ข้ามไปเนื้อหา

อูบุนตู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Ubantu)
อูบุนตู
Ubuntu logo
อูบุนตู 24.04 LTS ″Noble Numbat″
ผู้พัฒนาCanonical Ltd. / Ubuntu community
เขียนด้วยภาษาซีพลัสพลัส, ภาษาซี, เชลล์ยูนิกซ์, ภาษาไพทอน Edit this on Wikidata
ตระกูลลินุกซ์ (แบบยูนิกซ์)
สถานะปัจจุบัน/เสถียร
รูปแบบ
รหัสต้นฉบับ
โอเพนซอร์ส
วันที่เปิดตัวUbuntu 4.10 (Warty Warthog) / 20 ตุลาคม 2004
(20 ปีก่อน)
 (2004-10-20)
รุ่นเสถียรUbuntu 24.04 LTS (Noble Numbat) / 25 เมษายน 2024 (8 เดือนก่อน) (2024-04-25)
ภาษาสื่อสารมากกว่า 55 ภาษา
วิธีการอัปเดตAPT (Software Updater, Ubuntu Software Center)
ตัวจัดการ
แพกเกจ
dpkg
แพลตฟอร์ม
ที่รองรับ
ชนิดเคอร์เนลMonolithic (ลินุกซ์ เคอร์เนล)
ส่วนติดต่อผู้ใช้ปริยายGNOME
สัญญาอนุญาตหลากหลาย เน้นหลักที่ GPL และ GFDL
เว็บไซต์www.ubuntu.com

อูบุนตู (อังกฤษ: Ubuntu) เป็นระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ที่เป็นระบบปฏิบัติการแบบเปิดซึ่งมีพื้นฐานบนลินุกซ์ดิสทริบิวชันที่พัฒนาต่อมาจากเดเบียนและประกอบไปด้วยซอฟต์แวร์ฟรีและเสรีเป็นส่วนใหญ่ อูบุนตูมีทั้งหมด 3 รุ่นได้แก่ เดสก์ท็อป, เซิฟเวอร์ และ คอร์ การพัฒนาสนับสนุนโดยบริษัท คาโนนิคัล

อูบุนตูออกรุ่นใหม่ทุก ๆ 6 เดือน โดยออกรุ่น LTS ทุก ๆ 2 ปี รุ่นปัจจุบันของอูบุนตู คือ 24.10[3] โดยจะได้รับการสนับสนุน 9 เดือน และรุ่น LTS ปัจจุบันของอูบุนตู คือ 24.04 ซึ่งจะได้รับการสนับสนุนถึงปี 2029 สำหรับการสนับสนุนแบบปกติและปี 2034 สำหรับการสนับสนุนแบบเสียค่าใช้จ่าย

จุดมุ่งหมายหลักของ อูบุนตูคือเป็นระบบปฏิบัติการสำหรับคนทั่วไปที่มีโปรแกรมทันสมัยและมีเสถียรภาพในระดับที่ยอมรับได้

ชื่อของดิสทริบิวชันนั้นมาจากคำในภาษาซูลู และภาษาโคซา (ภาษาในแอฟริกาใต้) ว่า Ubuntu ซึ่งมีความหมายคือ "มนุษยธรรมแก่ผู้อื่น" (humanity towards others)

ประวัติและลำดับการพัฒนา

[แก้]

Ubuntu เปิดตัวเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ค.ศ. 2004 โดยเริ่มจากการแยกตัวชั่วคราวออกมาทำจากโครงการ Debian GNU/Linux เมื่อเสร็จสิ้นคราวนั้นแล้วก็ได้มีการออกตัวใหม่ๆทุก 6 เดือน และมีการอับเดตระบบอยู่เรื่อยๆ Ubuntu เวอร์ชันใหม่ๆที่ออกมาก็ได้ใส่ GNOME เวอร์ชันล่าสุดเข้าไปด้วย โดยแผนการเปิดตัวทุกครั้งจะออกหลังจาก GNOME ออกหนึ่งเดือน ซึ่งตรงข้ามกับทางฝั่งที่แยกออกมาจาก Debian อื่นๆ เช่นพวก MEPIS, Xandros, Linspire, Progeny และ Libranet ทั้งหมดล้วนมีกรรมสิทธิ์ และไม่เปิดเผยCode ซึ่งเป็นส่วนที่อยู่ในรูปแบบธุรกิจ Ubuntu เป็นตัวปิดฉากหลักการของ Debian และมีการใช้งานฟรีมากที่สุดในเวลานี้

