Union of Concerned Scientists
บทความนี้มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษ เนื่องจากเป็นชื่อขององค์กร ไม่ชัดเจนว่าควรจะแปลว่าอย่างไร |
คําขวัญ | วิทยาศาสตร์เพื่อโลกที่ดีและปลอดภัย |
---|---|
ก่อตั้ง | 1969 |
สํานักงานใหญ่ | เคมบริดจ์ (รัฐแมสซาชูเซตส์) สหรัฐอเมริกา |
สมาชิก | เกิน 200,000 คน |
Exec. Dir. | Kathleen Rest |
President | Kenneth Kimmell |
Founder | Kurt Gottfried |
เว็บไซต์ | ucsusa.org |
Union of Concerned Scientists (อาจแปลว่าสหภาพนักวิทยาศาสตร์ผู้ห่วงใย ตัวย่อ UCS) เป็นองค์การไม่แสวงหาผลกำไรที่ช่วยให้เสียงสนับสนุนวิทยาศาสตร์ (science advocacy) ในประเทศสหรัฐอเมริกา สมาชิกรวมทั้งประชาชนทั่วไปและนักวิทยาศาสตร์มืออาชีพ ศ.ดร.เจมส์ แม็คคาร์ธี ผู้เป็นศาสตราจารย์คณะสมุทรศาสตร์ชีวะที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดและอดีตประธานสมาคมเพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์อเมริกัน (American Association for the Advancement of Science) เป็นประธานกรรมการปัจจุบันขององค์กร[1]
ประวัติ
[แก้]องค์กรได้จัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1969 ในช่วงหลังของสงครามเวียดนาม โดยคณะอาจารย์และนักศึกษาของสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ในเมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ โดยเอกสารจัดตั้งแสดงจุดมุ่งหมายขององค์กรเพื่อ "เริ่มการตรวจสอบนโยบายของรัฐบาลที่จำเป็นโดยทำอย่างต่อเนื่อง ในเรื่องที่วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีความสำคัญจะโดยความจริงหรือจะโดยโอกาสก็ดี" และเพื่อ "หาวิธีเปลี่ยนการสมัครหาทุนงานวิจัยไปจากเรื่องที่เน้นเทคโนโลยีการทหารในปัจจุบัน ไปสู่การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมและสังคมที่เร่งด่วน"[2] องค์กรว่าจ้างทั้งนักวิทยาศาสตร์ นักเศรษฐศาสตร์ และวิศวกรที่ทำงานเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมและความมั่นคง รวมทั้งบุคลากรฝ่ายบริหารและฝ่ายสนับสนุน[3]
ผู้ร่วมจัดตั้งคนหนึ่งก็คือผู้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ศ.ดร. เฮนรี เคนดัล ผู้เป็นประธานกรรมการองค์กรประมาณ 25 ปีจนกระทั่งเสียชีวิต[4] ในปี 1977 องค์กรได้สนับสนุน "ข้อประกาศของนักวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการแข่งขันทางอาวุธนิวเคลียร์" ที่เรียกร้องให้เลิกการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์และการเคลื่อนย้ายอาวุธไปในตำแหน่งสำคัญต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต[5] และต่อมาภายหลังเพื่อตอบโต้โครงการสร้างอาวุธป้องกันในอวกาศ (Strategic Defense Initiative) องค์กรได้สนับสนุนคำร้องทุกข์ที่ตั้งหัวเรื่องว่า "คำอุทธรณ์ให้ห้ามอาวุธในอวกาศ"[6]
