แมริแอนา อิสแคนเดอร์
แมริแอนา อิสแคนเดอร์ | |
---|---|
(ماريانا إسكندر) | |
อิสแคนเดอร์ใน ค.ศ. 2017 | |
เกิด | ไคโร ประเทศอียิปต์ | 1 กันยายน ค.ศ. 1975
การศึกษา | มหาวิทยาลัยไรซ์ (ศศ.บ.) วิทยาลัยทรินิตี (ออกซฟอร์ด) (วท.ม.) มหาวิทยาลัยเยล (เจดี) |
อาชีพ |
|
รางวัล | ทุนการศึกษาโรดส์ (ค.ศ. 1996) รางวัลสโกล (ค.ศ. 2019) |
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารมูลนิธิวิกิมีเดีย | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 5 มกราคม ค.ศ. 2022 | |
ก่อนหน้า | แคทเธอรีน มาเฮอร์ |
เว็บไซต์ | หน้าวิกิมีเดีย |
แมริแอนา อิสแคนเดอร์ (/ˌmæriˈænə ɪˈskændər/ MARR-ee-AN-ə-_;[1] อาหรับ: ماريانا إسكندر; 1 กันยายน ค.ศ. 1975 – )[2] เป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคมและนักกฎหมายชาวอเมริกันที่เกิดในประเทศอียิปต์ ใน ค.ศ. 2022 เธอได้เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) ของมูลนิธิวิกิมีเดียต่อจากแคทเธอรีน มาเฮอร์ โดยก่อนเข้ารับตำแหน่งดังกล่าว อิสแคนเดอร์เคยเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารขององค์กรฮารัมบียูธเอมพลอยเมนต์เอกเซเลอเรเตอร์ ตลอดจนอดีตกรรมการผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการของสมาคมวางแผนครอบครัวแห่งอเมริกาในนิวยอร์ก
ชีวิตในวัยเด็กและการศึกษา
[แก้]แมริแอนา อิสแคนเดอร์ เกิดที่ไคโร ประเทศอียิปต์ ซึ่งเธออาศัยอยู่ก่อนจะย้ายไปสหรัฐพร้อมครอบครัวเมื่ออายุสี่ขวบ โดยครอบครัวของเธอตั้งรกรากอยู่ในราวด์ร็อก รัฐเท็กซัส[3] อิสแคนเดอร์สำเร็จการศึกษาที่มหาวิทยาลัยไรซ์ด้วยทุนการศึกษาแฮร์รี เอส. ทรูแมน โดยสำเร็จการศึกษาศิลปศาสตรบัณฑิต เกียรตินิยมอันดับสอง สาขาสังคมวิทยาใน ค.ศ. 1997[3][4]
จากนั้นใน ค.ศ. 1999 อิสแคนเดอร์สำเร็จการศึกษาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตจากวิทยาลัยทรินิตี (ออกซฟอร์ด) ในฐานะผู้ได้รับทุนการศึกษาโรดส์[3] ซึ่งเธอได้ก่อตั้งสมาคมสตรีโรดส์ หลังจากนั้น เธอได้ลงทะเบียนเรียนที่โรงเรียนกฎหมายแห่งมหาวิทยาลัยเยล โดยสำเร็จการศึกษาจูริสดอกเตอร์ใน ค.ศ. 2003[3]
อาชีพ
[แก้]หลังจากสำเร็จการศึกษาจากออกซฟอร์ด อิสแคนเดอร์เริ่มต้นอาชีพของเธอในฐานะผู้ร่วมงานที่บริษัทแมกคินซีย์แอนด์คัมพานี และหลังจากสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนกฎหมายแห่งมหาวิทยาลัยเยล อิสแคนเดอร์เป็นเสมียนให้แก่ไดแอน พี. วูด ที่ศาลอุทธรณ์สหรัฐที่เจ็ดในชิคาโก รัฐอิลลินอย จากนั้น เธอก็ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาเดวิด ลีบรอน อธิการบดีมหาวิทยาลัยไรซ์ และหลังจากนั้นสองปี อิสแคนเดอร์ก็ออกจากงานที่มหาวิทยาลัยไรซ์เพื่อรับหน้าที่กรรมการผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการของสมาคมวางแผนครอบครัวแห่งอเมริกาในนิวยอร์ก[3] นอกจากนี้ เธอยังทำงานเป็นที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์ให้แก่บริษัทดับเบิลยู. แอล. กอร์แอนด์อะโซซีเอตส์ รวมถึงเป็นเสมียนกฎหมายที่สำนักงานกฎหมายคราเวธ, สเวน แอนด์มัวร์ ในนิวยอร์ก และสำนักงานกฎหมายวินสันแอนด์เอลคินส์ในฮิวสตัน[5]
หลังจากทำงานที่สมาคมวางแผนครอบครัว อิสแคนเดอร์ก็กลายเป็นกรรมการผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการขององค์กรฮารัมบียูธเอมพลอยเมนต์เอกเซเลอเรเตอร์ที่ประเทศแอฟริกาใต้ใน ค.ศ. 2012 ก่อนที่จะมาเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) ใน ค.ศ. 2013 ซึ่งองค์กรฮารัมบีมุ่งเน้นไปที่การเชื่อมโยงนายจ้างกับคนทำงานครั้งแรกเพื่อลดการว่างงานของคนหนุ่มคนสาวและเพิ่มการรักษาพนักงานไว้ ครั้นใน ค.ศ. 2015 อิสแคนเดอร์ให้คำมั่นสัญญาในนครนิวยอร์กต่อโครงการคลินตันโกลบอลอินิชิเอทีฟว่าองค์กรฮารัมบีจะจัดหางานและประสบการณ์การทำงาน 50,000 ตำแหน่งให้แก่เยาวชนแอฟริกาใต้ ซึ่งภายใน ค.ศ. 2018 เธอสามารถร่วมส่วนกับบิล คลินตัน อดีตประธานาธิบดีสหรัฐ ในการเยือนโจฮันเนสเบิร์ก ซึ่งองค์กรฮารัมบีได้ทำเกินความมุ่งมั่นของเธอ โดยมอบโอกาสดังกล่าวมากกว่า 85,000 ตำแหน่ง[6]
เมื่อพูดในคอนเชียสคัมพานีส์อะวอดส์ 2019 ที่โจฮันเนสเบิร์ก อิสแคนเดอร์อธิบายว่าเธอต้องการให้ "ธุรกิจเข้าใจว่าการจ้างคนหนุ่มสาวในงานแรกของพวกเขาไม่ใช่การออกกำลังกายเพื่อการกุศล แต่เป็นความสามารถ [...] เราปฏิบัติต่อคนหนุ่มสาวเหมือนลูกค้า และไม่เหมือนผู้รับผลประโยชน์"[7] ด้วยการสร้างกลุ่มคนงานขนาดใหญ่ที่สามารถนำร่องได้อย่างแท้จริงและพิสูจน์ว่าคนหนุ่มคนสาวสามารถทำงานได้อย่างประสบความสำเร็จโดยใช้วิธีนี้ องค์กรฮารัมบีจึงสามารถขยายความพยายามและประสิทธิผลของพวกเขา[8] โดยในช่วงเวลาที่เธอดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร องค์กรไม่แสวงผลกำไรแห่งนี้ได้เชื่อมโยงคนงานรุ่นใหม่จำนวน 100,000 คนพร้อมโอกาสในการทำงานร่วมกับธุรกิจ 500 แห่งเมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2019[9]
กระทั่งเมื่อวันที่ 14 กันยายน ค.ศ. 2021 อิสแคนเดอร์ได้รับเลือกให้เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารของมูลนิธิวิกิมีเดีย โดยเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 5 มกราคม ค.ศ. 2022[10] เธอระบุในการให้สัมภาษณ์ว่าลำดับความสำคัญของเธอหลังจากรับบทบาทคือการทำให้นักเขียนอาสาสมัครและผู้แก้ไขของวิกิพีเดียมีความหลากหลาย กับส่งเสริมภารกิจของมูลนิธิวิกิมีเดียในการสนับสนุนการเข้าถึงข้อมูล[11] ส่วนใน ค.ศ. 2023 อิสแคนเดอร์ได้รับเลือกให้เป็นคณะกรรมการจัดการของเยล[12]
การยอมรับ
[แก้]อิสแคนเดอร์เป็นผู้รับรางวัลและทุนสนับสนุนหลายรางวัล รวมถึงรางวัลสโกลสำหรับการประกอบการเพื่อสังคม ตลอดจนรางวัลศิษย์เก่าดีเด่นของโรงเรียนกฎหมายแห่งมหาวิทยาลัยเยล[13] ส่วนใน ค.ศ. 2002 เธอได้รับรางวัลพอลแอนด์เดซี โซรอส เฟลโลชิปส์ฟอร์นิวอเมริกันส์[14] ซึ่งมอบให้แก่ผู้ย้ายถิ่นเข้าประเทศหรือลูกหลานของผู้ย้ายถิ่นเข้าประเทศ "ที่พร้อมจะสร้างคุณูปการสำคัญให้แก่สังคม, วัฒนธรรม หรือสาขาวิชาการของสหรัฐ"[3] รวมถึงได้รับทุนการศึกษาโรดส์และทุนการศึกษาแฮร์รี เอส. ทรูแมน นอกจากนี้ เธอยังเป็นสมาชิกของเฮนรี เคราน์ เฟลโลส์ รุ่น ค.ศ. 2006 ที่สถาบันแอสเพน และของแอสเพนโกลบอลลีดเดอร์ชิปเน็ตเวิร์ก[15] ส่วนองค์กรฮารัมบียูธเอมพลอยเมนต์เอกเซเลอเรเตอร์และความเป็นผู้นำขององค์กรนี้ได้รับการยอมรับด้วยรางวัลและเงินทุนจากองค์กรต่าง ๆ เช่น มูลนิธิสโกล[16] และยูเอสเอด[17]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Maryana Iskander, Harambee Youth Employment Accelerator. Devex. 2019-06-18.
- ↑ Who's who Among Students in American Universities and Colleges. Vol. 62. Randall Publishing Company. 1996. p. 714.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 "Maryana F. Iskander, 2001". Paul & Daisy Soros Fellowships for New Americans. P'unk Ave. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2020. สืบค้นเมื่อ 25 February 2020.