โลโก้ของ Ubuntu ยังคงใช้รูปแบบเดิมตั้งแต่เปิดตัวครั้งแรก ซึ่งสร้างโดย แอนดี้ ฟิสสิมอน ฟอนต์ได้รับการแจกมาจาก Lesser General Public License แล้วก็ได้มาเป็นโลโก้Ubuntu

ส่วนประกอบต่างๆของ Ubuntu ส่วนใหญ่มีพื้นฐานมาจากความไม่แน่นอนของ Debian โดยทั้งสองใช้ Debian's deb package format และ APT/Synaptic เป็นตัวจัดการการติดตั้งส่วนประกอบต่างๆ

Ubuntu ร่วมมือกับ Debian ในการผลักดันให้เปลี่ยนกลับไปเป็น Debian ถึงแม้ว่าว่าได้มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่น่าจะเป็นไปได้ ส่วนประกอบของทั้งสองไม่สามารถเข้ากันได้ ผู้พัฒนา Ubuntu หลายๆคนว่ามีตัวจัดการรหัสของส่วนประกอบของ Debian อยู่ภายในตัวมันเอง อย่างไรก็ตาม แลน เมอดั๊ก ผู้คิดค้น Debian ได้วิจารณ์ในเรื่องความเข้ากันไม่ได้ในหลายๆอย่าง ระหว่างส่วนประกอบของ Ubuntu กับ Debian กล่าวไว้ว่า Ubuntu แตกต่างเป็นอย่างมากจาก Debian ในเรื่องความเข้ากันได้

นั้นคือแผนการที่จะแตกแยกโดยมีชื่อเรือกว่า Grumpy Groundhog มันควรจะมั่นคงแน่นอนในการพัฒนาและทดสอบ ผลักดันให้ซอร์สโค๊ด ออกไปโดยตรงจาก การควบคุมการแก้ไข ของโปรแกรมต่างต่างๆ และโปรแกรมประยุกต์นั้นก็ได้โอนย้ายไปเป็นส่วนของ Ubuntu นั่นควรจะอนุญาตให้ เหล่า Power users และ Upstream developers ในการทดสอบโปรแกรมส่วนบุคคล พวกเขาน่าจะได้ทำหน้าที่ ถ้าโปรแกรมได้ถูกกำหนดเป็นส่วนประกอบที่ได้ทำการแจกจ่ายแล้ว นอกจากนี้แล้วยังต้องการที่จะสร้างส่วนประกอบขึ้นมาด้วยตัวของพวกเขาเอง มันควรจะสามารถจัดเตรียมล่วงหน้า ก่อนคำเตือนของการสร้างที่ผิดพลาด บนโครงสร้างที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นการเตรียมการเอาไว้ของ กัมไปร์ กราวฮ๊อก ร่วมมือกับ Debian Unstable ทุกๆ 6 เดือน และกัมไปร์ กราวฮ๊อก ได้ทำให้เป็นซอฟต์แวร์แบบสาธารณะแล้ว

ปัจจุบัน Ubuntu ได้รับเงินทุนจาก คาโนนิคัล ในวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 2005 นายมาร์ก ชัทเทิลเวิร์ธ และ บริษัทคาโนนิคัล ประกาศสร้าง Ubuntu Foundation และเริ่มให้ทุนสนับสนุน 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จุดมุ่งหมายของการริเริ่มที่แน่นอนว่าจะสนับสนุนและพัฒนา เวอร์ชันต่อๆไปข้างหน้าของ Ubuntu แต่ในปี ค.ศ. 2006 จุดมุ่งหมายก็ได้หยุดลง นาย มาร์ก ชัทเทิลเวิร์ธ กล่าวว่าจุดมุ่งหมายที่จะได้เงินทุนฉุกเฉินจากความสัมพันธ์กับบริษัท Canonical คงจบลง

