ข้ามไปเนื้อหา

คูเมือง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Moat)
“คู” รอบคฤหาสน์แบดเดสลีย์คลินตันในวอริคเชอร์ในอังกฤษ

คูเมือง หรือ คูปราสาท (อังกฤษ: moat) คือร่องน้ำกว้างและลึกที่อาจจะเป็นคูแห้งหรือที่มีน้ำขังที่ขุดขึ้นรอบปราสาท, สิ่งก่อสร้าง หรือ เมือง เพื่อใช้เป็นระบบการป้องกันจากการโจมตีจากบุคคลภายนอก ในบางกรณีคูก็อาจจะวิวัฒนาการไปเป็นระบบการป้องกันทางน้ำอันซับซ้อนที่อาจจะรวมทั้งทะเลสาบขุดหรือธรรมชาติ, เขื่อน หรือประตูน้ำ แต่ในปราสาทสมัยต่อมาคูรอบปราสาทอาจจะเป็นเพียงสิ่งตกแต่งเพื่อความงามเท่านั้น

ประวัติ

[แก้]

ยุคโบราณ

[แก้]
มุมมองทางด้านเหนือของป้อมบูเฮน

หลักฐานของคูที่เก่าที่สุดพบรอบป้อมอียิปต์โบราณ เช่นที่ป้อมบูเฮนที่ขุดพบที่นิวเบีย นอกจากนั้นก็ยังพบที่บาบิโลน และในประติมากรรมภาพนูนของอียิปต์โบราณ, อัสซีเรีย และในสิ่งก่อสร้างในอารยธรรมบริเวณนั้น[1][2]

ยุคกลาง

[แก้]

จากขุดค้นทางโบราณคดีก็พบคูที่ขุดรอบปราสาท หรือ ระบบป้อมปราการที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบการป้องกันที่ตั้งอยู่ติดกับกำแพงด้านนอก ถ้าสะดวกคูก็จะเป็นคูน้ำ การมีคูทำให้ยากต่อการโจมตีกำแพง หรือการใช้อาวุธที่ช่วยในการปีนกำแพงเช่นหอล้อมเมืองเคลื่อนที่ (siege tower) หรือ ไม้กระทุ้งกำแพง (Battering ram) ซึ่งเป็นอาวุธที่ต้องนำมาจ่อที่กำแพงจึงจะใช้ได้ นอกจากนั้นคูที่เป็นน้ำยังทำให้ยากต่อการพยายามขุดอุโมงค์ภายใต้กำแพงเพื่อทำการระเบิดทลายกำแพงได่อย่างมีประสิทธิภาพ

ในภาษาอังกฤษคำว่า “Moat” แผลงมาจากคำในภาษาอังกฤษกลางที่แผลงมาจากคำในภาษาฝรั่งเศสว่า “motte” ที่แปลว่า “เนิน” ที่เดิมหมายถึงเนินกลางปราสาทที่เป็นที่ตั้งป้อม ต่อมาคำนี้แผลงมามีความหมายว่าวงคูแห้งที่ขุดขึ้นรอบปราสาท นอกจากนั้นคำว่า “Moat” ก็ยังหมายถึงภูมิสัณฐานที่คล้ายกับสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น หรือ รูปทรงทางสถาปัตยกรรมที่คล้ายคลึงกับคูล้อม

ยุโรป

[แก้]
ปราสาทแคร์ฟิลลีในเวลส์
Caerlaverock Castleในสกอตแลนด์

คูมีทั้งคูแห้งและคูที่มีน้ำ แต่ระบบการป้องกันด้วยคูน้ำที่ซับซ้อนและกว้างขึ้นทำให้ตัวสิ่งก่อสร้างลอยอยู่กลางน้ำที่ทำให้เกิดลักษณะสถาปัตยกรรมที่เรียกว่า “ปราสาทน้ำ” (Water Castle) บางครั้งน้ำที่ใช้ในคูก็อาจจะดึงมาจากแหล่งน้ำธรรมชาติ หรือการใช้เกาะ หรือ กั้นเขื่อนเพื่อทำให้เกิดผืนดินที่เป็นเกาะ เช่นที่ปราสาทเบิร์คแคมสเตดที่แสดงให้เห็นถึงการวิวัฒนการดังว่าในยุคแรก และต่อมาที่ปราสาทแคร์ฟิลลีในเวลส์ หรือที่ปราสาทเคนิลเวิร์ธอันมีระบบคูน้ำป้องกันที่ใช้เขื่อนควบคุมการไหลเวียนของน้ำ เกาะเทียม (Crannóg) ก็เป็นระบบคูป้องกันปราสาทอีกระบบหนึ่ง ที่ตัวปราสาทแทบจะโผล่ขึ้นมากลางน้ำ เช่นที่ปราสาทคอร์เน็ทในเกิร์นซีย์ที่คูป้องกันปราสาทเป็นทะเล

