ข้ามไปเนื้อหา

Nepenthes gracilis

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Nepenthes gracilis
หม้อ Nepenthes gracilis จากรัฐตรังกานู มาเลเซียตะวันตก
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
อาณาจักร: พืช
Plantae
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
Tracheophyta
เคลด: พืชดอก
Angiosperms
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
Eudicots
อันดับ: คาร์เนชัน
วงศ์: หม้อข้าวหม้อแกงลิง
สกุล: หม้อข้าวหม้อแกงลิง

Korth. (1839)[2]
สปีชีส์: Nepenthes gracilis
ชื่อทวินาม
Nepenthes gracilis
Korth. (1839)[2]
ชื่อพ้อง

Nepenthes gracilis (มาจากภาษาละติน: gracilis = ผอมบาง, ยาวเรียว) หรือมีอีกชื่อหนึ่งว่า Slender Pitcher-Plant[5] เป็นหม้อข้าวหม้อแกงลิงพื้นราบธรรมดาที่กระจายตัวไปทั่วหมู่เกาะซุนดา โดยมีผู้บันทึกพบบนเกาะบอร์เนียว, ประเทศกัมพูชา,[6] มาเลเซียตะวันตก, สิงคโปร์, เกาะซูลาเวซี, เกาะสุมาตรา และประเทศไทย[7][8][9][10][11] มีหม้อที่ไม่มีอะไรโดดเด่นด้วยเพอริสโตมที่บางมากและรูปร่างที่ไม่มีอะไรพิเศษ แม้จะเป็นหม้อข้าวหม้อแกงลิงที่มีการกระจายตัวที่กว้าง แต่ลูกผสมทางธรรมชาติระหว่าง N. gracilis และหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดอื่นกับหาได้ยาก

Nepenthes gracilis ยังมีชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ อีกดังนี้: หม้อข้าวหม้อแกงลิง (ใต้,นราธิวาส) [12], หม้อใบไผ่[13]

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

[แก้]

Nepenthes gracilis มีลำต้นทรงสามเหลี่ยมยาวไม่เกิน 6 มม. หนาไม่เกิน 5 มม. ระยะระหว่างปล้องไม่เกิน 10 ซม. แผ่นใบหนาเหมือนภาพยนตร์ยาวไม่เกิน 12 ซม. กว้างไม่เกิน 2 ซม. ใบเรียวแหลมไม่มีก้านใบ สายดิ่งยาว 15 ซม.

หม้อล่างก้นหม้อเป็นกระเปาะ สูงไม่เกิน 10 ซม. กว้างไม่เกิน 3 ซม. ช่วงบน 2 ใน 3 ส่วนของหม้อเป็นทรงกระบอกแคบ มีปีก 1 คู่ กว้างไม่เกิน 3 มม. ด้านหน้า ปากหม้อกลม เพอริสโตมเล็กมากหนาไม่เกิน 3 มม. ไม่มีฟัน ฝาหม้อกลม เดือยขั้วเดี่ยวหลังฝายาวไม่เกิน 3 มม. บริเวณที่มีต่อมผลิตน้ำย่อยปกคลุมผนังด้านใน 1 ใน 4 ส่วนบริเวณก้นหม้อ หม้อมีสีเขียว ,แดงจนถึงดำ สามารถแตกโคนเป็นหม้อผุดได้ หม้อบนไม่มีปีก

ช่อดอกเป็นแบบช่อกระจะเดี่ยว ก้านช่อยาวไม่เกิน 5 ซม. ช่อดอกยาวไม่เกิน 20 ซม. ก้านดอกยาวไม่เกิน 10 มม. กลีบดอกตัวเมียรูปไข่ ส่วนกลีบดอกตัวผู้รูปปลายหอกยาวไม่เกิน 5 มม.

อนุกรมวิธาน

[แก้]

ในปี ค.ศ. 2001 ชาร์ลส์ คลาร์ก (Charles Clarke) ได้ทำการวิเคราะห์ลำดับชั้นบนพื้นฐานของการวิวัฒนาการชาติพันธุ์ของ หม้อข้าวหม้อแกงลิง บนเกาะสุมาตราและเพนนิซูล่า มาเลเซีย โดยใช้รูปร่างลักษณะ 70 ลักษณะของอนุกรมวิธาน ตามส่วนของแผนภาพวิวัฒนาการชาติพันธุ์ที่ได้ แสดงในส่วนของ "เครือบรรพบุรุษที่ 6 (Clade 6)" N. angasanensis และ N. mikei มีส่วนเหมือนถึง 79% [14]

unnamed

N. gracilis

N. reinwardtiana

unnamed

หน่วยอนุกรมวิธานต่ำกว่าระดับชนิด

[แก้]
  • Nepenthes gracilis f. angustifolia (Mast.) Hort.Westphal (1993)
  • Nepenthes gracilis var. angustifolia (Mast.) Hort.Weiner in sched. (1985)
  • Nepenthes gracilis var. arenaria Ridl. ex Macfarl. (1908)[15]
  • Nepenthes gracilis var. elongata Blume (1852)[16]
  • Nepenthes gracilis var. longinodis Beck (1895)[4]
  • Nepenthes gracilis var. major Hort.Van Houtte ex Rafarin (1869)
  • Nepenthes gracilis var. teysmanniana (Miq.) Beck (1895)[4]