ในช่วงเดือน กรกฎาคม ค.ศ. 2007 ได้มี Ubuntu Live 2007 ขึ้น นายมาร์ก ชัทเทิลเวิร์ธ ประกาศว่า Ubuntu 8.04 (กำหนดการออกเดือนเมษายน ค.ศ. 2008) จะมีการสนับสนุน Long Term Support (LTS) เขาได้ดึงบริษัท Canonical มาเป็นคณะกรรมการในการออกเวอร์ชันการสนับสนุน LTS ใหม่ๆ ทุกๆ 2 ปี

อูบุนตูรองรับซีพียูในสถาปัตยกรรมแบบ x86 (32-bit) จนถึงเวอร์ชัน 18.04 แต่ทางผู้พัฒนายังคงรองรับซอฟต์แวร์ที่ทำงานภายใต้สถาปัตยกรรมดังกล่าวในบางเวอร์ชัน (อาทิ เวอร์ชัน 19.10 และ 20.04 LTS)[4]

ความสามารถสำคัญ

[แก้]
  • นักพัฒนา Ubuntu จำนวนมากมาจากชุมชนเดเบียนและ GNOME โดยการออก Ubuntu รุ่นใหม่จะตรงกับรุ่นใหม่ของ GNOME อยู่เสมอ มีนักพัฒนาอีกหลายกลุ่มพยายามที่จะใช้ เคดีอีพลาสมา กับ Ubuntu และทำให้เกิดโครงการ Kubuntu ขึ้น นอกจากนี้ยังมีโครงการ Xubuntu สำหรับ XFCE และโครงการ Edubuntu ซึ่งเป็นลีนุกซ์ที่ใช้ภายในโรงเรียนอีกด้วย
  • Ubuntu นั้นเน้นในเรื่องความง่ายในการใช้งานเป็นหลัก ใช้เครื่องมือ sudo สำหรับงานบริหารระบบ เช่นเดียวกับ macOS
  • รองรับการทำงานกับทั้ง CPU ชนิด 32bit , 64bit และ CPU แบบ ARM
  • รูปแบบการติดตั้งแบบ Live CD ที่รันระบบปฏิบัติการจากแผ่นซีดี ให้ทดลองใช้ก่อนการติดตั้งจริง
  • รูปแบบการติดตั้งแบบ Live USB ที่รันระบบปฏิบัติการจากแฟลชเมมโมรี่ ให้ทดลองใช้ก่อนการติดตั้งจริง
  • ทุกโครงการของ Ubuntu นั้นไม่เสียค่าใช้จ่ายในการใช้งาน ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดและติดตั้ง Ubuntu ได้ฟรี
  • ส่วนติดต่อผู้ใช้หลังจากติดตั้งเสร็จจะเป็นสีน้ำตาลและส้ม ใช้ชื่อชุดตกแต่งนี้ว่า Human ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนได้ แต่ในเวอร์ชัน 10.04 ได้เปลี่ยนโทนสีทั้งหมดเป็นสีดำ ม่วงและส้ม
  • ใช้ระบบ APT และ Synaptic ในการจัดการโปรแกรมของระบบ

รหัสรุ่น

[แก้]

โครงการ Ubuntu มีการออกรุ่นของระบบปฏิบัติการทุก 6 เดือน แต่ละรุ่นใช้เรียกโดยโค้ดเนม และเลขกำกับรุ่น ตามการพัฒนา ซึ่งใช้ตามเลขปีคริสต์ศักราชและเดือนที่ออก เช่น การออกในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2004 จะมีเลขรุ่นเป็น 4.10 ใช้เป็นหมายเลขรุ่นไปด้วย

ในแต่ละรุ่นจะตั้งชื่อโดยใช้คำคุณศัพท์และชื่อสัตว์ที่คล้องจองกัน (เช่น "Focal Fossa") โดยแต่ละรุ่นจะเรียงตามลำดับอักษรยกเว้นสองรุ่นแรก ทำให้สามารถแยกได้โดยง่ายว่ารุ่นไหนใหม่กว่ากัน

