ข้ามไปเนื้อหา

หลอดลมฝอยอักเสบ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Bronchiolitis)
หลอดลมฝอยอักเสบ
(Bronchiolitis)
An X-ray of a child with RSV showing the typical bilateral perihilar fullness of bronchiolitis.
สาขาวิชาEmergency medicine, pediatrics
อาการFever, cough, runny nose, wheezing, breathing problems[1]
ภาวะแทรกซ้อนRespiratory distress, dehydration[1]
การตั้งต้นLess than 2 years old[2]
สาเหตุViral infection (respiratory syncytial virus, human rhinovirus)[2]
วิธีวินิจฉัยBased on symptoms[1]
โรคอื่นที่คล้ายกันAsthma, pneumonia, heart failure, allergic reaction, cystic fibrosis[1]
การรักษาSupportive care (oxygen, support with feeding, intravenous fluids )[3]
ความชุก~20% (children less than 2)[2][1]
การเสียชีวิต1% (among those hospitalized)[4]

หลอดลมฝอยอักเสบ (อังกฤษ: bronchiolitis) คือภาวะที่มีการอักเสบของหลอดลมส่วนล่างซึ่งมีขนาดเล็กเรียกว่าหลอดลมฝอย มักเกิดจากการติดเชื้อไวรัส[1] ส่วนใหญ่พบในเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี[2] ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ ไอ น้ำมูกไหล หายใจมีเสียงหวีด และหายใจลำบาก หากมีอาการรุนแรงอาจมีอาการหอบเหนื่อย สังเกตได้จากการที่มีปีกจมูกบาน หายใจมีเสียงอุดกั้น หรือมีหน้าอกบุ๋มขณะหายใจ[1] หากไม่สามารถกินอาหารหรือน้ำได้เพียงพออาจมีอาการแสดงของภาวะขาดน้ำร่วมด้วย[1]

เชื้อที่เป็นสาเหตุที่พบบ่อยคือไวรัสอาร์เอสวี (72%) หรือไวรัสหวัด (26%)[2] การวินิจฉัยทำได้โดยพิจารณาจากอาการ[1] การตรวจพิเศษอย่างอื่นเช่นการตรวจเอกซเรย์ปอดหรือการตรวจเพาะเชื้อไวรัสมักไม่มีความจำเป็น[2]

โรคนี้ไม่มีวิธีรักษาจำเพาะ[3] ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถรักษาแบบประคับประคองอาการได้ที่บ้าน[1] บางรายอาจต้องนอนรักษาในโรงพยาบาลเพื่อใช้ออกซิเจน ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ หรือเพื่อเสริมอาหาร[1] ข้อมูลจากการวิจัยในปัจจุบันบ่งชี้ว่าการพ่นด้วยสารละลายน้ำเกลือความเข้มข้นสูงอาจช่วยได้[5] ส่วนการรักษาอื่นๆ เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาต้านไวรัส ยาขยายหลอดลม หรือการพ่นด้วยอะดรีนาลีน ยังไม่มีข้อมูลชัดเจนว่าจะใช้ได้ผล[6]

เด็กราว 10-30% จะเคยป่วยเป็นหลอดลมฝอยอักเสบอย่างน้อยหนึ่งครั้งก่อน 2 ปี[1][2] โรคนี้พบได้บ่อยในฤดูหนาว[1] ในรายที่ต้องนอนรักษาในโรงพยาบาลจะมีอัตราการเสียชีวิตประมาณ 1%[4] โรคนี้มีการระบาดเป็นระยะ การระบาดครั้งที่มีบันทึกไว้เกิดขึ้นเมื่อทศวรรษ 1940[7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 Friedman JN, Rieder MJ, Walton JM, Canadian Paediatric Society, Acute Care Committee, Drug Therapy and Hazardous Substances (November 2014). "Bronchiolitis: Recommendations for diagnosis, monitoring and management of children one to 24 months of age". Paediatrics & child health. 19 (9): 485–98. doi:10.1093/pch/19.9.485. PMC 4235450. PMID 25414585.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 Schroeder, AR; Mansbach, JM (June 2014). "Recent evidence on the management of bronchiolitis". Current Opinion in Pediatrics. 26 (3): 328–33. doi:10.1097/MOP.0000000000000090. PMC 4552182. PMID 24739493.
  3. 3.0 3.1 Hancock, DG; Charles-Britton, B; Dixon, DL; Forsyth, KD (September 2017). "The heterogeneity of viral bronchiolitis: A lack of universal consensus definitions". Pediatric pulmonology. 52 (9): 1234–1240. doi:10.1002/ppul.23750. PMID 28672069.
  4. 4.0 4.1 Kendig, Edwin L.; Wilmott, Robert W.; Boat, Thomas F.; Bush, Andrew; Chernick, Victor (2012). Kendig and Chernick's Disorders of the Respiratory Tract in Children (ภาษาอังกฤษ). Elsevier Health Sciences. p. 450. ISBN 1437719848.
  5. Zhang, L; Mendoza-Sassi, RA; Wainwright, C; Klassen, TP (21 December 2017). "Nebulised hypertonic saline solution for acute bronchiolitis in infants". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 12: CD006458. doi:10.1002/14651858.CD006458.pub4. PMID 29265171.
  6. Brooks, CG; Harrison, WN; Ralston, SL (18 April 2016). "Association Between Hypertonic Saline and Hospital Length of Stay in Acute Viral Bronchiolitis: A Reanalysis of 2 Meta-analyses". JAMA Pediatrics. 170: 577–84. doi:10.1001/jamapediatrics.2016.0079. PMID 27088767.
  7. Anderson, Larry J.; Graham, Barney S. (2013). Challenges and Opportunities for Respiratory Syncytial Virus Vaccines (ภาษาอังกฤษ). Springer Science & Business Media. p. 392. ISBN 9783642389191.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก