ข้ามไปเนื้อหา

หมีน้ำ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Tardigrade)

หมีน้ำ
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: Turonian –ปัจจุบัน

Middle Cambrian stem-group fossils

Milnesium tardigradum, a eutardigrade
Echiniscus insularis, a heterotardigrade
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
อาณาจักรย่อย: ยูเมทาซัว
Eumetazoa
เคลด: พาราฮอกโซซัว
ParaHoxozoa
เคลด: ไบลาทีเรีย
Bilateria
เคลด: เนโฟรซัว
Nephrozoa
ไม่ได้จัดลำดับ: โพรโทสโทเมีย
Protostomia
ไฟลัมใหญ่: เอ็กดีโซซัว
ไม่ได้จัดลำดับ: แพนาร์โธรโพดา
ไฟลัม: หมีน้ำ
Tardigrada
Spallanzani, 1776
สปีชีส์: Tardigrada
ชื่อทวินาม
Tardigrada
Spallanzani, 1776
Classes

Tardigrade (/ˈtɑːrdɪɡrdz/ ),[1] ซึ่งมักจะถูกเรียกว่า หมีน้ำ หรือ หมูมอส[2] เป็นไฟลัมของจุลสัตว์ขาปล้อง 8 ขาที่มีการแบ่งตัวของร่างกาย[2] พวกมันได้รับการอธิบายครั้งแรกโดยนักสัตววิทยาชาวเยอรมัน โยฮันน์ ออกุสต์ เอฟราอิม เกอเซ ในปี ค.ศ. 1773 โดยเรียกพวกมันว่า Kleiner Wasserbär (หมีน้ำตัวเล็ก)[3] ในปี ค.ศ. 1776 นักชีววิทยาชาวอิตาลี ลาซซาโร สปัลลันซานี ตั้งชื่อพวกมันว่า Tardigrada ซึ่งหมายถึง 'เดินช้า'[4][5]

พวกมันอาศัยอยู่ในหลากหลายพื้นที่ของชีวภูมิศาสตร์ของโลก ได้แก่ ยอดเขา, ทะเลลึก, ป่าฝนเขตร้อน, และ แอนตาร์กติกา[5] Tardigradeเป็นหนึ่งในสัตว์ที่ทนทานที่สุดที่รู้จัก โดยบางสปีชีส์สามารถอยู่รอดในสภาวะสุดขั้ว – เช่น การถูกสัมผัสกับอุณหภูมิสุดขั้ว, ความดันสุดขั้ว (ทั้งสูงและต่ำ), การขาดอากาศ, รังสี, การขาดน้ำ, และ การอดอาหาร – ซึ่งจะฆ่าสัตว์ส่วนใหญ่ได้อย่างรวดเร็ว Tardigrade สามารถอยู่รอดจากการสัมผัสกับอวกาศ

มีสปีชีส์ที่รู้จักประมาณ 1,500 สปีชีส์ในไฟลัม Tardigrada ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของซูเปอร์ไฟลัม Ecdysozoa ฟอสซิลที่รู้จักที่เก่าสุดจากยุคแคมเบรียน เมื่อประมาณ 500 ล้านปีก่อน พวกมันขาดยีน Hox หลายชนิดที่พบในอาร์โทรพอด และบริเวณกลางของร่างกายที่เกี่ยวข้องกับส่วนอกและท้องของอาร์โทรพอด ในขณะที่ร่างกายของพวกมันส่วนใหญ่จะคล้ายคลึงกับหัวของอาร์โทรพอด

Tardigrade เมื่อโตเต็มที่มีขนาดยาวประมาณ 0.5 mm (0.02 in) พวกมันมีลำตัวสั้นและป้อม โดยมีขา 4 คู่ แต่ละคู่มีตีนที่ปลาย (มักจะมี 4 ถึง 8 ตีน) หรือแผ่นติด[2] Tardigrade มีจำนวนมากในมอสและไลเคน และสามารถเก็บรวบรวมและดูได้ภายใต้กล้องจุลทรรศน์กำลังต่ำ ทำให้นักเรียนและนักวิทยาศาสตร์มือสมัครเล่นสามารถเข้าถึงพวกมันได้[6] การคลานที่ทุลักทุเลของพวกมันและความสามารถที่มีชื่อเสียงในการรอดชีวิตจากเหตุการณ์ที่จะทำให้ตายได้ ได้นำพวกมันเข้าสู่นิยายแนววิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมป๊อป รวมถึงเสื้อผ้า รูปปั้น ของเล่นนุ่ม และลายถักโครเชต์

การค้นพบ

[แก้]

หมีน้ำถูกค้นพบครั้งแรกโดย โยฮานน์ ออกุสต์ อิปพาเรียม เกิทเซอ นักวิทยาศาสตรชาวเยอรมัน ในปี ค.ศ. 1773 โดยคำว่า "Tardigrades" มีความหมายว่า "ตัวเดินช้า" (Slow walker)

ลักษณะ

[แก้]