ในปี 1992 ศ. เคนดัลเขียนบทความ "คำเตือนของนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกต่อมนุษย์" ที่เสนอให้มีความเปลี่ยนแปลงระดับพื้นฐานเพื่อแก้ปัญหาความมั่นคงและสิ่งแวดล้อม ที่เซ็นโดยนักวิทยาศาสตร์กว่า 1,700 คน รวมทั้งผู้รับรางวัลโนเบลโดยมากในสาขาวิทยาศาสตร์ โดยมีข้อปฏิบัติโดยเฉพาะว่า "ยกตัวอย่างเช่น เราต้องเปลี่ยนจากการใช้เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ ไปใช้แหล่งพลังงานที่ไม่มีวันหมด เพื่อลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกและมลพิษเข้าสู่อากาศและน้ำ ... เราต้องตรึงจำนวนประชากรให้คงที่"[7]
ตามสถาบันนักวิชาการสถาบันหนึ่ง องค์กรเป็นมูลนิธิที่ได้รับเงินบริจาคเพื่อการศึกษาภูมิอากาศเป็นอันดับ 4 ของสหรัฐอเมริกาในระหว่างปี 2000-2002[8] โดยที่ 1/4 ของรายได้แบบบริจาคทั้งหมดมูลค่า 24 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (คือที่ 6 ล้านเหรียญ) มีจุดประสงค์นั้น องค์กรที่ประเมินองค์กรการกุศลอเมริกันองค์กรหนึ่งกล่าวว่า ในปี 2013 UCS ได้รับรายได้ 26.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีรายจ่ายที่ 18.8 ล้านเหรียญ และมีทรัพย์สินมีมูลค่า 39.3 ล้านเหรียญ และในปีเดียวกันองค์กรประเมินนั้นก็ให้คะแนน UCS 91.19 จาก 100[9]
จุดยืนในประเด็นต่าง ๆ
[แก้]ในปี 1999 UCS ตีพิมพ์หนังสือ แนวทางผู้บริโภคในการเลือกกระทำเพื่อสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิผล คำแนะนำเชิงปฏิบัติของ Union of Concerned Scientists ที่ "ช่วยแยกแยะสิ่งที่สำคัญและเล็กน้อย และช่วยเลือกกระทำสิ่งที่เข้ากับค่านิยมของคุณ" หนังสือระบุว่าการใช้รถที่ประหยัดน้ำมันและการขับรถให้น้อยลง เป็นวิธีที่ดีที่สุดที่คนโดยมากสามารถลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากตน[10] และต่อมาในปี 2012 ก็ตีพิมพ์หนังสือคล้ายกันอีกเล่มหนึ่งชื่อ เย็นลงแบบชาญฉลาด ขั้นตอนปฏิบัติในการใช้ชีวิตแบบสร้างคาร์บอนน้อย[11]
UCS สนับสนุนให้ปรับปรุงกฎหมายบังคับเพิ่มการประหยัดน้ำมันของรถยนต์และรถบรรทุกขนาดเล็กเช่นรถกระบะ ให้ออกกฎหมายในระดับรัฐเพื่อลดแก๊สเรือนกระจกที่ปล่อยโดยรถยนต์และรถบรรทุก ให้ลดระดับการปล่อยแก๊สเรือนกระจกอย่างลึกในสหรัฐอเมริกา และให้ปฏิบัติการทั้งในระดับชาติและนานาชาติเพื่อแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ องค์กรได้ทำรายงานหลายงานเกี่ยวกับผลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับภูมิภาคของสหรัฐ[12][13] องค์กรสนับสนุนการเพิ่มภาษีสำหรับผู้ที่ปล่อยมลพิษออกสู่สิ่งแวดล้อม และให้ผลประโยชน์ (เช่นการลดภาษี) สำหรับปฏิบัติการที่เป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม[10]
