ประเทศซีเรีย
สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย اَلْجُمْهُورِيَّةُ ٱلْعَرَبِيَّةُ ٱلْسُوْرِيَّة (อาหรับ) | |
---|---|
ตราแผ่นดิน
(โดยพฤตินัย) | |
ดินแดนซีเรียอยู่ในสีเขียวเข้ม ดินแดนอ้างสิทธิ์เหนือจังหวัดฮาทัยส่วนใหญ่ของตุรกีและที่ราบสูงโกลันที่อิสราเอลยึดครองอยู่ในสีเขียวอ่อน | |
สถานะ | รัฐสมาชิกสหประชาชาติซึ่งอยู่ภายใต้รัฐบาลเปลี่ยนผ่าน |
เมืองหลวง และเมืองใหญ่สุด | ดามัสกัส 33°30′N 36°18′E / 33.500°N 36.300°E |
ภาษาหลัก | อาหรับ[a] |
ภาษารอง | เคิร์ด (กุรมันจี)[b] ตุรกี[c] ตูโรโย[d] อื่น ๆ |
กลุ่มชาติพันธุ์ | 80–90% ชาวอาหรับ 9–10% ชาวเคิร์ด 1–10% อื่น ๆ |
ศาสนา (2020)[6] | |
เดมะนิม | ชาวซีเรีย |
การปกครอง | รัฐบาลเปลี่ยนผ่าน |
• ผู้นำ (โดยพฤตินัย) | อะห์มัด อัชชะเราะอ์ |
มุฮัมมัด อัลบะชีร[7] | |
สภานิติบัญญัติ | สภาประชาชน (ถูกระงับ) |
ก่อตั้ง | |
8 มีนาคม ค.ศ. 1920 | |
• รัฐซีเรียภายใต้อาณัติฝรั่งเศส | 1 ธันวาคม ค.ศ. 1924 |
14 พฤษภาคม ค.ศ. 1930 | |
• สิ้นสุดความเป็นอาณัติฝรั่งเศส | 17 เมษายน ค.ศ. 1946 |
• ออกจากสหสาธารณรัฐอาหรับ | 28 กันยายน ค.ศ. 1961 |
8 มีนาคม ค.ศ. 1963 | |
8 ธันวาคม ค.ศ. 2024 | |
พื้นที่ | |
• รวม | 185,180[8] ตารางกิโลเมตร (71,500 ตารางไมล์) (อันดับที่ 87) |
1.1 | |
ประชากร | |
• 2024 ประมาณ | 25,000,753[9] (อันดับที่ 57) |
118.3 ต่อตารางกิโลเมตร (306.4 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 70) | |
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | 2015 (ประมาณ) |
• รวม | 5.028 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ[10] |
• ต่อหัว | 2,900 ดอลลาร์สหรัฐ[10] |
จีดีพี (ราคาตลาด) | 2020 (ประมาณ) |
• รวม | 1.108 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ[10] |
• ต่อหัว | 533 ดอลลาร์สหรัฐ |
จีนี (2022) | 26.6[11] ต่ำ |
เอชดีไอ (2022) | 0.557[12] ปานกลาง · อันดับที่ 157 |
สกุลเงิน | ปอนด์ซีเรีย (SYP) |
เขตเวลา | UTC+3 (เวลามาตรฐานอาระเบีย) |
ขับรถด้าน | ขวามือ |
รหัสโทรศัพท์ | +963 |
รหัส ISO 3166 | SY |
โดเมนบนสุด | .sy سوريا. |
ซีเรีย (อังกฤษ: Syria; อาหรับ: سُورِيَا หรือ سُورِيَة) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย (อังกฤษ: Syrian Arab Republic; อาหรับ: اَلْجُمْهُورِيَّةُ ٱلْعَرَبِيَّةُ ٱلْسُوْرِيَّة)[13] เป็นประเทศในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ มีพรมแดนทิศตะวันตกจดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศเหนือจดประเทศตุรกี ทิศตะวันออกจดประเทศอิรัก ทิศใต้จดประเทศจอร์แดน และทิศตะวันตกเฉียงใต้จดประเทศอิสราเอลและรัฐปาเลสไตน์ กรุงดามัสกัส เมืองหลวง เป็นนครที่มีผู้อยู่อาศัยต่อเนื่องที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ประเทศซีเรียเป็นที่ราบอุดมสมบูรณ์ ภูเขาสูงและทะเลทราย มีประชากรกลุ่มชาติพันธุ์และศาสนาหลากหลาย ส่วนมากเป็นชาวอาหรับ ซึ่งรวมอลาวียะห์ ดรูซ มุสลิมซุนนีและคริสต์ศาสนิกชน กลุ่มชาติพันธุ์อื่น ได้แก่ ชาวอาร์มีเนีย อัสซีเรีย เคิร์ด และเติร์ก ชาวอาหรับซุนนีเป็นกลุ่มประชากรใหญ่ที่สุดในประเทศซีเรีย
ในภาษาอังกฤษ เดิมชื่อ "ซีเรีย" สมนัยกับลิแวนต์ (ภาษาอาหรับว่า อัชชาม) ขณะที่รัฐสมัยใหม่ครอบคลุมที่ตั้งของราชอาณาจักรและจักรวรรดิโบราณหลายแห่ง รวมถึงอารยธรรมเอบลา (Ebla) ในสหัสวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล ในสมัยอิสลาม ดามัสกัสเป็นเมืองหลวงของรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ และเมืองเอกในรัฐสุลต่านมัมลุกในอียิปต์
รัฐซีเรียสมัยใหม่สถาปนาขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งโดยเป็นอาณาเขตในอาณัติของฝรั่งเศส และเป็นรัฐอาหรับใหญ่ที่สุดที่กำเนิดขึ้นจากเลแวนต์อาหรับที่เดิมออตโตมันปกครอง ประเทศซีเรียได้รับเอกราชในเดือนเมษายน 2489 เป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภา สมัยหลังได้รับเอกราชมีความวุ่นวายและกลุ่มรัฐประหารและความพยายามรัฐประหารสะเทือนประเทศในสมัยปี 2492–2514 ระหว่างปี 2501 ถึง 2504 ประเทศซีเรียเข้าร่วมสหภาพช่วงสั้น ๆ กับอียิปต์ ซึ่งสิ้นสุดลงด้วยรัฐประหาร ประเทศซีเรียอยู่ภายใต้กฎหมายฉุกเฉินระหว่างปี 2506 ถึง 2554 ระงับการคุ้มครองพลเมืองส่วนใหญ่ของรัฐธรรมนูญอย่างชะงัด และระบบรัฐบาลถูกพิจารณาว่าไม่เป็นประชาธิปไตย บัชชาร อัลอะซัด เป็นประธานาธิบดีตั้งแต่ปี 2543 สืบทอดจากฮาเฟซ อัลอะซัด บิดา ซึ่งดำรงตำแหน่งระหว่างปี 2513 ถึง 2543
นับตั้งแต่อาหรับสปริงในปี 2554 ซีเรียก็พัวพันกับสงครามกลางเมืองหลายฝ่าย โดยที่ประเทศต่าง ๆ ต่างเข้ามามีส่วนร่วม นำไปสู่วิกฤตผู้ลี้ภัย ซึ่งมีผู้ลี้ภัยมากกว่า 6 ล้านคนต้องพลัดถิ่นจากประเทศนี้[e][อ้างอิงมากเกินไป] หลายประเทศเข้าแทรกแซงในนามของกลุ่มต่าง ๆ ที่คัดค้าน เพื่อตอบสนองต่อกลุ่มรัฐอิสลาม (IS) ที่ขยายดินแดนในสงครามกลางเมืองช่วงปี 2557-2558 นำไปสู่การสูญเสียดดินแดนทั้งในซีเรียภาคกลางและภาคตะวันออกใน พ.ศ. 2560 หลังจากนั้น กลุ่มทางการเมืองสามกลุ่ม ได้แก่ รัฐบาลชั่วคราวซีเรีย รัฐบาลปลดปล่อยซีเรีย และโรจาวา ได้ก่อตัวในดินแดนซีเรียเพื่อท้าทายการปกครองของอัลอะซัด ใน่ชวงปลาย 2567 แนวร่วมรุกของฝ่ายค้านทำการรุกรานจนยึดเมืองหลวงดามัสกัสและทำให้ระบอบอัลอะซัดล่มสลาย[15]
ศัพทมูลวิทยา
[แก้]ประวัติศาสตร์
[แก้]ภูมิศาสตร์
