กบฏโรงเบียร์
กบฏโรงเบียร์ | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
มารีอันพลัทซ์ ในนครมิวนิกในช่วงระหว่างกบฏโรงเบียร์ | |||||||||
| |||||||||
Insurgents-Government | |||||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||||
กำลัง | |||||||||
2,000+ | 130 | ||||||||
ความสูญเสีย | |||||||||
เสียชีวิต 16 คน บาดเจ็บหลายสิบ ถูกจับกุมและถูกคุมขังจำนวนมาก |
เสียชีวิต 4 คน บาดเจ็บหลายคน |
กบฏโรงเบียร์ หรือ กบฏมิวนิก (Munich Putsch)[1] หรือที่ในเยอรมนีเรียกว่า กบฏฮิตเลอร์ (Hitlerputsch) หรือ กบฏฮิตเลอร์-ลูเดินดอร์ฟ (Hitler-Ludendorff-Putsch) เป็นความพยายามก่อการปฏิวัติอันล้มเหลวโดยอดอล์ฟ ฮิตเลอร์–หัวหน้าพรรคนาซี พร้อมกับพลเอกเอริช ลูเดินดอร์ฟ–อดีตเจ้าพนักงานใหญ่ผู้บัญชาการยุทธภัณฑ์ และผู้นำหัวหน้าคัมพฟ์บุนด์คนอื่น ๆ -เพื่อยึดอำนาจในมิวนิก รัฐบาวาเรีย ในช่วงระหว่างวันที่ 8-9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1923 ด้วยจำนวนประมาณ 2 พันคนของเหล่านาซีได้เดินขบวนไปยังใจกลางเมืองของมิวนิก ที่พวกเขาได้ปะทะกับตำรวจซึ่งได้ส่งผลทำให้มีผู้เสียชีวิตโดยคนของนาซีตายไป 14 คนและเจ้าหน้าที่ตำรวจ 4 นาย[2] ส่วนฮิตเลอร์เองไม่ได้รับบาดเจ็บในช่วงการปะทะ แม้ว่าเขาจะได้ล็อกแขนซ้ายไว้กับแขนขวาของแม็ก แอร์วิน ชัสเนอร์-ริซเตอร์ (Max Erwin von Scheubner-Richter) ผู้ซึ่งเมื่อเขาได้ถูกยิงและเสียชีวิต ได้ดึงตัวฮิตเลอร์มาที่เท้าของเขา ฮิตเลอร์ได้หลบหนีอย่างกระทันหันและมุ่งมั่นไปยังที่ปลอดภัยในชนบท ภายหลังสองวัน ฮิตเลอร์ได้ถูกจับกุมและถูกตั้งข้อกล่าวหาว่าก่อกบฎ[3]
จากมุมมองของฮิตเลอร์ ความพยายามที่จะยึดอำนาจอย่างผิดกฎหมายนั้นมีข้อดีสามประการ ประการแรก, การก่อกบฏภายใต้ชักนำของฮิตเลอร์ได้ให้ความสนใจของประเทศเยอรมันและสร้างหน้าพาดหัวข่าวหน้าแรกในหนังสือพิมพ์ทั่วโลก การจับกุมตัวเขาได้มีผลตามมาด้วยการพิจารณาคดี 24 วันซึ่งได้รับการเผยแพร่อย่างกว้างขวางและทำให้ฮิตเลอร์ได้กล่าวสุนทรพจน์ต่อหน้าศาลและประชาชนเพื่อเผยแพร่ความรู้สึกชาตินิยมที่มีต่อประเทศ ฮิตเลอร์ได้ถูกตัดสินว่ามีความผิดในข้อหากบฏและถูกตัดสินโทษจำคุก 5 ปีในเรือนจำลันด์สแบร์ก(Landsberg) ประการที่สองคือการใช้เวลาในคุกเพื่อเขียนหนังสือ ไมน์คัมพฟ์("การต่อสู้ของข้าพเจ้า") ซึ่งได้คอยกำกับการเขียนกับเพื่อนผู้ช่วยร่วมคุกของเขา อีมิล มารีเซอร์(Emil Maurice) และรูดอล์ฟ เฮสส์ เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม ค.ศ. 1924 หลังจากได้อยู่ในเรือนจำได้เพียงเก้าเดือน ฮิตเลอร์ก็ได้รับการปล่อยตัว และประการสุดท้ายของฮิตเลอร์คือความเข้าใจว่าการขึ้นสู่อำนาจคือหนทางที่ถูกต้องมากกว่าการปฏิวัติหรือใช้กำลังบังคับ ดังนั้นผลลัพธ์ที่สำคัญที่สุดของการก่อกบฏคือการตัดสินใจของฮิตเลอร์เพื่อเปลี่ยนกลยุทธของพรรคนาซี ซึ่งต้องการให้มีการพึ่งพาการพัฒนาและโฆษณาชวนเชื่อนาซีที่เพิ่มมากขึ้น
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Dan Moorhouse, ed. The Munich Putsch. เก็บถาวร 5 มกราคม 2017 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน schoolshistory.org.uk, accessed 2008-05-31.
- ↑ Evans 2003, p. 193–194.
- ↑ Hitler, Adolf (1924). Der Hitler-Prozeß vor dem Volksgericht in München [The Hitler Trial Before the People's Court in Munich]. Munich: Knorr & Hirth. OCLC 638670803.