เยื่อจมูกอักเสบ
เยื่อจมูกอักเสบ | |
---|---|
ละอองเรณูจากพืชชนิดต่างๆอาจเป็นสาเหตุของไข้หวัดภูมิแพ้ | |
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก | |
ICD-10 | J00, J30, J31.0 |
ICD-9 | 472.0, 477 |
OMIM | 607154 |
DiseasesDB | 26380 |
MedlinePlus | 000813 001648 |
eMedicine | ent/194 med/104, ped/2560 |
MeSH | D012220 |
เยื่อจมูกอักเสบ (Rhinitis) หรือ ไข้หวัดอักเสบ (Coryza)[1] เป็นการระคายเคืองและการอักเสบของเยื่อเมือกภายในจมูก มักจะแสดงอาการทั่วไปเช่นคัดจมูก, มีน้ำมูก, จาม และ น้ำเมือกหยด[2] โรคนี้ถือเป็นโรคสามัญที่ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศมักจะป่วยเป็นประจำ
การอักเสบอาจเกิดจากเชื้อไวรัส, แบคทีเรีย, จุลปรสิต หรือ ละออง นอกจากนี้ อากาศหนาวก็เป็นสาเหตุได้เช่นเดียวกัน ซึ่งในบรรดาสาเหตุทั้งหมดนี้ เยื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้เป็นกรณีที่พบได้มากที่สุด[3] ภาวะเยื่อจมูกอักเสบอาจแสดงอาการอื่นร่วมด้วยอาทิ คันจมูก, ไอ, ปวดหัว[4], ล้า, ละเหี่ย และรับรู้ช้าลง[5][6][7] และยังอาจส่งผลให้มองเห็นพร่ามัวและเกิดการบวมบริเวณรอบดวงตา นอกจากนี้ การอักเสบยังก่อให้เกิดเมือกจำนวนมาก ซึ่งนำมาซึ่งภาวะคัดจมูกและมีน้ำมูก ในกรณีของการอักเสบจากภูมิแพ้นั้นมีสาเหตุมาจากการสลายเกล็ดของแมสต์เซลล์ ซึ่งเมื่อเซลล์ถูกสลายเกล็ดจะปล่อยฮิสตามีนและสารอื่นๆออกมา[8]ที่ทำร่างกายเมื่อยล้าและละเหี่ย[9]
สามารถทำการป้องกันการเป็นเยื่อจมูกอักเสบได้โดยรับวัคซีนจำพวกวัคซีนไข้หวัดใหญ่, วัคซีนต้านอดีโนไวรัส, วัคซีนโรคหัด, วัคซีนโรคหัดเยอรมัน, วัคซีนต้านเยื่อหุ้มสมองอักเสบ, วัคซีนป้องกันเชื้อฮีโมฟิลุสชนิดบี, วัคซีนโรคคอตีบ และหากเป็นโรคนี้แล้ว ยาทานจำพวกสารต้านฮิสทามีนหรือคอร์ดิโคสเตียรอยด์จะช่วยทุเลาอาการลงได้
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Pfaltz, founding authors, Walter Becker, Hans Heinz Naumann, Carl Rudolf (2009). Ear, nose, and throat diseases: with head and neck surgery (3rd ed.). Stuttgart: Thieme. p. 150. ISBN 9783136712030.
- ↑ "Nonallergic rhinitis".
- ↑ "Allergic rhinitis".
- ↑ "Allergic rhinitis".
- ↑ Quillen, DM; Feller, DB (2006). "Diagnosing rhinitis: Allergic vs. Nonallergic". American family physician. 73 (9): 1583–90. PMID 16719251.
- ↑ Wilken, Jeffrey A.; Berkowitz, Robert; Kane, Robert (2002). "Decrements in vigilance and cognitive functioning associated with ragweed-induced allergic rhinitis". Annals of Allergy, Asthma & Immunology. 89 (4): 372–380. doi:10.1016/S1081-1206(10)62038-8.
- ↑ Marshall, Paul S.; O'Hara, Christine; Steinberg, Paul (2000). "Effects of seasonal allergic rhinitis on selected cognitive abilities". Annals of Allergy, Asthma & Immunology. 84 (4): 403–410. doi:10.1016/S1081-1206(10)62273-9.
- ↑ "Inflammatory Nature of Allergic Rhinitis: Pathophysiology".
- ↑ "Immunopathogenesis of allergic rhinitis" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-08-09. สืบค้นเมื่อ 2016-05-27.