ข้ามไปเนื้อหา

กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
(Myocarditis)
ชื่ออื่นInflammatory cardiomyopathy (infectious)
ภาพจากกล้องจุลทรรศน์แสดงให้เห็นเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อหัวใจของผู้ที่เสียชีวิตจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ แสดงให้เห็นเซลล์เม็ดเลือดขาวเข้ามาแทรกอยู่ในเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อหัวใจ
สาขาวิชาโรคติดเชื้อ, หทัยวิทยา
อาการหายใจลำบาก, เจ็บหน้าอก, ออกแรงได้น้อยลง, หัวใจเต้นผิดจังหวะ[1]
ภาวะแทรกซ้อนหัวใจวายจากภาวะหัวใจโต, หัวใจวาย[1]
ระยะดำเนินโรคมีตั้งแต่ไม่กี่ชั่วโมงไปจนถึงหลายเดือน[1]
สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส, อาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย, ยาบางชนิด, สารพิษ, โรคภูมิต้านตนเอง[1][2]
วิธีวินิจฉัยการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ, การตรวจระดับโทรโพนินในเลือด, การตรวจเอ็มอาร์ไอหัวใจ, การตรวจชันสูตรชิ้นเนื้อหัวใจ[1][2]
การรักษารักษาด้วยยา, ฝังอุปกรณ์กระตุกหัวใจไฟฟ้า, การปลูกถ่ายหัวใจ[1][2]
ยายายับยั้งตัวรับเอซีอี, ยาต้านเบต้า, ยาขับปัสสาวะ, คอร์ติโคสเตอรอยด์, อิมมูโนกลอบูลิน[1][2]
พยากรณ์โรคแตกต่างกันไปในแต่ละคน[3]
ความชุกนับรวมกับโรคกล้ามเนื้อหัวใจอื่น ๆ อยู่ที่ 2.5 ล้านคน (ค.ศ. 2015)[4]
การเสียชีวิตนับรวมกับโรคกล้ามเนื้อหัวใจอื่น ๆ อยู่ที่ 354,000 คน (ค.ศ. 2015)[5]

กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (อังกฤษ: myocarditis, inflammatory cardiomyopathy) คือภาวะที่มีการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ ผู้ป่วยอาจมีอาการหายใจลำบาก เจ็บหน้าอก เหนื่อยง่าย และหัวใจเต้นผิดจังหวะได้[1] อาการเหล่านี้อาจเป็นอยู่ได้นานเพียงไม่กี่ชั่วโมงหรือเป็นต่อเนื่องหลายเดือนก็ได้ ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้เช่น หัวใจวาย จากภาวะหัวใจโตจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจขยาย หรือเกิดหัวใจหยุดเต้นได้[1]

กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส[1] ที่พบบ่อยเช่น parvovirus B19 นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากเชื้ออื่นที่ไม่ใช่ไวรัสก็ได้แต่พบน้อยกว่า เชื้ออื่นเหล่านี้เช่น เชื้อแบคทีเรีย Borrelia burgdorferi (โรคไลม์) หรือ เชื้อโปรโตซัว Trypanosoma cruzi สาเหตุอื่น ๆ เช่น เกิดจากผลข้างเคียงของยา การได้รับสารพิษ และโรคภูมิต้านตนเอง[1][2] การวินิจฉัยทำได้โดยการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตรวจระดับโทรโพนินในเลือดซึ่งจะมีระดับสูงกว่าปกติ การตรวจเอ็มอาร์ไอหัวใจ และบางครั้งก็อาจวินิจฉัยได้จากการตรวจชันสูตรชิ้นเนื้อหัวใจ[1][2] การตรวจอื่น ๆ ที่มีประโยชน์ เช่น การตรวจอุลตร้าซาวด์หัวใจ ช่วยแยกโรคอื่น ๆ ออกได้ เช่น โรคลิ้นหัวใจ เป็นต้น[2]

การรักษาขึ้นกับสาเหตุและระดับความรุนแรง[1][2] ส่วนใหญ่จะเป็นการรักษาด้วยยา เช่น ยายับยั้งเอซีอี ยาต้านเบต้า และยาขับปัสสาวะ[1][2] ร่วมกับการงดออกแรงระหว่างการรักษาตัว[1][2] บางรายอาจต้องใช้ยาภูมิคุ้มกัน เช่น คอร์ติโคสเตอรอยด์ หรือการให้อิมมูโนกลอบูลินทางหลอดเลือดดำ (IVIG)[1][2] ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงอาจจำเป็นต้องใช้เครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบฝังในร่างกาย หรือการปลูกถ่ายหัวใจ[1][2]