UCS สนับสนุนมาตรฐานพลังงานทดแทนระดับชาติ เพื่อบังคับให้องค์กรผลิตไฟฟ้าผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานทดแทนเช่นพลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานความร้อนใต้พิภพ เป็นสัดส่วนที่กำหนดชัดเจน และสนับสนุนให้มีมาตรฐานการประหยัดพลังงานของเครื่องใช้ในบ้าน[10] UCS ยอมรับว่าพลังงานนิวเคลียร์สามารถช่วยลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจก แต่ก็ยืนยันว่า มันต้องปลอดภัยและถูกกว่านี้ก่อนที่ควรจะพิจารณาเป็นวิธีแก้ปัญหาโลกร้อนที่ใช้ได้ UCS สนับสนุนการตรวจสอบบังคับเพิ่มความปลอดภัยขององค์กรควบคุมพลังงานนิวเคลียร์ โดยเป็นขั้นต้อนหนึ่งในการปรับปรุงการใช้พลังงานนิวเคลียร์[14] UCS ได้วิจารณ์การออกแบบเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์รุ่น 3 บางแบบที่กำลังพิจารณาใช้ในสหรัฐ (คือ AP1000 และ Economic Simplified Boiling Water Reactor)[15] โดยกล่าวถึงแบบ European Pressurized Reactor ว่าเป็นแบบเดียวใต้การพิจารณาที่ มีโอกาสปลอดภัยและยากต่อการก่อการร้ายกว่าเครื่องที่มีอยู่ในปัจจุบัน[16]
UCS ยังรับรองบทความ Forests Now Declaration ซึ่งเสนอให้ใช้กลไกการตลาดเพื่อป้องกันการตัดไม้ทำลายป่า เพราะตระหนักถึงความสำคัญของการลดการตัดไม้เพื่อแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ[17] องค์กรสนับสนุนการให้ผลประโยชน์จากรัฐสำหรับบุคคลที่ต้องการรักษาที่ดินที่ไม่ปลูกสร้างแทนที่จะขายให้กับผู้ก่อสร้าง[10] และน้ำมันปาล์มที่ไม่ต้องตัดไม้ทำลายป่า[18]
UCS ได้กล่าวหารัฐบาลสหรัฐว่าได้เข้าไปก่อกวนวิทยาศาสตร์ด้วยเหตุทางการเมืองเป็นสิบ ๆ ครั้ง[19] และสนับสนุนการป้องกันผู้แฉการกระทำผิดของรัฐ รางวัลทางการเงิน และเสรีภาพในการพูด สำหรับนักวิทยาศาสตร์ของรัฐบาลกลาง โปรแกรมความซื่อสัตย์สุจริตทางวิทยาศาสตร์ขององค์กร ได้ทำงานสำรวจนักวิทยาศาสตร์ของรัฐบาลกลางในองค์กรต่าง ๆ[20] และได้เขียนบทความเซ็นโดยนักวิทยาศาสตร์กว่า 11,000 คนที่ประณามการแทรงแซงทางการเมืองในวิทยาศาสตร์[21]
UCS สนับสนุนให้ลดการใช้ยาปฏิชีวนะในปศุสัตว์เพื่อป้องกันการดื้อยา[22][23] ต่อต้านการโคลนสัตว์เพื่อเป็นอาหาร [24] ต่อต้านการใช้เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมในเกษตรกรรมแต่ยอมรับว่า การใช้แบคทีเรียที่สร้างด้วยพันธุวิศวกรรมเพื่อผลิตยาในที่จำกัดได้ผลดี และอาจสามารถใช้เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมในกระบวนการผลิตอาหารอย่างอื่นได้[25]
UCS ต่อต้านการใช้อาวุธอวกาศ และทำการเพื่อลดจำนวนอาวุธนิวเคลียร์ที่มีอยู่ทั่วโลก[26]
การต่อต้านพันธุวิศวกรรมในเกษตรกรรม
[แก้]ประเด็นต่าง ๆ ของการใช้เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมในเกษตรกรรม ที่ UCS วิจารณ์ในเชิงลบรวมทั้ง[25]
- ระบบการควบคุมเทคโนโลยีของรัฐ และระบบการค้าขายที่ปรากฏในยุคเบื้องต้น
- การใช้เทคโนโลยีในเกษตรกรรมทำให้ปัญหาการปลูกพืชแบบชนิดเดียวในระบบอุตสาหกรรมแย่ยิ่งขึ้น ซึ่งไม่สนับสนุนระบบการเกษตรและระบบอาหารที่ยั่งยืน
