ข้ามไปเนื้อหา

กฤตติกุล บุญลือ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กฤตติกุล บุญลือ
ผู้บังคับหมวด กองร้อยรบพิเศษที่ 2 กองกำกับการ 1 กองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
ดำรงตำแหน่ง
13 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 – 20 มิถุนายน พ.ศ. 2551
นายกรัฐมนตรีสุรยุทธ์ จุลานนท์
สมัคร สุนทรเวช
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด20 มิถุนายน พ.ศ. 2527[1]
อำเภออรัญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี ประเทศไทย[1]
เสียชีวิต20 มิถุนายน พ.ศ. 2551 (24 ปี)[2]
อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา ประเทศไทย[2]
ศาสนาพุทธ
บุพการีนรินทร์ บุญลือ (บิดา)
พิมพลักษณ์ บุญลือ (มารดา)
ความสัมพันธ์พัทธงค์ บุญลือ (น้องชาย)
ที่อยู่อาศัยอำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา[3]
ศิษย์เก่าโรงเรียนนายร้อยตำรวจ[1]
โรงเรียนเตรียมทหาร[1]
โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย[1][3] โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ลพบุรี[1][3]
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
สังกัดตำรวจตระเวนชายแดน
ยศ พันตำรวจตรี[4]
บังคับบัญชาชุดพลร่มพิเศษ 01 ฐานปฏิบัติการตำรวจตระเวนชายแดน[5]
ผ่านศึกความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย[6]

พันตำรวจตรี กฤตติกุล บุญลือ[4] (20 มิถุนายน พ.ศ. 2527 – 20 มิถุนายน พ.ศ. 2551) หรือ หมวดตี้[7][8][9] เป็นผู้บังคับหมวด กองร้อยรบพิเศษที่ 2 กองกำกับการ 1 กองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน[4] ผู้เจริญรอยตามธรณิศ ศรีสุข หรือผู้กองแคน ที่เสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่ ในเหตุการณ์ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยเช่นเดียวกัน[5][10]

กฤตติกุล บุญลือ เป็นคนชอบบันทึกไดอารีข้อมูลส่วนตัวอยู่เสมอ บันทึกสุดท้ายที่เขาเขียนไว้ไม่ถึงชั่วโมงก่อนออกปฏิบัติหน้าที่จนเสียชีวิต คือวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ตรงกับวันเกิดครบรอบ 24 ปี และเป็นวันคล้ายวันเกิดแม่ของเขา[5][10]

ประวัติ

[แก้]
"วันนี้อยู่ดูโลกให้โสภิณ
พรุ่งนี้ชีวินอาจสิ้น ไม่รู้...วันตาย"
—ร้อยตำรวจตรี กฤตติกุล บุญลือ[5][11]

กฤตติกุล บุญลือ เป็นนักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 44 และนักเรียนนายร้อยตำรวจรุ่นที่ 60 ได้รับการบรรจุครั้งแรกในตำแหน่งรองสารวัตรประจำโรงเรียนนายร้อยตำรวจสามพราน แล้วย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้บังคับหมวด กองร้อยรบพิเศษที่ 2 กองกำกับการ 1 กองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน[12]

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

กฤตติกุล บุญลือ เป็นบุตรของนรินทร์ บุญลือ (บิดา) และพิมพลักษณ์ บุญลือ (มารดา) นอกจากนี้ เขามีน้องชายคือร้อยตำรวจโท พัทธงค์ บุญลือ[13][14] ทั้งนี้ กฤตติกุลมีความฝันอยากเป็นตำรวจตามธรณิศ ศรีสุข หรือผู้กองแคน ซึ่งเป็นตำรวจรุ่นพี่ โดยเลือกเป็นตำรวจตระเวนชายแดนหน่วยเดียวกัน ก่อนอาสาลงปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้[12]

การเสียชีวิต

[แก้]

วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2551 กฤตติกุล บุญลือ ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าชุดเจ้าหน้าที่ตำรวจตระเวนชายแดนชุดพลร่มพิเศษ 01 ของฐานปฏิบัติการตำรวจตระเวนชายแดน ออกลาดตระเวนที่ตำบลเขื่อนบางลาง อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา[5] แล้วถูกกลุ่มก่อความไม่สงบซุ่มโจมตีด้วยอาก้าและเอ็ม 16[15] โดยมีการปะทะกันเป็นเวลากว่า 10 นาที ส่งผลให้กฤตติกุลเสียชีวิตในที่เกิดเหตุ และเจ้าหน้าที่ได้รับบาดเจ็บอีก 4 นาย ขณะที่เพื่อนคนอื่นได้ส่งข้อความอวยพรวันเกิดผ่านโทรศัพท์มือถือ โดยไม่ทราบว่าเขาเสียชีวิต ตลอดจนไม่สามารถนำศพออกจากบริเวณปะทะได้ตั้งแต่ช่วงสายจรดค่ำ[5]

ทั้งนี้ กฤตติกุลเสียชีวิตที่อำเภอบันนังสตา ซึ่งเป็นอำเภอเดียวกับที่ธรณิศ ศรีสุข และสมเพียร เอกสมญา เสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่[16] ส่งผลให้สถานที่ดังกล่าวได้รับการขนานนามว่าเป็นสมรภูมิของวีรบุรุษสีกากีในสมัยนั้น[17]

ปฏิกิริยาตอบรับ

[แก้]