ปี ค.ศ. 2013 พบผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเฉียบพลันประมาณ 1.5 ล้านคน[6] โรคนี้พบได้ในคนทุกอายุ แต่ที่พบบ่อยที่สุดคือในคนอายุน้อย[7] พบในเพศชายบ่อยกว่าเพศหญิงเล็กน้อย[1] ส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง[2] ข้อมูลปี ค.ศ. 2015 พบผู้ป่วยเสียชีวิตจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบนับรวมกับโรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดอื่น ๆ รวมทั้งสิ้นแล้ว 354,000 คน เพิ่มจากข้อมูล ค.ศ. 1990 ที่พบผู้เสียชีวิต 294,000 คน[5][8] โรคนี้ได้รับการบรรยายเอาไว้เป็นครั้งแรกตั้งแต่ช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 1800[9]

อาการและอาการแสดง

[แก้]

อาการและอาการแสดงที่เกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจะแตกต่างกันไป และเกี่ยวข้องกับทั้งการอักเสบที่แท้จริงของกล้ามเนื้อหัวใจหรือความอ่อนแอและความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจที่เป็นปัจจัยรองจากการอักเสบ แม้ว่ากล้ามเนื้อหัวใจอักเสบอาจเกิดขึ้นในช่วงเวลาหลายชั่วโมงหรือหลายเดือน ผู้ป่วยมักมีอาการและอาการแสดงที่คล้ายกับภาวะหัวใจล้มเหลว ได้แก่:[1][10]

อาการ หมายเหตุ อาการแสดง หมายเหตุ
เจ็บหน้าอก โดยปกติมักอธิบายว่าเหมือนถูกของมีคมแทง ไข้ โดยเฉพาะเมื่อติดเชื้อ เช่น จากเชื้อ parvovirus B19
หายใจลำบาก อาการแย่ลงเมื่อนอนราบหรืออยู่ในท่าคว่ำ เสียงหัวใจทึบ เสียงทึบเกิดขึ้นพร้อมกับการอักเสบ โดยเฉพาะกับอาการเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
ใจสั่น รู้สึกเหมือนหัวใจเต้นแรง หัวใจเต้นผิดจังหวะ ตรวจด้วยภาพคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
วิงเวียนศีรษะหรือเป็นลม สามารถสะท้อนถึงภาวะเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ความเสียหายต่อเซลล์หัวใจ ระดับโทรโพนินสูงกว่าปกติและภาพถ่ายหัวใจแสดงการอักเสบ

เนื่องจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบมักเกิดจากการป่วยจากเชื้อไวรัส ผู้ป่วยจำนวนมากจึงมีอาการที่สอดคล้องกับการติดเชื้อไวรัสก่อนหน้านั้น เช่น ไข้ มีผื่น เบื่ออาหาร ปวดท้อง อาเจียน ท้องร่วง ปวดในข้อ และเหนื่อยง่าย[11] นอกจากนี้ โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบมักเกี่ยวข้องกับเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ และหลายคนที่เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจะมีอาการและอาการแสดงที่บ่งบอกว่ามีกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบในเวลาเดียวกัน[11][12]

เด็กส่วนใหญ่ที่แสดงอาการดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อไวรัส[10] อาการป่วยระยะหลังอาจเกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจและทำให้การหายใจถี่ขึ้น ซึ่งมักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นโรคหอบหืด[10]

โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบสามารถจำแนกได้ว่าเร็วร้ายหรือเฉียบพลันโดยพิจารณาจากความรุนแรงของอาการที่เกิดขึ้น ตลอดจนระยะเวลาที่อาการดำเนินและคงอยู่ การจัดจำแนกนี้สามารถช่วยการทำนายการรักษา ผลลัพธ์ และภาวะแทรกซ้อนของโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบได้

โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเฉียบพลันชนิดรุนแรง (fulminant myocarditis) จะสัมพันธ์กับอาการและอาการแสดงของภาวะหัวใจล้มเหลวขณะพัก[13] มีลักษณะอาการที่เด่นชัดและการดำเนินของอาการหัวใจล้มเหลวรุนแรงที่รวดเร็ว เช่น อาการหายใจลำบากและเจ็บหน้าอก ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลาหลายชั่วโมงถึงหลายวัน ซึ่งการรักษาต้องใช้ยาหรืออุปกรณ์เพื่อปรับปรุงการทำงานของหัวใจ[13][14]

โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเฉียบพลันชนิดไม่รุนแรง (acute non-fulminant myocarditis) มีอาการที่แตกต่างกันในผู้ป่วยน้อยกว่าเมื่อเทียบกับโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเฉียบพลันชนิดรุนแรง และมีการดำเนินของโรคในช่วงหลายวันถึงหลายเดือน[14][15] แม้ว่าอาการของโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเฉียบพลันชนิดไม่รุนแรงจะเหมือนกับอาการของโรคชนิดรุนแรง แต่มักไม่เกิดขึ้นในช่วงพัก และการรักษาไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยการไหลเวียนโลหิต[15]

สาเหตุ

[แก้]

การติดเชื้อ

[แก้]

สาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบมาจากการติดเชื้อ โดยเฉพาะการติดเชื้อไวรัส ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ส่วนในประเทศอื่นๆ ทั่วโลกเชื้อที่พบเป็นสาเหตุของกล้ามเนื้อหัวใจได้บ่อยที่สุดคือการติดเชื้อโปรโตซัวที่ทำให้เกิดโรคชากาส

  • ไวรัส เช่น อะดีโนไวรัส, พาร์โวไวรัส บี 19
  • โปรโตซัว เช่น ทริพาโนโซมา
  • แบคทีเรีย เช่น มัยโคพลาสมา

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 1.14 1.15 1.16 1.17 1.18 Cooper LT (เมษายน 2009). "Myocarditis". The New England Journal of Medicine. 360 (15): 1526–38. doi:10.1056/nejmra0800028. PMC 5814110. PMID 19357408.
  2. 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 2.11 2.12 Kindermann I, Barth C, Mahfoud F, Ukena C, Lenski M, Yilmaz A, และคณะ (กุมภาพันธ์ 2012). "Update on myocarditis". Journal of the American College of Cardiology. 59 (9): 779–92. doi:10.1016/j.jacc.2011.09.074. PMID 22361396.
  3. Stouffer G, Runge MS, Patterson C (2010). Netter's Cardiology E-Book. Elsevier Health Sciences. p. 181. ISBN 978-1-4377-3650-2.
  4. Vos, Theo; Allen, Christine; Arora, Megha; และคณะ (ตุลาคม 2016). "Global, regional, and national incidence, prevalence, and years lived with disability for 310 diseases and injuries, 1990-2015: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2015". Lancet. 388 (10053): 1545–1602. doi:10.1016/S0140-6736(16)31678-6. PMC 5055577. PMID 27733282.
  5. 5.0 5.1 GBD 2015 Mortality and Causes of Death Collaborators (ตุลาคม 2016). "Global, regional, and national life expectancy, all-cause mortality, and cause-specific mortality for 249 causes of death, 1980-2015: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2015". Lancet. 388 (10053): 1459–1544. doi:10.1016/S0140-6736(16)31012-1. PMC 5388903. PMID 27733281.
  6. Vos, Theo; Barber, Ryan M.; Bell, Brad; และคณะ (สิงหาคม 2015). "Global, regional, and national incidence, prevalence, and years lived with disability for 301 acute and chronic diseases and injuries in 188 countries, 1990-2013: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2013". Lancet. 386 (9995): 743–800. doi:10.1016/s0140-6736(15)60692-4. PMC 4561509. PMID 26063472.
  7. Willis M, Homeister JW, Stone JR (2013). Cellular and Molecular Pathobiology of Cardiovascular Disease. Academic Press. p. 135. ISBN 9780124055254. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2017.
  8. GBD 2013 Mortality Causes of Death Collaborators (มกราคม 2015). "Global, regional, and national age-sex specific all-cause and cause-specific mortality for 240 causes of death, 1990-2013: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2013". Lancet. 385 (9963): 117–71. doi:10.1016/S0140-6736(14)61682-2. PMC 4340604. PMID 25530442.
  9. Cunha BA (2009). Infectious Diseases in Critical Care Medicine. CRC Press. p. 263. ISBN 978-1-4200-1960-5. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2017.
  10. 10.0 10.1 10.2 Feldman AM, McNamara D (พฤศจิกายน 2000). "Myocarditis". The New England Journal of Medicine. 343 (19): 1388–1398. doi:10.1056/NEJM200011093431908. PMID 11070105.
  11. 11.0 11.1 "Myocarditis". The Lecturio Medical Concept Library. สืบค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2021.
  12. "Pericarditis". Lecturio. 23 กรกฎาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2021.
  13. 13.0 13.1 Sharma AN, Stultz JR, Bellamkonda N, Amsterdam EA (ธันวาคม 2019). "Fulminant Myocarditis: Epidemiology, Pathogenesis, Diagnosis, and Management". The American Journal of Cardiology. 124 (12): 1954–1960. doi:10.1016/j.amjcard.2019.09.017. PMID 31679645. S2CID 204061292. ProQuest 2317270452.
  14. 14.0 14.1 Hang W, Chen C, Seubert JM, Wang DW (ธันวาคม 2020). "Fulminant myocarditis: a comprehensive review from etiology to treatments and outcomes". Signal Transduction and Targeted Therapy. 5 (1): 287. doi:10.1038/s41392-020-00360-y. PMC 7730152. PMID 33303763.
  15. 15.0 15.1 Ammirati E, Veronese G, Bottiroli M, Wang DW, Cipriani M, Garascia A, และคณะ (สิงหาคม 2021). "Update on acute myocarditis". Trends in Cardiovascular Medicine. 31 (6): 370–379. doi:10.1016/j.tcm.2020.05.008. PMC 7263216. PMID 32497572.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก