ข้ามไปเนื้อหา

เซนต์เจมส์พาร์ก

พิกัด: 54°58′32″N 1°37′18″W / 54.97556°N 1.62167°W / 54.97556; -1.62167
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เซนต์เจมส์ปาร์ก
แผนที่
ชื่อเต็มSt James' Park
ที่ตั้งSt. James' Park, นิวคาสเซิลอะพอนไทน์ NE1 4ST
พิกัด54°58′32″N 1°37′18″W / 54.97556°N 1.62167°W / 54.97556; -1.62167
เจ้าของสภาเมืองนิวคลาสเซิล
ความจุ52,387[2]
ขนาดสนาม115 × 74.4 หลา (105 × 68 เมตร)
พื้นผิวหญ้า
การก่อสร้าง
เปิดใช้สนามค.ศ. 1892
ต่อเติม1998–2000
สถาปนิกTTH Architects[1], เกตส์เฮด สหราชอาณาจักร
การใช้งาน
นิวคาสเซิลเวสต์เอนด์ (1886–1892)
นิวคาสเซิลยูไนเต็ด (1892–ปัจจุบัน)

เซนต์เจมส์พาร์ก (อังกฤษ: St James' Park - SJP) เป็นสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลนิวคาสเซิลยูไนเต็ด ตั้งอยู่ที่นิวคาสเซิลอะพอนไทน์ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะอังกฤษ โดยมีความจุ 52,387 ที่นั่ง ซึ่งเป็นสนามที่ใหญ่ที่สุดอันดับที่ 8 ในอังกฤษ

ชื่อของสนาม

[แก้]

ชื่อที่คล้ายกัน

[แก้]

ชื่อของเซนต์เจมส์พาร์ก นอกจากจะเป็นชื่อสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลนิวคาสเซิลยูไนเต็ดแล้ว ยังเป็นชื่อสนามเหย้าของทีมสโมสรฟุตบอลเอ็กซิเตอร์ซิตี ซึ่งอยู่ในทางตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษ และสนามเหย้าของสโมสรแบร็คลีย์ทาว์น อีกทั้งยังเป็นชื่อหนึ่งของสนามในลอนดอน รวมถึงซังคท์ยาค็อพ-พาร์ค (เยอรมัน: St. Jakob-Park) ในเมืองบาเซิล ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ อีกด้วย

การเปลี่ยนแปลงชื่อสนาม

[แก้]

ในปี ค.ศ. 2011 ได้มีการเปลี่ยนชื่อสนามใหม่เป็นสปอตส์ไดเรกต์อารีนา จากการตกลงทำสัญญาใช้ชื่อของผู้สนับสนุนทางธุรกิจ

การใช้งาน

[แก้]

ฟุตบอลระดับอาชีพ

[แก้]

ระดับสโมสร

[แก้]

เซนต์เจมส์พาร์กเป็นสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลนิวคาสเซิลยูไนเต็ด

ระดับทีมชาติ

[แก้]
การแข่งขันระหว่างบัลแกเรียกับโรมาเนีย ในยูโร 1996 ที่เซนต์เจมส์พาร์ก

เซนต์เจมส์พาร์กใช้เป็นสนามแข่งขัน ยูโร 1996 3 นัด ต่อมาเซนต์เจมส์พาร์กเป็น 1 ใน 6 (เซนต์เจมส์พาร์ก, สนามเวมบลีย์, โอลด์แทรฟฟอร์ด, เอมิเรตส์สเตเดียม, ซิตีออฟแมนเชสเตอร์, และวิลลาพาร์ก) สนามฟุตบอลในประเทศอังกฤษ ที่ได้รับเลือกจากฟีฟ่าให้ใช้ในการแข่งขันฟุตบอลโลกในโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 เซนต์เจมส์พาร์กเป็นอีกสนามหนึ่งที่ได้ใช้ในการแข่งขัน และในฟุตบอลโลก 2018 เซนต์เจมส์พาร์กยังได้รับการเสนอชื่อให้ใช้ในการแข่งขันอีกด้วย[3]