[แก้]สภาพภูมิอากาศของซีเรียแตกต่างกันไปตั้งแต่ชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนที่ชื้น ผ่านเขตทุ่งหญ้าสเตปป์กึ่งแห้งแล้ง ไปจนถึงทะเลทรายแห้งแล้งทางตะวันออก พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศนี้ประกอบด้วยที่ราบสูงแห้งแล้ง แม้ว่าพื้นที่ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจะค่อนข้างเขียวก็ตาม อัลญะซีเราะฮ์ทางตะวันออกเฉียงเหนือและเฮารอนทางใต้เป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่สำคัญ แม่น้ำยูเฟรติส แม่น้ำสายสพคัญที่สุดของซีเรีย ำหลผ่านประเทศในทางตะวันออก ซีเรียเป็นหนึ่งใน 15 รัฐที่อยู่ในบริเวณ "แหล่งกำเนิดอารยธรรม"[16] พื้นที่นั้นตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของแผ่นอาระเบีย[17]
การเมืองการปกครอง
[แก้]รูปแบบการปกครอง แบบสาธารณรัฐภายใต้การปกครองโดยทหาร (นับแต่ปี ค.ศ.1963) มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ เลือกตั้งคราวละ 7 ปี มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร ประธานาธิบดีแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ประมุขของรัฐคนปัจจุบันคือ นายบัชชาร อัลอะซัด (ตั้งแต่ 17 กรกฎาคม 2543)
สถานการณ์การเมือง
[แก้]ในปี 2513 พันเอก ฮาเฟซ อัลอะซัด ได้ก่อรัฐประหารยึดอำนาจปกครองประเทศ [18] และในปี พ.ศ. 2514 ได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของซีเรียจนถึงอสัญกรรมเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2543 เดือนต่อมา บุตรชายของอดีตประธานาธิบดี บัชชาร อัลอะซัด ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนใหม่ของซีเรีย
ซีเรียเป็นประเทศค่อนข้างปิด โดยเฉพาะในสมัยของประธานาธิบดี ฮาเฟซ อัลอะซัด เป็นประเทศนิยมอาหรับและมีนโยบายต่อต้านตะวันตก และอิสราเอล นอกจากนั้น ซีเรียมีอิทธิพลต่อเลบานอนในด้านความมั่นคงและการต่างประเทศ ทำให้การเจรจาใด ๆ ระหว่างอิสราเอลกับเลบานอนจะต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการเจรจาระหว่างซีเรียกับอิสราเอลด้วย อย่างไรก็ดี การที่ ดร. บัชชาร อัลอะซัด ได้รับการศึกษาจากประเทศตะวันตกทำให้เห็นความสำคัญของการปฏิรูปประเทศทั้งในด้านการเมืองและเศรษฐกิจซึ่งอยู่ในสภาพที่ย่ำแย่ และเห็นความจำเป็นต้องเปิดประเทศเพื่อรับการลงทุน และความช่วยเหลือ โดยเฉพาะจากสหรัฐฯ แต่ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเจรจาสันติภาพกับอิสราเอล บัชชาร อัลอะซัด คงยึดมั่นนโยบายของบิดา สำหรับความสัมพันธ์กับเลบานอน การถอนกองกำลังอิสราเอลออกจากเลบานอนตอนใต้ เมื่อต้นปี พ.ศ. 2543 ได้สร้างแรงกดดันให้ซีเรียทบทวนและพิจารณาความจำเป็นและเหตุผลของการคงกองกำลังของตนประมาณ 30,000 นาย อย่างไรก็ตามในปี พ.ศ. 2548 ซีเรียได้ถอนกำลังทหารทั้งหมดออกจากเลบานอนหลังจากเหตุการณ์ลอบสังหารอดีตนายกรัฐมนตรีเลบานอนนาย ราฟิก ฮาริรี่
สิทธิมนุษยชน
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