- การออกนโยบายของรัฐบาลมักจะได้รับแรงผลักดันจากบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพ มากกว่าจากข้อมูลวิทยาศาสตร์ที่แสดงวิธีการผลิตอาหารที่ประหยัดที่สุดเพื่อได้พืชผลมาก และช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม
การออกสื่อ
[แก้]1997
[แก้]ในปี ค.ศ. 1997 UCS ได้ยื่นอุทธรณ์ “นักวิทยาศาสตร์โลกเรียกร้องให้เริ่มปฏิบัติการ (World Scientists Call For Action)” ให้กับผู้นำโลกที่กำลังประชุมกันเพื่อเจรจาสนธิสัญญาพิธีสารเกียวโต โดยกล่าวว่า "มีมติส่วนใหญ่ของนักวิทยาศาสตร์ภูมิอากาศว่า ‘ในปัจจุบัน มีอิทธิพลจากมนุษย์ที่กำหนดได้ต่อภูมิอากาศโลก’" และกระตุ้นให้รัฐบาลต่าง ๆ "ทำสัญญาที่ผูกมัดตามกฎหมายให้ลดการปล่อยแก๊สที่กักความร้อนของประเทศอุตสาหกรรม" และเรียกปรากฏการณ์โลกร้อนว่า "เป็นภัยที่สาหัสที่สุดต่อโลกและคนรุ่นต่อ ๆ ไป"[27] เป็นอุทธรณ์ที่เซ็นชื่อโดย "นักวิทยาศาสตร์อาวุโสที่มีชื่อเสียงที่สุดกว่า 1,500 คน รวมทั้งผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่"[28][29]
2004
[แก้]ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2004 UCS ได้รับความสนใจจากสื่อจากการตีพิมพ์รายงาน "ความซื่อสัตย์สุจริตด้านวิทยาศาสตร์ในการออกนโยบาย" ซึ่งวิจารณ์รัฐบาลของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช ที่ทำวิทยาศาสตร์ให้เป็นเรื่องการเมือง เรื่องที่กล่าวหารวมทั้งการเปลี่ยนข้อมูลในรายงานปรากฏการณ์โลกร้อนที่ทำโดยสำนักงานป้องกันสิ่งแวดล้อมสหรัฐ และเลือกสมาชิกของคณะผู้ให้คำปรึกษาทางวิทยาศาสตร์โดยผลประโยชน์ทางธุรกิจแทนที่ประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ ในเดือนกรกฎาคม 2004 UCS เพิ่มบทเพิ่มเติมสำหรับรายงานที่วิจารณ์รัฐบาลของประธานาธิบดีบุช และอ้างว่ามีการเปลี่ยนแปลงรายงานเกี่ยวกับเหมืองเปิดในรัฐเวสต์เวอร์จิเนียอย่างไม่เหมาะสม และว่า ผู้ที่ได้รับเสนอชื่อผู้มีคุณสมบัติดีสำหรับตำแหน่งในรัฐบาล เช่น ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ ดร.ทอร์สเต็น วีเซิล ถูกปฏิเสธตำแหน่งเพราะความเห็นทางการเมืองที่แตกต่าง แต่ในวันที่ 2 เมษายน 2004 ผู้อำนวยการของสำนักงานนโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งทำเนียบขาว แจ้งว่า เหตุการณ์ที่กล่าวถึงในรายงานของ UCS "ไม่เป็นจริง" "ผิด" หรือ "บิดเบือน"[30] แล้วปฏิเสธไม่พิจารณารายงานในฐานะ "มีอคติ"[31] UCS โต้ตอบว่า ข้ออ้างของผู้อำนวยการไม่แสดงเหตุผล และต่อมากล่าวอีกว่า ตั้งแต่นั้นมา รัฐบาลของประธานาธิบดีบุชก็ไม่พูดอะไรอีกเกี่ยวกับประเด็นนั้นอีก[32]
2006
[แก้]วันที่ 30 ตุลาคม 2006 UCS ออกข่าวอ้างว่า เจ้าหน้าที่ระดับสูงของ U.S. Department of the Interior รวมทั้งรองผู้ช่วยเลขาธิการในเรื่องปลา สิ่งมีชีวิตในป่า และอุทยานแห่งชาติ ได้ไปเปลี่ยนข้อมูลวิทยาศาสตร์อย่างเป็นระบบเพื่อที่จะลดหย่อนการป้องกันสิ่งมีชีวิตใกล้สูญพันธุ์และกฎหมาย[33]