"หมีน้ำ" นั้นมาจากท่าทางการเดินของพวกมัน หมีน้ำมีรูปร่างเหมือนหนอนตัวอ้วน ๆ มีรูปร่างเป็นปล้อง มีขนาดเล็กจนแทบมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น เมื่อโตเต็มที่มีขนาดเพียง 1.5 มิลลิเมตร ส่วนตัวที่เล็กที่สุดมีขนาดเพียง 0.1 มิลลิเมตร ส่วนในช่วงตัวอ่อนมีขนาดเพียง 0.05 มิลลิเมตร มีขา 8 ขา มีเล็บที่แหลมคม มีสีสันแตกต่างหลากหลายออกไป ทั้งสีแดง, ขาว, ส้ม, เหลือง, เขียว, ม่วง และดำ เชื่อว่ามีมากกว่า 1,000 สปีชีส์ โดยมากเป็นพวกกินพืช ส่วนน้อยกินแบคทีเรีย และกินสัตว์ และสามารถพบได้ทั่วโลก

สภาวะความทนต่อสิ่งแวดล้อม

[แก้]

หมีน้ำได้ชื่อว่าเป็นสัตว์ที่มีความทรหดที่สุดในโลก พบได้ตั้งแต่ที่ยอดเขาหิมาลัยที่ความสูงกว่า 6,000 เมตร จนถึงในทะเลลึกถึง 4,000 เมตร ไม่ว่าจะเป็นที่ขั้วโลก หรือในบริเวณเส้นศูนย์สูตร ชอบอาศัยอยู่ที่ต้นมอส และพวกเห็ดราต่าง ๆ และยังสามารถพบได้ตามทราย, ชายหาด, พื้นดิน, แร่ธาตุ และในตะกอนน้ำ อยู่ได้ในที่ ๆ มีแรงดันสูงถึง 6,000 บรรยากาศ ซึ่งแรงดันปกติที่มนุษย์อยู่ทุกวันนี้คือแรงดันบรรยากาศ มีค่าเท่ากับ 1 บรรยากาศเท่านั้น ซึ่งแรงดันที่หมีน้ำทนได้นั้นมากกว่าแรงดันของส่วนของทะเลที่ลึกที่สุดถึง 6 เท่าตัว

นอกจากนี้แล้ว ยังเป็นสัตว์ที่ทนต่อรังสีต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ทั้งรังสียูวีและสารเคมีต่าง ๆ และสามารถมีชีวิตอยู่ได้ในที่มีอุณหภูมิ 151 (304 องศาฟาเรนไฮต์) ถึง -272 องศาเซลเซียส (-458 องศาฟาเรนไฮต์) (ได้ประมาณ 1 นาที) -20 องศาเซลเซียส (30 ปี) และที่ -200 องศาเซลเซียส (-328 องศาฟาเรนไฮต์) (อยู่ได้ประมาณ 1 วัน) สามารถมีชีวิตอยู่ได้ในที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 151 องศาเซลเซียส (304 องศาฟาเรนไฮต์) และสามารถอดน้ำได้นานถึง 200 ปี และถึงแม้ว่าจะถูกปล่อยให้แห้งตายนานกว่า 100 ปี ก็สามารถฟื้นกลับมามีชีวิตได้หากได้น้ำ

ปัจจุบันยังไม่เป็นที่แน่ชัดกว่า หมีน้ำเกิดขึ้นครั้งแรกบนโลกตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่ทว่าซากดึกดำบรรพ์ที่เก่าแก่ที่สุดมีอายุในอยู่ช่วงกลางของยุคแคมเบรียน นับว่ามีความเก่าแก่กว่าไดโนเสาร์เสียอีก[7] โดยจากงานวิจัยพบว่า ซากฟอสซิลของหมีนํ้าที่ค้นพบนั้น มีอายุนานถึง500 ล้านปีเลยทีเดียว

อ้างอิง

[แก้]
  1. "tardigrade". Dictionary.com Unabridged (Online). n.d.
  2. 2.0 2.1 2.2 Miller, William (2017-02-06). "ทาร์ดิกราเดส". American Scientist. สืบค้นเมื่อ 2018-04-13.
  3. Greven, Hartmut (2015). "About the little water bear: A commented translation of GOEZE'S note "Ueber den kleinen Wasserbär" from 1773". Acta Biologica Benrodis. 17: 1–27. สืบค้นเมื่อ 27 September 2024.
  4. Spallanzani, Lazzaro (1776). Opuscoli di fisica animale, e vegetabile [Booklets on the structure of animals and plants] (ภาษาอิตาลี). Modena: Presso La Societa' Tipografica.
  5. 5.0 5.1 Bordenstein, Sarah. "Tardigrades (Water Bears)". Microbial Life Educational Resources. National Science Digital Library. สืบค้นเมื่อ 2014-01-24.
  6. Shaw, Michael W. "How to Find Tardigrades". Tardigrade USA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 February 2014. สืบค้นเมื่อ 2013-01-14.
  7. หน้า 7, "หมีน้ำ" เป็นสัตว์ยอดคงกระพันชาตรี. "โลกโสภิน". ไทยรัฐปีที่ 67 ฉบับที่ 21324: วันพฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 7 ปีวอก