มีการสั่งปิดกั้นการเข้าถึงเว็บไซต์ชื่อดังทั้ง “กูเกิล” “ยูทูบ” “เฟซบุก” และ “วิกิพีเดีย” เมื่อองค์กรสิทธิมนุษยชนหลายแห่ง และ สื่อต่างชาติอีกหลายสำนัก เริ่มเสนอรายงานตีแผ่การที่อัสซาดตั้งหน่วยตำรวจลับเพื่อจับกุมผู้ที่แสดงตนว่าต่อต้านรัฐบาลมาจำคุก ทรมานร่างกาย หรือสังหารอย่างเหี้ยมโหด หลายฝ่ายเริ่มจับจ้องมายังซีเรีย ซึ่งแน่นอนว่า อัสซาดออกมาปฏิเสธเรื่องราวทั้งหมด
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]ซีเรียแบ่งเป็น 14 เขตผู้ว่าการ (governorate) ซึ่งการแต่งตั้งผู้ว่าจะเสนอโดยรัฐมนตรีมหาดไทย รับรองโดยคณะรัฐมนตรี และประกาศโดยพระราชกฤษฎีกา เป็นผู้นำของแต่ละเขต ผู้ว่าจะมีสภาเขตที่ได้รับเลือกมาช่วยเหลือ
นโยบายต่างประเทศ
[แก้]นับตั้งแต่สงครามกลางเมืองที่ดำเนินอยู่ในปี 2554 และการสังหารและการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้อง ซีเรียถูกโดดเดี่ยวจากประเทศต่างๆ ในภูมิภาคและประชาคมระหว่างประเทศในวงกว้างมากขึ้น ความสัมพันธ์ทางการทูตถูกตัดขาดกับหลายประเทศ ได้แก่ อังกฤษ แคนาดา ฝรั่งเศส อิตาลี เยอรมนี ตูนิเซีย อียิปต์ ลิเบีย สหรัฐอเมริกา เบลเยียม สเปน และรัฐอาหรับในอ่าวเปอร์เซีย[19]
จากสันนิบาตอาหรับ ซีเรียยังคงรักษาความสัมพันธ์ทางการฑูตกับแอลจีเรีย อียิปต์ อิรัก เลบานอน ซูดาน และเยเมน ความรุนแรงของซีเรียต่อพลเรือนทำให้ซีเรียถูกระงับจากสันนิบาตอาหรับและองค์การความร่วมมืออิสลามในปี 2555[20] ซีเรียก็ลาออกจากสหภาพเพื่อทะเลเมดิเตอร์เรเนียนด้วย[21]หลังจากผ่านไป 11 ปี ซีเรียกลับคืนสันนิบาตอาหรับอีกครั้งซีเรียยังคงส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีกับพันธมิตรดั้งเดิมอย่างอิหร่านและรัสเซีย ซึ่งเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่สนับสนุนรัฐบาลซีเรียในการขัดแย้งกับฝ่ายค้านของซีเรีย
ซีเรียรวมอยู่ในนโยบายเพื่อนบ้านแห่งสหภาพยุโรป (ENP) ของสหภาพยุโรปซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้สหภาพยุโรปและประเทศเพื่อนบ้านใกล้ชิดกันมากขึ้น
กองทัพ
[แก้]ประธานาธิบดีซีเรียเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพซีเรีย ซึ่งประกอบด้วยทหารประมาณ 400,000 นายในการระดมกำลัง ทหารเป็นกำลังทหารเกณฑ์ ผู้ชายรับราชการทหารเมื่ออายุครบ 18 ปีแม่แบบ:Citation needed ระยะเวลาการรับราชการทหารภาคบังคับจะลดลงเมื่อเวลาผ่านไป ในปี 2548 จากสองปีครึ่งเป็นสองปี ในปี 2551 เหลือ 21 เดือน และในปี 2554 เหลือปีครึ่ง[22]ทหารซีเรียประมาณ 20,000 นายถูกส่งไปประจำการในเลบานอนจนถึงวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2548 เมื่อทหารซีเรียชุดสุดท้ายออกจากประเทศหลังจากสามทศวรรษแม่แบบ:Citation needed