รุ่น รหัสรุ่น วันออกรุ่น สนับสนุนแบบปกติจนถึง สนับสนุนทุกรูปแบบจนถึง
เดสก์ท็อป เซิร์ฟเวอร์
4.10 Warty Warthog 2004-10-20 2006-04-30 -
5.04 Hoary Hedgehog 2005-04-08 2006-10-31
5.10 Breezy Badger 2005-10-13 2007-04-13
6.06 LTS Dapper Drake 2006-06-01 2009-07-14 2011-06-01
6.10 Edgy Eft 2006-10-26 2008-04-25
7.04 Feisty Fawn 2007-04-19 2008-10-19
7.10 Gutsy Gibbon 2007-10-18 2009-04-18
8.04 LTS Hardy Heron 2008-04-24 2011-05-12 2013-05-19
8.10 Intrepid Ibex 2008-10-30 2010-04-30
9.04 Jaunty Jackalope 2009-04-23 2010-10-23
9.10 Karmic Koala 2009-10-29 2011-04-30
10.04 LTS Lucid Lynx 2010-04-29 2013-05-09 2015-04-30
10.10 Maverick Meerkat 2010-10-10 2012-04-10
11.04 Natty Narwhal 2011-04-28 2012-10-28
11.10 Oneiric Ocelot 2011-10-13 2013-05-09
12.04 LTS Precise Pangolin 2012-04-26 2017-04-28 2019-04
12.10 Quantal Quetzal 2012-10-18 2014-05-06 -
13.04 Raring Ringtail 2013-04-25 2014-01-27
13.10 Saucy Salamander 2013-10-17 2014-07-17
14.04 LTS Trusty Tahr 2014-04-17 2019-04-25 2026-04
14.10 Utopic Unicorn 2014-10-16 2015-07-23 -
16.04 LTS Xenial Xerus 2016-04-21 2021-04 2028-04
17.04 Zesty Zapus 2017-04-13 2018-01-13 -
17.10 Artful Aardvark 2017-10-19 2018-07-19
18.04 LTS Bionic Beaver 2018-04-26 2023-05-31 2030-04
18.10 Cosmic Cuttlefish 2018-10-18 2019-07-18 -
19.04 Disco Dingo 2019-04-18 2020-01-23
19.10 Eoan Ermine 2019-10-17 2020-07-17
20.04 LTS Focal Fossa 2020-04-23 2025-04 2032-04
20.10 Groovy Gorilla 2020-10-22 2021-07-22 -
21.04 Hirsute Hippo 2021-04-22 2022-01-22
21.10 Impish Indri 2021-10-14 2022-07-14
22.04 LTS Jammy Jellyfish 2022-04-21 2027-04 2034-04
22.10 Kinetic Kudu 2022-10-20 2023-07-23
23.04 Lunar Lobster 2023-04-20 2024-01-25
23.10 Mantic Minotaur 2023-10-12 2024-07-11
24.04 LTS Noble Numbat 2024-04-25 2029-04 2036-04
24.10 Oracular Oriole 2024-10-10 2025-01
25.04 Plucky Puffin 2025-04-17 2026-01
สี ความหมาย
แดง เวอร์ชันเก่าที่ไม่มีการสนับสนุนแล้ว
เหลือง เวอร์ชันเก่าที่ยังมีการสนับสนุน
เขียว เวอร์ชันล่าสุด
ฟ้า เวอร์ชันในอนาคต

การเปิดตัวทุกเวอร์ชันจะออกช้ากว่า GNOME ประมาณ 1 เดือน, และออกตามหลัง 1 เดือน เมื่อ X.org ออกเวอร์ชันใหม่ ดังนั้นทุก ๆ การเปิดตัวของ Ubuntu จะประกอบด้วยเวอร์ชันใหม่ของทั้ง GNOME และ X

Ubuntu เวอร์ชันปกติจะได้รับการสนับสนุนเป็นเวลา 9 เดือน ส่วนเวอร์ชันที่มีการติดป้ายชื่อ Long Term Support (LTS) จะได้รับการสนับสนุนและการปรับปรุงเป็นเวลา 5 ปี และจะได้รับแพทช์รักษาความปลอดภัยเพิ่มอีก 5 ปี (รวมเป็น 10 ปี) ด้วย Extended Security Maintenance (ESM) ในบริการ Ubuntu Adventage [5]

การนำเอาซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์มาใช้

[แก้]