ลูกผสมตามธรรมชาติ

[แก้]

ลูกผสมทางทางธรรมชาติของ N. gracilis ที่ถูกบันทึกไว้มีดังนี้

ระเบียงภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Clarke, C.M. (2018). "Nepenthes gracilis". IUCN Red List of Threatened Species. 2018: e.T39663A143960417. doi:10.2305/IUCN.UK.2018-1.RLTS.T39663A143960417.en. สืบค้นเมื่อ 19 November 2021.
  2. (ในภาษาดัตช์) Korthals, P.W. 1839. Over het geslacht Nepenthes. In: C.J. Temminck 1839–1842. Verhandelingen over de Natuurlijke Geschiedenis der Nederlandsche overzeesche bezittingen; Kruidkunde. Leiden. pp. 1–44, t. 1–4, 13–15, 20–22.
  3. Masters M.T. (1881). "New garden plants. Nepenthes angustifolia (Mast.), sp. nov". The Gardeners' Chronicle. 16 (408): 524.
  4. 4.0 4.1 4.2 (ในภาษาเยอรมัน) Beck, G. 1895. Die Gattung Nepenthes. Wiener Illustrirte Garten-Zeitung 20(3–6): 96–107, 141–150, 182–192, 217–229.
  5. Phillipps, A. & A. Lamb 1996. Pitcher-Plants of Borneo. Natural History Publications (Borneo) , Kota Kinabalu.
  6. Mey, F.S. 2016. The beautiful Nepenthes kampotiana x bokorensis. Strange Fruits: A Garden's Chronicle, 5 October 2016.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 McPherson, S.R. 2009. Pitcher Plants of the Old World. 2 volumes. Redfern Natural History Productions, Poole.
  8. McPherson, S.R. & A. Robinson 2012. Field Guide to the Pitcher Plants of Sulawesi. Redfern Natural History Productions, Poole.
  9. McPherson, S.R. & A. Robinson 2012. Field Guide to the Pitcher Plants of Borneo. Redfern Natural History Productions, Poole.
  10. (ในภาษาอิตาลี) Catalano, M. 2010. Nepenthes della Thailandia: Diario di viaggio. Prague.
  11. McPherson, S.R. & A. Robinson 2012. Field Guide to the Pitcher Plants of Sumatra and Java. Redfern Natural History Productions, Poole.
  12. สำนักงานหอพรรณไม้. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ -- กรุงเทพมหานคร : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, 2549
  13. Nepenthes gracilis เก็บถาวร 2007-01-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนneofarmthailand
  14. 14.0 14.1 Clarke, C.M. 2001. Nepenthes of Sumatra and Peninsular Malaysia. Natural History Publications (Borneo) , Kota Kinabalu.
  15. Macfarlane, J.M. 1908. Nepenthaceae. In: A. Engler. Das Pflanzenreich IV, III, Heft 36: 1–91.
  16. (ในภาษาละติน) Blume, C.L. 1852. Ord. Nepenthaceae. In: Museum Botanicum Lugduno-Batavum, sive stirpium exoticarum novarum vel minus cognitarum ex vivis aut siccis brevis expositio. Tom. II. Nr. 1. E.J. Brill, Lugduni-Batavorum. pp. 5–10.
  17. 17.0 17.1 17.2 17.3 Clarke, C.M. 1997. Nepenthes of Borneo. Natural History Publications (Borneo), Kota Kinabalu.
  18. Fretwell S (2013). "Back in Borneo to see giant Nepenthes. Part 2: Mt Tambuyukon and Poring". Victorian Carnivorous Plant Society Journal. 108: 6–15.
  19. Lee, C.C. 2004. Nepenthes. In: Sarawak Bau Limestone Biodiversity. H.S. Yong, F.S.P. Ng and E.E.L. Yen (eds). The Sarawak Museum Journal Vol. LIX, No. 80; Special Issue No. 6: 71–77.
  20. Tan WK, Wong CL, Frazier CK (1996). "Nepenthes × (rafflesiana and gracilis)?". Nature Malaysiana. 21: 82–85.
  21. Bednar, B.L. 1985. "Nepenthesdominii and var. intermedia" (PDF). Carnivorous Plant Newsletter 14(4): 105–106.

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Nepenthes gracilis