การล่มสลายของสหภาพโซเวียต ซึ่งเป็นแหล่งที่มาหลักของการฝึกอบรม ยุทโธปกรณ์ สำหรับกองทัพซีเรียมายาวนาน อาจทำให้ความสามารถของซีเรียในการได้รับยุทโธปกรณ์ทางทหารสมัยใหม่ช้าลง มีคลังแสงขีปนาวุธจากพื้นสู่พื้น ในช่วงต้นทศวรรษ 1990 ขีปนาวุธสกั๊ด-ซี ที่มีพิสัยทำการ 500- ชั่วโมง (310 ไมล์) ได้รับการจัดซื้อจากเกาหลีเหนือ และสกั๊ด-ดี ที่มีพิสัยทำการสูงสุด 700 นาที (430 ไมล์) ถูกกล่าวหาว่าได้รับการพัฒนาโดยซีเรีย ด้วยความช่วยเหลือของเกาหลีเหนือและอิหร่าน ตามข้อมูลของ Zisser[23]
ซีเรียได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจำนวนมากจากรัฐอาหรับในอ่าวเปอร์เซียอันเป็นผลมาจากการเข้าร่วมในสงครามอ่าวเปอร์เซีย โดยเงินทุนจำนวนมากเหล่านี้จัดสรรไว้สำหรับการใช้จ่ายทางทหาร
เศรษฐกิจ
[แก้]แม่แบบ:As of,เศรษฐกิจซีเรียอาศัยแหล่งรายได้ที่ไม่น่าเชื่อถือโดยธรรมชาติ เช่น ภาษีศุลกากรที่ลดน้อยลง และภาษีเงินได้ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากวงเงินสินเชื่อจากอิหร่านอย่างมาก[24] เชื่อกันว่าอิหร่านจะใช้จ่ายเงินระหว่าง 6 พันล้านดอลลาร์ถึง 20 พันล้านดอลลาร์ต่อปีกับซีเรียในช่วงสงครามกลางเมืองในซีเรีย[25]เศรษฐกิจซีเรียหดตัว 60% และเงินปอนด์ซีเรียสูญเสียมูลค่าไป 80% โดยเศรษฐกิจกลายเป็นส่วนหนึ่งของรัฐและเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจสงคราม[26] ในช่วงเริ่มต้นของสงครามกลางเมืองซีเรียที่กำลังดำเนินอยู่ ธนาคารโลกจัดซีเรียให้เป็น "ประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับล่าง"[27] ในปี 2010 ซีเรียยังคงต้องพึ่งพาภาคน้ำมันและเกษตรกรรม[28] ภาคน้ำมันให้รายได้จากการส่งออกประมาณ 40%[28] การสำรวจนอกชายฝั่งที่ได้รับการพิสูจน์แล้วได้ชี้ให้เห็นว่ามีน้ำมันจำนวนมากอยู่บนพื้นทะเลเมดิเตอร์เรเนียนระหว่างซีเรียและไซปรัส[29] ภาคเกษตรกรรมมีส่วนทำให้เกิดประมาณ 20% ของ GDP และ 20% ของการจ้างงาน คาดว่าปริมาณสำรองน้ำมันจะลดลงในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า และซีเรียได้กลายเป็นผู้นำเข้าน้ำมันสุทธิแล้ว[28] นับตั้งแต่สงครามกลางเมืองเริ่มต้นขึ้น เศรษฐกิจหดตัว 35% และเงินปอนด์ซีเรียร่วงลงเหลือ 1 ใน 6 ของมูลค่าก่อนสงคราม[30] รัฐบาลต้องพึ่งพาสินเชื่อจากอิหร่าน รัสเซีย และจีนมากขึ้น[30]
เศรษฐกิจได้รับการควบคุมอย่างเข้มงวดจากรัฐบาล ซึ่งได้เพิ่มเงินอุดหนุนและควบคุมการค้าอย่างเข้มงวดเพื่อบรรเทาผู้ประท้วงและปกป้องทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ.[10] ข้อจำกัดทางเศรษฐกิจในระยะยาว ได้แก่ อุปสรรคทางการค้ากับต่างประเทศ การผลิตน้ำมันที่ลดลง การว่างงานสูง การขาดดุลงบประมาณที่เพิ่มขึ้น และแรงกดดันที่เพิ่มขึ้นต่อแหล่งน้ำที่เกิดจากการใช้หนักในการเกษตร การเติบโตของประชากรอย่างรวดเร็ว การขยายตัวทางอุตสาหกรรม และมลพิษทางน้ำ[10] UNDP ประกาศในปี 2548 ว่า 30% ของประชากรซีเรียอาศัยอยู่ในความยากจน และ 11.4% มีชีวิตอยู่ต่ำกว่าระดับยังชีพ[31]