ปราสาทที่มีคูหรือล้อมรอบด้วยทะเลสาบเทียมเป็นสิ่งที่นิยมสร้างกันในอังกฤษ, สกอตแลนด์ และ เวลส์, กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ, เยอรมนี, ออสเตรีย และ เดนมาร์ค

หลังยุคกลางการออกแบบป้อมเพื่อป้องกันจากการโจมตีด้วยลูกระเบิดมักจะเป็นคูแห้ง และ บางครั้งก็อาจจะมีน้ำบ้างเช่นป้อมที่โอโลมุค ส่วนป้อมหลายเหลี่ยมในคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นป้อมที่เหมาะกับการใช้คูแห้ง

ในสมัยต่อมาเมื่อปราสาทเปลี่ยนไปเป็นวังหรือคฤหาสน์ที่ไม่มีประโยชน์ใช้สอยทางด้านการป้องกันทางการทหารแล้ว แต่เป็นสถานที่สำหรับรับแขกและเป็นที่พำนักอาศัย คูรอบปราสาทหรือทะเลสาบก็กลายมาเป็นสิ่งตกแต่งแทนที่ แม้มาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17 การก่อสร้างวังเพื่อความสำราญก็ยังคงสร้างให้มีคูล้อมรอบ เช่นคฤหาสน์โวซ์-เลอ-วิคงต์ที่ยังคงล้อมรอบด้วยคูน้ำแบบโบราณที่แยก “ประธานมณฑล” และเชื่อมด้วยสะพาน

เอเชีย

[แก้]
แผนที่พระราชวังโตเกียว สวนและคูล้อมรอบ

ปราสาทญี่ปุ่นมักจะมีระบบคูที่ซับซ้อน บางครั้งอาจจะมีคูหลายคูที่วางเป็นวงซ้อนรอบตัวปราสาท และแต่ละชั้นอาจจะเป็นผังที่มีลักษณะแตกต่างกันที่ออกแบบผสานไปกับลักษณะภูมิทัศน์ของสวน ปราสาทญี่ปุ่นอาจจะมีคูล้อมรอบถึงสามชั้น ชั้นนอกสุดมักจะป้องกันสิ่งก่อสร้างอื่นๆ ด้วยนอกจากปราสาท

แม้ว่าปราสาทจะเป็นศูนย์กลางสำคัญของเมืองแต่ละเมือง คูปราสาทก็เป็นส่วนสำคัญของการคมนาคมทางน้ำของเมืองนั้นด้วย แม้ในปัจจุบันระบบคูของพระราชวังหลวงก็ยังเป็นลำน้ำที่ยังคงมีบทบาท ใช้เป็นที่ตั้งของเรือสำราญ, ภัตตาคาร และ บ่อปลา[3] คูของปราสาทญี่ปุ่นสมัยใหม่มักจะเป็นคูน้ำ และคูในสมัยกลางมักจะเป็นคูแห้ง (karahori, 空堀) แม้ในปัจจุบันปราสาทบนเขาก็มักจะใช้คูแห้ง

คูเป็นระบบป้องกันที่ใช้โดยทั่วไปไม่เพียงแต่ในประเทศญี่ปุ่นแต่ยังมีในประเทศจีนเช่นที่ พระราชวังต้องห้าม และ ซีอาน, ที่ Vellore ในอินเดีย, ที่เมืองพระนคร ใน กัมพูชา และที่ เชียงใหม่, อยุธยา และ กรุงเทพ ใน ประเทศไทย เป็นต้น

คลองคูเมืองในคาบสมุทรอินโดจีน

[แก้]

ในคาบสมุทรอินโดจีน มักจะมีการสร้างคูเมืองเป็นสี่เหลี่ยมล้อมรอบตัวเมืองไว้ โดยมีระยะห่างจากแหล่งน้ำหลักเช่น แม่น้ำหรือทะเลสาบ ส่วนคติแบบทวารวดีจะเน้นให้เมืองมีลักษณะกลมหรือมน บางครั้งอาจจะให้แหล่งน้ำใหญ่เป็นปราการหลัก แล้วขุดคลองโค้งโอบตัวเมืองไปตามภูมิประเทศ ซึ่งคติชั้นหลังนี้ได้ตกทอดสู่กรุงศรีอยุธยา และกรุงรัตนโกสินทร์ โดยเมืองโบราณที่มีคูล้อมรอบ ได้แก่

ระเบียงภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Archaeology in Syria Tell Sabi Abyad, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-21, สืบค้นเมื่อ 2011-04-30, article on Netherlands National Museum of Antiquities website
  2. Oreddsen, Dag (November 2000). "Moats in Ancient Palestine". Almqvist & Wiksell International.
  3. "Imperial Palace moats illegally occupied by businesses". Japan Today. August 25, 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-10-28. สืบค้นเมื่อ 2011-04-30.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ คูปราสาท