วันที่ 11 ธันวาคม 2006 UCS เผยแพร่บทความที่ร้องเรียกให้คืนความซื่อสัตย์สุจริตทางวิทยาศาสตร์ต่อการออกนโยบายของรัฐบาล ซึ่งเป็นบทความที่เซ็นโดยนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำ 10,600 ท่านรวมทั้งผู้ได้รับรางวัลโนเบล[34]
2007
[แก้]วันที่ 23 พฤษภาคม 2007 UCS อ้างการศึกษาร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ แล้วออกข่าวอ้างว่า "การทดสอบระบบป้องกันขีปนาวุธของสหรัฐที่ไม่สามารถแสดงว่า ขีปนาวุธตัวยิงสกัดสามารถแยกแยะระหว่างหัวอาวุธตัวจริงหรือตัวล่อหรือไม่ เป็นการทดสอบที่ไม่มีความหมาย" และ "เป็นเพียงเล่ห์กล" และเรียกร้องให้ยุติโปรแกรมพัฒนาที่สนับสนุนโดยเงินภาษีของประชาชน นอกจากระบบจะสามารถแสดงสมรรถภาพที่กำจัดภัยได้ในสถานการณ์จริง[35]
ในวันที่ 21 มิถุนายน 2007 รายงานของ UCS กล่าวหาสำนักงานป้องกันสิ่งแวดล้อมว่าเปลี่ยนข้อมูลวิทยาศาสตร์ด้วยเหตุผลทางการเมือง เพื่อเปลี่ยนกฎควบคุมโอโซนของสหรัฐ ผู้อำนวยการของโปรแกรมความซื่อสัตย์ทางวิทยาศาสตร์ของ UCS กล่าวว่า "กฎหมายบอกว่าให้ใช้วิทยาศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ก็บอกให้ลดระดับโอโซนที่เป็นบรรทัดฐานลงให้ถึงระดับที่ปลอดภัย... โดยไม่สนใจข้อวิเคราะห์ของนักวิทยาศาสตร์ตนเอง สำนักงานป้องกันสิ่งแวดล้อมกำลังเสี่ยงสุขภาพของคนอเมริกันเป็นล้าน ๆ คน"[36][37]
2008
[แก้]ในเดือนสิงหาคม 2008 UCS ซื้อป้ายโฆษณาที่สนามบินต่าง ๆ ในเมืองเดนเวอร์ รัฐโคโลราโด และเขตมหานครมินนีแอโพลิส-เซนต์พอล รัฐมินนิโซตา ซึ่งเป็นเขตที่จะจัดงานประชุมเลือกผู้สมัครประธานาธิบดีของพรรคเดโมแครต และของพรรคริพับลิกัน โดยที่ป้ายโฆษณาในเขตทั้งสองแห่งเกือบเหมือนกัน แต่ละแห่งแสดงภาพเขตกลางเมืองโดยมีเส้นกากบาทอยู่ตรงกลางพร้อมกับข้อความว่า "เมื่อระเบิดนิวเคลียร์ลูกเดียวสามารถทำลายเมืองทั้งเมือง" เช่นเดนเวอร์หรือมินนีแอโพลิส "เราจึงไม่จำเป็นต้องมี 6,000 ลูก" ต่อจากนั้นก็ตามมาด้วยชื่อของผู้สมัครประธานาธิบดีของทั้งสองพรรคคือสมาชิกวุฒิสภาจอห์น แม็คเคน หรือบารัก โอบามา พร้อมกับคำเตือนนี้ว่า “ถึงเวลาที่จะทำอะไรเป็นจริงเป็นจังเพื่อลดภัยของอาวุธนิวเคลียร์แล้ว“ แต่ต่อมา ป้ายโฆษณาถูกถอนออกหลังจากที่สายการบินนอร์ทเวส ซึ่งเป็นสายการบินทางการของงานประชุมริพับลิกัน บ่นต่อเจ้าหน้าที่ ดังนั้น UCS จึงกล่าวหาสายการบินนอร์ทเวส ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในรัฐมินนิโซตา ว่า "กำลังเพิ่มหน้าที่เป็นเซ็นเซอร์" และได้บ่นเพราะพิจารณาโฆษณาในเมืองมินนีแอโพลิสว่า "น่ากลัว" และ "ต่อต้านนายแม็คเคน"[38][39][40]
2011
[แก้]ในเดือนมีนาคม 2011 UCS ได้สรุปเหตุการณ์ภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิชิประจำวันทุกวันให้กับสื่อ[41]
สิ่งตีพิมพ์
[แก้]- "นิตยสารขององค์กรชื่อ Catalyst ที่พิมพ์ 3 ครั้งต่อปี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 กันยายน 2014.