ประชากรศาสตร์
[แก้]แม่แบบ:Main แม่แบบ:Further แม่แบบ:Historical populations ประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในหุบเขาแม่น้ำยูเฟรทีสและตามที่ราบชายฝั่ง ซึ่งเป็นแถบที่อุดมสมบูรณ์ระหว่างภูเขาชายฝั่งและทะเลทราย ความหนาแน่นของประชากรโดยรวมในซีเรียก่อนสงครามกลางเมืองอยู่ที่ประมาณ 99 ต่อตารางกิโลเมตร (258 ต่อตารางไมล์)[34] การสำรวจผู้ลี้ภัยโลกปี 2008 ซึ่งจัดพิมพ์โดยคณะกรรมการผู้ลี้ภัยและผู้อพยพแห่งสหรัฐ รายงานว่าซีเรียเป็นที่อยู่อาศัยของประชากรผู้ลี้ภัยและผู้ขอลี้ภัยจำนวนประมาณ 1,852,300 คน ประชากรส่วนใหญ่มาจากอิรัก (1,300,000 คน) แต่ประชากรจำนวนมากจากปาเลสไตน์ (543,400) และโซมาเลีย (5,200) ก็อาศัยอยู่ในประเทศนี้เช่นกัน[35]
ใน ค.ศ. 2014 ชาวซีเรียประมาณ 9.5 ล้านคน (ครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งประเทศ) พลัดถิ่นตั้งแต่เดือนมีนาคม ค.ศ. 2011[36] และมี 4 ล้านคนอยู่นอกประเทศในฐานะผู้ลี้ภัย[37] ซึ่งเป็นสิ่งที่สหประชาชาติเรียกว่าเป็น "เหตุฉุกเฉินด้านมนุษยธรรมครั้งใหญ่ที่สุดในยุคของเรา"[38] ณ ค.ศ. 2020 สหประชาชาติประมาณการว่าชาวซีเรียกว่า 5.5 ล้านคนอยู่อาศัยในฐานะผู้ลี้ภัยในภูมิภาค และอีก 6.1 ล้านคนพลัดถิ่นในประเทศ[39]
เมืองใหญ่สุด
[แก้]กลุ่มชาติพันธุ์
[แก้]ภาษา
[แก้]แม่แบบ:Main ภาษาอาหรับเป็นภาษาราชการของประเทศ[40] และมีภาษาย่อยอาหรับที่มีผู้พูดในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะภาษาอาหรับลิแวนต์ทางตะวันตกและอาหรับเมโสโปเตเมียทางตะวันออกเฉียงเหนือ The Encyclopedia of Arabic Language and Linguistics รายงานว่า นอกจากภาษาอาหรับแล้ว ยังมีภาษาอื่นที่มีผู้พูดในประเทศ เรียงตามจำนวนผู้พูดได้ดังนี้: เคิร์ด,[41] ตุรกี,[41] แอราเมอิกใหม่ (4 ภาษาย่อย),[41] เซอร์แคสเซีย,[41] เชเชน,[41] อาร์มีเนีย[41] และท้ายที่สุดคือกรีก[41] อย่างไรก็ตาม ไม่มีภาษาชนกลุ่มน้อยใดที่ได้รับสถานะภาษาราชการ[41]
ภาษาแอราเมอิกเคยเป็นภาษากลางในภูมิภาคนี้ก่อนการเข้ามาของภาษาอาหรับ และยังคงมีผู้พูดในชาวอัสซีเรีย และภาษาซีรีแอกยังคงเป็นภาษาเชิงพิธีของศาสนาคริสต์นิกายซีรีแอกหลายกลุ่ม ภาษาแอราเมอิกใหม่ตะวันตกยังคงมีผู้พูดในหมู่บ้านมะอ์ลูลาและหมู่บ้านใกล้เคียง 2 แห่งทางตะวันออกเฉียงเหนือของดามัสกัส แม่แบบ:Convert ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่สองที่ใช้งานกันอย่างแพร่หลาย แต่ภาษาอังกฤษมีผู้ใช้งานมากกว่า[42]
ศาสนา
