ข้ามไปเนื้อหา

โดเมน (ชีววิทยา)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Domain (biology))
The various levels of the scientific classification system.สปีชีส์สกุลวงศ์อันดับชั้นไฟลัมส่วนอาณาจักรโดเมนชีวิต
The various levels of the scientific classification system.

แปดลำดับขั้นสำคัญ ๆ ของการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ ชีวิตแบ่งออกเป็นโดเมน ซึ่งแต่ละโดเมนแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยลงไป ตามแผนภาพไม่ได้แสดงลำดับขั้นที่อยู่อื่น ๆ ที่อยู่ระหว่างนี้
ต้นไม้แสดงการจำแนกตามวิวัฒนาการชาติพันธุ์ตามข้อมูลอาร์อาร์เอ็นเอ (rRNA) แสดงการแยกระหว่างแบคทีเรีย อาร์เคีย และยูแคริโอต

โดเมน (อังกฤษ: domain) ในทางชีววิทยา อนุกรมวิธานวิทยาคำว่า โดเมน (/dəˈmn/ หรือ /dˈmn/) (ละติน: regio[1]), หรือ อาณาจักร (dominion)[2] ซูเปอร์คิงดอม (superkingdom), อาณาจักร (realm), หรือ จักรวรรดิ (empire) เป็นอันดับทางอนุกรมวิธานชั้นที่สูงที่สุดในลำดับการจำแนกประเภทของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด ซึ่งถูกนำเสนอการจัดอันดับอนุกรมวิธานในระบบสามโดเมนที่พัฒนาโดย คาร์ล โวเซ (Carl Woese), ออตโต คานด์เลอร์ (Otto Kandler) และ มาร์ค วีลิส (Mark Wheelis) ในปี ค.ศ. 1990[1]

ตามระบบโดเมน, ต้นไม้ชีวิตประกอบด้วยสามโดเมนคือ อาร์เคีย (Archaea), แบคทีเรีย (Bacteria), และ ยูแคริโอต (Eukarya)[1] หรือสองโดเมนคือ อาร์เคียและแบคทีเรีย โดยยูคาริโอตรวมอยู่ในอาร์เคีย[3][4] ในโมเดลสามโดเมน อาร์เคียและแบคทีเรียเป็นโปรคาริโอต (prokaryotes) ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่ไม่มีเยื่อหุ้มเซลล์หุ้มนิวเคลียส สิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่มีนิวเคลียสและออร์แกเนลล์ที่มีเยื่อหุ้มจะรวมอยู่ในยูคาริโอตาและเรียกว่า ยูคาริโอต (eukaryotes)

ชีวิตที่ไม่ใช่เซลล์ เช่น ไวรัส จะไม่รวมอยู่ในระบบนี้ ระบบทางเลือกของระบบสามโดเมนรวมถึงระบบสองอาณาจักร (ที่มีอาณาจักร โปรคาริโอตาและยูคาริโอตา) และสมมติฐานอีโอไซต์ (ที่มีสองโดเมนของแบคทีเรียและอาร์เคีย โดยยูคาริโอตาเป็นสาขาของอาร์เคีย)

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Woese C, Kandler O, Wheelis M (1990). "Towards a natural system of organisms: Proposal for the domains Archaea, Bacteria, and Eucarya". Proc Natl Acad Sci USA. 87 (12): 4576–4579. Bibcode:1990PNAS...87.4576W. doi:10.1073/pnas.87.12.4576. PMC 54159. PMID 2112744.
  2. Moore R.T. (1974). "Proposal for the recognition of super ranks" (PDF). Taxon. 23 (4): 650–652. doi:10.2307/1218807. JSTOR 1218807.
  3. Nobs, Stephanie-Jane; MacLeod, Fraser I.; Wong, Hon Lun; Burns, Brendan P. (2022). "Eukarya the chimera: Eukaryotes, a secondary innovation of the two domains of life?". Trends in Microbiology (ภาษาอังกฤษ). 30 (5): 421–431. doi:10.1016/j.tim.2021.11.003. PMID 34863611. S2CID 244823103.
  4. Doolittle, W. Ford (2020). "Evolution: Two domains of life or three?". Current Biology (ภาษาอังกฤษ). 30 (4): R177–R179. doi:10.1016/j.cub.2020.01.010. PMID 32097647.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]