- "จดหมายข่าวขององค์กรชื่อ Earthwise ที่พิมพ์ 4 ครั้งต่อปี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 มีนาคม 2016.
- "Atmosphere of Pressure: Political Interference in Federal Climate Science". 2007.
- "Cooler Smarter: Practical Steps for Low-Carbon Living (2012)" [เย็นลงแบบชาญฉลาด ขั้นตอนปฏิบัติในการใช้ชีวิตแบบสร้างคาร์บอนน้อย (2012)]. Union of Concerned Scientists. มิถุนายน 2013. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2015.
- "Fukushima: The Story of a Nuclear Disaster". 2014.
เชิงอรรถและอ้างอิง
[แก้]- ↑ "Salpeter and Gottfried sign letter urging Congress to pass binding resolution against nuclear weapons". Cornell News. 13 กุมภาพันธ์ 2007.
- ↑ "Founding Document: 1968 MIT Faculty Statement". Union of Concerned Scientists. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 มกราคม 2016. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2015.
- ↑ "List of UCS experts". Union of Concerned Scientists. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2016.
- ↑ "Henry Kendall; Nobel Prize-Winning Nuclear Scientist". Los Angeles Times. 17 กุมภาพันธ์ 1999.
- ↑ "Scientists' Declaration on the Nuclear Arms Race". Union of Concerned Scientists. ธันวาคม 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 พฤษภาคม 2006. สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2016.
- ↑ "UCS - History". Union of Concerned Scientists. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 พฤษภาคม 2006. สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2016.
- ↑ "World Scientists' Warning to Humanity (1992)". Union of Concerned Scientists. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 มกราคม 2016.
- ↑ "Funding Flows for Climate Change Research and Related Activities" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 22 ตุลาคม 2012.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 10.3 Brower, Michael; Leon, Warren (1999). The Consumer's Guide to Effective Environmental Choices: Practical Advice from the Union of Concerned Scientists. Three Rivers Press.
- ↑ "Cooler Smarter: Practical Steps for Low-Carbon Living (2012)" [เย็นลงแบบชาญฉลาด ขั้นตอนปฏิบัติในการใช้ชีวิตแบบสร้างคาร์บอนน้อย (2012)]. Union of Concerned Scientists. มิถุนายน 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 กันยายน 2015. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2015.
- ↑ "Confronting Climate Change in the Great Lakes Region". Union of Concerned Scientists. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 เมษายน 2013. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2015.
- ↑ "Confronting Climate Change in the Gulf Coast". Union of Concerned Scientists. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 สิงหาคม 2007. สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2016.
- ↑ "Nuclear Power and Global Warming" (PDF). Union of Concerned Scientists. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 21 สิงหาคม 2007. สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2016.
- ↑ Adam Piore (มิถุนายน 2011). "Nuclear energy: Planning for the Black Swan". Scientific American.
- ↑ "Nuclear Power in a Warming World" (PDF). Union of Concerned Scientists. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 11 มิถุนายน 2014. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2008.
- ↑ "Forestsnow - Endorsers - NGO and Research Institutes". Forestsnow.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 ธันวาคม 2007. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2015.