[แก้]ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากที่สุดในประเทศซีเรีย คิดเป็นร้อยละ 87 ของประชากรทั้งหมด ในจำนวนนี้แบ่งเป็นมุสลิมนิกายซุนนีประมาณร้อยละ 74 ของประชากรทั้งหมด[10] และชาวอาหรับนิกายซุนนีคิดเป็นจำนวนร้อยละ 59–60 ชาวเคิร์ดส่วนใหญ่ (8.5%)[43] และเติร์กเมนส่วนใหญ่ (3%)[43] นับถือนิกายซุนนี ส่วนชาวซีเรียอีกร้อยละ 3 นับถือนิกายชีอะฮ์ (โดยเฉพาะนิกายอิสมาอีลียะฮ์และชีอะฮ์สิบสองอิมาม แต่ก็มีชาวอาหรับ ชาวเคิร์ด และเติร์กเมนที่นับถือนิกายเหล่านี้ด้วย) ร้อยละ 10 นับถืออะละวี ร้อยละ 10 นับถือศาสนาคริสต์[10] (ส่วนใหญ่นับถือนิกายกรีกออร์ทอดอกซ์แบบแอนติออก ที่เหลือคือซีรีแอกออร์ทอดอกซ์ กรีกคาทอลิก และจารีตคาทอลิกแบบอื่น อาร์เมเนียนออร์ทอดอกซ์ คริสต์จีกรอัสซีเรียตะวันออก โปรเตสแตนต์ และนิกายอื่น ๆ) และร้อยละ 3 นับถือดรูซ[10] ประชากรดรูซอยู่ที่ประมาณ 500,000 คนและส่วนใหญ่กระจุกตัวในพื้นที่ตอนใต้ของญะบะลุดดุรูซ[44] ทาง Association of Religion Data Archives (ARDA) รายงานว่า ชาวซีเรียร้อยละ 94.17 นับถือศาสนาอิสลาม แบ่งเป็นซุนนีร้อยละ 79.19 และชีอะฮ์ร้อยละ 14.10 (รวมอะละวี) และชาวซีเรียร้อยละ 3.84 นับถือศาสนาคริสต์ใน ค.ศ. 2020[6]
ตระกูลอัลอะซัดนับถือนิกายอะละวี และผู้นับถือนิกายนี้เคยถือครองตำแหน่งสำคัญในรัฐบาลและทางทหาร[45][46][47] ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2013 SOHR ระบุว่า จากจำนวนผู้เสียชีวิตในสงครามกลางเมือง 94,000 คน เป็นชาวอะละวีอย่างน้อย 41,000 คน[48]
หมายเหตุ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]ข้อมูล
[แก้]- แม่แบบ:Cite book
- Boczek, Boleslaw Adam (2006). International Law: A Dictionary. Scarecrow Press. แม่แบบ:ISBN
- แม่แบบ:Cite book
- แม่แบบ:Citation.
- Karoubi, Mohammad Taghi (2004). Just or Unjust War? Ashgate Publishing แม่แบบ:ISBN
- แม่แบบ:Cite book
- แม่แบบ:Citation.
- Orsam Suriye Türkleri Raporu-Orsam Syria Turks
- แม่แบบ:Wikicite
- แม่แบบ:Cite book
อ่านเพิ่ม
[แก้]- แม่แบบ:Citation.
- แม่แบบ:Cite book
- แม่แบบ:Citation.
- แม่แบบ:Cite book
- แม่แบบ:Cite book
- แม่แบบ:Cite book
- แม่แบบ:Citation.
- แม่แบบ:Cite book
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]แม่แบบ:Sister project links แม่แบบ:Library resources box
รัฐบาล
[แก้]- Electronic Government Portal แม่แบบ:In lang – gateway to government sites
- Prime Minister แม่แบบ:Webarchive แม่แบบ:In lang – official website of the prime minister of Syria
- Statistics แม่แบบ:Webarchive แม่แบบ:In lang – Official website of Central Bureau of Statistics
การท่องเที่ยว
[แก้]- Tourism แม่แบบ:Webarchive – official website of the minister of tourism
แผนที่
[แก้]แม่แบบ:เอเชีย แม่แบบ:Navboxes แม่แบบ:Authority control
แม่แบบ:Coord
อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref>
สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/>
ที่สอดคล้องกัน