ข้ามไปเนื้อหา

Nepenthes sumatrana

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Nepenthes sumatrana
หม้อบนของ Nepenthes sumatrana
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Magnoliopsida
อันดับ: Caryophyllales
วงศ์: Nepenthaceae
สกุล: Nepenthes
สปีชีส์: N.  sumatrana
ชื่อทวินาม
Nepenthes sumatrana
(Miq.) Beck (1895)
ชื่อพ้อง

Nepenthes sumatrana เป็นหม้อข้าวหม้อแกงลิงถิ่นเดียวของสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งได้ถูกตั้งชื่อตามแหล่งที่อยู่

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

[แก้]

N. sumatrana เป็นไม้เลื้อยไต่ มีลำต้นกึ่งทรงกระบอกยาว 15 ม.หนา 0.9 ซม. ปล้องยาว 20 ซม. ใบคล้ายแผ่นหนัง มีก้านใบ แผ่นใบรูปใบหอก-รูปไข่กลับ ยาว 55 ซม.กว้าง 9 ซม. มีเส้นใบตามยาว 6-8 เส้น และเส้นใบแบบขนนกมากมาย สายดิ่งยาว 60 ซม.[1]

หม้อใบกระจุก (ซ้าย) และหม้อล่าง (ขวา)

หม้อใบกระจุกเป็นทรงรูปไข่ถึงทรงรูปไข่แคบในครึ่งล่างและเป็นทรงกระบอกในครึ่งบน สูง 10 ซม.กว้าง 4 ซม.มีปีกตะเข็บ 1 คู่ด้านหน้า เพอริสโตมทรงกระบอกเมื่อตัดขวาง กว้าง 4 มม. ล้อมรอบด้วยฟันที่ไม่แยกกัน ฝารูปกึ่งวงกลม ไม่มีรยางค์ มีเดือยเดี่ยว (ยาว ≤15 มม.) ที่ฐานฝา[1]

หม้อล่างทรงรูปไข่ มีคอใต้เพอริสโตม สูง 20 ซม. กว้าง 10 ซม. มีปีกตะเข็บ 1 คู่กว้าง 6 มม. เพอริสโตมเป็นทรงกระบอกเมื่อตัดขวาง กว้าง 10 มม. ฝารูปวงกลม มีเดือยเดี่ยว[1]

หม้อบนรูปกรวย ถ้าวัดตามความยาวแล้ว จะเป็นหม้อข้าวหม้อแกงลิงที่มีหม้อบนใหญ่ที่สุดที่สกุล สูง 30 ซม. กว้าง 15 ซม. ปีกตะเข็บลดรูปลงเหลือแค่สัน ปากยกขึ้นในด้านหน้าเห็นได้ชัด ซึ่งคล้ายกับ N. rafflesiana[1]

N. sumatrana มีช่อดอกแบบกระจะ ในเพศผู้ก้านช่อดอกยาว 20 ซม. ขณะที่แกนกลางสูง 70 ซม. ในช่อดอกเพศเมียมีก้านช่อดอกยาวกว่า (≤30 ซม.) และแกนกลางสั้นกว่า (≤40 ซม.) ก้านดอกมีหนึ่งถึงสองดอก ยาว 15 มม. กลีบเลี้ยงรูปไข่ ยาว 6 มม.[1]

บางส่วนของพืชปกคลุมด้วยขนหรือขนกิ่งสั้นประปราย ซึ่งร่วงง่าย มีขนสั้นสีน้ำตาลที่ขอบใบ[1]

ไม่มีรูปแบบและความหลากหลายของ N. sumatrana บันทึกไว้[1]

ลูกผสมตามธรรมชาติ

[แก้]
? N. beccariana ×
N. sumatrana
N. eustachya ×
N. sumatrana
N. gracilis ×
N. sumatrana
N. mirabilis ×
N. sumatrana

ลูกผสมระหว่าง N. eustachya เป็นที่รู้จักตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990 โดยถูกบันทึกเป็น N. alata × N. treubiana[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 Clarke, C.M. 2001. Nepenthes of Sumatra and Peninsular Malaysia. Natural History Publications (Borneo), Kota Kinabalu.
  2. 2.0 2.1 2.2 McPherson, S.R. 2009. Pitcher Plants of the Old World. Redfern Natural History Productions Ltd., Poole.
  3. Hopkins, M., R. Maulder & B.[R.] Salmon 1990. A real nice trip to Southeast Asia.PDF (1.72 MiB) Carnivorous Plant Newsletter 19(1–2): 19–28.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • Danser, B.H. 1928. 47. Nepenthes Treubiana. In: The Nepenthaceae of the Netherlands Indies. Bulletin de Jardin de Botanique, Buitenzorg, Série III, 9(3–4): 249–438.