- ↑ "Palm Oil Scorecard: Ranking America's Biggest Brands on Their Commitment to Deforestation-Free Palm Oil (2014)". Union of Concerned Scientists. มีนาคม 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 พฤษภาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2015.
- ↑ "A to Z - Examples of Political Interference in Science". Union of Concerned Scientists. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 กรกฎาคม 2007. สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2016.
- ↑ "Surveys of Scientists at Federal Agencies". Union of Concerned Scientists. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 กรกฎาคม 2007. สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2016.
- ↑ "Who Are the 11,000+ Scientists? - Scientist Statement Signatories". Union of Concerned Scientists. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 กรกฎาคม 2007.
- ↑ "Prescription for Trouble". Union of Concerned Scientists. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 มกราคม 2016.
- ↑ "Hogging It!: Estimates of Antimicrobial Abuse in Livestock (2001)". Union of Concerned Scientists. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 กันยายน 2015.
- ↑ "Guidance may signal no FDA regulation of food from cloned animals". Inside Washington's FDA Week. Vol. 11 no. 37. Inside Washington Publishers. 16 กันยายน 2005. pp. 1, 9–10.
- ↑ 25.0 25.1 "Genetic Engineering in Agriculture". Union of Concerned Scientists. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 กันยายน 2015. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2015.
- ↑ "Nuclear Weapons Solutions". Union of Concerned Scientists. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2023.
- ↑ Union of Concerned Scientists. "World Scientists Call For Action". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 ตุลาคม 2007. สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2016.
Projections indicate that demand for food in Asia will exceed the supply by 2010.
- ↑ "World's Nobel Laureates And Preeminent Scientists Call On Government To Halt Global Warming". Science Daily. 2 ตุลาคม 2007.
- ↑ "List of Selected Prominent Signatories with awards and affiliations". Dieoff.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 กันยายน 2010. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2015.
- ↑ "UCS Response to Congress" (PDF). White House Office of Science and Technology Policy. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2015.
- ↑ "Scientists: Bush Distorts Science". Wired. 18 กุมภาพันธ์ 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 สิงหาคม 2004.
- ↑ "Scientific Integrity in Policymaking". Union of Concerned Scientists. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 เมษายน 2005. สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2016.
- ↑ "Systematic Interference with Science at Interior Department Exposed - Emails and Edited Documents Show Evidence of Inappropriate Manipulation". Union of Concerned Scientists. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2006. สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2016.
- ↑ "10,600 Scientists Condemn Political Interference in Science - New Guide Documents Ongoing Federal Abuse of Science; 110th Congress Must Act" (Press release). Union of Concerned Scientists. 11 ธันวาคม 2006. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 ตุลาคม 2011.
- ↑ "Another Contrived Missile Defense Test is Coming Up - Decoys Would Overwhelm System, Says Union of Concerned Scientists". Union of Concerned Scientists. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 มิถุนายน 2007.
- ↑ "EPA Falls Short of Scientists' Calls for Stricter Controls on Smog - Old standard not enough to protect public health" (Press release). Union of Concerned Scientists. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 ตุลาคม 2011.
- ↑ "Critics question EPA's tighter ozone limits". Reuters. 21 มิถุนายน 2007.
- ↑ Larry Rohter (21 สิงหาคม 2008). "Ads on Nuclear Threat Removed From Convention Airports". เดอะนิวยอร์กไทมส์.
- ↑ "Ad critical of McCain doesn't fly with NWA". Star Tribune. 18 สิงหาคม 2008.
- ↑ "Northwest bans ad from airport". St. Paul Pioneer Press. 19 สิงหาคม 2008.
- ↑ "Japan Nuclear Power Crisis: Telephone Media Briefings". Union of Concerned Scientists. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 ธันวาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2016.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการ
- เว็บไซต์ทางการเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 เมษายน 2008
- อ่านบทที่ 1 ของ "The Consumer's Guide to Effective Environmental Choices: Practical Advice from the Union of Concerned Scientists" (PDF), คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 11 พฤษภาคม 2011
- Sustainable Energy Coalition, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2012