขวางการโจมตีจนเรือโจรสลัดล่าถอยไปทางฝั่งโซมาเลีย และบินกดดันจนเรือโจรสลัดหยุดเครื่องยนต์ และกองกำลังผสมทางทะเลได้สั่งการให้เรือ ยูเอสเอส ฮาวเวิร์ด ส่งเฮลิคอปเตอร์เข้าตรวจสอบและตรวจค้นเรือของโจรสลัด จากนั้นเรือหลวงสิมิลันจึงได้สั่งการให้เฮลิคอปเตอร์บินคุ้มกันเรือสินค้าดังกล่าวจนพ้นพื้นที่รับผิดชอบ และได้รับจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ขอบคุณทหารเรือไทยจากเรือลำดังกล่าวในเวลาต่อมา[24]

มาตรการเฉพาะกิจ

[แก้]

มาตรการที่ดำเนินการโดยกองเรือเฉพาะกิจ ได้แก่ การเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง การถอดบันไดทางเข้า การรายงานการดำเนินการที่น่าสงสัยไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การใช้ไฟส่องสว่างบนดาดฟ้า ลวดหนาม ตาข่าย สายดับเพลิง รั้วไฟฟ้า และอุปกรณ์เฝ้าระวังและตรวจจับ การป้องกันจุดที่เข้าถึงได้ต่ำที่สุด การใช้ความเร็วในการหลบเลี่ยงการโจมตีของโจรสลัด และการรวมกลุ่มในการขนส่ง[25]

กองกำลังผสมทางทะเล (Combined Maritime Forces: CMF) ได้จัดตั้งพื้นที่ลาดตระเวนรักษาความปลอดภัยทางทะเล (Maritime Security Patrol Area: MSPA) ในอ่าวเอเดนเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551 เพื่อจัดเตรียมความพยายามระดับนานาชาติในการปราบปรามโจรสลัด ความพยายามของกองกำลังผสมเกี่ยวข้องกับกองเรือเฉพาะกิจผสม 150 ที่ลาดตระเวนในพื้นที่ด้วยเครื่องบินและเรือ อย่างไรก็ตาม กฎบัตรของกองเรือเฉพาะกิจผสม 150 ซึ่งจัดตั้งขึ้นในช่วงเริ่มต้นของปฏิบัติการเอนดูริ่งฟรีดอม มีไว้สำหรับการดำเนินการรักษาความปลอดภัยทางทะเลในอ่าวโอมาน อ่าวเอเดน ทะเลอาหรับ มหาสมุทรอินเดีย และทะเลแดง ปฏิบัติการดังกล่าวรวมถึงการยับยั้งกิจกรรมการคุกคาม เช่น การค้าอาวุธและการลักลอบขนยาเสพติด[1]

การช่วยเหลือ กัปตัน ริชาร์ด ฟิลลิปส์

[แก้]
ภาพเฝ้าตรวจของเรือชูชีพจากเรือเมอร์สค์ อลาบามา ที่ถูกจี้จากโจรสลัดโซมาเลีย

ในปี พ.ศ. 2552 มีโจรสลัดโจมตีเรือ เมอร์สค์ อลาบามา เจ้าหน้าที่กู้ภัยรวมถึงหน่วยซีลทีมซิกซ์[26] เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2552 มีคำแนะนำจากหน่วยงานบริหารการเดินเรือของสหรัฐ ระบุว่าให้เรือต่าง ๆ อยู่ห่างจากชายฝั่งโซมาเลีย 600 ไมล์เนื่องจากโจรสลัดที่เพิ่มขึ้น โจรสลัดโซมาเลียตั้งเป้าไปที่อ่าวเอเดนเป็นหลัก เนื่องจากเรือส่วนใหญ่ที่มุ่งหน้าไปยังคลองสุเอซซึ่งอยู่ที่นั่น อย่างไรก็ตาม ด้วยกองเรือเฉพาะกิจผสม 151 เรือรบจีน รัสเซีย และปฏิบัติการอาตาลันตา ทั้งหมดรวมตัวกันอยู่ในบริเวณนั้น โจรสลัดจึงถูกบังคับให้ต้องมองหาเป้าหมายที่อื่น[27] เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2552 เรือ เมอร์สค์ อลาบามา มุ่งหน้าไปยังอ่าวเอเดน กัปตันฟิลลิปส์ไม่รู้ว่ามีโจรสลัดกำลังเดินทางมายังเรือของเขา[28] ในที่สุด กัปตันฟิลลิปส์และลูกเรือก็ถูกเรือของโจรสลัด 3 ลำ ล้อมรอบโดยมีเรือแม่ของพวกเขาไล่ตาม โดยอยู่ห่างออกไป 8 ไมล์[29] ในที่สุด กัปตันฟิลลิปส์ก็กดปุ่มแจ้งเตือนแบบเงียบ ๆ เพื่อส่งสัญญาณให้ทีมค้นหาและกู้ภัยเข้ามาช่วยเหลือ[30] มีอยู่ช่วงหนึ่งที่มีรายงานว่าเกิดการเผชิญหน้าระหว่างลูกเรือของเรือกับโจรสลัด[31] ในที่สุดพวกเขามีการเรียกร้องให้มีการแลกเปลี่ยนนักโทษ และกัปตันฟิลลิปส์ก็เป็นคนแรก ๆ ที่ได้รับการปล่อยตัวลงบนเรือชูชีพ[32]

ความสำเร็จ

[แก้]

พลเรือโท บิล กอร์ตนีย์ กล่าวว่าเนื่องจากมาตรการเชิงรุกที่ชาวเรือเดินทะเลบางส่วนใช้ เหตุการณ์โจรสลัดในภูมิภาคจึงลดลง นอกจากนี้ เขายังเตือนด้วยว่า “ความพยายามของกองกำลังผสมและกองทัพเรือนานาชาติจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาโจรสลัดได้”[1]

พลเรือตรี อันโฮ จุง แห่งกองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลี เข้ารับตำแหน่งผู้บัญชาการกองเรือเฉพาะกิจผสม 151 จาก พลเรือตรี ธานินทร์ ลิขิตวงศ์ แห่งกองทัพเรือไทย

รายชื่อผู้บัญชาการ

[แก้]

ประวัติการบัญชาการ

[แก้]

กองเรือเฉพาะกิจดังกล่าวมีประเทศต่าง ๆ เข้าร่วมบัญชาการ ดังนี้[77]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 "New Counter-Piracy Task Force Established". สืบค้นเมื่อ 22 January 2014.
  2. 2.0 2.1 2.2 "Türkiye Assumes Command of Combined Maritime Forces' Combined Task Force 151 from Brazil". United States Navy (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2024-09-09.
  3. 3.0 3.1 "CTF-151: Counter-piracy". Combined Maritime Forces. 17 September 2010. สืบค้นเมื่อ 4 December 2013.
  4. 4.0 4.1 Combined Maritime Forces (CMF) Operations Counter Piracy Operations, Challenges, Shortfalls and Lessons Learned (PDF). NATO. 2009. p. 3.
  5. Mcknight, Terry; Michael Hirsh (2012). Pirate Alley: Commanding Task Force 151 Off Somalia. Annapolis: Naval Institute Press. p. 37.
  6. Mcknight, Terry; Michael Hirsh (2012). Pirate Alley: Commanding Task Force 151 Off Somalia. Annapolis: Naval Institute Press. pp. 37–38.
  7. Mcknight, Terry; Michael Hirsh (2012). Pirate Alley: Commanding Task Force 151 Off Somalia. Annapolis: Naval Institute Press. p. 39.
  8. 8.0 8.1 Mcknight, Terry; Michael Hirsh (2012). Pirate Alley: Commanding Task Force 151 Off Somalia. Annapolis: Naval Institute Press. p. 88.
  9. Mcknight, Terry; Michael Hirsh (2012). Pirate Alley: Commanding Task Force 151 Off Somalia. Annapolis: Naval Institute Press. pp. 88–89.
  10. "New Counter-Piracy Task Force Established". Navy NewsStand. GlobalSecurity.org. 2009-01-08. สืบค้นเมื่อ 2009-04-13.
  11. 11.0 11.1 11.2 Hilley, MC1 Monique K. (2009-01-20). "Navy, CG Training to Combat Piracy". Navy News. Military Advantage. สืบค้นเมื่อ 2009-01-26.
  12. 12.0 12.1 12.2 12.3 12.4 Goodwin, Brian (2009-01-19). "San Antonio Key to Counterpiracy Mission". Defence Professional. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-31. สืบค้นเมื่อ 2009-01-26.
  13. Mills, Cpl Jason D. (2009-01-09). "Skids Fly to San Antonio". Marine Corps News. Military Advantage. สืบค้นเมื่อ 2009-01-26.
  14. Gibbons, Timothy J. (2009-01-28). "San Navy helicopter squadron helps fight pirates". The Florida Times-Union. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-31. สืบค้นเมื่อ 2009-01-28.
  15. Viscusi, Gregory (2009-01-27). "Pirate Attacks Cut Dramatically by Navies, U.S. Admiral Says". Bloomberg News. สืบค้นเมื่อ 2009-01-28.
  16. "US to lead new anti-pirate force". BBC News. 2009-01-08. สืบค้นเมื่อ 2010-04-30.
  17. Lt. John Fage (April 5, 2009). "Admiral Howard Takes Command of ESG-2 and CTF 151 (Release #057-09)" (Press release). U.S. Fifth Fleet. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 11, 2009. สืบค้นเมื่อ 2009-04-16.