วันที่ ผล การแข่งขัน
18 มี.ค. 1901 ธงชาติอังกฤษ อังกฤษ 6-0 ธงชาติเวลส์ เวลส์ บริติชโฮมแชมเปียนชิป
6 เม.ย. 1907 ธงชาติอังกฤษ อังกฤษ 1-1 ธงชาติสกอตแลนด์ สกอตแลนด์ บริติชโฮมแชมเปียนชิป
15 พ.ย. 1933 ธงชาติอังกฤษ อังกฤษ 1-2 ธงชาติเวลส์ เวลส์ บริติชโฮมแชมเปียนชิป
9 พ.ย. 1938 ธงชาติอังกฤษ อังกฤษ 4-0 ธงชาตินอร์เวย์ นอร์เวย์ นัดกระชับมิตร
10 มิ.ย. 1996 ธงชาติโรมาเนีย โรมาเนีย 0-1 ธงชาติฝรั่งเศส ฝรั่งเศส ยูโร 1996
13 มิ.ย. 1996 ธงชาติบัลแกเรีย บัลแกเรีย 1-0 ธงชาติโรมาเนีย โรมาเนีย ยูโร 1996
18 มิ.ย. 1996 ธงชาติฝรั่งเศส ฝรั่งเศส 3-1 ธงชาติบัลแกเรีย บัลแกเรีย ยูโร 1996
5 ก.ย. 2001 ธงชาติอังกฤษ อังกฤษ 2-0 ธงชาติแอลเบเนีย แอลเบเนีย ฟุตบอลโลก 2002 รอบคัดเลือก
18 ส.ค. 2004 ธงชาติอังกฤษ อังกฤษ 3-0 ธงชาติยูเครน ยูเครน นัดกระชับมิตร
30 มี.ค. 2005 ธงชาติอังกฤษ อังกฤษ 2-0 ธงชาติอาเซอร์ไบจาน อาเซอร์ไบจาน ฟุตบอลโลก 2006 รอบคัดเลือก

อื่น ๆ

[แก้]

ฟุตบอลการกุศล

[แก้]

เซนต์เจมส์พาร์กเคยใช้ในการแข่งขันนัดอำลาสนาม เทสติโมเนียลแมตซ์ ของอลัน เชียเรอร์ และปีเตอร์ เบียร์ดสลี่ย์ ต่อมาเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 2007 เคยใช้ในการแข่งขันนัดการกุศลระหว่าง ดยุกแห่งนอร์ทัมเบอร์แลนด์ กับ เอิร์ลแห่งเดอรัม ซึ่งเป็นทีมของอดีตนักเตะของนิวคาสเซิลและซันเดอร์แลนด์[4]

คอนเสิร์ต

[แก้]

เซนต์เจมส์พาร์กเคยใช้เป็นสถานที่จัดคอนเสิร์ตของเดอะโรลลิงสโตนส์, บรูซ สปริงส์ทีน, ควีน, บ็อบ ดีแลน, ไบรอัน อดัมส์ และร็อด สจ๊วต

ภาพยนตร์และรายการโทรทัศน์

[แก้]

เซนต์เจมส์พาร์กเคยใช้ในการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง โกล์ นอกจากนี้เซนต์เจมส์พาร์กยังเคยใช้ถ่ายทำรายการโทรทัศน์ เดอะเอ็กซ์แฟคเตอร์, บิ๊ก บราเธอร์ และเดอะแมตซ์ อีกด้วย

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "NEWCASTLE UNITED FC". TTH Architects. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 สิงหาคม 2014.
  2. "St. James' Park". Newcastle United. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2011.
  3. "England to bid for 2018 World Cup". BBC Sport Football. 31 ตุลาคม 2007.
  4. "All Star Football Match". The Prince's Trust Challenge Trophy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2008.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]