Ubuntu มีการรับรองระบบเพื่ออยู่ในสมาคม Third party software Ubuntu ได้รับรองการเป็นเจ้าของซอฟต์แวร์ที่ทำงานได้ใน Ubuntu อย่างไรก็ตามหลายโปรแกรมที่ผู้ใช้คุ้นเคยของระบบปฏิบัติการที่ไม่ฟรี เช่น Microsoft Windows นั้นเข้ากันไม่ได้และไม่ได้ถูกรับรองจาก Ubuntu แต่ซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์บางตัวนั้นไม่ได้กำหนดในเรื่องการแจกจ่ายก็ได้มีการรวมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของ Ubuntu เช่นกัน

ซอฟต์แวร์บางตัวที่ไม่ได้รวมอยู่ด้วยใน Ubuntu :

  • ซอฟต์แวร์ที่เปิดการทำงาน region-locked และวิดีโอ DVDs, ทั้งสองน่าจะได้รับอนุญาตให้ใช้งาน จึงใช้ library ถอดรหัส DVD ของ Libdvdcss ซึ่งเป็น open-source ซึ่งเป็นประโยชน์มากสำหรับ Ubuntu และ Medibuntu
  • ปลั๊กอินของเว็บเบราว์เซอร์บางตัวก็มีเจ้าของลิขสิทธิ์ อย่างเช่น Adobe's (เดิมทีคือ Macromedia's) Shockwave (ที่ไม่ใช่เวอร์ชันของ Linux) และ Flash

การติดตั้ง

[แก้]

ความต้องการระบบ

[แก้]

Ubuntu สนับสนุนสถาปัตยกรรม x86_64 และ ARM64[6]

รุ่นสำหรับเซิร์ฟเวอร์

[แก้]

ระบบขั้นต่ำที่แนะนำที่ได้ประสิทธิภาพที่สุดดังนี้:[7]

  • ไมโครโปรเซสเซอร์ 1 GHz สถาปัตยกรรม amd64, arm64, ppc64el, s390x
  • หน่วยความจำหลัก 1 GB
  • พื้นที่ Harddisk 2.5 GB
  • การ์ดแสดงผลได้ที่ความละเอียด 640×480 pixel
  • ไดรฟ์ CD-ROM

รุ่นสำหรับคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ

[แก้]

สำหรับรุ่นที่ใช้กับเครื่องเดสก์ท็อปนั้นมีการแนะนำระบบขั้นต่ำที่ได้ประสิทธิภาพที่สุดดังนี้:

  • ไมโครโปรเซสเซอร์ 2 GHz 2 คอร์ สถาปัตยกรรม amd64
  • หน่วยความจำหลัก 4 GB
  • พื้นที่ Harddisk 25 GB
  • การ์ดแสดงผลความละเอียด 1024×768 pixel
  • หน่วยความจำในการ์ดแสดงผล 256 MB
  • ไดรฟ์ CD/DVD หรือพอร์ต USB สำหรับการติดตั้ง
  • การ์ดเชื่อมต่อกับระบบเน็ตเวิร์ก

สำหรับคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าที่ไม่ได้อยู่ในระบบที่แนะนำก็ยังมี Xubuntu และ Lubuntu ซึ่งมีการแนะนำระบบขั้นต่ำดังนี้:

  • ไมโครโปรเซสเซอร์ 1 GHz 64 บิต
  • หน่วยความจำหลัก 512 MB
  • การ์ดแสดงผลความละเอียด 800×600 pixel
  • พื้นที่ Harddisk 5 GB

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Installation". Ubuntu Server Documentation. Canonical Ltd. 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 November 2021. สืบค้นเมื่อ 1 January 2022. Ubuntu 20.04 Server Edition [...] supports four 64-bit architectures: amd64, arm64, ppc64el, s390x
  2. "Supported platforms". Ubuntu Core Documentation. Canonical Ltd. 2020. สืบค้นเมื่อ 1 January 2022.
  3. "Releases - Ubuntu Wiki". Ubuntu. สืบค้นเมื่อ 26 November 2020.
  4. "Statement on 32-bit i386 packages for Ubuntu 19.10 and 20.04 LTS". Ubuntu (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 October 2019. สืบค้นเมื่อ 2022-10-29.
  5. Extended Security Maintenance (ESM)
  6. ความต้องการระบบขั้นต่ำของ Ubuntu (ภาษาอังกฤษ)
  7. ความต้องการระบบขั้นต่ำของ Ubuntu Server (ภาษาอังกฤษ)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]