เซนต์เจมส์พาร์ก
ชื่อเต็ม | St James' Park |
---|---|
ที่ตั้ง | St. James' Park, นิวคาสเซิลอะพอนไทน์ NE1 4ST |
พิกัด | 54°58′32″N 1°37′18″W / 54.97556°N 1.62167°W |
เจ้าของ | สภาเมืองนิวคลาสเซิล |
ความจุ | 52,387[2] |
ขนาดสนาม | 115 × 74.4 หลา (105 × 68 เมตร) |
พื้นผิว | หญ้า |
การก่อสร้าง | |
เปิดใช้สนาม | ค.ศ. 1892 |
ต่อเติม | 1998–2000 |
สถาปนิก | TTH Architects[1], เกตส์เฮด สหราชอาณาจักร |
การใช้งาน | |
นิวคาสเซิลเวสต์เอนด์ (1886–1892) นิวคาสเซิลยูไนเต็ด (1892–ปัจจุบัน) |
เซนต์เจมส์พาร์ก (อังกฤษ: St James' Park - SJP) เป็นสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลนิวคาสเซิลยูไนเต็ด ตั้งอยู่ที่นิวคาสเซิลอะพอนไทน์ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะอังกฤษ โดยมีความจุ 52,387 ที่นั่ง ซึ่งเป็นสนามที่ใหญ่ที่สุดอันดับที่ 8 ในอังกฤษ
ชื่อของสนาม
[แก้]ชื่อที่คล้ายกัน
[แก้]ชื่อของเซนต์เจมส์พาร์ก นอกจากจะเป็นชื่อสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลนิวคาสเซิลยูไนเต็ดแล้ว ยังเป็นชื่อสนามเหย้าของทีมสโมสรฟุตบอลเอ็กซิเตอร์ซิตี ซึ่งอยู่ในทางตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษ และสนามเหย้าของสโมสรแบร็คลีย์ทาว์น อีกทั้งยังเป็นชื่อหนึ่งของสนามในลอนดอน รวมถึงซังคท์ยาค็อพ-พาร์ค (เยอรมัน: St. Jakob-Park) ในเมืองบาเซิล ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ อีกด้วย
การเปลี่ยนแปลงชื่อสนาม
[แก้]ในปี ค.ศ. 2011 ได้มีการเปลี่ยนชื่อสนามใหม่เป็นสปอตส์ไดเรกต์อารีนา จากการตกลงทำสัญญาใช้ชื่อของผู้สนับสนุนทางธุรกิจ
การใช้งาน
[แก้]ฟุตบอลระดับอาชีพ
[แก้]ระดับสโมสร
[แก้]เซนต์เจมส์พาร์กเป็นสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลนิวคาสเซิลยูไนเต็ด
ระดับทีมชาติ
[แก้]เซนต์เจมส์พาร์กใช้เป็นสนามแข่งขัน ยูโร 1996 3 นัด ต่อมาเซนต์เจมส์พาร์กเป็น 1 ใน 6 (เซนต์เจมส์พาร์ก, สนามเวมบลีย์, โอลด์แทรฟฟอร์ด, เอมิเรตส์สเตเดียม, ซิตีออฟแมนเชสเตอร์, และวิลลาพาร์ก) สนามฟุตบอลในประเทศอังกฤษ ที่ได้รับเลือกจากฟีฟ่าให้ใช้ในการแข่งขันฟุตบอลโลกในโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 เซนต์เจมส์พาร์กเป็นอีกสนามหนึ่งที่ได้ใช้ในการแข่งขัน และในฟุตบอลโลก 2018 เซนต์เจมส์พาร์กยังได้รับการเสนอชื่อให้ใช้ในการแข่งขันอีกด้วย[3]
วันที่ | ผล | การแข่งขัน | ||
---|---|---|---|---|
18 มี.ค. 1901 | อังกฤษ | 6-0 | เวลส์ | บริติชโฮมแชมเปียนชิป |
6 เม.ย. 1907 | อังกฤษ | 1-1 | สกอตแลนด์ | บริติชโฮมแชมเปียนชิป |
15 พ.ย. 1933 | อังกฤษ | 1-2 | เวลส์ | บริติชโฮมแชมเปียนชิป |
9 พ.ย. 1938 | อังกฤษ | 4-0 | นอร์เวย์ | นัดกระชับมิตร |
10 มิ.ย. 1996 | โรมาเนีย | 0-1 | ฝรั่งเศส | ยูโร 1996 |
13 มิ.ย. 1996 | บัลแกเรีย | 1-0 | โรมาเนีย | ยูโร 1996 |
18 มิ.ย. 1996 | ฝรั่งเศส | 3-1 | บัลแกเรีย | ยูโร 1996 |
5 ก.ย. 2001 | อังกฤษ | 2-0 | แอลเบเนีย | ฟุตบอลโลก 2002 รอบคัดเลือก |
18 ส.ค. 2004 | อังกฤษ | 3-0 | ยูเครน | นัดกระชับมิตร |
30 มี.ค. 2005 | อังกฤษ | 2-0 | อาเซอร์ไบจาน | ฟุตบอลโลก 2006 รอบคัดเลือก |
อื่น ๆ
[แก้]ฟุตบอลการกุศล
[แก้]เซนต์เจมส์พาร์กเคยใช้ในการแข่งขันนัดอำลาสนาม เทสติโมเนียลแมตซ์ ของอลัน เชียเรอร์ และปีเตอร์ เบียร์ดสลี่ย์ ต่อมาเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 2007 เคยใช้ในการแข่งขันนัดการกุศลระหว่าง ดยุกแห่งนอร์ทัมเบอร์แลนด์ กับ เอิร์ลแห่งเดอรัม ซึ่งเป็นทีมของอดีตนักเตะของนิวคาสเซิลและซันเดอร์แลนด์[4]
คอนเสิร์ต
[แก้]เซนต์เจมส์พาร์กเคยใช้เป็นสถานที่จัดคอนเสิร์ตของเดอะโรลลิงสโตนส์, บรูซ สปริงส์ทีน, ควีน, บ็อบ ดีแลน, ไบรอัน อดัมส์ และร็อด สจ๊วต
ภาพยนตร์และรายการโทรทัศน์
[แก้]เซนต์เจมส์พาร์กเคยใช้ในการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง โกล์ นอกจากนี้เซนต์เจมส์พาร์กยังเคยใช้ถ่ายทำรายการโทรทัศน์ เดอะเอ็กซ์แฟคเตอร์, บิ๊ก บราเธอร์ และเดอะแมตซ์ อีกด้วย
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "NEWCASTLE UNITED FC". TTH Architects. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 สิงหาคม 2014.
- ↑ "St. James' Park". Newcastle United. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2011.
- ↑ "England to bid for 2018 World Cup". BBC Sport Football. 31 ตุลาคม 2007.
- ↑ "All Star Football Match". The Prince's Trust Challenge Trophy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2008.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ เซนต์เจมส์พาร์ก, นิวคาสเซิลอะพอนไทน์