  18. McPhedran, Ian (2009-05-29). "Navy warship and RAAF spy planes join fight against Somali pirates". The Daily Telegraph. Sydney. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 September 2009.
  19. 19.0 19.1 "หมู่เรือปราบโจรสลัดโซมาลีย เดินทางกลับถึงไทยแล้ว". Thai PBS.
  20. "หมู่เรือปราบโจรสลัดฝึกเตรียมความพร้อมก่อนออกปฏิบัติงานจริงที่โซมาเลีย". mgronline.com. 2011-06-29.
  21. 21.0 21.1 "กองเรือปราบโจรสลัดฯกลับถึงไทยแล้ว". www.thairath.co.th. 2011-01-20.
  22. "เรือหลวงปัตตานี : เรือรบของหมู่เรือปราบปราบโจรสลัดโซมาเลีย | สายสวรรค์ ขยันยิ่ง" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2010-09-20.
  23. "ทร.ส่งหมู่เรือชุด 2 ร่วมปราบโจรสลัดโซมาเลีย". www.thairath.co.th. 2011-07-12.
  24. 24.0 24.1 "ต้อนรับนักรบปราบโจรสลัดอ่าวเอเดน-โซมาเลีย อบอุ่นและสมเกียรติ". mgronline.com. 2011-11-28.
  25. "Combined Maritime Forces". Combined Maritime Forces. 17 September 2010.
  26. Mcknight, Terry; Michael Hirsh (2012). Pirate Alley: Commanding Task Force 151 Off Somalia. Annapolis: Naval Institute Press. pp. 118–119.
  27. Mcknight, Terry; Michael Hirsh (2012). Pirate Alley: Commanding Task Force 151 Off Somalia. Annapolis: Naval Institute Press. pp. 122–123.
  28. Mcknight, Terry; Michael Hirsh (2012). Pirate Alley: Commanding Task Force 151 Off Somalia. Annapolis: Naval Institute Press. p. 123.
  29. Mcknight, Terry; Michael Hirsh (2012). Pirate Alley: Commanding Task Force 151 Off Somalia. Annapolis: Naval Institute Press. p. 126.
  30. Mcknight, Terry; Michael Hirsh (2012). Pirate Alley: Commanding Task Force 151 Off Somalia. Annapolis: Naval Institute Press. p. 130.
  31. Mcknight, Terry; Michael Hirsh (2012). Pirate Alley: Commanding Task Force 151 Off Somalia. Annapolis: Naval Institute Press. p. 135.
  32. Mcknight, Terry; Michael Hirsh (2012). Pirate Alley: Commanding Task Force 151 Off Somalia. Annapolis: Naval Institute Press. p. 136.
  33. "Rear Admiral (Retired) Roger Girouard". 11 October 2017.
  34. 34.0 34.1 34.2 "ตุรกี Assumes Command of CTF-151". Combined Maritime Forces (CMF). September 1, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 20, 2014. สืบค้นเมื่อ April 11, 2020.
  35. "PRESS RELEASE Report". www.nas.gov.sg. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-11. สืบค้นเมื่อ 2020-04-11.
  36. "ปากีสถาน Assumes Command of Combined Task Force 151". Combined Maritime Forces (CMF). November 29, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 20, 2014. สืบค้นเมื่อ April 11, 2020.
  37. "Republic of สิงคโปร์ assumes Command of Combined Task Force 151". Combined Maritime Forces (CMF). April 1, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 20, 2014. สืบค้นเมื่อ April 11, 2020.
  38. "NZDF - New Zealander to command US-led counter piracy task force". www.nzdf.mil.nz. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-10.
  39. "Royal New Zealand Navy assumes Command of Combined Task Force 151". Combined Maritime Forces (CMF). July 1, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 12, 2011. สืบค้นเมื่อ April 11, 2020.