มีผู้ติดตามอ่านไดอารีออนไลน์ของกฤตติกุล บุญลือ เป็นจำนวนมาก โดยมีผู้คนเก็บไดอารีหน้าสุดท้ายไว้เป็นอนุสรณ์มากกว่า 140,000 คลิก นับเป็นสถิติมากที่สุดในเว็บไดอารีอิส (Diaryis) รวมทั้งเชื่อว่าสูงสุดในบรรดาเว็บประเภทไดอารีทั้งหมด[18]

ส่วนร้อยตำรวจตรี เร๊าะมัน หะนิแร เพื่อนร่วมรุ่นจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ รู้สึกเสียใจมากเมื่อทราบข่าวการเสียชีวิต เขากล่าวถึงกฤตติกุลว่าเป็นคนนิสัยดี และเป็นที่รักของเพื่อนฝูง[15]

ผลที่ตามมา

[แก้]

ในเบื้องต้น กฤตติกุลได้รับการคาดปูนบำเหน็จความชอบ 9 ขั้น แต่เนื่องด้วยเขาปฏิบัติหน้าที่เป็นรอบปีงบประมาณเกินกว่า 6 เดือน จึงได้รับการเลื่อนขั้นรวม 10 ขั้น และได้รับยศพันตำรวจตรี[1]

เรื่องราวของเขาได้รับการถ่ายทอดเป็นละครเทิดพระเกียรติชุดปิดทองหลังพระ ตอนความฝันอันสูงสุด (ศรราม เทพพิทักษ์ รับบทเป็นกฤตติกุล บุญลือ และวันชนะ สวัสดี รับบทเป็นธรณิศ ศรีสุข)[19] รวมถึงละครเทิดพระเกียรติชุดหัวใจเดียวกัน (ชินวุฒ อินทรคูสิน รับบทเป็นกฤตติกุล บุญลือ และศุภกรณ์ กิจสุวรรณ รับบทเป็นธรณิศ ศรีสุข)[6]

ส่วนในปี พ.ศ. 2559 ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติสามารถจับคนร้ายที่สังหารกฤตติกุล บุญลือ โดยเชื่อว่าสามารถจับกุมได้เกือบทั้งหมด[20]

รางวัลที่ได้รับ

[แก้]
  • รางวัลจักรดาวสดุดีประจำปี 2552[4]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 "ร้อยตำรวจตรี กฤตติกุล บุญลือ - Neverdie Hero THAILAND". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-13. สืบค้นเมื่อ 2019-04-13.
  2. 2.0 2.1 รื้อฟื้นความหลัง'บันนังสตา' วีรบุรุษดับกี่ราย - Voice TV
  3. 3.0 3.1 3.2 "ร.ต.ต.กฤตติกุล บุญลือ - โรงเรียนนายร้อยตำรวจ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-09. สืบค้นเมื่อ 2019-04-13.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 "มูลนิธิศิษย์เก่าโรงเรียนเตรียมทหาร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-11. สืบค้นเมื่อ 2019-04-13.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 9 ปี มิเคยลืมเลือน เปิดไดอารี่เล่มสุดท้าย 'หมวดตี้' สดุดีนักรบชายแดน - ไทยรัฐ
  6. 6.0 6.1 หมวดตี้ ร.ต.ต.กฤตติกุล บุญลือ - Tnews
  7. จับมือสังหาร 'หมวดตี้' - Voice TV
  8. ครบ 10 ปี : ข่าวสดออนไลน์
  9. รวบ 2 ผู้ก่อการร้ายใต้แก๊งลอบฆ่า 'หมวดตี้' - มติชน
  10. 10.0 10.1 สุขสันต์วันเกิดผู้หมวดนักรบพลร่ม - COP'S Magazine
  11. 10 ปีที่หมวดตี้จากไป - Police News Varieties
  12. 12.0 12.1 รำลึก 10 ปี การจากไปของหมวดตี้ วีรบุรุษปลายด้ามขวาน » SpringNews
  13. ‘พ่อหมวดตี้’ ขอบคุณ ผบ.ตร.จับโจรฆ่าลูกชาย บอกรุ่นหลังเสียสละเถิดตร.ไม่ทิ้ง คนร้ายหนีไม่พ้น
  14. ""พ่อหมวดตี้ ขอบคุณ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ" จับโจรฆ่าลูกลูกชาย ประณามคนร้ายก่อเหตุใน รพ.เจาะไอร้อง การข่าวชี้ตั้งใจระบุป่วนใต้หลายจุด ป่วนโชว์ ครบรอบ บีอาร์เอ็น". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-16. สืบค้นเมื่อ 2019-04-13.
  15. 15.0 15.1 ยะลาส่งศพ ตชด.ผู้กล้าหาญกลับบ้านอย่างสมเกียรติ - Manager Online
  16. เอ็กซเรย์บันนังสตา…แดนสนธยากลืนชีวิต “หมวดตี้-ผู้กองแคน-ผู้กำกับฯสมเพียร”
  17. รำลึก 11 ปีผู้กองแคน อุดมการณ์ที่ไม่เคยตาย - LINE Today
  18. “อาลัยออนไลน์” แด่ “หมวดตี้” สุภาพบุรุษนักรบผู้จากไป - Manager Online
  19. หนังผู้กองแคน-หมวดตี้พร้อมลงจอ - โพสต์ทูเดย์ ข่าวบันเทิง
  20. ผบ.ตร.ประณามคนร้ายก่อเหตุใน รพ.เจาะไอร้อง ขณะที่ “พ่อหมวดตี้” ขอบคุณจับโจรฆ่าลูกชาย
  21. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เป็นกรณีพิเศษ, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๓ ข หน้า ๕, ๙ ตุลาคม ๒๕๕๒