ซีเมนส์
สำนักงานใหญ่ | |
ประเภท | บริษัทมหาชน |
---|---|
การซื้อขาย | FWB: SIE DAX component |
อุตสาหกรรม | กลุ่มบริษัท |
ก่อนหน้า | A. Reyrolle & Company Siemens-Schuckert Siemens-Reiniger-Werke |
ก่อตั้ง | 1 ตุลาคม 1847 เบอร์ลิน ราชอาณาจักรปรัสเซีย |
ผู้ก่อตั้ง | แวร์เนอร์ ฟอน ซีเมนส์ |
สำนักงานใหญ่ | มิวนิกและเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี[1] |
พื้นที่ให้บริการ | ทั่วโลก |
บุคลากรหลัก | Jim Hagemann Snabe (ประธาน) Roland Busch (ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร) |
ผลิตภัณฑ์ | เทคโนโลยีการผลิตกระแสไฟฟ้า, ระบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรมและอาคาร, เทคโนโลยีทางการแพทย์, ยานยนต์สำหรับรถไฟ, ระบบบำบัดน้ำ, สัญญาณเตือนไฟไหม้, ซอฟต์แวร์ PLM, เครื่องจักรอุตสาหกรรม |
บริการ | ธุรกิจบริการ, การเงิน, วิศวกรรมโครงการและการก่อสร้าง |
รายได้ | 62.265 พันล้านยูโร (2021)[2] |
รายได้จากการดำเนินงาน | 7.496 พันล้านยูโร (2021)[2] |
รายได้สุทธิ | 6.697 พันล้านยูโร (2021)[2] |
สินทรัพย์ | 139.608 พันล้านยูโร (2021)[2] |
ส่วนของผู้ถือหุ้น | 49.274 พันล้านยูโร (2021)[2] |
เจ้าของ | ตระกูลซีเมนส์ (6.9%) |
พนักงาน | 303,000 (2021)[2] |
แผนก |
|
เว็บไซต์ | www |
ซีเมนส์ (อังกฤษ: Siemens AG) เป็นกลุ่มบริษัท พลังงาน, และสุขภาพ โดยมีแผนกรวมทั้งหมด 15 แผนก ซีเมนส์และบริษัทในเครือจ้างงานทั่วโลกประมาณ 400,000 ตำแหน่ง[3] ในเกือบ 190 ประเทศ และแจ้งรายได้ทั่วโลก 72,448 ล้านยูโร ในปีงบประมาณ 2550[3] บริษัทซีเมนส์อยู่ในตลาดหลักทรัพย์แฟรงค์เฟิร์ต และอยู่ในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กตั้งแต่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2544
ซีเมนส์ก่อตั้งโดย แวร์เนอร์ ฟอน ซีเมนส์ เมื่อ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2390 (ค.ศ. 1847) โดยเริ่มจากการคิดค้นระบบโทรเลขที่ให้ผลลัพธ์เป็นตัวอักษรแทนที่จะเป็นรหัสมอร์ส
ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2560 ซีเมนส์ได้ประกาศการควบรวมกิจการเฉพาะหน่วยธุรกิจระบบรางและระบบอาณัติสัญญาณ (ซีเมนส์ โมบิลิที) เข้ากับอัลสตอม (Alstom) ของประเทศฝรั่งเศส เพื่อร่วมกันสร้างบริษัทระบบรางที่ใหญ่ที่สุดในโลก อย่างไรก็ตามในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 คณะกรรมาธิการยุโรปได้ห้ามการควบรวมกิจการดังกล่าว
ซีเมนส์กับเครื่องใช้ไฟฟ้า
[แก้]ซีเมนส์กับประเทศไทย
[แก้]ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนทั้งสามระบบของประเทศไทยในปัจจุบันอันได้แก่ รถไฟฟ้าบีทีเอส, รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล, แอร์พอร์ตเรลลิงก์ ได้ใช้ขบวนรถของซีเมนส์ โดยแบ่งตามรุ่นของรถไฟฟ้า ดังนี้
- โมดูลาร์ เมโทร : ใช้ในรถไฟฟ้าบีทีเอส และรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล เป็นขบวนรถที่ออกแบบโดย ปอร์เช่ ดีไซน์ โดย
- รถไฟฟ้าบีทีเอส มีทั้งหมด 140 ตู้ 35 ขบวน แบ่งการผลิตออกเป็นสองรอบ รอบแรก 105 ตู้ เพื่อประกอบเป็น 3 ตู้/ขบวน ทั้งหมดถูกผลิตขึ้นที่โรงงานในประเทศออสเตรีย นำเข้าครั้งแรกใน พ.ศ. 2540 แล้วเสร็จใน พ.ศ. 2542 จากนั้นใน พ.ศ. 2553 ได้มีการจัดซื้อตู้โดยสารเพิ่ม 35 ตู้ (รหัส 32xx) เพื่อนำมาประกอบใหม่เป็น 4 ตู้/ขบวน ทั้งหมดผลิตขึ้นที่โรงงานในประเทศเยอรมนี นำเข้าครั้งแรกใน พ.ศ. 2555 แล้วเสร็จใน พ.ศ. 2556
- รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล มีทั้งหมด 57 ตู้ 19 ขบวน ทั้งหมดถูกผลิตขึ้นที่โรงงานในประเทศออสเตรีย โดยปรับรายละเอียดบางอย่างให้ต่างจากล็อตที่ผลิตส่งมอบให้บีทีเอสซี นำเข้าครั้งแรกใน พ.ศ. 2545 แล้วเสร็จใน พ.ศ. 2547
- อินสไปโร : ใช้ในรถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล และ รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม เป็นขบวนรถที่ออกแบบโดย ปอร์เช่ ดีไซน์ โดยใช้ต้นแบบของขบวนรถรุ่น Modular Metro เป็นต้นแบบ โดย
- รถไฟฟ้าบีทีเอส มีทั้งหมด 88 ตู้ 22 ขบวน ขบวนรถชุดนี้ผลิตโดยโรงงานโบซันคายา ประเทศตุรกี โดยซีเมนส์ผลิตระบบขับเคลื่อนจากโรงงานที่ออสเตรียส่งประกอบสุดท้ายที่ตุรกีก่อนส่งมายังประเทศไทย
- รถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำเงิน มีทั้งหมด 105 ตู้ 35 ขบวน ขบวนรถชุดนี้ผลิตตัวถังโดยโรงงานโบซันคายาเช่นเดียวกัน แต่ส่งกลับมาประกอบสุดท้ายที่ออสเตรียมก่อนส่งมายังประเทศไทย ปัจจุบัน ช. การช่าง เตรียมจัดหาเพิ่มอีก 63 ตู้ 21 ขบวน ซึ่งชุดนี้จะย้ายฐานการผลิตไปที่โรงงานโบซันคายา ประเทศตุรกี โดยซีเมนส์ผลิตระบบขับเคลื่อนจากโรงงานที่ออสเตรียส่งประกอบสุดท้ายที่ตุรกีก่อนส่งมายังประเทศไทย กำหนดนำเข้าใน พ.ศ. 2569
- รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม จัดหาทั้งหมด 96 ตู้ 32 ขบวน ขบวนรถชุดนี้จะถูกผลิตโดยโรงงานโบซันคายา ประเทศตุรกี โดยซีเมนส์จะผลิตระบบขับเคลื่อนและอะไหล่บางส่วนจากโรงงานที่ออสเตรียส่งประกอบสุดท้ายที่ตุรกีก่อนส่งมายังประเทศไทย ทั้งนี้จะนำเข้าสองรอบ รอบที่หนึ่งนำเข้าใน พ.ศ. 2570 จำนวน 48 ตู้ 16 ขบวน เพื่อให้บริการในส่วนตะวันออก และรอบที่สองนำเข้าภายใน พ.ศ. 2573 อีก 48 ตู้ 16 ขบวน เพื่อให้บริการในส่วนตะวันตก ขบวนรถชุดนี้จะใช้สเปคเดียวกันกับรถ EMU-BLE ของสายสีน้ำเงินทั้งหมด
- เดซิโร : ใช้ในรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยลักษณะตัวรถเป็นรถรุ่น British Class "360/2" ซึ่งเป็นแบบเดียวกับที่ใช้ใน Heathrow Connect หรือรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์ ของสหราชอาณาจักร โดยมีทั้งหมด 31 ตู้ 9 ขบวน แบ่งประกอบเป็น 3 ตู้/ขบวน สำหรับขบวนรถซิตีไลน์ (คาดน้ำเงิน) และ 4 ตู้/ขบวน โดยมีหนึ่งตู้ติดตั้งได้ระบบลำเลียงสัมภาระพร้อมหน้าต่างชนิดปกปิดภายใน สำหรับขบวนรถเอ็กซ์เพรสไลน์ (คาดแดง) ทั้งหมดถูกผลิตขึ้นที่โรงงานในประเทศเยอรมนี ส่งมอบครั้งแรกใน พ.ศ. 2552 แล้วเสร็จในปีเดียวกัน
- แอร์วาล : มีทั้งหมด 6 ตู้ 3 ขบวน ใช้ในอาคารเทียบอากาศยาน 1 (SAT-1) ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ นำเข้าครั้งแรกใน พ.ศ. 2566[4][5][6] [7][8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Corporate Information", Siemens Aktiengesellschaft.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 "Siemens Report for Fiscal 2021" (PDF). Siemens. สืบค้นเมื่อ 30 January 2022.
- ↑ 3.0 3.1 Siemens AG – Annual Report เก็บถาวร 2008-05-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, www.siemens.com, January 2008
- ↑ “ยานลูกSAT1สุวรรณภูมิ”..พร้อม!! ปล่อยรถไฟฟ้าAPMส่งขึ้นเครื่อง
- ↑ เม.ย.ปีหน้า “สุวรรณภูมิ” เปิดยานลูกSAT1 นั่งรถไฟฟ้าขึ้นเครื่องเสริมทัพไต่อันดับ
- ↑ ส่องความคืบหน้า “สุวรรณภูมิเฟส 2” ปีหน้าได้นั่งรถไฟฟ้า
- ↑ เผยโฉมรถไฟฟ้าวิ่งในสนามบินสุวรรณภูมิรับผู้โดยสาร 3.5 พันคนต่อชั่วโมง
- ↑ Siemens builds fully Automated People Mover at Bangkok Airport