  40. "PAKISTAN ASSUMES COMMAND OF COMBINED TASK FORCE 151". Combined Maritime Forces (CMF). September 28, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 13, 2011. สืบค้นเมื่อ April 11, 2020.
  41. "DENMARK ASSUMES COMMAND OF COMBINED TASK FORCE 151 BAHRAIN". Combined Maritime Forces (CMF). January 12, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 10, 2012. สืบค้นเมื่อ April 11, 2020.
  42. "ROYAL THAI NAVY ASSUMES COMMAND OF COMBINED TASK FORCE 151". Combined Maritime Forces (CMF). March 29, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 20, 2014. สืบค้นเมื่อ April 11, 2020.
  43. "REPUBLIC OF KOREA NAVY ASSUMES COMMAND OF COMBINED TASK FORCE 151". Combined Maritime Forces (CMF). June 19, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 20, 2014. สืบค้นเมื่อ April 11, 2020.
  44. "TURKEY ASSUMES COMMAND OF COMBINED TASK FORCE 151". Combined Maritime Forces (CMF). September 25, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 14, 2015. สืบค้นเมื่อ April 11, 2020.
  45. "PAKISTAN NAVY ASSUMES COMMAND OF COMBINED TASK FORCE 151". Combined Maritime Forces (CMF). December 13, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 16, 2012. สืบค้นเมื่อ April 11, 2020.
  46. "REPUBLIC OF SINGAPORE NAVY TAKES COMMAND OF COMBINED TASK FORCE 151". Combined Maritime Forces (CMF). March 7, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 26, 2013. สืบค้นเมื่อ April 11, 2020.
  47. "สิงคโปร์ hands over CTF 151 to ปากีสถาน". Combined Maritime Forces (CMF). June 13, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 25, 2014. สืบค้นเมื่อ April 11, 2020.
  48. "Combined Task Force 151 Change of Command Ceremony". Combined Maritime Forces (CMF). September 12, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 8, 2013. สืบค้นเมื่อ April 11, 2020.
  49. "UK handover to เดนมาร์ก at CTF 151 Change of Command Ceremony". Combined Maritime Forces (CMF). December 12, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 12, 2013. สืบค้นเมื่อ April 11, 2020.
  50. "เดนมาร์ก handover to ปากีสถาน at CTF 151 change of command ceremony". Combined Maritime Forces (CMF). March 2, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 2, 2014. สืบค้นเมื่อ April 11, 2020.
  51. "ปากีสถาน passes command of CTF-151 to the เกาหลีใต้". Combined Maritime Forces (CMF). June 18, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 1, 2014. สืบค้นเมื่อ April 11, 2020.
  52. "South Korea passes command of CTF-151 to New Zealand". Combined Maritime Forces (CMF). September 2, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 14, 2014. สืบค้นเมื่อ April 11, 2020.
  53. "พลเรือตรี ปกรณ์ วานิช รับมอบการบังคับบัญชา เป็น ผู้บัญชาการกองเรือเฉพาะกิจผสมที่ 151 (Combined Task Force 151 (CTF 151)". www.navy.mi.th (ภาษาอังกฤษ).
  54. "New Zealand passes command of CTF-151 to ไทย". Combined Maritime Forces (CMF). November 25, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 7, 2014. สืบค้นเมื่อ April 11, 2020.
  55. "UKMTO Dubai welcomes the Commander of the Combined Task Force 151". Combined Maritime Forces (CMF). April 23, 2015.
  56. "ญี่ปุ่น Makes History as it Takes the Lead of Combined Task Force 151". Combined Maritime Forces (CMF). June 2, 2015.
  57. "ตุรกี assumes command of CTF 151 from ญี่ปุ่น". Combined Maritime Forces (CMF). August 27, 2015.
  58. "ปากีสถาน assumes command of CTF 151 from ตุรกี". Combined Maritime Forces (CMF). December 21, 2015.
  59. "ปากีสถาน handover to สิงคโปร์ at CTF 151 Change of Command Ceremony". Combined Maritime Forces (CMF). April 7, 2016.
  60. "Commandant SAFTI MI". www.mindef.gov.sg.
  61. "สิงคโปร์ handover to Korea at CTF 151 Change of Command Ceremony". Combined Maritime Forces (CMF). July 7, 2016.
  62. "CTF 151 Handover #piracy #maritimesecurityoperations". Combined Maritime Forces (CMF). October 27, 2016.
  63. "CTF 151 Change of Command Ceremony". Combined Maritime Forces (CMF). March 9, 2017.
  64. "JAPAN HANDS OVER TO TURKEY IN CTF151 CHANGE OF COMMAND CEREMONY". Combined Maritime Forces (CMF). June 29, 2017.
  65. "TURKEY HANDS OVER TO BAHRAIN IN CTF 151 CHANGE OF COMMAND CEREMONY". Combined Maritime Forces (CMF). November 2, 2017.
  66. "CTF 151 BAHRAIN HANDOVER TO JAPAN". Combined Maritime Forces (CMF). March 1, 2018.
  67. "SINGAPORE TAKES COMMAND OF COUNTER PIRACY COMBINED TASK FORCE 151". Combined Maritime Forces (CMF). July 1, 2018.
  68. 68.0 68.1 "FIRST TIME CTF 151 AND CTF 152 CONDUCTED A CHANGE OF COMMAND CEREMONY ON THE SAME DAY!". Combined Maritime Forces (CMF). February 25, 2019.
  69. "คูเวต Naval Forces hands over to เกาหลีใต้ Navy in CTF 151 Change of Command Ceremony". Combined Maritime Forces (CMF). June 26, 2019.
  70. "เกาหลีใต้ Navy hands over command of CTF 151 to คูเวต Naval Force – القوات البحرية للجمهورية الكورية تسلم قيادة قوات الواجب المختلطة -١٥١ للقوات البحرية الكويتية". Combined Maritime Forces (CMF). October 23, 2019.
  71. "JAPAN TAKES COMMAND OF COMBINED TASK FORCE 151". Combined Maritime Forces (CMF). February 23, 2020.
  72. "ญี่ปุ่น Hands Over Command of CTF 151 to ตุรกี". Combined Maritime Forces (CMF). July 21, 2020.
  73. "TURKISH NAVY HANDS OVER TASK FORCE COMMAND TO PAKISTAN". Combined Maritime Forces (CMF). December 18, 2020.
  74. "BRAZILIAN NAVY (MARIHNA DO BRASIL) TAKES FIRST COMMAND IN CMF". Combined Maritime Forces (CMF). June 10, 2021.
  75. "เกาหลีใต้ Assumes Command of Anti-Piracy Task Force". DVIDS (ภาษาอังกฤษ).
  76. "Philippine Navy now leads international force in counter-piracy".
  77. "CTF 151: Counter-piracy Website". 17 September 2010.

บรรณานุกรม

[แก้]
  • McKnight, Terry and Michael Hirsh. Pirate Alley: Commanding Task Force 151 off Somalia. Annapolis, MD : Naval Institute Press, 2012. ISBN 1-61251-134-1 OCLC 785079505
  • Newsome, Timothy E. Somali Piracy: Are We Making a Mountain Out of a Molehill? Ft. Belvoir: Defense Technical Information Center, 2009. OCLC 574551215
  • Phillips, Richard, and Stephan Talty. A นาวาเอก's Duty: Somali Pirates, Navy Seals, and Dangerous Days at Sea. New York: Hyperion, 2010. ISBN 1-4013-2380-4 OCLC 430843212
  • Zogg, Dennis M. Why the U.S. Navy Should Not Be Fighting Piracy Off Somalia. Ft. Belvoir: Defense Technical Information Center, 2009. OCLC 465323456

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]