- ↑ "Scholar Listing". The Harry S. Truman Scholarship Foundation (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-05-05.
- ↑ "About Our Team". Harambee. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-26. สืบค้นเมื่อ 2020-02-26.
- ↑ Linington, Darryl (November 5, 2018). "Harambee's exceeds youth employment commitment to Clinton global initiative - IT News Africa - Up to date technology news, IT news, Digital news, Telecom news, Mobile news, Gadgets news, Analysis and Reports" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-09-27.
- ↑ "Conscious Companies awards applauds 2019 finalists". IOL. Independent Media and affiliated companies. April 24, 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 6, 2021. สืบค้นเมื่อ February 15, 2024.
- ↑ "Harambee, Youth Employment Accelerator, winner in NGO's category". Mail & Guardian. Mail & Guardian Online. May 24, 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-26. สืบค้นเมื่อ 26 February 2020.
- ↑ "Youth-owned township businesses complain of market access barriers". IOL. Independent Media and affiliated. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 February 2020. สืบค้นเมื่อ 26 February 2020.
- ↑ Lima, Cristiano (2021-09-14). "Wikimedia taps leader of South African nonprofit as its next CEO". Washington Post (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0190-8286. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-14. สืบค้นเมื่อ 2021-09-14.
- ↑ "Wikipedia parent's new CEO wants to make it more global". The Seattle Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-09-27. สืบค้นเมื่อ 2021-10-08.
- ↑ Peed, Andrea Thompson (13 June 2023). "Yale announces new alumni fellow trustee and two new successor trustees". YaleNews (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 3 October 2023.
- ↑ Edwards, Caryn (February 9, 2018). "Yale honours CEO of South African youth employment accelerator". The South African. Blue Sky Publications Ltd. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 August 2020. สืบค้นเมื่อ 26 February 2020.
- ↑ "Maryana Iskander". University of Arkansas Clinton School of Public Service Speaker Series. Clinton School. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 February 2020. สืบค้นเมื่อ 26 February 2020.
- ↑ "Maryana Iskander". AGLN. The Aspen Institute. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2020. สืบค้นเมื่อ 25 February 2020.
- ↑ "Skoll Awardees". Skoll Foundation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 March 2020. สืบค้นเมื่อ 18 March 2020.
- ↑ "USAID Announces $18.4 Million in Support of Cutting Edge Innovations". USAID. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 November 2019. สืบค้นเมื่อ 18 March 2020.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Maryana Iskander's Commitment Announcement at the Clinton Global Initiative 2015 Annual Meeting
- "Maryana Iskander". Wikimedia Foundation. สืบค้นเมื่อ 2024-06-01.